แบบฟอร์มโอนเงินผิดบัญชี กสิกร

Show

 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​

หากพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินหรือบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)) ขอให้ติดต่อไปยัง Call Center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ ก่อนโดยปัจจุบันสถาบันการเงินบางแห่งได้เปิดเผย ระยะเวลาการให้บริการมาตรฐาน (Service Level Agreement – SLA)​ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การไถ่ถอนหลักประกัน การออกหนังสือยืนยันการชำระหนี้ การใช้เครื่องรับฝากเงินหรือถอนเงินแต่เกิดข้อผิดพลาด การอายัดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จึงขอให้ท่านติดตามผลจากสถาบันการเงินภายในระยะเวลา SLA ก่อน ​​ แต่หากไม่ได้รับ การติดต่อกลับหรือไม่ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนได้ที่บริการ Call Center 1213 โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนเมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนในการรับเรื่องร้องเรียนของ ธปท. ซึ่งใช้กับผู้ร้องเรียนเป็นการทั่วไปทุกราย โดยผู้ร้องเรียนจะต้องให้ความร่วมมือ ในการให้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่อ ธปท. ที่เพียงพอต่อการพิจารณาข้อร้องเรียน ในกรณีที่ ธปท. เรียกให้ผู้ร้องเรียนส่งข้อมูล/พยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือเชิญผู้ร้องเรียนให้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง แต่ผู้ร้องเรียนไม่ส่งหรือไม่มาให้ข้อมูล/พยานหลักฐานตามที่ ธปท. แจ้งขอ ธปท. สงวนสิทธิ์ในการดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนต่อไป

2. ผู้ร้องเรียนต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และแจ้งข้อเท็จจริงที่สำคัญ ได้แก่ 

    2.1 ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
    2.2 รายละเอียดเรื่องร้องเรียน ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหาเรื่องร้องเรียน ชื่อสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ที่ถูกร้องเรียน และเอกสารหลักฐานอื่น ๆ (โปรดระบุให้ชัดเจน)

    2.3 เอกสารแสดงตน ​

​(1) ร้องเรียนด้วยตนเอง​

​(2) ร้องเรียนในนามนิติบุคคล ​(3) ให้บุคคลอื่นร้องเรียนแทน​

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของผู้ร้องเรียน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

- สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนและรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

-  เอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียน ตามช่องที่ (1) หรือ (2)

- หนังสือมอบอำนาจ 

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของผู้ร้องเรียนแทน/ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง​

3. ผู้ร้องเรียนรับรองว่า ข้อมูลที่ได้ยื่นร้องเรียนต่อ ธปท. เป็นความจริงทุกประการ และรับทราบว่าการให้ข้อมูลเท็จต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ร้องเรียนถูกดำเนินการทางกฎหมายได้

  1. 4. ผู้ร้องเรียนรับทราบว่าการร้องเรียนต่อ ธปท. ไม่มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่หรือสะดุดหยุดลง

  2. 5. ผู้ร้องเรียนยินยอมให้ ธปท. เปิดเผยข้อมูลที่ร้องเรียนและข้อมูลของผู้ร้องเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และยินยอมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลของผู้ร้องเรียนต่อ ธปท. เพื่อประโยชน์ในการประสานงานหรือพิจารณาดำเนินการกับเรื่องร้องเรียน
  1. 6. ผู้ร้องเรียนยอมรับผลการแก้ไขปัญหาที่ ธปท. ได้ดำเนินการอย่างเป็นธรรม และอย่างเต็มความสามารถภายใต้ขอบเขตที่สามารถกระทำได้ โดยที่ ธปท. และพนักงาน ธปท. จะไม่รับผิดชอบในความเสียหาย สูญเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดจากการร้องเรียนนี้

7. ธปท. จะดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาในเรื่องดังกล่าวที่เกี่ยวกับบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ร้องเรียนและสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนติดตามเรื่องร้องเรียน ยกเว้น เรื่องดังต่อไปนี้  

เรื่องร้องเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.

เรื่องร้องเรียนที่ศาลมีคำวินิจฉัย คำสั่ง หรือคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หรือเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล

เรื่องที่ขอให้ ธปท. ฟ้องร้องคดีแทน/ช่วยเหลือเงินในการต่อสู้คดี/ช่วยจัดหาหรือว่าจ้างทนายความให้ผู้ร้องเรียน

เรื่องที่ขอให้ ธปท. เรียกร้อง/สั่งการให้สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ชดใช้ค่าเสียหายตามข้อพิพาทที่คู่สัญญาผูกพันกันทางแพ่ง

เรื่องที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างพนักงานของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. กับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจข้างต้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่ ธปท. กำกับดูแล

เรื่องที่ร้องเรียนซ้ำเรื่องเดิม ซึ่ง ธปท. ได้เคยดำเนินการจนผู้ร้องเรียนได้รับคำชี้แจงแล้ว หรือเรื่องร้องเรียนที่ขอโต้แย้งผลการพิจารณา/การดำเนินการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการ/ผู้กำกับดูแลอื่น

เรื่องขอความอนุเคราะห์ซึ่งเป็นดุลยพินิจทางธุรกิจของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ​ หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. และไม่มีข้อขัดต่อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์หรือแนวนโยบายของ ธปท. เช่น การขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อ​ การขอลด/ยกเว้นดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับต่าง ๆ เป็นต้น

เรื่องที่เป็นกรณีสมมติและให้พิจารณาแสดงความเห็นว่าถูกหรือผิด

การขอตรวจสอบข้อมูลของบุคคลอื่น

การขอข้อมูลที่ ธปท. ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล

เรื่องที่วัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน หรือเอกสารแสดงตนไม่สมบูรณ์ หรือเอกสาร/ข้อมูลประกอบการร้องเรียนไม่ครบถ้วน โดยผู้ร้องเรียนไม่ประสงค์ให้เอกสารแสดงตน หรือเอกสาร/ข้อมูลประกอบการร้องเรียนเพิ่มเติม รวมทั้งไม่สามารถติดต่อผู้ร้องเรียนเพื่อขอเอกสาร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ หรือพิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารแสดงตนเป็นเอกสารปลอม ธปท. จะรับไว้เป็นข้อมูลประกอบการกำกับดูแล

หากต้องการขอความอนุเคราะห์ เช่น การขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขอลด ยกเว้นดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับต่าง ๆ ขอให้ติดต่อที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งโดยตรง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงินและเป็นกระบวนการที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องเจรจาหาข้อยุติร่วมกัน ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณาของสถาบันการเงินจะเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าการขอความอนุเคราะห์นั้นจะทำโดยตรงไปยังสถาบันการเงินหรือผ่าน ศคง. โดยกรณีปกติสถาบันการเงินมีหน้าที่ตอบข้อร้องขอความอนุเคราะห์กับลูกค้าทุกรายภายใน 15 วัน หรือหากต้องใช้เวลาพิจารณานานกว่านั้น สถาบันการเงินต้องแจ้งความคืบหน้าและระยะเวลาที่จะใช้ภายใน 15 วัน หากสถาบันการเงินไม่ติดต่อกลับภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือเห็นว่าไม่ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนได้ที่ ศคง.

ทั้งนี้ ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน ธปท. อาจบันทึกการสนทนาของท่านเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและปรับปรุงการให้บริการ​​

​ ​

แบบฟอร์มโอนเงินผิดบัญชี กสิกร

                                    *ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ธปท. จะมีการแจ้งตอบรับการยื่นคำร้องทาง SMS เพิ่มเติม

ช่องทางการร้องเรียน

พบเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองภายในวันและเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา 8.30 -12.00 น. 13.00 – 16.30 น. หรือส่งจดหมายมาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ​โดยท่านสามารถ download  แบบฟอร์ม​การร้องเรียน เพื่อกรอกข้อมูลล่วงหน้าได้ ที่นี่

สำนักงานใหญ่ ​

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา

เขตพระนคร  กรุงเทพฯ 10200  

โทรสาร 0-2283-6151 

สำนักงานภาคเหนือ

68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

โทรสาร 0-5393-1103

สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

45 ถนนนิกรสำราญ ตำบลในเมือง​
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรสาร 0-4322-6146 ถึง 7​​

สำนักงานภาคใต้

472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา 90110

โทรสาร 0-7423-4701​

​​

แบบฟอร์มโอนเงินผิดบัญชี กสิกร
 

 

เอกสารประกอบการร้องเรียน

รายละเอียดเรื่องร้องเรียน ได้แก่

1. วัตถุประสงค์ เนื้อหาเรื่องร้องเรียน ชื่อสถาบันการเงินที่ร้องเรียน
2. ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

3. กรณีร้องเรียนด้วยตัวเอง - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของผู้ร้องเรียน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4. กรณีร้องเรียนในนามนิติบุคคล - สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนและรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
5. กรณีให้บุคคลอื่นร้องเรียนแทน - เอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียน ตามข้อที่ (3) หรือ (4) หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของผู้ร้องเรียนแทน/ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง​