ทํางานไต้หวัน

ตลาดแรงงานไต้หวันเปิดรับแรงงานไทยภาคการผลิตและภาคก่อสร้างจำนวนมาก เนื่องจากไต้หวันกำลังพัฒนาระบบขนส่งมวลชน การก่อสร้างสนามบิน รถไฟฟ้าสายสีเขียว และโรงไฟฟ้า

วันที่ 21 มิถุนายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานไต้หวันเป็นอีก 1 ตลาดที่เริ่มเปิดรับแรงงานไทยกลับเข้าไปทำงานในประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกเริ่มคลี่คลาย โดยข้อมูลจากสำนักงานแรงงานไทย เมืองไทเป (สนร.ไทเป) และสำนักงานแรงงานไทย เมืองเกาสง (สนร.เกาสง) ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 16 มิถุนายน 2565 มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ทั้งสิ้นจำนวน 2,374 ราย ยื่นเอกสารขอจ้างแรงงานไทย จำนวน 20,195 ราย แบ่งเป็นแรงงานไทยภาคการผลิต 15,941 ราย ภาคก่อสร้าง 4,099 ราย ภาคเกษตร 83 ราย และผู้อนุบาล 67 ราย

  • รู้จัก ‘ปณิชา ดาว’ ม้ามืดเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 2 มูลค่า 8.16 หมื่นล้าน
  • พันธุ์ข้าว “เวียดนาม” บุกไทย 5 ปีชาวนาแห่ปลูกพุ่ง 10 เท่า
  • วันหยุดเดือนมกราคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ วันหยุดธนาคาร

นายสุชาติกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันไต้หวันมีมาตรการให้แรงงานต่างชาติ เมื่อเดินทางไปถึงจะต้องกักตัว 3 วัน และสังเกตอาการอีก 4 วัน รวมวันกักตัวเป็น 7 วัน ตามมาตรการของศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวัน (CECC) โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 มิถุนายน 2565) มีแรงงานไทย จำนวน 39 คน เดินทางไปทำงานเป็นพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กับนายจ้างต่างประเทศ Pan Jit International ซึ่งประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม การผลิต ซ่อมแซมและติดตั้งเครื่องจักรกลไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์

โดยมีระยะเวลาการทำงาน 3 ปี มีรายได้เดือนละ 25,250 เหรียญไต้หวัน หรือประมาณ 29,886 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น) โดยก่อนเดินทางแรงงานทั้งหมดได้ผ่านการอบรมคนหางานก่อนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศกับกรมการจัดหางาน และซื้อกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้จะมีการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคก่อสร้างในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2565 อีกกว่า 90 คน

“คาดว่ายังมีความต้องการแรงงานทั้งภาคการผลิตและภาคก่อสร้างจำนวนมาก เนื่องจากไต้หวันมีการสร้างและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ทั้งการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร อาคารท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน รถไฟฟ้าสายสีเขียว และโรงไฟฟ้า” นายสุชาติกล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ผู้ที่ประสงค์เดินทางไปทำงานไต้หวันและประเทศอื่น ๆ เลือกเดินทางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมี 5 วิธี ได้แก่

  1. บริษัทจัดหางานจัดส่ง
  2. กรมการจัดหางานจัดส่ง
  3. เดินทางด้วยตนเอง
  4. นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงาน
  5. นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงาน

“ในกรณีของไต้หวัน มักเป็นการไปทำงานโดยบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง ขอให้คนหางานตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตทาง www.doe.go.th/ipd นอกจากนี้ยังแนะนำให้คนหางาน สมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เพราะหากประสบปัญหาในต่างประเทศ อาทิ เจ็บป่วย ถูกเลิกจ้าง ถูกทอดทิ้งในต่างประเทศ ประสบปัญหาจากภัยสงคราม โรคระบาด หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตในต่างประเทศ หลังตรวจสอบและพบว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์สมาชิกกองทุนที่ยังอยู่ในความคุ้มครองจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ” นายไพโรจน์กล่าว

          ตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด19 ทำให้เศรษฐกิจของโลกได้รับผลกระทบอย่างหนัก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้รับผลกระทบไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และภาคโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ      จนทำให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหลายๆแห่งต้องปิดตัวลง ซึงทำให้ภาคแรงงานไทยต้องตกงานจำนวนไม่น้อย...

แรงงาน คือหนึ่งในปัจจัยหลักในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เพราะในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ยังต้องพึ่งพากำลังคนหรือกำลังแรงงาน  โดยที่แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตขั้นต้น (Primary factor) ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการผลิต (Production function) ทำให้เมื่อประเทศไหนขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ก็จะเปิดรับคนทำงานจากนอกประเทศเข้าไปแทนเพื่อไม่ให้การพัฒนาหยุดชะงัก

ในการออกไปทำงานต่างแดนของแรงงานนั้นมีด้วยกันหลายปัจจัย ทั้งความต้องการแรงงานของหลายประเทศที่เพิ่มขึ้น เพราะในบางประเทศประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนแรงงาน เช่น เกาหลี และหลายประเทศในยุโรป ประกอบกับการจ่ายค่าแรงค่อนข้างสูง จึงเป็นตัวเลือกให้คนไทยออกไปทำงานต่างแดน

จากผลการสรุปของกองบริหารแรงงานไทยไปต่างแดน พบว่า จำนวนคนไทยทำงานในกลุ่มเอเชียมีมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวันจำนวน 12,238 คน ตามด้วยญี่ปุ่น 3,851 คน ขณะที่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง คือ อิสราเอล 3,776 คน และกลุ่มประเทศยุโรป คือ สวีเดน มี 1,921 คน

แรงงานไทยในไต้หวัน ได้ค่าจ้างเท่าไร ?

เมื่อเจาะลึกไปที่ค่าจ้าง ไต้หวันซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายไปทำงานของคนไทยมากที่สุด มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 25,250 เหรียญไต้หวัน/เดือน ประมาณ 30,497 บาท จะเห็นว่าทั้งค่าเงินและค่าครองชีพของไต้หวันกับไทยไม่แตกต่างกันนัก  โดยที่ส่วนใหญ่เป็นงานใช้แรงงาน อาทิ คนทำงานทั่วไป ช่างทั่วไป ช่างฝีมือ

ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งมีจำนวนแรงงานอยู่ในอันดับรอง มีค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ย 930 เยน/ชั่วโมง ประมาณ 255 บาท/ชั่วโมง หรือประมาณ 40,800 บาท/เดือน ส่วนใหญ่เป็นงานในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมบริการ

ทั้งนี้ ประมาณการรายได้ที่คนหางานในต่างแดนส่งกลับผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศ ประจำปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 114,264 ล้านบาท

 

แรงงานไทยไปทำงานต่างแดนที่ไหนมากที่สุด (ม.ค.-มิ.ย. 2565)

อันดับจำนวน (คน)1ไต้หวัน12,2382ญี่ปุ่น3,8513อิสราเอล3,7764สวีเดน1,9215เกาหลีใต้1,8426มาเลเซีย1,0037ฟินแลนด์6708โปรตุเกส6629สิงคโปร์57610เวียดนาม328

หมายเหตุ: ตัวเลขดังกล่าวเป็นจำนวนคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างแดน นับจากจำนวนทั้งการเดินทางด้วยตนเอง กรมจัดส่ง นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงาน นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกงาน บริษัทจัดส่ง)

ไปทํางานไต้หวันกี่บาท

แรงงานไทยในไต้หวัน ได้ค่าจ้างเท่าไร ? เมื่อเจาะลึกไปที่ค่าจ้าง ไต้หวันซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายไปทำงานของคนไทยมากที่สุด มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 25,250 เหรียญไต้หวัน/เดือน ประมาณ 30,497 บาท จะเห็นว่าทั้งค่าเงินและค่าครองชีพของไต้หวันกับไทยไม่แตกต่างกันนัก โดยที่ส่วนใหญ่เป็นงานใช้แรงงาน อาทิ คนทำงานทั่วไป ช่างทั่วไป ช่างฝีมือ

ไปทํางานไต้หวัน ใช้อะไรบ้าง

เอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นในการสมัคร ใบสมัครตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศ โดยกรอกข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ พร้อมติดรูปถ่ายสี หน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว คลิก สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาวุฒิการศึกษา (ใบแสดงผลการเรียน ม.3 ขึ้นไป) สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)

ไต้หวัน ทํางาน ได้ กี่ ปี

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 กระทรวงแรงงานไต้หวันประกาศอนุญาตให้แรงงานต่างชาติที่ทำงานในไต้หวันที่มีอายุงานสะสมครบ 12 ปี (ภาคการผลิต) และ 14 ปี (ภาคสวัสดิการสังคม) หากสัญญาจ้างครบกำหนดก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สามารถต่อสัญญาจ้างกับนายจ้างเดิมได้อีก 1 ปี

ไปทำงานไต้หวันใช้วุฒิอะไร

คุณสมบัติของผู้สมัครทำงานไต้หวัน วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ขึ้นไป สายตาปกติ และตาไม่บอดสี สมรรถภาพการได้ยิน หูสองข้างต้องได้ยินในระดับต่ำกว่า 25 เดซิเบล หากมีประสบการณ์การทำงานด้านแผงวงจรไฟฟ้า (PCB) จะพิจารณาเป็นพิเศษ