Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ปัญหาลงชื่อเข้า (Sign in) ระบบ Windows 10 ช้าถึงช้ามาก ๆ (อาจนานถึงครึ่งชั่วโมง) เป็นอีกปัญหาที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โพสต์นี้รวมวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาแชร์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขกันครับ

วิธีแก้ปัญหา Sign in เข้า Windows 10 ช้า

เมื่อผู้ใช้ลงชื่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ Windows 10 ถ้าหากเป็นการลงชื่อเข้าเครื่องนั้นเป็นครั้งแรกระบบจะทำการสร้างโปรไฟล์ใหม่ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที แล้วแต่ประสิทธิภาพของเครื่อง สำหรับกรณีที่ผู้ใช้เคยเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วระบบก็จะทำการโหลดโปรไฟล์ของผู้ใช้คนนั้น ๆ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 นาที

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งะบบจะค้างอยู่ที่หน้าสร้างโปรไฟล์ (กรณีการลงชื่อเข้าเครื่องนั้นเป็นครั้งแรก) หรือค้างที่หน้าจอสีดำซึ่งมีแต่เคอร์เซอร์เมาส์โดยเคอร์เซอร์เมาส์สามารถเลื่อนไปมาได้ตามปกติ (กรณีการโหลดโปรไฟล์ของผู้ใช้) เป็นเวลานานมากซึ่งบางครั้งอาจนานถึงครึ่งชั่วโมง

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาลงชื่อเข้าระบบ Windows 10 ช้าถึงช้ามากนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 เริ่มต้น Windows 10 ใหม่

ปัญหาบางอย่างบน Windows 10 แก้ไขได้โดยการเริ่มต้น (Start) ระบบใหม่ โดยในกรณีที่ค้างอยู่หน้าจอลงชื่อเข้าเครื่อง (หน้าจอสร้างโปรไฟล์หรือหน้าจอสีดำ) สามารถทำการเริ่มต้นระบบใหม่ได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. กดปุ่ม Ctrl + Alt + Del พร้อมกัน

2. คลิกไอคอน Power แล้วเลือก Restart

วิธีที่ 2 รันคำสั่ง System file check (SFC)

บางกรณีปัญหา Windows 10 ค้างอยู่หน้าจอลงชื่อเข้าเครื่อง สามารถแก้ไขได้โดยการรันคำสั่ง sfc ตามขั้นตอนดังนี้

1. พิมพ์ cmd ในช่อง Type here to search จากนั้นคลิกขวา Command Prompt จากผลการค้นหาแล้วเลือก Run as administrator แล้วคลิก Yes บนหน้า User Account Control (UAC) ถ้ามี

2. พิมพ์คำสั่ง sfc /scannow ที่คอมมานด์พร้อมท์ เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter

3. รอจนการทำงานแล้วเสร็จ จากนั้นทำการเริ่มต้นระบบ Windows 10 ใหม่

วิธีที่ 3 ลบไฟล์ใน Prefetch

บางกรณีปัญหา Windows 10 ค้างอยู่หน้าจอลงชื่อเข้าเครื่อง สามารถแก้ไขได้โดยการลบไฟล์ใน Prefetch ตามขั้นตอนดังนี้

1. กดปุ่ม Ctrl + Alt + Del พร้อมกัน แล้วเลือก Task manager
2. บนหน้า Task manager เลือก More details
3. บนหน้า Task manager คลิก File จากนั้นคลิก Run new task
4. กรอก cmd ในช่อง Open คลิกเลือก Create this task withadminitrative priviledge เสร็จแล้วคลิก OK
5. บนหน้า CMD ให้ย้ายไปทำงานที่โฟลเดอร์ C:\Windows\Prefetch
6. พิมพ์คำสั่ง del *.* สร็จแล้วกดปุ่ม Enter เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
7. กดปุ่ม Y เพื่อยืนยันการลบไฟล์

วิธีที่ 4 ล้างเครื่องลง Windows 10 ใหม่

เอาจริง ถ้าจะแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ชนิดว่าหายแน่นอน คือทำการล้างเครื่องแล้วลง Windows 10 และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ใหม่

ปัญหาที่ทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ไม่สามารถเริ่มต้นระบบ (Startup) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การเจอ BSOD ไปจนถึงข้อผิดพลาดในการปิดเครื่อง (Shutdown) แบบไม่ผิดปกติ เช่น ไฟตก, แมวแอบดึงปลั๊ก ฯลฯ ถ้าเกิดเจอเหตุการณ์แบบนี้เข้า ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ มันมีวิธีที่พอจะช่วยคุณแก้ปัญหาได้อยู่ จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาลองอ่านกัน

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

ขั้นตอนแก้ไขปัญหาที่แนะนำในบทความนี้ สามารถใช้ได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows 10, Windows 8 และ Windows 8.1

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก : https://www.drivereasy.com/knowledge/fix-windows-10-restart-loop-reboot-loop/

1. วิธีเข้า Advanced Options ของ Windows

ในการที่เราจะเข้าไปยังหน้าจอ Advanced Options ของ Windows ได้นั้น เราจำเป็นต้องมี Windows installation media เสียก่อน ซึ่งสามารถสร้างได้ง่ายๆ โดยไปที่เว็บไซต์ https://www.microsoft.com/en-in/software-download/windows10 แล้วคลิก "ปุ่ม Download Tool Now" เราจะได้ไฟล์ MediaCreationTool20H2.exe มา ให้ดับเบิลคลิกเปิดมันขึ้นมา เลือก "Create Installation Media" เสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วทำตามขั้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอได้เลย เนื่องจากมันง่ายมาก ขออนุญาตไม่อธิบายวิธีทำตรงส่วนนี้แล้วกัน

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

หลังจากได้แฟลชไดร์ฟที่เราทำเป็นมีเดียที่ใช้ในการติดตั้ง (Installation Media) มาแล้ว ให้เราเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมพิวเตอร์ จากนั้นให้เข้าไปยังหน้า BIOS (ใครเข้า BIOS ไม่เป็น คลิกอ่านวิธีที่นี่) จากนั้นไปที่เมนู Boot ตั้งค่าให้คอมพิวเตอร์บูทระบบโดยเริ่มจากแฟลชไดร์ฟก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นก็บันทึกการตั้งค่า แล้วออกมาจากหน้า BIOS ได้เลย

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

หน้าตาของ BIOS จะมีความแตกต่าง ตามแต่ยี่ห้อที่เราใช้งาน
ภาพจาก https://rog.asus.com/forum/showthread.php?101693-My-hard-disk-drives-not-showing-up-in-boot-priority

เมื่อระบบเริ่มต้นอีกครั้ง หากทำตามขั้นตอนถูกต้อง เราจะเข้าสู่หน้าติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 โดยหลังจากเลือกภาษาที่ต้องการใช้งานเสร็จ ก็คลิกที่ "ปุ่ม Next" แล้วเลือกคลิกเลือกคำสั่ง Repair Computer

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://th.phhsnews.com/articles/howto/how-to-fix-startup-problems-with-the-windows-startup-repair-tool.html

จากนั้นคลิก Troubleshoot → Advanced Options เท่านี้ เราก็จะเข้าสู่หน้า Advanced Options แล้ว

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://www.laptopmag.com/articles/windows-10-advanced-startup-Options-menu

วิธีแก้ปัญหาแรกที่ควรลองทำ คือ การใช้เครื่องมือซ่อมแซม Startup Repair ซึ่งตัว Windows จะตรวจสอบ และพยายามแก้ไขปัญหาให้เราแบบอัตโนมัติ

สามารถเรียกใช้งานได้ โดยไปที่หน้า Advanced Options แล้วคลิกเลือกเมนู Startup Repair แล้วคอมพิวเตอร์ของเราจะทำการรีสตาร์ท และเริ่มกระบวนการวินิจฉัยสาเหตุ โดยสิ่งที่มันจะตรวจสอบ และหาทางแก้ไขให้เราจะเป็นดังรายการด้านล่างนี้

  • ไดร์เวอร์ที่เสียหาย, หายไป และไม่รองรับ
  • ไฟล์ระบบที่เสียหาย และหายไป
  • การตั้งค่าบูทที่เสียหาย และหายไป
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นในค่ารีจิสทรี
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นในค่า Disk Metadata อย่าง
    • Master Boot Record (MBA)
    • Partition Table
    • Boot Sector
  • ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้ง Windows Update

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://youtu.be/z-HKlr_3o0Q

หลังจากที่กระบวนการตรวจสอบ และแก้ไขเสร็จสิ้นคอมพิวเตอร์จะทำการรีสตาร์ท และเริ่มระบบให้อัตโนมัติ แต่ถ้ามันแก้ไขปัญหาให้เราไม่ได้ มันจะแจ้งเตือนข้อความว่า "Startup repair couldn’t repair your PC" ก็ให้เราดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีการอื่นแทน

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://answers.microsoft.com/en-us/windows/forum/windows_10-other_settings/startup-repair-windows-10/7caf953e-d25a-4814-973c-3029d661d11e

3. บูทเข้า Safe Mode

หากเครื่องมือ Startup repair ไม่ได้ผล ให้เราลองเข้า Windows แบบ Safe Mode ดู มันเป็นโหมดการทำงานที่ Windows จะเริ่มระบบด้วยการเรียกใช้ไฟล์ระบบ, ไดร์เวอร์ (Driver) ฯลฯ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งเราจะเข้ามาทำการแก้ไขปัญหาในโหมดนี้แทน

วิธีเข้า Safe Mode

ให้เราคลิก Advanced Options → Troubleshoot → Advanced Options → Startup Settings → คลิก Restart

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://support.microsoft.com/en-us/windows/start-your-pc-in-safe-Mode-in-windows-10-92c27cff-db89-8644-1ce4-b3e5e56fe234

แล้วกด "ปุ่ม F4" เพื่อเข้า Safe Mode หรือกด "ปุ่ม F5" ถ้าต้องการเข้า Safe Mode แบบเชื่อมต่อกับเครือข่ายด้วย ลองดูภาพด้านล่างประกอบได้ครับ

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://youtu.be/TwIOazT1BxU

หากเข้า Safe Mode ไม่ได้ จะทำอย่างไร ?

หากไม่สามารถเข้า Safe Mode ได้ เราจะต้องทำการซ่อมแซม Boot Record Error เสียก่อน ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

ใน Advanced Options เลือกเมนู Command Prompt แล้วพิมพ์คำสั่งด้านล่างลงไปตามลำดับ

Bootrec.exe \fixmbr

 

Bootrec.exe \fixboot

 

Bootrec \rebuildBcd

 

Bootrec /ScanOs

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://howtofixwindows.com/fix-windows-10-startup-problems/

หลังทำตามขั้นตอนนี้เสร็จสิ้น ให้ลองเข้า Safe Mode ดูอีกครั้ง น่าจะเข้าได้แล้ว

แก้ปัญหาด้วย CHKDSK, SFC และ DISM

เมื่อเราเข้า Windows แบบ Safe Mode ได้แล้ว ก็จะสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบไฟล์อย่าง CHKDSK, SFC และ DISM ในการแก้ไขปัญหาได้ครับ

วิธีใช้คำสั่ง CHKDSK, SFC และ DISM ใน Windows 10 แบบละเอียด

ปิดคุณสมบัติ Fast Startup

ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 ทาง Microsoft ได้เพิ่มคุณสมบัติ Fast Startup (Hybrid Shutdown) เข้ามา เพื่อลดระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเริ่มต้นระบบ ช่วยให้เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ Windows จะพร้อมใช้งานได้รวดเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากผู้ใช้พบว่าคุณสมบัติ Fast Startup ทำให้มีปัญหาต่อการเริ่มระบบ Windows ซึ่งการปิดคุณสมบัติดังกล่าวก็ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ รวมไปถึงปัญหา จอฟ้าแห่งความตาย BSOD และจอดำไม่ปรากฏภาพตอนเริ่มระบบได้ด้วย

วิธีการปิดคุณสมบัติ Fast Startup

  • หลังจากเข้า Windows ใน Safe Mode ได้แล้ว ให้เราเข้าไปที่ Power Options ด้วยการเข้าไปที่ Control Panel เปลี่ยนมุมมอง (View by) จาก Catelogy เป็น Large icons หรือ Small icons ก็ได้ แล้วคลิกเข้าไปที่เมนู Power Options
  • คลิกที่เมนูฝั่งซ้ายมือ Choose What the power buttons do
  • ตรงใต้รายการ Shutdown settings ติ๊กเครื่องหมายถูกตรง Turn on Fast Startup (recommended ) แล้วคลิก Save changes

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ในหน้า Advanced Options ให้เราคลิกเลือกเมนู Command prompt ครับ เพื่อเปิดตัวซอฟต์แวร์ Command prompt ขึ้นมา

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://thegeekpage.com/fix-startup-problems/

เข้าไปในไดร์ฟที่ติดตั้ง Windows ส่วนใหญ่ก็จะติดตั้งกันไว้ที่ไดร์ฟ C ก็ใช้คำสั่ง C: แล้ว Enter

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งไปตามลำดับดังนี้ครับ

  1. cd \windows\system32\config แล้วเคาะ Enter
  2. md backup แล้วเคาะ Enter
  3. copy *.* backup แล้วเคาะ Enter
  4. cd regback แล้วเคาะ Enter
  5. copy *.*.. แล้วเคาะ Enter

หากมันเด้งข้อความ "Overwrite..\DEFAULT? (Yes/No/All):" ขึ้นมา ให้เรากด "ปุ่ม A" บนแป้นคีย์บอร์ด หลังมันทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็คลิกปิดหน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ จากนั้นก็คลิกเมนู Continue เพื่อเข้าใช้งาน Windows ตามปกติได้เลย

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://www.nextofwindows.com/windows-10-tip-how-to-get-access-to-the-advanced-boot-Options-menu

5. ล้างการตั้งค่า (Reset) หรือ Refresh คอมพิวเตอร์ใหม่

มาถึงทางเลือกสุดท้าย นั่นก็คือ การ Reset และการ Refresh คอมพิวเตอร์ โดยในหน้า Advanced Options ให้เราเลือก Troubleshoot ตามด้วยเมนู Reset this PC

Windows 10 เข้าหน้า login ไม่ได้

ภาพจาก https://support.microsoft.com/en-us/windows/start-your-pc-in-safe-Mode-in-windows-10-92c27cff-db89-8644-1ce4-b3e5e56fe234

จะมีตัวเลือกให้เราสองอย่าง คือ

  1. Refresh your PC : จะเก็บไฟล์ทั้งหมดเอาไว้ ยกเว้นพวกไฟล์ระบบ และการตั้งค่าบางอย่าง ที่จะถูกรีเซ็ตใหม่
  2. Reset your PC : จะเป็นรีเซ็ตทุกอย่างกลับไปเป็นค่าเริ่มต้นเสมือนตอนที่เราเพิ่งติดตั้ง Windows ใหม่เป็นครั้งแรก

เราสามารถเลือกตัวเลือกไหนก็ได้ แต่ทางที่ดีควรเริ่มจาก Refresh ก่อน ถ้าหากไม่ได้ผลจริงๆ และวิธีการอื่นก็ยังแก้ไขปัญหาให้ไม่ได้ ถึงค่อยเลือก Reset


หวังว่าจะมีวิธีใด วิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์บูทเข้า Windows 10 ไม่ได้ ให้คุณผู้อ่านได้นะครับ