ถอนเงิน ประกันสังคม ก่อนอายุ 55

อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสนสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่จะต้องจ่ายเงินประกันสังคม จะต้องสมทบเงินประกันสังคมทุกเดือน

ซึ่งจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 750 บาท นั่นก็คือคนที่ได้รับเงินเดือน

15,000 บาทขึ้นไปนั้นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า สำนักงานประกันสังคมนั้น เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไรกันบ้างระบบงานประกันสังคม

 

ถอนเงิน ประกันสังคม ก่อนอายุ 55

เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่บ้านเรานั้นเพิ่งจะเริ่มมี โดยประกันสังคมนั้นเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง มันก็คือ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนข้อดีของเงินประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเราจะจ่ายเงินประกันสังคมอย่างนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายประกันสังคมสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่ายนั้นก็คือ

1. ฝ่ายรัฐบาล

2. ส่วนนายจ้าง

3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

ถอนเงิน ประกันสังคม ก่อนอายุ 55

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสีย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

ถอนเงิน ประกันสังคม ก่อนอายุ 55

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสีย– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนเสียกรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท เสียปุ๊บ รับ 63,750 บาท

ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ โดยการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน 

  • กรมอุตุฯเตือน 24-26 ธ.ค. เจออากาศหนาวเย็นอีกระลอก ต่ำสุด 8-10 องศา
  • เปิดเงื่อนไขช้อปดีมีคืน ครม.เคาะ 20 ธ.ค.วงเงิน 40,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง
  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เป็นผู้สูงอายุจะได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบสามารถเลือกเข้าถึงแหล่งเงินฉุกเฉินได้เพิ่มเติม โดยใช้เงินกรณีชราภาพที่ตนจะได้รับในอนาคตเป็นเงินทุน แต่จะทำให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันรายได้ยามเกษียณที่ลดลง (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้) มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

3 ขอ “กองทุนชราภาพ”

  • ขอเลือก : ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ  
  • ขอคืน : กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ 
  • ขอกู้ : ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้

เงื่อนไขสำคัญ 3 ขอ 

  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน 
  • กรณีชราภาพถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ 
  • หักเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระอันเกิดจากการดำเนินการที่นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินไว้เพื่อส่งใช้กองทุนก่อนในกรณีมีเงินชราภาพ เหลืออยู่ 
  • เมื่อหักเงินดังกล่าวแล้วเหลือเท่าไรให้ทายาทของผู้นั้นซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันที่ผู้ประกันตน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธินำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนประมาณ 5 ล้านคน คนละ 30,000 บาท สำนักงานประกันสังคม จะต้องดำเนินการสำรองเงิน จำนวน 150,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้กองทุนประกันสังคมสูญเสียรายได้จำนวน 6,750 ล้านบาท พร้อมทั้งเสียผลตอบแทนการลงทุนในอัตราร้อยละ 4.5 เป็นเวลา 1 ปี

อย่างไรก็ตาม ร่างหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.ประกันสังคมครั้งนี้ ต้องรอประกาศบังคับใช้อย่างเป็นการทางอีกครั้ง

ประกันสังคม หัก 5% ทุกเดือน

ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ในมาตรา 33 เป็นลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในทุก ๆ เดือน จะถูกหักเงินเดือนเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม 5% ของรายได้ ซึ่งแบ่งออกไปสมทบ 3 ส่วน คือประกันเจ็บป่วย หรือตาย, ประกันการว่างงาน และประกันชราภาพ

ยกตัวอย่าง กรณีมีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม เดือนละ 750 บาท (อัตราสูงสุด) ดังนี้

  • ประกันเจ็บป่วย หรือตาย : 1.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 225 บาท
  • ประกันว่างงาน : 0.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 75 บาท
  • ประกันชราภาพ : 3% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 450 บาท

3 ช่องทางเช็กเงินชราภาพ

สำหรับวิธีคำนวณเงินชราภาพที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับนั้น สามารถเช็กได้ง่าย ๆ ผ่าน 3 ช่องทาง

  • SSO Mobile App
  • Line Official Account : @SSOTHAI
  • Website : www.sso.go.th

เช็กยอดเงินผ่านแอปพลิเคชั่น

  • เข้าแอปพลิเคชั่น “SSO Connect”
  • กรอก “Username” ด้วยรหัสบัตรประจำตัว 13 หลัก และ ใส่รหัส “Password”
  • จากนั้นกดเข้าสู่ระบบ
  • ไปที่ “เงินสมทบชราภาพ”

เช็กยอดเงิน ผ่าน Line Official

Advertisement

  • เข้า Line Official : @SSOTHAI
  • คลิกที่ “ข้อมูลของคุณและการแจ้งเตือน”
  • กรอก “Username” ด้วยรหัสบัตรประจำตัว 13 หลัก และ ใส่รหัส “Password”จากนั้นกดเข้าสู่ระบบ
  • ไปที่ “เงินสมทบชราภาพ”

เช็กยอดผ่านเว็บไซต์ 

  • เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน / สมัครสมาชิก
  • กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน
  • กรอกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับรหัสการยืนยันตัวตน
  • ล็อกอินเข้าระบบและเลือกผู้ประกันตน
  • เข้าสู่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน”
  • คลิก “การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ”
  • จากนั้นระบบจะปรากฏการคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพขึ้นมา

วิธีคำนวณเงินชราภาพ

ทั้งนี้ กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ตัวอย่าง การคำนวณเงินผู้ประกันตนได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท 

  • ถูกหักเงินสมทบ 5% ของค่าจ้าง (5 x 10,000) / 100 = 500 บาท
  • กรณีว่างงาน 0.5% (0.5 x 10,000) / 100 = 50 บาท
  • กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 3% (3 x 10,000) / 100 =300 บาท

ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนอายุ 2 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 2 เดือน ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 2 = 1,200 บาท

การคำนวณเงินเดือนของผู้ประกันตน ทางสำนักงานประกันสังคมจะทำการคำนวณจากเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลที่มีในระบบ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่รวมยอดที่อยู่ระหว่างการบันทึก เงินสมทบค้างชำระหรือข้อขัดข้องอื่น ๆ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

เงื่อนไขใหม่ประกันสังคม

นอกจากนี้ ในร่างดังกล่าวยังเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีอื่น อาทิ เพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้าง เพิ่มจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน เป็นต้น รวมทั้งแก้ไขขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง จากเดิม “อายุ 60 ปีบริบูรณ์” เป็น “อายุ 65 ปีบริบูรณ์”

  • ขยายอายุลูกจ้างขั้นสูง จาก 60 ปี เป็น 65 ปี 
  • ปรับมาตรา 33 จากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน เป็น 48 เดือน
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน 
  • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจากเดิมจ่ายร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 
  • กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว จะส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบรายละเอียด ก่อนจะส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป