การเต นรำท ม แล งเดอลากาแล ต the swing

สำหรับบรรดำผู้เข้าแข่งขัน “วอลซ์” จะเป็นจังหวะแรกเสมอ ที่จะแสดงให้ประจักษ์ แก่คณะกรรมการตัดสิน และจะเป็นโอกาสเพียงหนึ่งเดียว ที่จะสร้างความประทับใจ เมื่อแรกเห็น (FIRST IMPRESSION) ลองคำนึงถึงว่าบ่อยครั้งกรรมการตัดสินจะไม่รู้จักคุณเลย และไม่ทราบว่ามาตรฐานการเต้นรำของคุณอยู่ระดับไหน! เมื่อคู่แข่งขันเริ่มย่างลงสู่ฟลอร์ กรรมการตัดสินและผู้ชม(ให้นึกถึงตัวเอง) จะเริ่มกวาดตาเพื่อมองหาคู่ที่เด่นที่สุด หรือแชมป์เปี้ยนในทันที ข้อควรคำนึง ! ถ้าคุณทำตัวให้ดูเหมือน และประพฤติเฉกเช่นแชมป์เปี้ยนแล้ว คุณต้อง แสดงการเต้นของจังหวะนี้ให้ดูเหมือนแชมป์เปี้ยนคนหนึ่ง เพื่อยืนยันในการสร้างความประทับใจเป็นครั้งแรก ที่สุด โดยดึงดูดความสนใจของกรรมการ และผู้ร่วมชมมายังคู่ของคุณ ตั้งแต่ย่างก้าวแรกที่ลงสู่ฟลอร์การแข่งขัน บรรดาคู่แข่งขันจำนวนไม่น้อยที่ประเมินผลกระทบจากการสร้างความประทับใจครั้งแรกนี้ต่ำเกินไป จังหวะ วอลซ์ ยามฝึกซ้อมหรือการวางแผนการเรียนให้คิดถึงความสำคัญของข้อนี้ด้วย

ต้องคำนึงถึงว่า คู่เต้นรำอื่นๆ อาจเจียดเวลาถึง 40% ของการฝึกซ้อม ให้กับจังหวะวอลซ์ และถ้าคุณเป็น หนึ่งในจำนวนนั้นละก็ ถือได้ว่าคุณได้เดินอยู่บนหนทางแห่งความสำเร็จแล้ว

ประวัติของจังหวะ วอลซ์

ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 – 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับ ใน โรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ “บอสตัน วอลซ์” ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบันใน ปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ “วอลซ์” หลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้นด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น THE NATURAL และ REVERSE TURN และ THE CLOSED CHANGE ความก้าวหน้าในการพัฒนา จังหวะ “วอลซ์” เป็นไปอย่าง ยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้องยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLY) วิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ (VICTOR SILVESTER) และแม็กซ์เวลล์ สจ๊วตค์ (MAXWELL STEWARD) และแพ็ทไซด์ (PAT SYKES) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาวอังกฤษ สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการ พัฒนาแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็นมาตรฐานคือ “IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS” (ISTD) ท่าแม่แบบ เหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ วอลซ์

เอกลักษณ์เฉพาะ สวิง และเลื่อนไหล นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซาบซึ้งและเร้าอารมณ์ การเคลื่อนไหว การสวิง ลักษณะแกว่งไกวแบบลูกตุ้มนาฬิกา ห้องดนตรี 3 / 4 ความเร็วต่อนาที 28-30 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีท (Beat) ที่ 1 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที การขึ้นและลง เริ่มขึ้นหลังสิ้นสุด 1 ขึ้นต่อเนื่องตอน 2 และ 3 หน่วงลดลงหลังสิ้นสุด 3 หลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีสัมพันธ์กับการเลื่อนไหล การใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ วอลซ์

.ลักษณะท่าทางอย่างหนึ่ง ที่ต้องมีให้เห็นจากนักแข่งขัน ไม่ว่าจะระดับไหน คือ ลักษณะแกว่งไกวของลูกตุ้มนาฬิกา เปรียบเทียบได้กับการแกว่งของลูกตุ้มระฆัง จังหวะวอลซ์ต้องมีการสวิงขึ้น และลงที่มีความ สมดุล ในระดับที่ถูกต้อง ด้วยการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ โครงสร้างของท่าเต้นต้องเป็นแบบที่มีการสวิงโยกย้าย นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซึ่งบังเกิดผลให้นักเต้นรำ เคลื่อนที่ไปอย่างเป็นธรรมชาติ และโล่งอิสระร่วมกับการ เปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วง โดยปกติแล้ววอลซ์ ควรประกอบด้วยลวดลายที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการควบคุม (CONTROL) ที่ยอดเยี่ยม และเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ในหลาย ๆ กฎเกณฑ์ ดนตรีจะมีความโรแมนติค ชวนฝัน ละเอียดอ่อน และ เปรียบเสมือนกับสตรีเพศ ซึ่งนี้คือ ข้อที่พึงระมัดระวังถึงของคู่แข่งขันจำนวนมาก เขาต้อง ปลดปล่อยให้ความรู้สึกไวต่อการรับรู้ถึงจังหวะและอัตราความเร็วของดนตรีและการเตรียมพร้อมที่จะเต้นให้แผ่ว เบา อย่างมีขอบเขตและอิสระ

เหมือนกับทุก ๆ จังหวะ การเต้นจากเท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) จะขาดเสียไม่ได้เลย สำหรับ วอลซ์ แล้ว “ชั่วขณะที่” เมื่อเริ่มยืดขึ้น (RISING) จากน้ำหนักเท้าส่ง นั้นมีความสำคัญยิ่ง การลดลงพื้น (LANDING) ขณะที่หน่วงลง (LOWERING) บนเท้าที่รับน้ำหนัก (SUPPORTING FOOT) ตามความตอ้งการในแบบฉบับของ วอลซ์ ต้องเร็งยืด (TENSION) และควบคุม (CONTROL)

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ แทงโก้ TANGO

ถึงเวลาของแทงโก้แล้ว เปรียบตัวเองว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่ง คุณจะมีเวลาเพียงแค่ 15 วินาที ที่จะ ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ จากอาการสวิง และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระจกกการเต้น วอลซ์ จังหวะแทงโก้มี ความแตกต่างกับจังหวะอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มันไม่มีการขึ้นและลง (RISE AND FALL) ไม่มีการสเวย์ของลำตัว (BODY SWAY) การเปลี่ยนท่าทางการเข้าคู่ (HOLDING) ต้นขาเบี่ยงเข้าหากัน และผู้เต้นควรเตรียมพร้อมทั้ง ร่างกาย และจิตใจเพื่อจะทำให้เกิดอาการกระแทกกระทั้นเป็นช่วง ๆ (STACCATO ACTIONS) ตามที่จังหวะนี้ต้องการ เมื่อจังหวะแทงโก้ตั้งเค้าที่จะเริ่ม คุณลองใส่ความรู้สึกลงไปว่า คุณเป็นผู้ชม หรือผู้เข้าแข่งขันคู่หนึ่งที่ อยู่ในสนามแข่งขัน ระดับความตึงเครียดและการเตรียมพร้อมจะมีสูงขึ้นอย่างผิดปกติวิสัย เปรียบเสมือนว่า สงครามย่อย ๆ กำลังจะปะทุขึ้นบนฟลอร์การแข่งขันอย่างไรอย่างนั้น

สิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามจะอธิบายอยู่ ณ ที่นี้ คือ คู่เต้นรำจำนวนมากไม่เคยได้ฝึกฝนการสับเปลี่ยนโดย ฉับพลัน จากการเต้นจังหวะวอลซ์ มาเป็นหลักการพื้นฐานของจังหวะแทงโก้.........เพียงแค่ 15 วินาที! ควร คำนึงถึงเสมอว่าต้นแบบของแทงโก้ เมื่อเริ่มเตรียมเข้าคู่เพื่อการแข่งขัน คุณควรเตรียมพร้อมในการแผ่รัศมี เพื่อที่จะฉายแวว ของความเย่อหยิ่ง ยโส ซึ่งเป็นแบบฉบับของชาวสเปน/อาเจนติน่า ก่อนหน้าที่ดนตรีจะเริ่ม บรรเลง และ ก่อนที่จะเริ่มในย่างก้าวแรก เหล่ากรรมการตัดสินล้วนเป็นผู้ที่ไวมากต่อการรับรู้ และสังเกตการแผ่รัศมีนี้ในทันทีทันใด ข้อสรุปของข้าพเจ้าตรงนี้คือ กรรแข่งขันจังหวะแทงโก้นี้ตั้งเค้าก่อนที่ดนตรีจะเริ่มบรรเลงเสียอีก

ประวัติของจังหวะแทงโก้

จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของศีรษะและไหล่โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใดจากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบ ต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจาก ประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES) แห่งประเทศอาร์เจนติน่าจังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้ว เริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชน

ชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ ไม่เป็นที่ยอมรัในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการ ยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และ แทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ

ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการ ประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้

เอกลักษณ์เฉพาะ มั่นคง และ น่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และ เลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมว ห้องดนตรี 2/4 ความเร็วต่อนาที 31-33 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที การขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลง หลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ

การสื่อสารความหมายของจังหวะ แทงโก้

ลองพิจารณาซิว่าการเต้น แทงโก้ ของคุณต้องไม่ดูเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่าทางการเคลื่อนไหวต้องแผ่รังสีคล้ายสัตว์ ดั่งแมว หรือ เสือ นอกเหนือจากนั้น ความสำนึกในหลายๆ รูปแบบของการเต้นต้องใส่ความรู้สึกที่ หยิ่งยโส ตามแบบฉบับของชาวสเปน มันไม่มีการขึ้น และ ลง ไม่มีการสเวย์ของลำตัว ต้นขา และ เข่า เบี่ยงชิด ซึ่งกันและกันเล็กน้อย ( ให้นึกถึงความรู้สึกที่เพรียว ชะลูด ) ด้านขอบในของเท้าให้เก็บเข้าหากันเล็กน้อย ตลอดเวลา ฝ่ายหญิงให้ยื่นเบี่ยงไปทางขวา ของชายมากกว่าที่เคย และสร้างกิริยา ท่าทาง ที่เหย่อหยิ่ง และ เชื่อมั่น คู่เต้นรำต้องแผ่รังสี ในการดูดซับความรู้สึกของลำตัว ซึ่งกันและกันไว้ สำหรับการเพิ่มแรงโน้มถ่วงที่ลงพื้นมีไว้ในสถานการณ์ที่ต้องการสับเปลี่ยนให้เป็นอย่างฉับพลันสงบนิ่ง การใช้เท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเหมือนกับทุกๆ จังหวะการเคลื่อนลำตัวให้ผ่านเท้า และลีลาท่าทางการก้าวย่างของโครงสร้างท่าเต้น จะเพิ่มศักยภาพให้กับ แทงโก้ของคุณ ในด้านการแสดงออก รากเหง้าของจังหวะ แทงโก้คือ การเต้นรำที่เหมือน “ศิลปะการละคร และการให้อารมณ์” (DRAMA AND MOOD)

การให้จังหวะที่ถูกต้องในรูปแบบท่าเต้นแสดงให้เห็นถึงความ เฉียบคม และ ความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการเคลื่อนไหว และ ความสงบนิ่ง การต่อต้าน หรือการต่อสู้ขัดขืนพัฒนาไปสู่ คุณภาพของความ เฉียบพลันในการเคลื่อนไหวของจังหวะ แทงโก้

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ เวียนนีสวอลซ์ VIENNESE WALTZ

จังหวะเวียนนีสวอลซ์ เป็นจังหวะท่าเต้นรำที่ได้แสดงถึงการมีพลัง ความอดทนการเคลื่อนไหวที่เป็น อิสระ และ การสวิงไปด้านข้าง จังหวะนี้มีรูปแบบการเต้น (FIGURES) ที่น้อยมากความเร็วดนตรี นับได้ถึง 60 บาร์/นาที ซึ่งได้บ่งบอกถึงตัวของมันเอง การเต้นจังหวะเวียนนีสวอลซ์ เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันวิ่งใน ระยะทาง400เมตรของนักกีฬา บ่อย ครั้ง ที่คุณเห็นจุดผิดพลาดนี้ เกิดขึ้นบนฟลอร์ของการแข่งขันซึ่งเปรียบเสมือนกับการแข่งขันวิ่ง ในระยะทาง 400 เมตร , ผู้เข้าแข่งขันเริ่มต้นจังหวะนี้ อย่างเปี่ยมไปด้วยพลัง แต่แล้วก็ไม่สามารถรักษาคุณภาพ ให้อยู่ในระดับเดิมได้ และเริ่มที่จะทำเทคนิคของการเต้นผิดพลาด เนื่องจากพละกำลังทดถอย และหลังจากนี้ แล้วการเต้นในจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทก็จะมาถึง .......... ควรระมัดระวังที่จะแสดงให้เห็นถึง การเต้นที่โล่งอิสระ และ รักษาระดับความเร็วของการเคลื่อนไหวที่ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อนั้นแล้ว คู่ที่กำลังเต้นอยู่ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลังของคุณจะถูกนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการง่ายมาก ต่อการตัดสินของคณะกรรมการ

..........เป็นการยากมากที่จะได้พบเห็น การเต้นเข้ากับช่วงจังหวะดนตรี (MUSICAL PHRASING) ในระดับ นักเต้นรำสมัครเล่น และ ข้าพเจ้าคิดว่ามันไม่ยากนักที่จะเพิ่มเข้าไปในการเต้นเวียนนีสวอลซ์ของคุณ ลองดูซิ !

ประวัติของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์

โดยดั้งเดิมเวียนนีสวอลซ์มีความเป็นมาจาก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน แถบเทือกเขา เอลป์ ช่วง ศตวรรษ ที่ 18 การเต้น WELLER , WALTZ และ LANDLER ได้ถูกค้นพบ และ จังหวะสุดท้าย LANDLER นี่เองที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมของ เวียนนีสวอลซ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1800 และ ค.ศ. 1820 การก้าวเท้าและ รูปแบบท่า เต้นต่างๆ ของจังหวะ LANDLER ได้ถูกลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเร็วของดนตรี และจากนั้น การเต้น 6ก้าวของเวียนนีสวอลซ์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น .......... ช่วงยุค ซิคตี้ (SIXTIES) ประเทศเยอรมัน และอังกฤษ ได้มีการถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวนของ รูปแบบท่าเต้น ที่จะอนุญาตให้บรรจุเข้าในการแข่งขัน ในปี ค.ศ. 1883 I.C.B.D. (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM DANCING) ได้สรุปตกลงใจในขั้นสุดท้าย ดังนี้ NATURAL AND REVERSE TURN , NATURAL AND REVERSE FLECKERS THE CONTRA CHECK เปลี่ยนจาก REVERSE FLECKERS ไปยัง NATURAL FLECKERS เต้นอยู่บนเวลาหนึ่งบาร์ของดนตรี

ในความเห็นของข้าพเจ้า ควรที่จะเพิ่มเติม ฟิกเกอร์ (FIGURES) เข้าไปในเวียนนีสวอลซ์มากยิ่งขึ้น เพื่อ กระตุ้นให้มีการพัฒนาในรูปแบบทิศทางที่แน่นอนขึ้น อย่างเช่น THROWAWAY OVERSWAY, NATURAL HINGE LINE ON RIGHT SIDE , NATURAL OFF – BEAT SPINS ฯลฯ

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์

เอกลักษณ์เฉพาะ การโคจรไปโดยรอบ การสวิงที่โล่งอิสระ การเคลื่อนไหว เคลื่อนไปข้างหน้า ห้องดนตรี 3 / 4 ความเร็วต่อนาที 58-60 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาที ถึง 1 นาทีครึ่ง การขึ้น และ ลง ไม่มีการเขย่งขึ้นในการหันวงใน หลักพลศาสตร์ เลื่อนไหล และ เคลื่อนไปอย่างโล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์

จังหวะเวียนนีสวอลซ์ เป็นการเต้นรำที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ในลักษณะโคจรไปโดยรอบ (ROTATING DANCE) ที่ร่วมกับการเน้น บนบีทที่ 1 ของดนตรี ลองคิดถึงว่า ขณะที่กำลัง วอลซิ่ง (WALTZING) เคลื่อนไป รอบ ๆ ฟลอร์แข่งขัน คนใดคนหนึ่ง คุณหรือคู่เต้นจะมีโอกาสอยู่ในวงใน (INNER TURN)หนึ่งครั้ง การเลื่อน ไหลและการเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะอยู่วงใน ตัดสินใจได้จากการเลื่อนไหล และ เคลื่อนไปข้างหน้าจากการหัน ที่อยู่วงนอก (OUTSIDE TURN) บ่อยครั้งที่ฝ่ายชายเคลื่อนไปข้างหน้ามากไปในขณะที่อยู่วงใน ซึ่งทำให้ฝ่ายหญิง เสียการทรงตัว ขณะเต้นอยู่วงนอก

การทำสเวย์ ก้าวแรกของ NATURAL TURN มากไป อาจขัดขวางการเคลื่อนไหวของการเลื่อนไหลที่เป็นธรรมชาติของลำตัว ในจังหวะเวียนนีสวอลซ์ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ ก้าวแรกนี้จะไม่มีการสเวย์! คุณอาจจะ เหลือสเวย์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเล็กน้อย ตอนที่กำลังเริ่มออกเท้า ก้าวที่ 1 และก้าวที่ 4 การรวบชิดของเท้าต้องไม่ให้ สังเกตเห็นได้ชัดจากอาการในช่วงบน (TOP LINE) และช่วงศีรษะ (HEAD LINE)

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ สโลว์ ฟอกซ์ทรอท SLOW FOXTROT

สโลว์ ฟอกซ์ทรอท จะถูกมองอยู่บ่อยๆว่า เป็นการเต้นรำที่ จัดอยู่ในฐานะหัวใจหลัก (CORNER STONE) ของการเต้นรำแบบบอลรูม บางท่านถึงกับกล่าวว่า หากคุณสามารถเต้นจังหวะนี้ได้ดีแล้ว คุณก็จะมีพื้นฐานที่ เติบโตขึ้นมาเองโดยปริยาย ซึ่งทำให้เต้นรำจังหวะอื่น ๆ ได้ดีด้วยเช่นกัน โดยการปรับระดับการขึ้นและลงให้แน่ชัดและการได้มาของกลุ่มท่าเต้น(CHOREOGRAPHY) ที่เหมาะสม นักเต้นจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทที่ดี ปกติแล้วจะสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับจังหวะดนตรีได้เกือบทั้งหมดไม่เหมือนจังหวะอื่นๆ ............จังหวะสโลว์ ฟอกซ์ทรอท นี้ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนักตั้งแต่มีการเริ่มพัฒนา โครงสร้างของ จังหวะนี้ประกอบด้วย ท่าก้าวย่างพื้นฐาน และรูปแบบของท่าเต้นที่มีจำกัด หลาย ๆ ครั้งในการแข่งขัน ความ หลากหลายอย่างมากมายที่มีให้กับการเต้น ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้าแล้ว มันได้ทำลายความเป็นเอกลักษณ์ที่ แท้จริงของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท ซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานอยู่กับสไตล์ ความเก๋เท่ห์ ความสมดุลที่สง่างาม การ เคลื่อนไหวและจังหวะเวลา คุณจะไม่ชนะการเต้นจังหวะนี้ด้วยรูปแบบท่าเต้นที่โลดโผน (EXITING CHOREOGRAPHY) แต่คุณจะชนะได้ด้วยการแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่มีคุณภาพสูง ผ่านเหนือฟลอร์ของการ แข่งขัน ...........คำกล่าวที่ข้าพเจ้าจะขอร่วมด้วยในจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท คือ การมีคุณภาพความชำนาญทางเทคนิค ความกลมกลืนที่ใสสะอาด............... นึกถึงมันสิ!

ประวัติของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท

จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท ได้ถูกแนะนำ เข้ามาในทวีปยุโรป เพิ่งจะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จากรากฐานของมัน ฟอกซ์ทรอท เป็นการเต้นรำที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการเคลื่อนไหวที่มีทั้งช้าและเร็ว พูดกันว่าชื่อ นี้ตั้งขึ้นมาจากนักเต้นรำ ประกอบดนตรีคนหนึ่ง (MUSICAL DANCER) ชื่อฮารีฟอกซ์ (HARRY FOX) เหล่า ครูสอนเต้นรำชาวยุโรปไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นนัก ต่อลักษณะการเต้นอย่างไม่มีรูปแบบของจังหวะฟอกซ์ ทรอท และเริ่มต้นขัดเกลาเพิ่มขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 1922 และ 1929 แฟรงค์ฟอร์ด (FRANK FORD) ผู้ซึ่งเคยร่วม สาธิตกับ โจเซฟฟิน เบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLEY) ได้พัฒนาพื้นฐานการเคลื่อนไหวพื้นฐานของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอทขึ้นแง่คิดนี้ทำให้เขาได้รับชัยชนะ ในงานแข่งขันเต้นรำปี 1927 “STAR CHAMPIONSHIPS” ร่วมกับคู่เต้นที่ชื่อ มอลลี่ สเปญ (MOLLY SPAIN)ท่าเต้นส่วนมากที่ทั้งสองใช้เต้นในครั้งนั้น นักแข่งขันยังคงใช้ อยู่ถึงปัจจุบัน

ช่วงเวลานั้น ทำนองดนตรีที่ถูกต้อง ยังไม่คิดทำขึ้น จังหวะฟอกซ์ทรอท คิดจะเล่นอย่างไรก็ได้ซึ่งมีตั้งแต่ จาก 40 ถึง 50 บาร์ ต่อนาที และเป็นการง่ายที่จะใช้สไตล์อย่างไรก็ได้ สุดแท้แต่ความเร็วของดนตรีที่เปลี่ยนแปลง ไป ตามแต่ว่าใครที่จะเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี แต่ครั้งนั้นครั้งเดียววงดนตรี วิคเทอซิลเวสเทอ (VICTOR SILVESTOR’S BAND) เริ่มทำการปรับปรุงและปัญหาก็ได้ถูกแก้ไข

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท

เอกลักษณ์เฉพาะ ความบริสุทธิ์ชัดเจนและสง่างามอย่างมีบุคลิก การเคลื่อนไหว ความต่อเนื่อง เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างโล่งอิสระ และรูปแบบที่มีแนวตรงอย่างเป็นระเบียบ ห้องดนตรี 4 / 4 ความเร็วต่อนาที 28-30 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 2 ระยะเวลาของการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที

การขึ้นลง ขึ้นหลังสิ้นสุด 1 ขึ้นตอน 2 ขึ้นและหน่วงลงหลังสิ้นสุด 3 หลักพลศาสตร์ การเลื่อนไหล และ เคลื่อนที่อย่างโล่งอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท

จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท เป็นจังหวะหนึ่ง ที่มากไปด้วยรูปแบบของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และ ถอย หลังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงและเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบบนฟลอร์การแข่งขัน เกี่ยวเนื่องจากเอกลักษณ์ของความ ต่อเนื่อง และการเลื่อนไหลของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทมันเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดการขึ้นและการลงที่ กลมกลืน ซึ่งผลลัพธ์นี้ คุณควรจะมีการตัดสินใจที่แน่วแน่ในการใช้พลังที่มีท่าทีของการโอนอ่อนผ่อนตาม ซึ่ง การนี้ การใช้เท้าและการเปลี่ยนน้ำหนัก จะไม่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่กำลังหน่วงลง (LOWERING) กฏก็คือว่าเข่าจะยันรับน้ำหนักของลำตัว โดยการยืดหยุ่นก่อนที่เท้าจะยันรับและหน่วงลงซึ่งขาดเสียมิได้เลย

การก้าวเท้าควรสนับสนุน การสวิงของลำตัว (ลำตัวต้องก่อน) โดยการดันส่งจากขาข้างที่รับนำหนักและ การดึง (PULLING) ขณะที่ขาข้างที่กำลังก้าวได้มาถึง ผู้ฝึกสอนบางท่านอธิบายว่า คุณควรจะใช้เท้าให้ เปรียบเสมือนดั่ง “วงล้อ” ขอเห็นด้วยต่อคำกล่าวนี้เป็นอย่างยิ่งแต่ข้าพเจ้าชอบที่จะอธิบายว่า อาการ หรือ การทำ งานของ “วงล้อ” จะเหมาะสมกว่า

ผู้ที่เป็นแชมป์เปี้ยนสามารถที่จะลดลักษณะการดัน (PUSHING) และ การดึง (PULLING) ของการก้าวเท้าของกันและกันอย่างแยบยล ผลจากการแสดงนี้ .....คือการเคลื่อนไหวของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท อันสวยสดงดงาม

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ ควิ๊กสเต็ป QUICKSTEP

ถึงเวลาของการปลดเบรคแล้ว มันคือ ช่วงเวลาของจังหวะควิ๊กสเต็ป สำหรับข้าพเจ้าบรรดาการเต้นรำ แบบมาตรฐานทั้งห้าจังหวะ ควิ๊กสเต็ปเป็นจังหวะที่ให้ความสนุกสนานไม่มีขีดจำกัดในความเร็ว การเคลื่อนไหว การโคจรและการหน่วงเวลาจนวินาทีสุดท้าย เพื่อสร้างความสนุกสนานบนฟลอร์การแข่งขัน “ควิ๊กสเต็ป” สำหรับข้าพเจ้าควิ๊กสเต็ปเปรียบเสมือนเป็นขวดแชมเปญอย่างดีที่ซึ่งเปิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ดนตรีเริ่มบรรเลง และมันก็เป็นจังหวะหนึ่งด้วยที่ได้ละทิ้งหลักการใช้เท้าเฉียดพื้นผิวฟลอร์ออกจากจังหวะอื่น ตอนนี้บางครั้งการ เคลื่อนฝ่าอากาศธาตุอย่างเต็มพิกัด ที่อนุญาตให้ทำได้ในการเต้นควิ๊กสเต็ปยุคใหม่ การทำให้ประสบความสำเร็จ เช่นนี้ต้องได้รับการฝึกฝนร่วมกันเป็นอย่างดีระหว่างคนสองคนให้มีจังหวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ..........เนื่องมาจากระดับความเร็ว ลำตัวของคุณมีความต้องการ การควบคุมที่เพิ่มขึ้น (EXTRA TONING) เท้า และข้อเท้ามีความต้องการความเร็วที่ถูกต้อง เพื่อสามารถเต้นให้เกิดความเฉียบคมในความตรงกันข้ามระหว่าง ความเร็วและช้า การใช้เข่าและขาในบางครั้ง ขณะก่อนที่คุณจะลดลงพื้นต้องเพิ่มการยึดรับน้ำหนักทั้งหมดของ ลำตัวไว้

ประวัติของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป

จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แตกแขนงมาจาก จังหวะฟอกซ์ทรอท ช่วงทศวรรษที่ 20 วงดนตรีส่วนมากจะเล่น จังหวะฟอกซ์ทรอท ถึง 50 บาร์ต่อนำที ซึ่งเป็นความเร็วที่เร็วเกินไป การก้าวเท้าที่เปิดกว้างของจังหวะสโลว์ ฟอกซ์ทรอทไม่สามารถจะทำการเต้นบนความเร็วขนาดนี้ได้ ชาวอังกฤษได้พัฒนามาจากการเต้น ชาร์ลสทั่น (CHARLESTON) ต้นแบบซึ่งเป็นจังหวะหนึ่ง ของการเต้นที่ต่อเนื่อง โดยไม่มีการเตะเท้าและได้ทำการผสมผสาน กับจังหวะฟอกซ์ทรอท (เร็ว) ที่ได้กล่าวมาแล้ว เรียกจังหวะนี้กันว่า จังหวะ ควิ๊กไทม์ ฟอกซ์ทรอท และ ชาร์ลสทั่น (QUICKSTEP FOXTROT AND CHARLESTON) คู่เต้นรำชาวอังกฤษ แฟรงคฟ์อร์ด และ มอลลี่ สเปญ (FRANKFORD AND MOLLY SPAIN)ได้เต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ QUICKTIME FOXTROT AND CHARLESTON ในงานเดอะสตาร์แชมป์เปี้ยนชิพ ของปี ค.ศ.1927 โดยปราศจากลักษณะท่าทางของการใช้เข่า แบบ CHARLESTON และทำการเต้นเป็นคู่แทนการเต้นแบบเดี่ยว

รูปแบบท่าเต้น คือ QUARTER TURNS, CROSS CHASSES, ZIGZAGS, CORTES,OPEN REVERSE TURNS และ FLAT CHARLESTON ในปี ค.ศ. 1928 / 1929 จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แจ้งเกิดอย่างแน่ชัด ในรูปแบบ ของ การก้าวแบบ ชาสซี่ส์ (CHASSES STEPS)

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป

เอกลักษณ์เฉพาะ กระฉับกระเฉง ตื่นตัวและชั่วพริบตา ความเพลิดเพลิน การเคลื่อนไหว อย่างรวดเร็ว ลูกเล่นของเท้า ร่วมโบยบิน และเคลื่อนเลียดพื้นอย่างโล่งอิสระ ห้องดนตรี 4 / 4 ความเร็วต่อนาที 50-52 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 และ 3 ระยะเวลาของการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที การขึ้นและลง เริ่มขึ้นหลังสิ้นสุด 1 “ขึ้น” ต่อเนื่องตอน 2 และ 3 ขึ้น / ลดลง หลังสิ้นสุด 4 หลักพลศาสตร์ เลื่อนไหล โบยบิน และการเคลื่อนที่เลียดพื้น

การสื่อความหมายของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป

ร่างสองร่างกำลังเคลื่อนที่ในความเร็วตามความต้องการของจังหวะควิ๊กสเต็ป เหนือสิ่งอื่นใด การทำให้เป็นจังหวะเดียวกัน รวมไปถึงการเข้าใจเกี่ยวกับการเกร็งยืดของขา และวิธีการใช้ข้อเท้าระหว่างปฏิบัติการของ ลูกเล่นของเท้า (TRICKSTEPS) ทั้งคู่ ต้องการการปรับระดับการควบคุม (TONING)ของเท้าและขา เปรียบเทียบ ได้กับจังหวะไจว์ฟ (JIVE) ในการเต้นแบบลาติน อเมริกัน

การสื่อความหมายของดนตรีที่ถูกต้อง จังหวะเวลาของการช้า (SLOWS) ควรยืดออกเล็กน้อยเพื่อสร้าง พลังของอาการคมชัดในข้อเท้า ใน “การเร็ว” (QUICKS) ประสบการณ์ของการใช้ฟลอร์ (FLOORCRAFT) ใน จังหวะนี้มีความสำคัญมากกว่าการเต้นรำแบบอื่น ๆ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ แซมบ้า SAMBA

ความมีชีวิตชีวาและท่วงทำนองที่มีจังหวะจะโคนของแซมบ้า โดยปกติแล้วจะนำมาซึ่งความตื้นเต้นเร้าใจบนฟลอร์ของการแข่งขัน การออกแบบท่าเต้น การมีดุลยภาพร่วมกับการทรงตัวที่หยุดนิ่ง และรูปแบบของการเต้นซิกแซก ที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้า โดยทั่วไปแล้วแซมบ้า เป็นการเต้นรำที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าลักษณะ การเคลื่อนไหวควรที่จะสะท้อนถึงลักษณะการเดินพาเหรด เป็นวงกลมในที่ว่าง บางครั้งจะแสดงลีลาอวดผู้ชม โดยการเต้นอยู่กับที่

การเต้นแซมบ้าแบบแข่งขันในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิมของ “บราซิลเลี่ยน แซมบ้า” ไปเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตนั้น เน้นการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความรู้สึกที่ลุ่มหลง คลั่งไคล้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแซมบ้าจะเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิมไป โดยละทิ้งลักษณะการเต้นแบบพาเหรด และความมีชีวิตชีวา ลงไปบ้างก็มิได้ทำให้เสียภาพลักษณ์ของแซมบ้าแต่อย่างไร

สิ่งที่เราต้องการจะเห็นจากคู่แข่งขันก็คือ การใช้ความยืดหยุ่นของร่างกายเป็นอย่างมาก ท่อนแขนจะมี บทบาทสำคัญรองลงมา โดยใช้เพื่อทำให้เกิดความสมดุลในการใช้ร่างกายเต้นเข้ากับจังหวะ นักเต้นแซมบ้าที่ดี ควรตระหนักถึงการใช้น้ำหนัก และจะต้องไม่เพิ่มเติมความหนักหน่วงลงไปในน้ำหนักของการเคลื่อนไหวที่เป็นจริง

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักแข่งขันก็คือ ต้องให้ความสำคัญโดยมุ่งประเด็นไปที่ ลักษณะการผ่อนคลายและ การใช้น้ำหนัก, การเน้นเพื่อเพิ่มทัศนะการต่อสู้บนฟลอร์การแข่งขัน เพื่อเชือดเฉือนให้ออกมาเป็นแซมบ้า ที่เปี่ยมไปด้วยยชีวิตชีวา

ประวัติของจังหวะ แซมบ้า

ต้นแบบของแซมบ้ามาจากอัฟริกา แต่ได้รับการพัฒนามากที่สุดที่ประเทศบราซิล ซึ่งจะปรากฎให้เห็น ในงานเทศกาลรื่นเริงและตามโรงเรียนสอนจังหวะแซมบ้าในประเทศบราซิล ปี ค.ศ. 1925 จังหวะแซมบ้าได้เริ่ม แพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป ถึงแม้ว่า แซมบ้า จะได้รับการยอมรับเป็นจังหวะหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขันก็ตามแต่การ บุกเบิกครั้งสำคัญของจังหวะแซมบ้า ได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1939 ในงานมหกรรมการแสดงระดับโลกใน นครนิวยอร์ค จังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1948/1949 ผู้ที่ได้พัฒนาจังหวะแซมบ้า มาก ที่สุดคือ WALTER LAIRD และ LORRAINE ซึ่งทั้งสองท่านเป็นอดีตแชมป์เปี้ยนโลก ของการเต้นรำแบบ ลาตินอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แซมบ้า

เอกลักษณ์เฉพาะ เบิกบาน มีชีวิตชีวา และ ความพึงพอใจ การเคลื่อนไหว แบบซิกแซก , เคลื่อนที่แบบเดินขบวน และ แบบวงกลม เต้นในที่โล่ง หรือ อยู่กับที่ ห้องดนตรี 2/4 ความเร็วต่อนาที 50-52 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้น บนบีท (Beat) ที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที การขึ้นและลง ท่า เบ้าส์ (Bounce) ของ แซมบ้า หลักพลศาสตร์ ความหนักหน่วง ยืดหยุ่น หน่วง........แล้วก็ทันทีทันใด

การสื่อความหมายของจังหวะ แซมบ้า

แบบฉบับท่าทางการยืดหยุ่นขึ้นลงของ แซมบ้า (BOUNCE ACTION) ก่อให้เกิดการย่นย่อ และ การ เหยียดตึงของเข่า และ ข้อเท้า ของขาข้างที่รองรับน้ำหนักอยู่ ในแต่ละครั้งของการยืดขึ้นและหน่วงลงใช้เวลา ครึ่งบีท (1/2 BEAT) ของดนตรี ระดับของการใช้ความยืดหยุ่นในท่าเต้นต่างๆไม่เหมือนกันทั้งหมด บ้างก็มีเพียง เล็กน้อย บ้างก็ไม่มีการขึ้นลงเลย

ลีลาท่าทางของแซมบ้ำ ควรสะท้อนให้เห็นถึงการเดินพาเหรดเคลื่อนเป็นวงกลมในที่โล่งแสดงอวดผู้ชม บ้างในบางครั้ง ด้วยการเต้นพักอยู่กับที่

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ ช่า – ช่า – ช่า CHA CHA CHA

หลังจากที่การแข่งขัน ในจังหวะแซมบ้าสิ้นสุดลง จะเห็นว่าคู่แข่งขันต่างพากัน เลือกตำแหน่งบนฟลอร์ เพื่อเต้นรำจังหวะ ช่า ช่า ช่า ซึ่งเป็นจังหวะที่สองของการแข่งขัน ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบการจัดท่าเต้นของ จังหวะนี้ไม่มุ่งเน้นให้มีการเต้นแบบเดินไปข้างหน้า ฉะนั้นนักแข่งขันจึงมีโอกาสที่จะเลือกที่ว่างตามความถนัด บนฟลอร์ของการแข่งขัน .......... นักแข่งขันเหล่านั้น เสาะแสวงหาจุดสัมผัส เพื่อที่จะแสดงอวดผู้ชม พวกเขารู้ว่า การได้รับการตอบรับ จากผู้ชมจะปลุกเร้าให้เกิดอารมณ์ ในการแสดงที่ดียิ่งขึ้น ลองไตร่ตรองดูซิว่า จังหวะ ช่า ช่า ช่า เป็นจังหวะที่ กระจุ๋ม กระจิ๋ม และ เบิกบานการได้รับการกระตุ้นอย่างเป็นธรรมชาติจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นเชิงบวกแก่บรรดา นักเต้นทั้งหลาย .......... ในท่าเต้นที่ได้รับการจัดรูปแบบแล้ว บรรดานักเต้นจะเน้นการใช้ขา และ เท้า ร่วมกันกับกริยาท่าทางของการใช้ลำตัว ซึ่งความสำคัญนี้จะมีมากกว่า จังหวะก่อนหน้านี้ / จังหวะแซมบ้า

ประวัติของจังหวะ ช่า ช่า ช่า

จังหวะช่า ช่า ช่า ได้รับการพัฒนามาจาก จังหวะ แมมโบ้ (MAMBO) และเป็นจังหวะลาตินที่คนส่วนมาก ชอบที่จะเลือกเรียนรู้เป็นอันดับแรก ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของรองเท้า ขณะที่กำลังเต้นรำของ สตรี ชาวคิวบา จังหวะ ช่า ช่า ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกาและระบาดเข้าไปในยุโรป เกือบจะ เป็นเวลาเดียวกันกับ จังหวะแมมโบ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมมโบ้ได้เสื่อมความนิยมลงไปโดยหันมานิยมจังหวะ ช่า ช่า ช่า ซึ่งกลายเป็นความนิยมอย่างจริงจังในปีค.ศ.1956

หากสอดคล้องกับต้นแบบแล้ว ดนตรีของจังหวะ ช่า ช่า ช่า ควรเล่นด้วยอารมณ์ความรู้สึกโดยปราศจาก ความตึงเครียดใดๆ ร่วมด้วยลักษณะการกระแทกกระทั้นของจังหวะที่ทำให้นักเต้นรำสามารถที่จะสร้าง บรรยากาศของความรู้สึกที่ขี้เล่น และซุกซน ให้กับผู้ชมได้

เมื่อไม่นานมานี้ เป็นที่ตกลงกันไว้ว่า ให้ตัดทอนชื่อให้สั้นลง เป็น ช่า ช่า แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นว่ามีเหตุผล อะไรที่ต้องทำอย่างนั้น

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ ช่า ช่า ช่า

เอกลักษณ์เฉพาะ กระจุ๋มกระจิ๋ม เบิกบาน การแสดงความรักใคร่ การเคลื่อนไหว อยู่คงที่ คู่เต้นรำเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม และ ร่วมทิศทาง เดียวกัน ห้องดนตรี 4/4 ความเร็วต่อนาที 30-32 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที หลักพลศาสตร์ การเคลื่อนที่ตามเวลา ทันทีทันใด หนักหน่วงโดยตรง และ การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ

การสื่อความหมายของจังหวะ ช่า ช่า ช่า

ความสำคัญของจังหวะนี้อยู่ที่ ขา และ เท้า โครงสร้างของการจัดท่าเต้นไม่ควรให้มีการเคลื่อนที่มากนักและต้องมีความสมดุลย์ที่ผู้ชมสามารถจะเข้าใจในรูปแบบและติดตามทิศทางได้ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง ควรมุ่งเน้นไปที่“จังหวะเวลา” ของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่าทาง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ จังหวะ รุมบ้า RUMBA

ถึงเวลาของ รุมบ้า ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่เพิ่มเติมความตึงเครียดระหว่างคู่แข่งขัน ทั้งชาย และ หญิง มันมีความสำคัญอย่างยิ่งที่รูปแบบของการออกแบบท่าเต้น ต้องเน้นให้ฝ่ายหญิงสามารถที่จะใช้สะโพกผ่านการ เคลื่อนไหวได้ การแสดงออกของฝ่ายหญิง ต้องแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อการให้ความรู้สึกซึ่งงผลของการ เคลื่อนไหวของสะโพกเกิดขึ้นเนื่องจากฝ่ายชาย การเคลื่อนไหวสะโพกของฝ่ายชาย แสดงออกถึงการให้ความรู้สึกยั่วยวน ซึ่งเป็นไปอย่างระมัดระวัง แต่นี่ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญนักสำหรับฝ่ายชาย การใช้ทุกสัดส่วนของ ร่างกายเพื่อที่จะสร้างอิทธิพลทางกายภาพ ให้ฝ่ายหญิงเกิดความประทับใจ และเขาจะยืนอย่างแน่วแน่โดยมุ่งตรง ไปที่หล่อนฝ่ายชายควรที่จะสร้างความรู้สึกให้เห็นว่ามีความต้องการหล่อน ...........นักแข่งขันไม่ควรเต้นเคลื่อนที่ไปรอบๆ ฟลอร์ เขาควรที่จะทำการเต้นอยู่ในส่วนพื้นที่ว่างของตัวเองในลักษณะที่อยู่คู่กัน การย่างก้าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้เคลื่อนไปข้างหน้า แต่เป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำหนัก ร่วมกันกับ การบิดเอี้ยวลำตัวเล็กน้อย ในลักษณะยั่วยวนและการใช้สะโพกที่เป็นธรรมชาติในขอบเขตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของจังหวะ รุมบ้า อย่างแท้จริง

ข้าพเจ้าไม่ชอบที่จะเห็นการออกแบบท่าเต้นที่โลดโผน ในลักษณะกายกรรม และด้วยยการแสดงออกของหน้าตาที่ไม่เป็นธรรมชาติ โดยเกี่ยวเนื่องมาจากองค์ประกอบของท่าเต้นซึ่งไม่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมเสียเลย ............ข้าพเจ้า อยากที่จะแนะนำให้คู่เต้นเหล่านั้น ย้อนกลับไปหาองค์ประกอบพื้นฐานของธรรมชาติ คือการ ยั่วยวน เย้าหยอก และ การผละหนี อย่างมีจริต ของหญิง, ชาย

ประวัติของจังหวะรุมบ้า

ประมาณกันว่า รุมบ้าถูกนำเข้ามาในอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกัน แต่เมื่อราว ค.ศ. 1928/1929 การก้าวเท้า และรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ ยังไม่ชัดเจนทีเดียว คนส่วนมากทึกทักเอาการเต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้น รูปแบบใหม่ ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท โดยเพิ่มการใช้สะโพกลงไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุมบ้า ได้รับการพัฒนาต่อให้เป็นคิวบันรุมบ้า ..........โดย (MONSIEUR PIERRE และ DORIS LAVELL) นักเต้นรำชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนเต้นรำอยู่ที่ ถนน REGENT ในนครลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่ง WATER LAIRD เริ่มเขียนตำราเต้นรำของ ลาติน ขึ้นผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการเต้นรำ และ นั่นเอง การจัดมาตรฐานก็บรรลุถึงความเป็นจริง

ลักษณะเฉพาะ ของจังหวะ รุมบ้า

เอกลักษณ์เฉพาะ ยั่วยวน กระตุ้นความรู้สึก ดูดดื่ม ยั่วเย้า และ การผละหนี อย่างมีจริต การเคลื่อนไหว คงที่ โล่งอิสระ การเลื่อนไหล การต่อเนื่องร่วมกับการเน้นจังหวะ ห้องดนตรี 4/4 ความเร็วต่อนาที 25-27 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 4 ของแต่ละบาร์ ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที หลักพลศาสตร์ ความหนักหน่วง เคลื่อนที่ตามเวลา การเดินที่มั่นคง และตรงทิศทาง

การสื่อความหมายของจังหวะ รุมบ้า

ในจังหวะนี้ ความสำคัญอยู่ที่ลำตัว การเคลื่อนไหวของสะโพกเกิดขึ้นจากการควบคุมการโอนถ่าย น้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง การก้าวเท้าแต่ละก้าวใช้เวลา 1/2 บีทของดนตรี ท่าทางของลำตัวเกิดขึ้นบน ครึ่งที่สองของบีท ความใส่ใจที่สำคัญควรมุ่งใช้ไปที่ หลักพลศาสตร์ และจังหวะดนตรี เพื่อเพิ่มความเคลื่อนไหว อย่างต่อเนื่องกับความต้องการที่ตรงกันข้าม และความเย้ายวนอารมณ์ ลำตัวจะไม่มีการหยุดเพื่อการเปลี่ยนท่าทาง การเคลื่อนไหวของแขนจะเริ่มจาก จุดศูนย์กลางของลำตัว และนี่คือ ผลจากการเคลื่อนไหวของลำตัว ...........ควรให้ความใส่ใจกับการแสดงความชัดเจน ของการใช้เท้า เท้าจะสัมผัสพื้นผิวของฟลอร์อย่างต่อเนื่อง และแผ่วเบา ฝ่ายชายจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้สึกที่ให้อารมณ์ในการนำ ด้วยมือ แขนและด้วยจิตใจ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ พาโซโดเบ้ PASO DOBLE

จังหวะพาโซโดเบ้ที่อยู่บนฟลอร์การแข่งขัน ควรสร้างบรรยากาศของการสู้วัวกระทิง ตามแบบฉบับของชาวสเปน สำหรับข้าพเจ้าแล้วการเต้นรำจังหวะนี้ เป็นการเต้นรำสำหรับฝ่ายชาย ซึ่งให้โอกาสเขาได้ครอบครอง พื้นที่ที่ว่าง ด้วยท่าทางที่เป็นสามมิติ และเคลื่อนไหวการเต้นด้วยความทรนงและภูมิฐาน “ PRIDE AND DIGNITY ”นักเต้นรำชายส่วนมาก ให้ความสำคัญน้อยไปกับการควบคุม (TONING) ส่วนของลำตัวที่จะทำให้ การเต้นของจังหวะนี้มีท่าที่เฉียบคม และฉับพลัน ลักษณะของพาโซโดเบ้ คือการเดินมาร์ช (MARCHING) ส่วนลีลาท่าทางอยู่ที่การย่างก้าว และการโบกสะบัดของผืนผ้าที่ใช้สำหรับกีฬาสู้วัวกระทิง ที่เพิ่มความตึงเครียด ระหว่างคู่เต้นรำอย่างไรก็ตามแต่ ฝ่ายหญิงเปรียบเสมือนเป็นผ้าแดง...............หล่อนไม่ใช่เป็นวัวกระทิง! ...........ควรให้ความใส่ใจกับการแบ่งช่วง ห้องดนตรี (MUSICAL PHRASING) และรูปแบบของการออกแบบ ท่าเต้น (CHOREOGRAPHIC PATTERNS) ที่มิได้มุ่งไปข้างหน้า โดยเพิ่มพลัง และความเข้มแข็ง ที่ต้องสังเกตเห็นได้จากผู้ชม และกรรมการตัดสิน

ประวัติของจังหวะ พาโซโดเบ้

พาโซโดเบ้ เป็นจังหวะการเต้นรำเพียงจังหวะเดียวในแบบลาตินอเมริกันที่ไม่ได้มีที่มาจากชนผิวดำ (NEGRO) ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่ประเทศสเปน ขีดความนิยมแพร่หลายสูงสุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะพาโซโดเบ้ได้รับการยอมรับให้ บรรจุเข้าเป็นจังหวะหนึ่งของการแข่งขัน

ลักษณะเฉพาะ ของ จังหวะ พาโซโดเบ้

เอกลักษณ์เฉพาะ สง่าและภาคภูมิ ความเป็นชาวสเปน อวดลีลาการเต้นแบบ ฟลามิงโก้ การเคลื่อนไหว ในที่โล่ง และเคลื่อนไปข้างหน้า การโบกสะบัดผ้าคลุม การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม และการเดินมาร์ช ห้องดนตรี 2/4 ความเร็วต่อนาที 60-62 บาร์ ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้นจังหวะ เน้นเล็กน้อยย บนบีทที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาที ครึ่งถึง 2 นาที การขึ้นและลง เขย่งขึ้นลงบ้างในบาง ฟิกเกอร์ หลักพลศาสตร์ การเดินแบบมาร์ชที่มั่นคงและตรงทิศทาง

การสื่อความหมาย ของจังหวะ พาโซโดเบ้

จุดสำคัญของจังหวะนี้ ควรอยู่ที่การเน้นลำตัวและท่าทางต่างๆ โดยการใช้ลีลาของแขน ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือตามแบบการเต้น ฟลามิงโก้ (FLAMENCO) ที่ออกไปในทางสามมิติตามจริงการใช้เท้า ส้นเท้าควร แสดงให้เห็นถึงการใช้จังหวะที่ถูกต้อง ลักษณะเฉพาะควรรวมไปถึงท่า SPANISH LINES, PRESS LINES การเขย่งขึ้นและลง (ELEVATION) การเต้นแบบ ชาสเซ่ ด้วยลีลาโบกผ้า (CHASSE CAPES) และ การเคาะเท้า แบบฟลามิงโก้ (FLAMENCO TAPS)

การยกแขนขึ้นควรทำด้วย การควบคุม (TONING) อย่างดีเยี่ยมด้วยทิศทางที่ย้อนกลับมาหาตัว

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวะ ไจว์ฟ JIVE

จังหวะสุดท้าย “ไจวฟ์” ที่ซึ่งคู่เต้นรำควรแสดง การใช้จังหวะ (RHYTHM) ซึ่งเป็นความต้องการของ ผู้ชม “จังหวะและก็จังหวะ” ผสมผสานกับความสนุกสนาน และการใช้พลังอย่างสูง การเน้นจังหวะล้วนอยู่ที่ ขาทั้งคู่ที่แสดงให้เห็นถึงการเตะและการดีดสะบัดปลายเท้า

คู่เต้นรำต่างเอาใจใส่กับการเคลื่อนที่ที่ไปรอบๆ เต้นเข้าและเต้นออกรอบจุดศูนย์กลางที่เคลื่อนไหวอยู่ การเต้นลักษณะนี้มือต้องจับกันไว้ ข้าพเจ้าต้องการที่จะเห็นสไตล์ การเต้นแบบสากลที่ได้รับอิทธิพล โดย วัฒนธรรมชาวยุโรป อย่างเช่น ROCK’N ROLL มากกว่ารูปแบบการเต้นของไจว์ฟที่มีรากเหง้ามาจากอัฟริกา (สวิงค์) การออกแบบท่าเต้น ควรสมดุลร่วมกับลีลาที่ผสมผสานกลมกลืน ของการเต้น ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการแสดงเดี่ยว ที่ต้องทำให้เกิดผลสะท้อนกลับของผู้ชม การเต้นของจังหวะนี้หากมีปฏิกิริยาตอบรับจากผู้ชม จะมีผลทำให้คู่เต้นรำ มีกำลังใจยิ่งขึ้น

ประวัติของจังหวะ ไจว์ฟ

ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้ รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก NEW YORK , HALEM ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้ร่วมกันถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) และจากนั้น MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว จากนั้นมาไจว์ฟจึงได้เข้าสู่การแข่งขันใน ระดับสากล

ลักษณะเฉพาะของ จังหวะ ไจว์ฟ

เอกลักษณ์เฉพาะ การมีจังหวะ จะโคน การออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมาจากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว ห้องดนตรี 4/4 ความเร็วต่อนาที 42-44 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎ ของ I D S F การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 2 และ 4 ระยะเวลาในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที หลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา

การสื่อความหมายของจังหวะ ไจว์ฟ

สไตล์ สากลของจังหวะนี้ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสะบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วน ของร่างกาย (TORSO) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันคุณจะเห็นการผสมผสานของการเต้น ทั้งสองสไตล์ ก็สุดแล้วแต่คุณว่าจะชอบสไตล์ไหน และให้คอยติดตามผลที่ได้รับจาก กรรมการตัดสิน เอาเอง ....................ขอให้ประสบความสำเร็จและโชคดี