ก ปต น ส งทนายฟ อง ม ง หม นประมาท

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจและมีหลายคนที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการโพสต์ข้อความลงในสื่อสังคมออนไลน์ ในลักษณะใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม แบบไม่ระบุชื่อ ว่าไม่เป็นความผิดข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน และต้องดูลักษณะของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเป็นเรื่องๆ ไป

การโพสต์ข้อความในลักษณะใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามลงในสื่อสังคมออนไลน์ แบบไม่ระบุชื่อ แต่หากการโพสต์ข้อความดังกล่าวนั้น ผู้อ่านสามารถทราบได้ว่า ผู้โพสต์ข้อความกำลังหมายถึงใคร แม้จะไม่ระบุชื่อผู้เสียหายก็ตาม ผู้เสียหายสามารถที่จะแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือแต่งตั้งทนายความ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาได้นะครับ

นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า การหมิ่นประมาทนั้น เป็นการหมิ่นประมาทธรรมดา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 หรือ เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 328 โดยพิจารณาว่าประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อความหมิ่นประมาทได้หรือไม่

ก ปต น ส งทนายฟ อง ม ง หม นประมาท

หากเป็นการโพสต์ข้อความใน Facebook ส่วนตัว ไม่ได้ตั้งค่าแบบสาธารณะ หรือเป็นการโพสต์ข้อความในกลุ่ม LINE หรือกลุ่ม Facebook แบบส่วนตัว ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อความได้ การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าว ก็จะเป็นเพียงการหมิ่นประมาทธรรมดา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 แต่หากมีการโพสต์ข้อความลงใน Facebook ส่วนตัวที่ตั้งค่าแบบสาธารณะ หรือ Pages Facebook หรือ YouTube หรือ แอพพลิเคชั่นอื่นๆ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงข้อความนั้นได้ ก็จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328

อ้างอิงคำพิพากษาฎีกา 5276/2562

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 ต้องเป็นการใส่ความระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มโพสท์นิวส์ออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคล ซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328

ก ปต น ส งทนายฟ อง ม ง หม นประมาท

สุดท้ายนี้ การโพสต์ข้อความหรือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ภายใต้กฎหมาย หรือ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนจนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการโพสต์ข้อความของท่าน ก็อาจจะดำเนินคดีท่านได้นะครับ

สำหรับท่านที่มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมล์มาหาผมได้ที่ “คุยกับคนดัง” ได้เลยครับ

ซึ่งเรื่องข้อความที่ใส่ความหรือการระบุตัวตน ก็สามารถจะยกเป็นข้อต่อสู้ให้แก่จำเลยในการสู้คดีข้อหาหมิ่นประมาทได้ อีกทั้งยังมีข้อต่อสู้ที่เป็นประเด็นในการต่อสู้คดีอีกหลายกรณี เช่น ผู้เสียหายมาด่าหรือใส่ความก่อน หรือเป็นการติชมโดยทั่วไป เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง เป็นต้น เมื่อมีการหมิ่นประมาทหรือถูกแจ้งความหรือฟ้องเป็นคดีหมิ่นประมาทแล้ว ควรรีบปรึกษาทนายความทันที โดยนำหลักฐานและเล่าข้อเท็จจริง เพื่อให้ทนายความประเมินคดีของคุณว่าควรจะดำเนินการไปในทิศทางใด โดยคุณสามารถติดต่อสำนักงานของเราได้ในช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ เราพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือคุณ และพร้อมเคียงข้างคุณเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเต็มที่

หมิ่นประมาท แบบไหนถึงเข้าข่ายว่าทำผิด

“ไม่จริงตรงไหนเอาปากกามาวง” แม้จะวงความจริงจนไม่เหลือพื้นที่ว่าง แต่คนถูกกล่าวถึงเสียหายก็เข้าข่ายหมิ่นประมาท การแสดงความคิดเห็น พูดคุยกันเป็นกิจกรรมปกติของมนุษย์และเป็นเสรีภาพที่มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าจะผ่านการพูด เขียน ภาพวาด หรือในรูปแบบใดก็ตาม แต่บางครั้งคุณอาจกำลัง “ทำให้ผู้อื่นเสียหาย”

คุณอาจคิดว่าเม้ามอยกันในกลุ่มไลน์เฉย ๆ แต่หารู้ไม่ว่าการคุยพาดพิงถึงคนอื่น อาจทำให้ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทได้

  • ชัดเจนว่ากำลังพูดถึงใคร
  • มีบุคคลที่ 3 เสียหาย ไม่ว่าจะเป็น เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้ถูกเกลียดชัง หรือถูกดูหมิ่น
  • บุคคลที่ 3 รับรู้ ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้า ผ่านแชท โทรคุย ติดประกาศ หรือโพสต์ไว้ตามสื่อต่าง ๆ
  • พาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นการใส่ความตรงๆ หรือพาดพิงแบบอ้อมๆ

และหากโพสต์ในสื่อออนไลน์ แปะประกาศหรือโฆษณาที่ทำให้คนส่วนมากในสังคมเข้าถึงได้ และมีโอกาสที่จะถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย

หมิ่นประมาท พูดเรื่องจริงผิดหรือไม่

หลายคนอาจเคยได้รับการบอกเล่ามาว่าพูดเรื่องจริง โพสต์เพื่อเตือนภัยคนอื่น เช่น โดนโกง แย่งแฟนคนอื่น หรือ “ตามน้ำ ตามกระแส” ตามที่ทุกคนก็พูดกัน น่าจะไม่เป็นไรทำได้ไม่มีความผิด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและทำให้หลายคนถูกดำเนินคดีเพราะแบบนี้

อาจจะไม่เข้าข่ายว่าผิด หากมีครบทั้ง 4 ข้อนี้

  1. ที่กล่าวหาเป็นเรื่องจริง มีหลักฐานพิสูจน์ได้
  2. เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
  3. ไม่ใช่การใส่ความเรื่องส่วนตัว เช่น ชู้สาว ทุจริต รับสินบน
  4. ต้องไม่ผิดกฎหมายข้ออื่น เช่น ประจานลูกหนี้ ข่าวปลอม

ตัวอย่างเช่น ไปบอกชาวบ้านว่า นาง B เป็นเมียน้อย หรือ นาย Z โพสต์คลิปนาย Y กำลังทำงานแล้วใส่ข้อความว่า “ทุจริต เด้งไปดิ” ไม่ว่านาง B จะเป็นเมียน้อย หรือนาย Z จะทุจริตหรือไม่ แต่ยังถือเป็นการกล่าวหาบุคคลที่สาม สร้างความเสียหาย และถือเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

นอกจากโทษทางอาญาแล้ว ผู้ถูกกล่าวยังเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ซึ่งจะต้องสามารถเกิดขึ้นจริงได้แต่ยังไม่เกิดขึ้น เช่นกล่าวหาว่า “อี A ขโมยโทรศัพท์คนอื่นมา” แต่นางสาว A ไม่ได้ขโมยมา ทำให้มีค่าเสียหายที่นางสาว A อาจจะต้องเสีย (ค่าโทรศัพท์ที่ถูกหาว่าไปขโมยมา)

แต่ไม่ว่าการกล่าวหานั้นจะเป็นความจริงหรือไม่มีทางเป็นจริงในโลกนี้ได้เลย ไม่ได้แปลว่าคนกล่าวหาจะหลุดจากการต้องจ่ายค่าเสียหาย เช่น โพสต์คลิปคนอื่นที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กัน ถึงไม่ผิดหมิ่นประมาททางแพ่ง แต่มีความผิดฐานละเมิดทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ต้องจ่ายค่าเสียหาย หรือ ด่าคนอื่นว่า “อีควาย” “อีเหี้ย” แบบนี้ไม่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง เพราะคนไม่สามารถเป็นสัตว์ได้ แต่มีความผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ต้องจ่ายค่าเสียหายและมีความผิดอาญาข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393

ดังนั้นก่อนจะด่าหรือประจานใคร ควรใจเย็น ๆ ก่อน ถ้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดให้นำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีดีกว่านำออกมาประจาน เพราะนอกจากกฎหมายจะไม่ช่วยแล้วอาจถูกคู่กรณีฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญาอีกด้วย

หมิ่นประมาท โดนด่าเสียหายต้องทำยังไง

คดีหมิ่นประมาทมีอายุความ 3 เดือน นับจากวันที่รู้ตัวว่าเสียหาย ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความได้ หากต้องการเอาผิดต้องรีบดำเนินการ สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าเราจะดำเนินคดีกับใคร

วิธีที่ 1 : แจ้งความดำเนินคดี

ถ้าไม่มีหลักฐานทางแชท อาจใช้บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์มาเป็นพยานแทนได้ แล้วรีบแจ้งความดำเนินคดีก่อนหมดอายุความ เมื่ออัยการสั่งฟ้องก็สามารถยื่นขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและร้องขอให้มีการจ่ายค่าเสียหายได้ แต่ถ้าแจ้งความแล้วเรื่องเดินช้า ไม่ได้ฟ้องซะที ยังสามารถฟ้องความอาญาตรงไปที่ศาลได้ภายใน 10 ปี

วิธีที่ 2 : ฟ้องอาญาตรงไปที่ศาล พร้อมเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเพิ่ม

จะเป็นการประหยัดเวลาและมีความครอบคลุมในการจัดเก็บหลักฐาน และควรได้รับคำแนะนำจากทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากการเก็บพยาน หลักฐานคดีหมิ่นประมาทมีความละเอียดอ่อน โดยเฉพาะจากสื่อโซเชี่ยลที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้ทำละเมิด หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่น รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา แต่การประจานเกิดขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้วจะฟ้องไม่ได้ หรือ รู้เรื่องและตัวคนทำมานาน 2 ปี และถูกด่าลง Facebook เมื่อ 3 ปีที่แล้วก็ฟ้องไม่ได้ ดังนั้นถ้ารอจนคดีขาดอายุความก็จะเป็นการเสียโอกาส