เป็นหนี้บัตรเครดิตจะติดคุกไหม

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความเพียง 2 ปี

Show

          หนี้บัตรเครดิตก็เป็นหนี้อีกประเภทหนึ่งที่คนไทยเรานิยมมีกัน และก็ดูเหมือนว่าจะอัพเกรดขึ้นมาหน่อย จะว่าไปก็ถือว่าดูดีกว่าบัตรกดเงินสด เพราะธนาคารจะอนุมัติหนี้บัตรเครดิตยากกว่าบัตรกดเงินสด แต่หนี้ทั้งสองประเภทก็เป็นหนี้ไม่มีหลักประกันเหมือนกัน แต่เงื่อนไขในการอนุมัติและหลักเกณฑ์ทางกฎหมายต่างกัน

          บัตรกดเงินสดคือสินเชื่อประเภทหนึ่งที่ธนาคารอนุมัติวงเงินให้กับผู้ขอสินเชื่อและออกบัตรให้เรามาเพื่อให้เราเอาบัตรนั้นไปกดเงินสดจากตู้ ATM พูดง่ายๆคือธนาคารเอาเงินให้เรากู้นั่นเอง เพียงแต่จะยังไม่เป็นหนี้ธนาคารจนกว่าเราจะกดเงินสดออกมาจากบัตรนั้น ส่วนบัตรเครดิตเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่ธนาคารอนุมัติวงเงินและออกบัตรให้เราเพื่อให้เรานำไปซื้อสินค้าตามร้านค้าที่มีเครื่องรูดบัตร โดยธนาคารจะจ่ายเงินค่าสินค้าแทนเราไปก่อนผ่านบัตรเครดิตนั้นๆโดยจ่ายให้กับเจ้าของร้านค้า และ ธนาคารจะเรียกเก็บเงินจากเราภายหลัง หรือ แม้แต่บางครั้งที่ธนาคารมีโปรโมชั่นให้เรากดเงินสดจากบัตรเครดิตไปใช้ได้ แต่ทางกฎหมายก็ยังคงถือว่าเป็นหนี้ประเภทบัตรเครดิตอยู่เช่นเดิม ไม่ทำให้หนี้บัตรเครดิตกลายเป็นหนี้บัตรกดเงินสดไปได้

          ถามว่ามันต่างกันตรงไหน ความต่างกันของบัตรกดเงินสด กับ บัตรเครดิตก็คือ ถ้าเป็นบัตรกดเงินสดก็เหมือนธนาคารให้เรากู้เงิน คือ ส่งมอบเงินกู้ให้เราตามความประสงค์ของเรา เราอยากได้เท่าไหร่เราก็ไปกดเงินจากตู้ ATM กดเท่าไหร่ก็เป็นหนี้เท่านั้น หลักเกณฑ์ทางกฎหมายก็เหมือนหนี้เงินกู้ เมื่อมีข้อตกลงให้ผ่อนเงินต้นเป็นงวดๆจึงมีอายุความ 5 ปี ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในบทความก่อนๆ แต่สำหรับหนี้บัตรเครดิต ลักษณะคือเราสามารถนำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้าซึ่งเมื่อรูดซื้อสินค้าชนิดใด/ชิ้นใดแล้วธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเงินค่าสินค้าแทนเราไปก่อนโดยการจ่ายเงินให้กับเจ้าของสินค้า/ร้านค้าต่างๆตามคำสั่งซื้อของเราผ่านบัตรเครดิต และ จะมาเรียกเก็บจากเราภายหลัง ดังนั้นลักษณะของหนี้บัตรเครดิตจึงต่างกับหนี้บัตรกดเงินสดและอายุความฟ้องคดีก็ต่างกันด้วย

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี

  1. ………………..
  2. ………………..
  3. ……………….
  4. ……………….
  5. ………………
  6. ……………..
  7. บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน () แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการ ดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป”
  8. …………….”

          เมื่อหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ประเภทที่ธนาคารได้ออกเงินค่าสินค้าแทนเราไปก่อน และ เรียกเก็บเงินที่ได้ออกทดรองแทนเราไปคืนจากเราในภายหลัง เมื่อธนาคารฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัตรเครดิต จึงเป็นหนี้ประเภทที่ธนาคารเรียกเงินที่ได้ออกทดรองแทนเราไปคืนจากเรา จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)

          ทั้งนี้อ้างอิงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

          การนับอายุความ ไม่ใช่นับจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย หากแต่นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องจากเราได้นั่นเอง เช่น ถ้าเรามีกำหนดชำระหนี้บัตรเครดิตทุกวันสิ้นเดือน เราชำระหนี้วันสิ้นเดือนมกราคม 2565 แล้วไม่ชำระอีกเลย แสดงว่าเราผิดนัดในการชำระหนี้งวดวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กรณีนี้เจ้าหนี้สามารถเรียกให้เรารับผิดได้วันแรกคือวันที่ 1 มีนาคม 2565 ดังนั้นอายุความ 2 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ไปอีก 2 ปี

          ผลของคดีขาดอายุความ แม้เจ้าหนี้จะฟ้องให้เรารับผิดตามสัญญาบัตรเครดิต เราในฐานะลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้ โดยการยื่นคำให้การต่อสู้คดี หากศาลพิจารณาแล้วปรากฏว่าคดีขาดอายุความจริง ศาลจะให้เราชนะคดีโดยการพิพากษายกฟ้องโจทก์แน่นอน 100% ครับ

โดย ทนายนำชัย พรมทา  086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail :
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องนั่งคิดเรื่องปัญหาหนี้เพียงลำพังหรือไม่ ซึ่งก็อาจมีช่วงเวลาที่เราคิดหรือเข้าใจอะไรไปเองสักอย่าง วาดภาพหรือจินตนาการไว้รูปแบบหนึ่ง แต่ในความจริงแล้วอาจกลับกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งแบบตรงข้ามกันเลยทีเดียว มาไขความจริงกับปัญหาหนี้เหล่านี้กันดีกว่าว่าเป็นอย่างที่คุณคิดไว้หรือไม่

ความเชื่อที่ 1 : เจ้าหนี้คงไม่รับฟังปัญหา ไม่ช่วยเหลือ

ความจริง เจ้าหนี้ทั้งหลายล้วนมีความจริงในใจอย่างเดียวกันข้อหนึ่งคือต้องการได้เงินที่ให้กู้ยืมกลับคืนมา (ยกเว้นเจ้าหนี้ที่ไม่ดีบางรายที่หวังยึดทรัพย์สินเพราะขายต่อแล้วจะได้เงินเกินมูลหนี้ เช่น ที่ดินในทำเลดี) ดังนั้น เมื่อตัวเราเกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ไหว เช่นเพราะตกงาน รายได้ลดลง หรือความจำเป็นอื่น ๆ ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อชี้แจงเหตุผลและเจรจาขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เหมาะกับสถานะทางการเงินของเรา เจ้าหนี้จะช่วยวิเคราะห์ หาทางออกปัญหา รวมถึงปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เรา ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย

          อย่างไรก็ดี สำหรับในกรณีที่เราได้พยายามติดต่อเจ้าหนี้แล้วแต่ยังไม่สามารถติดต่อได้ หรือติดต่อไปแล้วแต่ไม่มีความคืบหน้า รวมถึงเห็นว่าเงื่อนไขในการผ่อนชำระยังสูงเกินกว่าที่จะสามารถผ่อนได้ ซึ่งยังไม่ช่วยลดภาระได้จริง สามารถใช้ช่องทางของทางด่วนแก้หนี้ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตัวกลางช่วยประสานงานกับกลุ่มเจ้าหนี้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลได้ 

อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง "ปรับโครงสร้างหนี้…คืออะไร" 

เรื่อง "ขอปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน...ที่เหมาะกับเรา" 

เรื่อง "ทางด่วนแก้หนี้" 

ความเชื่อที่ 2 : ต้องติดคุก ถ้าไม่จ่ายหนี้และเรื่องเข้าสู่กระบวนการของศาลแล้ว

ความจริง ในความเป็นจริงเมื่อเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ และถูกเจ้าหนี้ส่งเรื่องดำเนินคดีตามกฎหมาย เราจะไม่ถูกจับหรือถูกคุมขัง เพราะภาระหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมมานั้น เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา ยกเว้นกรณีที่เป็นการทุจริต หรือปลอมแปลงเอกสารทางการเงิน เช่น เจตนาสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้โดยที่รู้ว่าไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอ การปลอมแปลงเช็คหรือใบวางบิล

สำหรับกรณีที่ได้รับหมายศาล เราไม่ควรที่จะหนีศาล เพราะการที่เราไปศาลก็เพื่อใช้สิทธิ์ในการโต้แย้งหรือขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นั่นเอง การไม่ไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเราเอง เช่น ศาลพิพากษาตามที่เจ้าหนี้เสนอมา ซึ่งหากเป็นเงื่อนไขที่เราจ่ายไม่ไหว ก็เป็นไปได้ที่จะบานปลายถึงขั้นถูกสืบทรัพย์และยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด

ความเชื่อที่ 3 : สินเชื่อไม่มีหลักประกัน ถ้าไม่จ่ายเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้

ความจริง สินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล แม้ตอนที่เราสมัครใช้บริการเหล่านี้จะไม่ต้องใช้หลักประกัน ต่างจากสินเชื่อบ้านหรือการเช่าซื้อรถยนต์ที่มีหลักประกันหรือสินทรัพย์เช่าซื้อ แต่เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้เราก็อย่าได้สบายใจเป็นอันขาดว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดอะไร เพราะเจ้าหนี้สามารถส่งเรื่องดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ซึ่งเมื่อเจ้าหนี้ดำเนินการฟ้องร้องจนชนะคดีแพ่งแล้ว หากเรายังไม่สามารถชำระหนี้ หรือไม่ไปชำระหนี้ตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด ก็จะมีการออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นชื่อของเรา ซึ่งรวมถึงเงินเดือนด้วย สำหรับกรณีที่เราเป็นพนักงานเอกชนและมีเงินเดือนเกิน 2 หมื่นบาท โดยจะมีเจ้าพนักงานของกรมบังคับคดีเป็นผู้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อนำไปขายทอดตลาด แล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จนครบตามจำนวน

          ดังนั้น ทางที่ดีเราไม่ควรปล่อยปละละเลย หรือชะล่าใจ เนื่องจากสินเชื่อประเภทที่ไม่มีหลักประกันนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยสูง เมื่อเราเห็นว่าความสามารถในการชำระหนี้ลดลง หรือจ่ายไม่ไหว ก็ควรตั้งสติในการแก้ไขปัญหา หาข้อมูลมาตรการของทางการและสถาบันการเงินเจ้าหนี้ที่สามารถช่วยลดภาระได้ หรือติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยไม่รอช้า

อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง "ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้รายย่อย"