ก นยาค ม ม น ดอซ ประจำเด อนย งไม มา

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS - Polycystic Ovary Syndrome) คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ จึงทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้น และส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก

สารบัญ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เกิดจากอะไร?

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดแน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม เชื้อชาติ สิ่งแวดล้อม หรือหลายๆ ปัจจัยรวมกัน แต่กลไกผิดปกติที่เกิดขึ้นหลัก จะมีดังนี้

  • มีความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนไม่ปกติ จนนำมาสู่การมีบุตรยาก
  • มีความผิดปกติของระดับหรือการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ทำให้หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก
  • มีความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญน้ำตาล กลูโคสในร่างกาย ทำให้มีความเสียงในการเกิดโรคเบาหวาน

    อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

    ผู้ป่วยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบมักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลักๆ ดังนี้

    ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมในท้องตลอดมี 2 ชนิดใหญ่ คือชนิด 21 เม็ดต่อแผง และ 28 เม็ดต่อแผง • กรณียาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ดต่อแผง เมื่อรับประทานยาหมดแผงแล้ว แนะนำให้เว้นไป 7 วันแล้วจึงเริ่มแผงใหม่ (ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประจำเดือนมาในวันที่ 1-4 ของ 7 วันนั้น) หรืออาจเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ในวันแรกที่มีประจำเดือนมา • กรณียาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ดต่อแผง ให้รับประทานยาต่อเนื่องกันไปเลย ไม่จำเป็นต้องหยุดยา (เมื่อหมดแผงแรกวันต่อมาก็สามารถรับประทานยาแผงใหม่ได้ทันที) ซึ่งชนิด 28 เม็ดต่อแผง ผู้รับประทานยาจะมีประจำเดือนมาในช่วงเม็ดที่ 21-28 ซึ่งเป็นเม็ดแป้ง หากรับประทานยาอย่างถูกต้องเรื่อยมา ยาจะให้ประสิทธิผลสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์แม้มีเพศสัมพันธ์ช่วงที่หยุดยา 7 วัน (กรณีที่เป็นแบบแผงละ 21 เม็ด) หรือช่วงที่กินยาที่เป็นเม็ดแป้ง (กรณีที่เป็นแบบแผงละ 28 เม็ด) อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าวหากประจำเดือนคลาดเลื่อนไปจากที่คาดการณ์ไว้แนะนำให้ตรวจสอบการตั้งครรภ์ Key words: combined oral contraceptives, pregnant, ตั้งครรภ์

    Reference: U.S. Selected Practice Recommendations for Contraceptive Use, 2013. MMWR 2013; 62 (5):1-60.

    Keywords: -

    สำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว ได้แก่ เอ็กซ์ลูตอน (Exluton) เดลิตอน (Dailyton) และซีราเซท (Cerazette) ซึ่งมีเม็ดยาฮอร์โมน 28 เม็ด หรือแผง ไม่มีเม็ดยาหลอก เมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว ไม่ต้องเว้นว่าง แต่ให้ต่อแผงใหม่ในวันถัดมาได้เลย ซึ่งภาวะขาดประจำเดือน จัดเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยในผู้ที่ใช้ยาคุมชนิดนี้

    ดังนั้น สำหรับผู้ที่ใช้ยาคุมยี่ห้อ เอ็กซ์ลูตอน เดลิตอน หรือซีราเซท จนหมดแผงแล้วก็ยังไม่มีประจำเดือนมา ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นเป็นผลข้างเคียงจากยาคุมที่ใช้นั่นเอง ไม่มีอันตราย

    หากมั่นใจว่ารับประทานยาคุมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และตรงเวลา (ไม่ช้าเกิน 3 ชั่วโมงจากเวลาปกติสำหรับเอ็กซ์ลูตอนและเดลิตอน หรือไม่ช้าเกิน 12 ชั่วโมงจากเวลาปกติสำหรับซีราเซท) สามารถต่อแผงใหม่ได้เลย

    ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม

    กรณีที่ใช้ยาคุมแบบ 21 – 22 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วต้องเว้น 7 วัน (หรือ 6 วันหากใช้แบบ 22 เม็ด) ก่อนเริ่มแผงใหม่ ตามปกติแล้ว ประจำเดือนจะมาหลังหยุดยา 2 - 3 วัน

    แต่หากใช้ยาคุมแบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้วให้ต่อแผงใหม่ในวันต่อไปได้เลย ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานเม็ดยาหลอก (ซึ่งเป็นเม็ดแป้ง หรือเป็นยาบำรุงเลือดในบางยี่ห้อ)

    ในช่วงที่เว้นว่างก่อนเริ่มแผงใหม่ (กรณีที่ใช้แบบ 21 หรือ 22 เม็ด) หรือช่วงที่รับประทานยาเม็ดหลอก (กรณีที่ใช้แบบ 28 เม็ด) ถือเป็นช่วง “ปลอดฮอร์โมน” นั่นเอง แล้วหากประจำเดือนไม่มาในช่วงที่เป็นวันปลอดฮอร์โมน จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์ ตามกรณีต่อไปนี้

    กรณีที่ 1: ในรอบเดือนนี้ ไม่มีเพศสัมพันธ์เลย

    ตัดโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ไปได้เลย สำหรับกรณีนี้

    ถ้าไม่มีอะไรกัน จะใช้ยาคุมไปทำไม?

    ประการแรก ยาคุมมีประโยชน์มากกว่าแค่การคุมกำเนิดเท่านั้น บางคนก็จำเป็นต้องใช้เพื่อเหตุผลอื่นๆ เช่น ลดการเกิดสิว, ควบคุมรอบประจำเดือนให้ปกติ, ลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน เป็นต้น เพราะฉะนั้น เห็นใครพกยาคุมแบบแผงรายเดือน อย่าเพิ่งคิดเหมารวมว่าใช้เพื่อคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว

    ประการที่สอง ในกรณีที่ใช้เพื่อการคุมกำเนิด แต่ไม่ได้มีการสอดใส่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม

    ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีความเสี่ยงเลยที่จะตั้งครรภ์ เมื่อหมดระยะปลอดฮอร์โมน แม้จะยังไม่มีประจำเดือนมา ก็สามารถต่อแผงใหม่ได้ตามปกติ

    กรณีที่ 2: มีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนนี้ แต่รับประทานยาคุมได้ถูกต้อง เหมาะสม และตรงเวลา

    แม้ยาคุมกำเนิดจะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% แต่หากใช้อย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตรงเวลา อีกทั้งไม่มีการใช้ยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลในการลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดร่วมด้วย โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ถือว่าน้อยมาก คือมีความเสี่ยงเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น

    ดังนั้น เมื่อเว้นระยะปลอดฮอร์โมนครบ 7 วัน หากประจำเดือนยังไม่มา แนะนำให้ตรวจตั้งครรภ์ ซึ่งหากผลตรวจเป็นลบ ก็ให้ต่อแผงใหม่ได้ตามปกติ

    กรณีที่ 3: มีเพศสัมพันธ์ในรอบเดือนนี้ แต่รับประทานยาคุมไม่ถูกต้อง

    กรณี้นี้ คือ รับประทานยาคุมไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงเวลาอยู่บ่อยครั้ง หรือมีการใช้ยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดร่วมด้วย

    • กรณีที่ใช้เป็นแผงแรก เริ่มรับประทานยาคุมเหมาะสมหรือไม่ หากเริ่มใช้ภายในวันที่ 1 - 5 ของรอบเดือน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยโดยไม่ต้องใช้วิธีป้องกันอื่นๆ ร่วมด้วย แต่หากเริ่มใช้หลังจากนั้น ต้องงดร่วมเพศ หรือใช้วิธีป้องกันอื่นๆ ร่วมด้วยภายใน 7 วันแรกที่เริ่มรับประทาน
    • กรณีที่ใช้ต่อเนื่อง การต่อแผงใหม่เหมาะสมหรือไม่ กรณีที่ใช้ยาคุมแบบ 21 เม็ด เมื่อหมดแผง จะต้องเว้น 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ หากเว้นระยะนานกว่านั้น ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะไม่ต่อเนื่อง (สำหรับยาคุมที่มี 22 เม็ด ก็ให้เว้น 6 วันก่อนต่อแผงใหม่) ส่วนยาคุมแบบ 28 เม็ด เมื่อหมดแผงแล้ว วันต่อไปให้ต่อแผงใหม่ได้เลย
    • รับประทานยาคุมถูกต้องหรือไม่ รับประทานตามลำดับการใช้ที่ควรจะเป็น เช่น รับประทานจากเม็ดยาฮอร์โมนไปหาเม็ดยาหลอก ซึ่งหากยาคุมที่ใช้นั้น ในเม็ดยาฮอร์โมนมีปริมาณยาเท่ากันทุกเม็ด การรับประทานผิดเม็ดโดยที่เป็นเม็ดยาฮอร์โมนเหมือนกันก็ไม่มีปัญหา แต่หากคุณรับประทานผิด โดยใช้ยาเม็ดหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ผิดต่อเนื่องกันหลายวัน
    • รับประทานยาคุมต่อเนื่อง ตรงเวลาสม่ำเสมอหรือไม่ แบ่งเป็น 4 กรณี ดังนี้
      • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง รับประทานผิดโดยใช้เม็ดยาหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
      • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ รับประทานผิดโดยใช้เม็ดยาหลอกแทนเม็ดยาฮอร์โมน ติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป
      • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวรุ่นเก่า เกิน 3 ชั่วโมงขึ้นไป
      • ลืมรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวรุ่นใหม่ เกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป

    ทั้ง 4 กรณีที่กล่าวมา จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่อเนื่อง และทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะเมื่อแก้ไขไม่ถูกวิธี

    กรณีรับประทานยาบางชนิดร่วมด้วยในระหว่างที่มีการใช้ยาคุม จะส่งผลในการลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดหรือไม่ มีรายงานความล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อใช้ยาต้านจุลชีพ ยากันชัก และสมุนไพรบางชนิดร่วมด้วยในระหว่างที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด จึงควรแจ้งแพทย์ และเภสัชกรให้ทราบ เพื่อพิจารณาการใช้ยาอื่นแทน หรือให้แนะนำเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวจริงๆ

    จากกรณีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้สูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น หากครบ 7 วันของระยะปลอดฮอร์โมนแล้วประจำเดือนยังไม่มา ก็ควรทดสอบการตั้งครรภ์

    หากทดสอบการตั้งครรภ์แล้วให้ผลเป็นลบ สามารถต่อแผงใหม่ได้เลยหรือไม่?

    หากผลตรวจเป็นลบ คือ ไม่ตั้งครรภ์ ให้คุณดูว่า ตนเองมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่ (ซึ่งอาจทำให้ไม่เห็นผลบวกในการทดสอบ) เช่น ลืมรับประทานยาคุมติดต่อกันหลายวันในแถวที่ 3 ของแผง แล้วมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันสอดคล้องกับช่วงที่ไม่มีผลในการคุมกำเนิด

    ถ้าใช่… คุณยังไม่ควรเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ แต่ให้รอจนกว่าจะมีประจำเดือนมา แล้วค่อยเริ่มรับประทานใหม่ ระหว่างนั้น ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน

    อาจมีการตรวจตั้งครรภ์ซ้ำอีกครั้ง หากนับวันที่ไม่มีเพศสัมพันธ์ได้เกิน 14 วันแล้ว และประจำเดือนยังไม่มา ซึ่งถ้าผลตรวจเป็นลบ ก็ให้เริ่มยาคุมแผงใหม่ได้ แต่งดร่วมเพศ หรือให้ใช้ถุงยางร่วมด้วย ใน 7 วันแรกที่เริ่มใช้ยาคุมแผงนี้

    สรุป ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อต่อยาคุมแผงใหม่ จะไม่มีประจำเดือนมาในช่วงที่ใช้เม็ดยาฮอร์โมน นั่นคือ ประจำเดือนจะมาในช่วง “ปลอดฮอร์โมน” ของแผงใหม่เลย ซึ่งหากครบ 7 วันนั้น ประจำเดือนก็ยังไม่มาอีก ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว