เหตุใดจึงกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นมรดกของชาติ

เหตุใดจึงกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นมรดกของชาติ

กรรณิกา สมเพชร

เข้าสู่ระบบเมื่อ ประมาณ 6 ปี ที่แล้ว

1) มรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับจากพระพุทธศาสนา

- มรดกทางด้านรูปธรรม เช่น ศาสนสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม

- มรดกทางด้านจิตใจ เช่น หลักธรรมคำสั่งสอน ความเชื่อ และคุณธรรมต่างๆ

2) การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย

- พัฒนาด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวนา 4 (กาย ศีล จิต ปัญญา) ไตรสิกขา (ศิล สมาธิ ปัญญา)

และอริยสัจ 4

- พัฒนาด้านจิตใจ เช่น หลักโอวาท 3 (ละความชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และการบริหารจิตและเจริญปัญญา)

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)

                    สังคมสุโขทัยยึดมั่นในพระพุทธศานา  ประชาชนจึงได้รับการขัดเกลาจิตใจให้มีความละเอียดอ่อน  ทั้งในแง่ของหลักธรรมและศิลปกรรมต่าง ๆ ทำให้สามารถสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมไว้มากมาย  ซึ่งกลายเป็นมรดกตกทอดแก่อาณาจักรไทยในยุคต่อ ๆ มาหลายด้าน  ดังต่อไปนี้

          1.  ด้านศาสนา
               ในสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีการนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลังกาผ่านมาทางเมืองนครศรีธรรมราช  นอกจากนี้  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  จากนครศรีธรรมราชมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุโขทัย  ทำให้นับตั้งแต่นั้นมา  พระพุทธศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรืองในสุโขทัย  และได้แผ่ขยายเข้าไปในอาณาจักรอื่น ๆ จนกล่าวได้ว่า  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของคนไทยและเป็นสื่อกลางสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชนชาติไทย
               พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยทรงมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา  ทรงนำราษฎรปฏิบัติธรรมและทำกิจกรรมทางศาสนา  โดยเฉพาะพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  พระองค์ทรงออกผนวชและทรงนิพนธ์งานทางศาสนา  เช่น  หนังสือไตรภูมิพระร่วง  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีประเพณีการสร้างวัดในเขตพระราชวัง  เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา  และพระราชพิธีอื่น ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

          2.  ด้านศิลปกรรม
               (1)  สถาปัตยกรรม  สิ่งก่อสร้างสมัยสุโขทัยมีความงดงามและเป็นแบบอย่างของสุโขทัยโดยเฉพาะ  ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างเจดีย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นที่นิยมให้ก่อสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์  ต่อมาในสมัยสุโขทัยตอนปลายการก่อสร้างเจดีย์จะมีลักษณะสวยงามยิ่งขึ้น  เป็นรูปแบบสุโขทัยแท้  คือ  เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม
                    นอกจากนี้สมัยสุโขทัยจะสร้างวิหารใหญ่กว่าโบสถ์  มีกำแพงทึบ  และเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ คล้ายกับหน้าต่างเพื่อให้แสงลอดผ่านเข้าข้างในได้  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการสร้างวิหารในสมัยนั้น  จะนิยมสร้างไว้ด้านหน้าของเจดีย์  เช่น  วิหารหลวงที่เมืองสุโขทัย  วิหารหลวงที่วัดมหาธาตุ  เป็นต้น
               (2)  ประติมากรรม  การก่อสร้างพระพุทธรูป  สมัยสุโขทัย  นิยมหล่อพระพุทธรูปจากโลหะสำริด  ซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่สวยงามที่สุดของชาติไทย  ได้แก่  พระพุทธชินราช  พระศรีศากยมุนี  เป็นต้น
               (3)  งานจิตรกรรม  งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัย  มีทั้งภาพลายเส้นาและภาพสีฝุ่น  เช่น  จิตรกรรมงานเขียนลายเส้นเรื่องชาดก  สลักบนหินชนวนที่ผนังอุโมงค์  ในวัดศรีชุม  จังหวัดสุโขทัย  และภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ใช้สีแดง  ดำ  ขาว  เป็นหลัก  เช่น  ภาพเขียนที่วัดเจดีย์แถวเมืองศรีสัชนาลัย

     3.  ด้านภาษาและวรรณกรรม
               มรดกทางวัฒนธรรมของสุโขทัยที่สำคัญ  คือ  ตัวอักษรไทยและวรรณกรรม  ตัวอักษรไทยเรียกว่า  ลายสือไทย  พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น  เมื่อ พ.ศ. 1826  ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นนั้นได้ดัดแปลงมาจากอักษรขอมและอักษรมอญ  มีลักษณะการจัดวางรูปสละให้เรียงอยู่บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะ  การประดิษฐ์อักษรไทยทำให้เกิดวรรณกรรมที่สำคัญ  ได้แก่  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  หรือศิลาจารึกหลักที่ 1  นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีที่สำคัญ  ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วง (เตรภูมิกถา)
               (1)  ศิลาจารึก  ศิลาจารึกที่พบในสมัยสุโขทัย  มีประมาณไม่น้อยกว่า30หลัก  แต่ที่สำคัญมาก  คือ  ศิลาจารึกหลักที่ 1  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  มีคุณค่าทางภาษา  กฎหมาย  การปกครอง  วัฒนธรรม  และยังถือเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวาทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยนั้น  จึงนับว่าเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม  และวัฒนธรรมของสุโขทัยได้เป็นอย่างดี
               (2)  ไตรภูมิพระร่วง  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น  เพื่อใช้แสดงธรรมโปรดพระราชมารดาและอบรมสั่งสอนประชาชนทั่วไป  ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีเล่มแรกของไทยที่เขียนเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์  นรก  สวรรค์  สั่งสอนให้คนรู้จักเกรงกลัวต่อบาปและให้ทำแต่ความดี  นับว่ามมีอิทธิพลต่อจิตใจและความเชื่อของคนไทยสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

              4.  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
               ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนในสังคม  ขนบธรรมเนียมประเพณีในสมัยสุโขทัยจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากคนไทยในกรุงสุโขทัยนับถือพระพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวาง  ทำให้พระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสุโขทัยอย่างมากมาย  เช่น ประเพณีการสร้างวัดในเขตพระราชวัง  ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา  ออกพรรษา  รักษาศีล  ฟังเทศน์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เป็นต้น
               ขนบธรรมเนียมประเพณีของสุโขทัยเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน  ได้แก่  การละเล่นรื่นเริง  ประเพณีการเผาเทียนเล่นไฟ  และพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น  พระราชพิธีลอยพระประทีป  เป็นต้น
               อาณาจักรสุโขทัยได้สร้างแบบแผนของการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน  ตลอดจนได้สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม  เช่น  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ไว้มากมายเป็นมรดกตกทอดให้กับอาณาจักรไทยในยุคหลังต่อ ๆ มา  ทั้งในด้านศาสนา  ศิลปกรรม  ด้านภาษาและวรรณกรรม  และด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  หรือที่เรียกกันว่า  มรดกทางวัฒนธรรมของสุโขทัย

มรดกทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

- มรดกทางด้านรูปธรรม เช่น ศาสนสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม - มรดกทางด้านจิตใจ เช่น หลักธรรมคำสั่งสอน ความเชื่อ และคุณธรรมต่างๆ 2) การนำพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชาติไทย

พระพุทธศาสนาสร้างมรดกหรือเอกลักษณ์ของชาติอย่างไร

พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเป็นรากฐาน ที่สำคัญ โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อด้านจิตใจหรือลักษณะนิสัยใจคอที่แสดงออกถึง ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเป็นกันเอง การยิ้มแย้มแจ่มใส การพูดจาสุภาพ การมีสัมมาคารวะ ฯลฯ ลักษณะเหล่านี้เกิดจากความเชื่อ การเห็น ...

พระพุทธศาสนามีความสำคัญในฐานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างไร

พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน วิถีชีวิตของชาวไทยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชาวไทยร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา ได้นำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่าทุกวัน พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม

เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ าชาติไทย ด้วยชนชาติไทยได้นับถือและยกย่องเทิดทูนเป็นสรณะ แห่งชีวิต สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของชาติส่วนใหญ่ มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นพระประมุขของชาติทุกๆ พระองค์ทรงเป็นพุทธ มามกะ ทรงดารงอยู่ในฐานะเป็นองค์เอกอัคร ...