เพราะ เหตุ ใด ประเทศต่าง ๆ ใน ทวีป อเมริกาใต้ จึง หัน มา ทำ การเกษตร แบบ ชีวภาพ

ป่าฝนแอมะซอน - ป่าซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลภูมิอากาศโลกและช่วยต่อสู้กับภาวะโลกร้อน กำลังได้รับความเสียหายจากการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ด้วยเช่นกัน

การตัดไม้ทำลายป่าใน 4 เดือนแรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นถึง 55% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้คนพากันฉวยโอกาสใช้วิกฤตครั้งนี้เข้าถางป่าอย่างผิดกฎหมาย

ก่อนหน้านี้การตัดไม้, การลักลอบทำเหมืองแร่, การบุกรุกถางป่าให้เป็นที่ดินเปล่าและไฟป่า ล้วนแต่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปีอยู่แล้ว นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเรากำลังขยับเข้าใกล้ "จุดที่ไม่อาจหวนคืน" อย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงจุดนั้น แอมะซอนจะไม่สามารถทำหน้าที่สำคัญของมันได้อย่างที่ควรจะเป็นอีกต่อไป

เรามาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่กดดันให้ผืนป่าแอมะซอนต้องเดินไปสู่ภาวะใกล้ล่มสลาย รวมทั้งค้นหาคำตอบว่า 9 ประเทศที่ครอบครองอาณาเขตแต่ละส่วนของแอมะซอน ได้ลงมือทำอะไรเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้บ้างหรือไม่

พยาบาลในป่าแอมะซอนใกล้เมืองมานาวซ์ของบราซิล

ที่มา Reuters

ป่าแอมะซอนกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดและเต็มไปด้วยความหลากหลายมากที่สุดของโลก ถือเป็นบ้านของผู้คนกว่า 33 ล้านชีวิต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นับหมื่นสายพันธุ์

นับแต่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในบราซิล ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐแอมะซอนาสเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อสูงสุดของประเทศ และยังเป็นรัฐที่มีการสนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณสุขต่ำที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย

ทางการบราซิลได้กำหนดให้ใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และจำกัดการเดินทางเคลื่อนย้ายผู้คน เพื่อสกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเหมือนกับในประเทศอื่น ๆ

แต่นั่นหมายความว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ภาคสนามซึ่งดำเนินภารกิจปกป้องป่าสงวนมายาวนานต้องถอนกำลังออกไป โจนาธาน มาโซเวอร์ จากองค์กรอนุรักษ์ Survival International บอกว่า ไม่มีการลาดตระเวนหรือเฝ้าระวังผืนป่ากันอีกแล้ว

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและรัฐต่าง ๆ ของบราซิลเริ่มใช้มาตรการปิดเมือง สถิติการตัดไม้ทำลายป่ากลับพุ่งพรวดขึ้นถึง 64% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นนี้ได้จากภาพถ่ายดาวเทียมของสถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิล (INPE)

เมื่อปีที่แล้ว เหตุไฟป่ารุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้งชนิดที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ได้เผาทำลายผืนป่าแอมะซอนไปเป็นบริเวณกว้าง ฤดูกาลที่ไฟป่ารุนแรงที่สุดนั้นเริ่มจากเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางคนเป็นกังวลว่า ช่วงเวลาดังกล่าวอาจประจวบเหมาะเข้ากับตอนที่วิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นสู่จุดสูงสุดพอดี

แม้ทางการบราซิลจะได้วางกำลังทหารในภูมิภาคแอมะซอน เพื่อปกป้องป่าฝนแห่งนี้และจัดการกับพวกลักลอบตัดไม้รวมทั้งปัญหาไฟป่า แต่ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า อันที่จริงนโยบายและถ้อยแถลงของรัฐบาลนั้น กลับช่วยส่งเสริมขบวนการมอดไม้และพวกลักลอบทำเหมืองแร่ในป่าเสียมากกว่า

แผนที่ของชีวนิเวศแอมะซอน ซึ่งครอบคลุมเขตแดนของประเทศเปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ โคลอมเบีย กายอานา ซูรินาม บราซิล เวเนซุเอลา และดินแดนเฟรนช์เกียนา

แม้ก่อนที่อัตราการตัดไม้ทำลายป่าจะพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ สถิติในเรื่องดังกล่าวของ 9 ประเทศและดินแดนในภูมิภาคแอมะซอนก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดอยู่แล้ว

บราซิล โบลิเวีย และเปรูเป็น 3 ใน 5 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิ (primary forest) ไปมากที่สุดในปี 2019 นอกจากนี้โบลิเวียยังประสบเหตุไฟป่ารุนแรงมากที่สุดในประวัติการณ์ด้วย

แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเดียวที่เกิดขึ้น

ดร. อันโตนิโอ โดนาโต นอบรี นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของบราซิลบอกว่า "หากเอาแต่อ้างถึงการตัดไม้ทำลายป่าเพียงอย่างเดียว เวลาที่เราคุยกันเรื่องสาเหตุของการสูญเสียผืนป่าแอมะซอน ผมขอเรียกคำพูดเช่นนี้ว่า โกหกสีเขียวคำโต"

"ขณะนี้ ระดับการทำลายป่าฝนเขตร้อนของแอมะซอนนั้นกินพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 20% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ชอบพูดกันทางสื่อมวลชนไปมากแล้ว"

เพื่อให้เข้าใจถึงระดับการทำลายล้างที่แท้จริงอย่างสมบูรณ์ ดร. นอบรีบอกว่าจำเป็นต้องนำเอาปัจจัยอื่น ๆ ที่ร่วมกันทำให้ป่าเสื่อมสภาพเข้ามาพิจารณาด้วย

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟป่าหรือการลักลอบล่าสัตว์โดยผิดกฎหมาย ซึ่งสภาพการณ์เหล่านี้ขัดขวางไม่ให้ระบบนิเวศทำหน้าที่ของมันอย่างที่ควรจะเป็น

แม้ป่าจะไม่ได้สูญเสียต้นไม้และพืชพรรณอื่น ๆ ไปทั้งหมด แต่การที่ป่าเสื่อมสภาพจะทำให้มันสูญเสียคุณสมบัติที่มีความสำคัญยิ่งยวดต่อโลกใบนี้

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหากเราไม่สามารถแก้ไขระดับความรุนแรงของการตัดไม้ทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าให้เปลี่ยนแปลงไปจากอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปด้วย

แผนภาพแสดงพื้นที่ป่าแอมะซอนที่อยู่ในเขตแดนของแต่ละประเทศ

  • เปิดสถิติไฟป่าแอมะซอน วิกฤตหนักแค่ไหน
  • บราซิลจะปฏิเสธเงินช่วยเหลือจากกลุ่ม G7 เพื่อช่วยแก้วิกฤตไฟป่าแอมะซอน

พื้นที่ป่าถูกตัดโค่นในภูมิภาคแอมะซอนของบราซิล

ที่มา Reuters

เหตุตัดไม้ทำลายป่าทุกครั้งใช่ว่าจะเหมือนกัน

วิธีวัดความรุนแรงของการตัดไม้ทำลายป่าที่นิยมใช้กันทั่วไปมากที่สุด คือการหาความกว้างของพื้นที่สูญเสียต้นไม้ปกคลุม (tree cover loss) ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่ไม่หลงเหลือพืชพรรณใด ๆ อยู่อีกเลย

องค์กรพิทักษ์ป่าโลกหรือ Global Forest Watch รายงานว่าในปี 2019 เพียงปีเดียว ได้เกิดพื้นที่สูญเสียต้นไม้ปกคลุมในผืนป่าแอมะซอนไปแล้วถึง 24,000 ตร.กม.

ในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่ของป่าปฐมภูมิราว 17,000 ตร.กม. โดยป่าปฐมภูมินั้นคือผืนป่าที่ยังอยู่ในสภาพดั้งเดิมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ตัวเลขสถิติข้างต้นหมายความว่า มีการทำลายป่าอุดมสมบูรณ์ที่ยังไม่เคยถูกรบกวน คิดเป็นพื้นที่เท่ากับ สนามฟุตบอล 3 สนาม ในทุก 1 นาที ตลอดปี 2019

แผนภาพแสดงจำนวนของชนิดพันธุ์สัตว์ที่สามารถพบได้ในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ของแอมะซอน ได้แก่นก 160 ชนิดพันธุ์ ไพรเมตหรือวานร 10 ชนิดพันธุ์ ปลา 44 ชนิดพันธุ์ ถ้าอยู่ในเขตที่มีแม่น้ำกว้างอย่างน้อย
5 ม. ยาวอย่างน้อย 140 ม. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 33 ชนิดพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 22 ชนิดพันธุ์ พืชอิงอาศัยเช่นหญ้ามอสส์ 96 ชนิดพันธุ์ รวมทั้งต้นไม้อีก 310 ชนิดพันธุ์

แม้สถิติการทำลายป่าปฐมภูมิของแอมะซอนใน 1 ปีจะฟังดูเล็กน้อย คิดเป็นเพียง 0.32% ของชีวนิเวศ (biome) ทั้งหมดเท่านั้น ทว่าหัวใจสำคัญของปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเชิงปริมาณหากแต่เป็นคุณภาพ

"พื้นที่ป่าแต่ละเฮกตาร์ที่ถูกตัดทำลาย ก็คือส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ต้องหยุดทำงานไป และมันส่งผลกระทบต่อผืนป่าที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด" ดร. เอริกา แบเรนเกอร์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านป่าฝนเขตร้อนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดกล่าว

ตลอดช่วงเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ตัวเลขการสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิยังคงพุ่งสูงในบรรดาสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศที่มีอาณาเขตทับซ้อนกับผืนป่าแอมะซอน

ภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นพื้นที่สูญเสียต้นไม้ปกคลุมในอเมริกาใต้ ระหว่างปี 2001-2018 โดยในปี 2018 เพียงปีเดียว ได้เกิดพื้นที่สูญเสียต้นไม้ปกคลุมในผืนป่าแอมะซอนไปแล้วถึง 40,000 ตร.กม.

ต้นไม้มีบทบาทอย่างไร

ป่าปฐมภูมิเป็นบ้านของต้นไม้อายุเก่าแก่หลายร้อยปีหรือหลายพันปี ต้นไม้เหล่านี้แสดงบทบาทอันทรงพลังในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยทำหน้าที่เป็นคลังกักเก็บคาร์บอนปริมาณมหาศาล

ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และปลดปล่อยกลับคืนออกมาเพียงเล็กน้อยระหว่างการ "หายใจ" ในแบบของพืช ส่วนที่เหลือจะถูกแปลงเป็นคาร์บอนเพื่อให้ต้นไม้นำไปใช้ผลิตน้ำตาล ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบการเผาผลาญสร้างพลังงาน

ยิ่งต้นไม้มีอายุเก่าแก่และมีขนาดใหญ่โตมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถกักเก็บคาร์บอนเอาไว้ได้มากขึ้นเท่านั้น

ดร. แบเรนเกอร์บอกว่า ไม้ใหญ่ที่ลำต้นมีขนาดของเส้นรอบวงอย่างน้อย 3 เมตรขึ้นไป อาจมีปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บไว้ภายใน 3-4 ตัน แต่ถ้าหากคาร์บอนในต้นไม้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 10-12 ตันเลยทีเดียว โดยตัวเลขนี้เทียบได้กับไอเสียที่รถยนต์สำหรับครอบครัว 1 คัน ปล่อยออกมาในระยะเวลา 4 ปี

คนจำนวนมากเชื่อว่าเราสามารถชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปในแอมะซอนได้ เพียงแค่ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นในที่อื่น ๆ แต่ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น ดร. เอริกา แบเรนเกอร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

ผลกระทบโดยตรงอย่างหนึ่งจากการตัดไม้ทำลายป่า คือการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ป่ากักเก็บเอาไว้ ไฟป่าหรือการย่อยสลายของต้นไม้ที่ล้มลง ล้วนเปลี่ยนคาร์บอนในต้นไม้ให้กลายเป็นก๊าซเรือนกระจก

ด้วยเหตุนี้ เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงเกรงว่าแอมะซอนจะหยุดทำหน้าที่เป็นคลังกักเก็บคาร์บอนของโลก แล้วกลับกลายมาเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลแทน ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเร่งให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น

มีงานวิจัยที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า 20% ของผืนป่าแอมะซอนเริ่มปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูงกว่าอัตราการดูดซับกักเก็บไว้

  • ผืนป่าแอมะซอนถูกทำลายมากเป็นประวัติการณ์จากไฟป่าและการบุกรุก

ต้นไม้ใหญ่ในป่าแอมะซอนที่เปรู

ที่มา Getty

แอมะซอนถูกทำลายโดยเรามองไม่เห็น

ผู้เชี่ยวชาญอย่างดร. อันโตนิโอ นอบรี เชื่อว่าการตัดไม้ทำลายป่าเพียงอย่างเดียว ไม่อาจแสดงให้เราเห็นภาพของความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ และเราควรจะต้องนำปัญหาการเสื่อมสภาพของผืนป่าที่แอบแฝงอยู่มาพิจารณาร่วมด้วย

ปรากฏการณ์ที่ป่าเสื่อมสภาพเป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิอากาศอย่างเช่นภัยแล้ง มากพอ ๆ กับสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่นการเผาป่าหรือลักลอบตัดไม้ซึ่งทำให้ป่าไม่สามารถทำหน้าที่สำคัญของมันได้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ปรากฏการณ์ป่าเสื่อมสภาพเกิดขึ้น เราอาจยังมองเห็นว่าป่ายังคงเขียวขจีและอยู่ในสภาพดีเมื่อมองลงมาจากที่สูง

เราไม่ควรตัดโค่นต้นไม้ในแถบแอมะซอนอีกแม้แต่ต้นเดียว ดร. อันโตนิโอ นอบรี สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิล (INPE)

"แม้จะไม่ได้สูญเสียพืชพรรณต่าง ๆ ไปทั้งหมด แต่ดินจะแห้งและกร่อนตัวพังทลายได้ง่ายขึ้น สิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจุลภาค (microclimate) หรือสภาพภูมิอากาศส่วนย่อยเฉพาะพื้นที่ของป่า ส่งผลให้ไฟป่าลุกลามอย่างรวดเร็วเพราะดินแห้งและร้อนขึ้นได้เร็วกว่าเดิม" ดร. อเล็กซานเดอร์ ลีส์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาเขตร้อน มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เมโทรโพลิตันของสหราชอาณาจักรอธิบาย

นักวิทยาศาสตร์ยังเตือนว่า การเสื่อมสภาพนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ป่าคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กักเก็บไว้ออกมา โดยผลวิจัยล่าสุดของเครือข่ายข้อมูลข่าวสารด้านสังคม-สิ่งแวดล้อม ตามพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์แห่งภูมิภาคแอมะซอน (RAISG) ชี้ว่า 47% หรือเกือบครึ่งของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดในพื้นที่แถบนี้ มาจากการเสื่อมสภาพของผืนป่า

สำหรับกลุ่มประเทศในภูมิภาคแอมะซอนทั้ง 9 ประเทศนั้น ปัญหาป่าเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน 7 ประเทศ

ความเสื่อมโทรมของป่ายังทำให้ "ประสิทธิภาพ" ในการทำงานตามกลไกต่าง ๆ ของป่าลดลง เช่นไม่สามารถสร้างฝนให้ตกในพื้นที่ของตนเองได้เหมือนเช่นเคย

กราฟิก : สาเหตุอะไรที่ทำให้ป่าเสื่อมโทรม  ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์เรือนยอดไม้จะให้ร่มเงาปกคลุมหนาทึบ  มีสัตว์ชนิดพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า มีลมพ้ดที่พื้นดินน้อยกว่า ดินและอากาศจึงชื้นกว่า ทำให้ไฟป่าลุกลามได้ยาก ส่วนพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพเรือนยอดไม้เปิดแหว่งเพราะมีต้นไม้ลดลง มีสัตว์ชนิดพันธุ์ต่าง ๆ น้อยกว่า มีลมพัดที่พื้นดินมากกว่า ดินจึงแห้งกว่าและมีซากต้นไม้ตาย
ทำให้ไฟป่าลุกลามได้ง่าย

ดร. นอบรีบอกว่า หากนำเอาพื้นที่ป่าซึ่งถูกตัดทำลายมารวมเข้ากับพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพ ผลที่ได้จะชี้ว่ากว่า 50% ของผืนป่าแอมะซอนไม่สามารถทำหน้าที่ทางสิ่งแวดล้อมให้กับภูมิอากาศของท้องถิ่นได้อีกต่อไป

นอกจากนี้ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมยังกว้างใหญ่กว่าพื้นที่ป่าซึ่งถูกตัดทำลายถึง 2 เท่า

รายงานของรัฐบาลโคลอมเบียยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ว่า ผืนป่าแอมะซอนที่อยู่ในเขตแดนของประเทศตน ถูกตัดโค่นไปเป็นพื้นที่กว้างถึง 1,880 ตร.กม. และยังเกิดพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพอีก 4,146 ตร.กม. ซึ่งมากกว่ากันเกิน 2 เท่า

เหตุใดจึงไม่มีการพูดถึงประเด็นป่าเสื่อมโทรม เมื่อมีการวัดระดับความสูญเสียของพื้นที่ป่าแอมะซอนก่อนหน้านี้

ดร. อเล็กซานเดอร์ ลีส์ อธิบายว่า "มันเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะตรวจวัดได้ แม้จะมองเห็นร่องรอยการเสื่อมสภาพของป่าจากภาพถ่ายดาวเทียม แต่ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากภาคพื้นดินมาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อให้เข้าใจได้ว่าป่าแห่งนั้นเสื่อมสภาพในระดับไหน มีการเสื่อมสภาพมากขึ้นหรือน้อยลง หรือกำลังฟื้นตัวอยู่"

ในหมู่นานาประเทศของภูมิภาคแอมะซอน บราซิลเป็นเพียงประเทศเดียวที่เผยแพร่ข้อมูลสถิติว่าด้วยการเสื่อมสภาพของป่าเป็นประจำทุกปี แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์จากทั่วภูมิภาคแห่งนี้กำลังพยายามค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประมวลขึ้นเป็นภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันจากมุมมองที่กว้างขึ้น

ป่าเสื่อมสภาพในบราซิล

ที่มา Alexander Lees/RAS

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อต้องสูญเสียป่าไป

หากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและป่าเสื่อมสภาพ ยังคงดำเนินต่อไปในระดับเดียวกับที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แอมะซอนในฐานะระบบนิเวศเขตร้อนอาจหยุดทำงานลง แม้ป่าบางส่วนจะยังคงมีต้นไม้อยู่ก็ตาม

อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิในแอมะซอนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี ระหว่างปี 2002-2019

Country 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
bolivia 0.16 0.34 0.54 0.86 1.11 1.36 1.67 1.9 2.49 2.85 3.16 3.31 3.62 3.75 4.18 4.54 4.74 5
brazil 0.46 0.89 1.46 1.98 2.39 2.72 3.03 3.23 3.56 3.79 4.11 4.28 4.55 4.79 5.63 6.23 6.62 7
colombia 0.12 0.16 0.3 0.41 0.49 0.68 0.83 0.94 1.05 1.19 1.3 1.42 1.57 1.66 1.83 2.13 2.5 2.7
ecuador 0.06 0.09 0.14 0.2 0.25 0.32 0.4 0.47 0.56 0.67 0.8 0.92 0.98 1.08 1.22 1.44 1.59 1.7
french-guiana 0.02 0.04 0.08 0.1 0.13 0.16 0.21 0.23 0.26 0.29 0.39 0.41 0.45 0.47 0.52 0.56 0.59 0.6
guyana 0.02 0.04 0.06 0.08 0.1 0.12 0.15 0.18 0.22 0.25 0.31 0.33 0.38 0.43 0.52 0.6 0.64 0.7
peru 0.07 0.13 0.22 0.36 0.45 0.56 0.69 0.86 1.01 1.14 1.39 1.6 1.79 1.94 2.15 2.41 2.61 2.8
suriname 0.02 0.03 0.05 0.07 0.08 0.1 0.13 0.17 0.2 0.24 0.34 0.39 0.47 0.53 0.61 0.72 0.84 0.9
venezuela 0.02 0.07 0.09 0.12 0.15 0.2 0.24 0.28 0.34 0.38 0.42 0.46 0.51 0.55 0.73 0.8 0.86 1
ที่มา : Global Forest Watch

เราอาจเสี่ยงเข้าใกล้สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "จุดพลิกผัน" (tipping point) อย่างน่าหวาดเสียว โดยจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันนี้ จะทำให้ลักษณะทางธรรมชาติของแอมะซอนแปรสภาพไปอย่างสิ้นเชิง

การคาดการณ์เช่นนี้จะกลายเป็นจริง หากอัตราการตัดไม้ทำลายป่าแตะถึงระดับ 20%-25% ซึ่งมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า

ในตอนนั้นแอมะซอนอาจต้องเผชิญกับฤดูแล้งที่ยาวนาน อุณหภูมิภายในผืนป่าสูงขึ้นจนต้นไม้เริ่มตายลง และในที่สุดป่าฝนเขตร้อนก็อาจจะกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าที่แห้งแล้ง คล้ายกับทุ่งหญ้าสะวันนา

แอมะซอนจะมีโฉมหน้าอย่างไรหลัง "จุดพลิกผัน"

คำทำนายที่ฟังดูน่ากลัวนี้ ยังไม่ได้รวมเอาปัจจัยเรื่องป่าเสื่อมสภาพเข้ามาพิจารณาด้วย เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ตรวจวัดได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เรียกว่า Panamazonas หรือชีวนิเวศร่วมของแอมะซอนที่ครอบคลุมข้ามพรมแดนของหลายชาติ

นี่หมายความว่า เหตุการณ์เลวร้ายอาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้กว่าที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเคยคาดเอาไว้ แต่มันจะเป็นอย่างไรหากแอมะซอนได้ข้ามผ่าน "จุดพลิกผัน" ที่ว่านั้นไปแล้ว

ฝนตกน้อยลง

ป่าที่ถูกเผาในบราซิลเมื่อปี 2015 ตั้งอยู่ติดกับไร่ปลูกถั่วเหลือง

ที่มา Marizilda Cruppe/RAS

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่จะเกิดขึ้นกับป่าฝนเขตร้อนแอมะซอนได้แก่อะไรบ้าง

แต่ศาสตราจารย์ คาร์ลอส นอบรี นักภูมิอากาศวิทยาชาวบราซิลบอกว่า อุณหภูมิในบริเวณที่กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าสะวันนานั้นอาจสูงขึ้น 1.5-3 องศาเซลเซียส หรืออาจจะสูงกว่านั้นหากนำเอาอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนมาคำนวณร่วมด้วย

ผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป สามารถจะนำหายนะมาสู่ระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้ การที่อุณหภูมิสูงขึ้นและฝนตกน้อยลงหมายถึงภาวะขาดแคลนน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชอย่างถั่วเหลือง

โรคภัยชุกชุมยิ่งขึ้น

การสูญเสียป่าฝนเขตร้อนของแอมะซอน อาจหมายถึงสภาพการณ์ที่ยุงตัวแพร่เชื้อไวรัสจะเข้ามาสัมผัสใกล้ชิดกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น

ที่มา Getty

งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่า การตัดไม้ทำลายป่ามีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับโรคภัยที่แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เช่นไข้มาลาเรียและโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis)

การที่ป่าเสื่อมสภาพยังทำให้บรรดาแมลงต่าง ๆ ต้องมองหาแหล่งอาหารใหม่ และอาจทำให้พวกมันเริ่มออกหากินเข้ามาใกล้กับเขตเมืองและที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มากขึ้น

นอกจากนี้ ดร. เบียทริซ การ์เซีย เด โอลิเวียรา จากเครือข่ายสืบสวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Red-Clima) ของบราซิลยังบอกว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังนำไปสู่การเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอวัยวะอย่างหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคของระบบทางเดินหายใจอีกด้วย

"แม้สภาพการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของแอมะซอนจะไม่เปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ แต่อุณหภูมิของอากาศภายในภูมิภาคก็จะยังคงสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนอาจเพิ่มขึ้นถึง 8 องศาเซลเซียสภายในปี 2070 หากเรานำปัจจัยเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าและภาวะโลกร้อนมาพิจารณาร่วมกัน"

"การที่ป่าฝนของแอมะซอนจะถูกแทนที่ด้วยระบบนิเวศอีกแบบหนึ่งนั้น อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นยิ่งกว่าที่ทำนายไว้เสียอีก หรือมันอาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้มาก" ดร. การ์เซีย เด โอลิเวียรา กล่าว

เราจะหลีกเลี่ยงจุดพลิกผันได้ไหม

ศ. คาร์ลอส นอบรี บอกว่ายังพอมีหนทางอยู่

"อันดับแรก เราต้องประกาศนโยบายห้ามตัดไม้ทำลายป่าอย่างสิ้นเชิงในแถบ Panamazonas ทันที รวมทั้งดำเนินโครงการปลูกป่าในทางตอนใต้ ทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ของแอมะซอน ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายมากที่สุด"

"หากเราสามารถฟื้นฟูให้ป่ากลับคืนมาได้ราว 60,000 หรือ 70,000 ตร.กม.ในบริเวณอันกว้างใหญ่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนานขึ้นกว่าเดิมไปแล้วนี้ เราอาจช่วยให้กลไกของป่ากลับมาทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้ป่าสามารถปรับตัวทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ดีขึ้นด้วย" ศ. นอบรีกล่าว

แต่ดูเหมือนว่าแผนการเหล่านี้จะไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ในอนาคตอันใกล้

นายพรานชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของแอมะซอนกำลังเตรียมใช้อาวุธ

ที่มา Getty

ภัยคุกคามต่อแอมะซอนใน 9 ประเทศ มีอะไรบ้าง

การตัดไม้ทำลายป่าและสาเหตุของมัน คือแหล่งที่มาสำคัญแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลของ 9 ชาติในภูมิภาคแอมะซอน กับบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบริษัทต่าง ๆ และชนเผ่าพื้นเมือง แต่หากกล่าวโดยสรุปแล้ว ความต้องการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ปะทะเข้ากับอุดมการณ์อนุรักษ์ผืนป่าแอมะซอนและการปกป้อง ชนพื้นเมืองดั้งเดิม เข้าอย่างจัง

ความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของภูมิภาคแอมะซอนทั้งหมด รวมไปถึงผู้คนภายนอกที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณนี้และคนที่อยู่ห่างไกลออกไปทั่วโลก

แผนภาพแสดงกระบวนการที่ป่าแอมะซอนช่วยกระจายฝนไปทั่วอเมริกาใต้ 1.การระเหยของน้ำปริมาณมากในมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เมฆมีความชื้น 2. ลมสินค้าพัดกลุ่มเมฆให้เคลื่อนไปเหนือผืนป่าและปล่อยน้ำฝนตกลงมา
การคายระเหยน้ำของพืชทำให้เมฆชุ่มชื้นได้อีกครั้ง 3.เมื่อกลุ่มเมฆลอยไปถึงเทือกเขาแอนดีส ฝนที่ตกลงมากลายเป็นต้นแม่น้ำหลายสายของแอมะซอน 4. ความชื้นบางส่วนที่มาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ตกเป็นฝนบริเวณแอ่งลุ่มแม่น้ำ River Plate

ดร. อันโตนิโอ นอบรี กล่าวว่า "หากไม่มีผืนป่าแอมะซอน พื้นที่แอ่งของลุ่มแม่น้ำริโอเดลาปลาตา หรือที่เรียกว่าแอ่งลุ่มแม่น้ำ "ริเวอร์เพลต" (River Plate Basin) รวมทั้งพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของบราซิลจะกลายเป็นทะเลทราย"

"ผู้คนไม่รู้กันเลยว่า มันหมายความว่าอย่างไรหากต้องสูญเสียพื้นที่ทางอุทกวิทยาที่แสนวิเศษนี้ไป"

อะไรคือสาเหตุที่ผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในแต่ละประเทศของภูมิภาคแอมะซอน มีการสูญเสียป่าปฐมภูมิไปเท่าใดแล้ว และรัฐบาลของแต่ละชาติกำลังทำอะไรอยู่

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน

  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

กำแพงข้างถนนในกรุงลาปาซของโบลิเวีย

ที่มา reuters

มูลนิธิเพื่อนธรรมชาติ (FAN Bolivia) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เฝ้าจับตาประเด็นด้านการอนุรักษ์ระบุว่า ไฟป่าที่เริ่มปะทุในโบลิเวียเมื่อเดือน พ.ค. ของปีที่แล้ว ได้ทำลายผืนป่าแอมะซอนไปเกือบ 2 ล้านเฮกตาร์

ครึ่งหนึ่งของป่าที่มอดไหม้อยู่ในเขตอนุรักษ์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่สูง

บรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังระบุว่า รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเอโบ โมราเลส ส่งเสริมการตัดไม้ทำลายป่า โดยมีนโยบายขายที่ดินให้กับนักธุรกิจและนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน boliviaปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 46130 52313 56086 93893 69906 73075 90479 65473 169272 103733 88466 45314 88129 38848 122277 102906 57883 90531
ที่มา : Global Forest Watch

นโยบายถางป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตรนั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองและการเลี้ยงวัว โดยหวังจะเพิ่มการส่งออกไปยังตลาดของประเทศจีน โดยในเดือนส.ค. ปี 2019 อดีตประธานาธิบดีโมราเลสได้จัดงานฉลองการส่งออกเนื้อวัวไปจีนครั้งแรกจากเมืองซานตาครูซ

พื้นที่ในแถบเดียวกันยังมีการปลูกถั่วเหลืองอย่างหนาแน่น โดยมีผลผลิตคิดเป็นปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศในปี 2018 พื้นที่ดังกล่าวยังได้รับผลกระทบจากไฟป่ามากที่สุดในปีที่แล้วด้วย

เพื่อยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องไฟป่า อดีตประธานาธิบดีโมราเลสได้สั่งระงับการขายที่ดินในแถบซานตาครูซ โดยอ้างถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า "หยุดพักด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา"

บีบีซีได้สอบถามไปยังกระทรวงสิ่งแวดล้อมของโบลิเวียเรื่องแผนลดการตัดไม้ทำลายป่า แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

บราซิลได้รับคำชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก หลังสถิติการตัดไม้ทำลายป่าลดลงอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2004-2014 ซึ่งคิดเป็นอัตราการลดลงสะสมถึง 80% ในช่วงเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ

แต่อย่างไรก็ตาม การสูญเสียพื้นที่ป่าของบราซิลได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน brazilปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 1497092 1396414 1854977 1716304 1337658 1063041 1004269 657409 1080839 739458 1035878 579279 874127 777059 2717808 1963295 1280391 1294540
ที่มา : Global Forest Watch

ในเดือนพ.ย. ปี 2019 รัฐบาลบราซิลได้เผยแพร่ข้อมูลที่ตรงกับการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญก่อนหน้านั้นว่า ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2018 ไปจนถึงกลางปี 2019 การตัดไม้ในเขตผืนป่าแอมะซอนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น

มีการตัดถางป่าจนเตียนโล่งเป็นพื้นที่ถึง 9,800 ตร.กม. ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ป่าถูกตัดโค่นที่กว้างใหญ่ที่สุดนับแต่ปี 2008 เป็นต้นมา

ตัวเลขนี้ยังไม่รวมพื้นที่ป่าที่ถูกเผาทำลายในเดือน ส.ค.ของปีที่แล้ว อันเป็นเหตุไฟป่าแอมะซอนที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

รัฐบาลของประธานาธิบดี ชาอีร์ โบลโซนาโร บอกว่าไฟป่าดังกล่าวเกิดจากสภาพอากาศในฤดูแล้ง แต่ผลการตรวจสอบและศึกษาของสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแอมะซอน (IPAM) และมหาวิทยาลัย UFAC ของบราซิลพบว่าไม่ใช่เช่นนั้น

รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า หายนะจากไฟป่าครั้งล่าสุดเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าโดยตรง

"หลังจากตัดโค่นต้นไม้แล้ว พวกเขาจะปล่อยมันทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 เดือนให้แห้งตัว ก่อนจุดไฟเผาเพื่อปรับหน้าดินทั้งหมดให้เตียนโล่ง ที่ดินแห่งใหม่จะถูกนำไปใช้ปลูกหญ้าและทำเป็นทุ่งเลี้ยงวัว" ดร. เอริกา แบเรนเกอร์ กล่าว

ทางการส่งทหาร 4 พันนายเข้าไปปราบปรามพวกทำไม้เถื่อนและกิจกรรมผิดกฎหมายอื่น ๆ และอาจต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อไปจนถึงหน้าแล้งเพื่อป้องกันไฟป่า

ที่มา Alexander Lees/RAS

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการตัดไม้ทำลายป่าถึง 80% ในบราซิล มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการทำฟาร์มเลี้ยงวัว บราซิลนั้นเป็นผู้ส่งออกเนื้อรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศคิดเป็น 7% ของจีดีพี และ 4.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

ปัจจุบันการเลี้ยงวัวถึง 40% ของบราซิล กระจายอยู่ในรัฐต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าแอมะซอน

แต่พื้นที่ป่าในลักษณะนี้ราว 60 ล้านเฮกตาร์ กลับถูกมองว่าเป็นที่ดินสาธารณะ ซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่อย่างใดทั้งสิ้น

กล่าวคือรัฐบาลไม่ได้กำหนดให้พื้นที่ป่าเหล่านี้เป็นเขตอนุรักษ์หรือเขตแดนของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม ดร. มาร์เซโล สตาบิลี นักวิจัยของ IPAM บอกว่า ผู้คนจำนวนมากพากันมาถางป่า ตัดโค่นต้นไม้ และเอาฝูงวัวมาเลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีการราคาถูกที่สุดเพื่อเข้าครอบครองที่ดินในป่า

ที่ดินที่เตียนโล่งปราศจากต้นไม้นั้น มีมูลค่าสูงกว่าในตลาดซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

ที่ดินในบราซิลซึ่งได้จากการหักร้างถางพงส่วนใหญ่ ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการเลี้ยงวัวเป็นหลัก แต่จุดมุ่งหมายของการทำฟาร์มอาจไม่ได้อยู่ที่รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เนื้อ แต่อยู่ที่การขายที่ดิน ดร. มาร์เซโล สตาบิลี, สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแอมะซอน (IPAM)

ขั้นตอนต่อไปของการเข้าครอบครองที่ดินในป่า ก็คือพยายามให้ได้เอกสารสิทธิ์มาโดยผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมาย จากนั้นจะขายที่ดินเพื่อทำกำไรให้กับเกษตรกรรายใหญ่ ซึ่งเมื่อที่ดินถูกโอนไปอยู่ในมือของผู้ซื้อแล้ว ก็ยากที่จะบอกได้ว่าพื้นที่ทำฟาร์มแปลงไหนได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่

สภาพการณ์น่าหดหู่เช่นนี้เกิดขึ้นกับโคลอมเบีย เปรู และเอกวาดอร์ด้วยเช่นกัน

อันที่จริงแล้ว ดร. สตาบิลีและนักวิจัยคนอื่น ๆ ได้เคยชี้เอาไว้ว่า บราซิลสามารถจะเพิ่มพื้นที่เลี้ยงวัวให้มากขึ้นได้ 2-3 เท่า โดยไม่ต้องตัดโค่นผืนป่าแอมะซอนอีกแม้แต่นิดเดียว

"การซื้อขายและเก็งกำไรราคาที่ดิน จูงใจให้ผู้คนทำลายป่ามากขึ้น หากรัฐบาลกำหนดให้พื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ควบคุมแทนที่จะเป็นพื้นที่สาธารณะ ก็จะทำให้มูลค่าการซื้อขายที่ดินในป่าลดลง"

เหล่านักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังชี้ว่า ถ้อยแถลงและนโยบายจากรัฐบาลของประธานาธิบดีโบลโซนาโรนั้น ล้วนแต่ส่งเสริมการตัดไม้เพื่อสร้างพื้นที่การเกษตรใหม่ และยังสนับสนุนการเบียดเบียนทำร้ายชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมอีกด้วย

แผนภาพแสดงจำนวนวัวในพื้นที่แอมะซอนของบราซิล ปี 2018 แยกตามเขตเทศบาล

แม้รัฐบาลบราซิลจะปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ประธานาธิบดีโบลโซนาโรบอกว่าต้องการจะยุติ "อุตสาหกรรมภาษีสิ่งแวดล้อม" และบอกว่าทั้งประเทศมีพื้นที่อนุรักษ์มากเกินไป นอกจากนี้ รัฐบาลบราซิลยังมีโครงการจะทำเหมืองบนพื้นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมอีกด้วย

ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนปี 2019 สถิติการทำร้ายและบุกรุกที่ดินของชนเผ่าพื้นเมืองมีเพิ่มขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สาธารณชนต่างกล่าวโทษบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถางป่า ตัดไม้ และทำเหมือง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เข้าขั้นร้ายแรงในเดือนพฤษภาคม ทางการตัดสินใจวางกำลังทหารราว 4,000 นายในพื้นที่ป่าแอมะซอน เพื่อต่อต้านการลักลอบตัดไม้และกิจกรรมอื่น ๆ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน โดยปฏิบัติการนี้สามารถยืดระยะเวลาออกไปได้จนถึงช่วงฤดูแล้งเพื่อช่วยป้องกันไฟป่าด้วย

นายริคาร์โด ซาลเลส รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของบราซิลระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ทำให้สถานการณ์ในปีนี้เลวร้ายลงไปอีก

แต่ด้านประธานาธิบดีโบลโซนาโรกลับพูดคัดค้านมาตรการลงโทษพวกตัดไม้และทำเหมืองแร่ในป่า เช่นการทำลายเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกยึดทิ้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายมันออกมาจากป่าได้ บรรดานักวิจารณ์มองว่านี่คือการที่รัฐบาลส่งสัญญาณว่าสนับสนุนขบวนการผิดกฎหมายเหล่านี้

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

เมื่อปี 2017 ขนาดของการตัดไม้ทำลายป่าในโคลอมเบียอยู่ในระดับสูงที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคแอมะซอน ทั้งยังเป็นระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของชาติอีกด้วย พื้นที่ป่ากว่า 140,000 เฮกตาร์ถูกตัดโค่น ซึ่งถือว่ามากกว่าสถิติของปีก่อนหน้าทั้งปีถึง 2 เท่า

อัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่สูงเป็นประวัติการณ์นี้ เป็นผลจากการที่รัฐบาลบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏฟาร์ก (FARC) ในปี 2016 ทำให้พื้นที่ป่าเกิดภาวะ "สุญญากาศทางอำนาจ"

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน colombiaปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 47801 20116 57147 42836 36571 75630 65279 43907 45723 56573 48209 47922 63713 36613 71671 122771 153835 91369
ที่มา : Global Forest Watch

บรรดาผู้นำชุมชนท้องถิ่นบอกว่า กลุ่มกบฏมีบทบาทเป็น "ตำรวจสิ่งแวดล้อม" ประเภทหนึ่ง โดยทำหน้าที่ควบคุมว่าเมื่อใดเกษตรกรจะสามารถถางป่า เผาไร่ หรือทำฟาร์มเลี้ยงวัวได้

"ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลจะไม่เฉียดเข้าใกล้พื้นที่ป่าแอมะซอนเลย เพราะว่ามีกลุ่มกบฏฟาร์กอยู่ กองกำลังแบบนี้ต้องป้องกันตนเองโดยใช้แนวไม้เป็นที่กำบัง ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถบังคับใช้กฎที่เข้มงวดในการรักษาผืนป่า" นายโรดริโก โบเตโร ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (FCDS) กล่าวอธิบาย

ทว่าทุกวันนี้โคลอมเบียกำลังเผชิญกับปัญหาใหม่ หลังจากกลุ่มคนที่นำโดยเกษตรกรรายใหญ่, เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น, แก๊งค้ายาเสพติด, และกองกำลังต่อต้านรัฐบาลกลุ่มอื่น ๆ เช่น ELN ต่างเริ่มแข่งกันหักร้างถางพงเป็นการใหญ่

สิ่งที่คนเหล่านี้ทำ ล้วนเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการที่ดินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถหยุดยั้งพวกเขาได้

ทหารโคลอมเบียออกลาดตระเวนในแม่น้ำกัวยาเบโร ใกล้เมืองมากาเรนา เมื่อปี 2010

ที่มา Alamy

รัฐบาลโคลอมเบียได้จัดตั้ง "สภาแห่งชาติเพื่อการต่อสู้กับการตัดไม้ทำลายป่า" เพื่อแก้ไขปัญหานี้

กระทรวงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนบอกว่า หน่วยงานดังกล่าวจะออกค้นหาพื้นที่ป่าแหว่ง รวมทั้งสืบสวนหาสาเหตุและแนะนำมาตรการที่ควรลงมือทำในแต่ละกรณี

นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายหลายฉบับเมื่อปี 2018 เพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และกำหนดให้ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญเป็นอันดับต้นในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งทำให้ขณะนี้รัฐบาลสามารถเข้าไปดำเนินปฏิบัติการปกป้องผืนป่าจากกิจกรรมผิดกฎหมาย ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแอมะซอนได้แล้ว

มาตรการอื่น ๆ ยังรวมถึงปฏิบัติการทางทหารเพื่อยับยั้งขบวนการถางป่าให้เป็นที่ดินเปล่า รวมทั้งออกโครงการเพิ่มแรงจูงใจทางการเงินเพื่อหวังผลทางการอนุรักษ์อีกด้วย

จนกระทั่งปี 2018 โคลอมเบีย สูญเสียป่าปฐมภูมิไปแล้วถึง 11.7% ของพื้นที่รวม ในจำนวนพื้นที่ที่สูญเสียไปนี้เกิดขึ้นระหว่างปี 2010-18 ถึง 14% แต่ก็มีสัญญาณว่าความพยายามกำลังส่งผลดี โดย ในปี 2019 ตัวเลขการสูญเสียป่าปฐมภูมิลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้ว่า ระดับของการทำลายป่ายังสูงเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าก่อนการบรรลุข้อตกลงสันติภาพเสียอีก

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

ในทางตอนเหนือของประเทศเอกวาดอร์ การผลิตน้ำมันปาล์มถือเป็นภัยคุกคามหลักต่อผืนป่าแอมะซอน

น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและสิ่งของอุปโภคบริโภคทั่วโลก เช่น ช็อกโกแลต เครื่องสำอาง เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเอกวาดอร์เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคลาตินอเมริกา และอันดับ 6 ของโลก

องค์กรพิทักษ์ป่าโลก GFW และโครงการอนุรักษ์แอมะซอน MAAP ระบุว่า การขยายพื้นที่ทำสวนปาล์มน้ำมันและปลูกต้นโกโก้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่า

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน ecuadorปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 4723 3022 3967 4657 4680 5322 7054 6001 7198 9363 10599 10770 5034 7616 11944 18775 12345 11359
ที่มา : Global Forest Watch

กรณีของเอกวาดอร์นั้นน่าห่วงใยเป็นพิเศษ เพราะแม้จะมีพื้นที่ของประเทศอยู่ในชีวนิเวศแอมะซอนเพียงแค่ 2% แต่ก็เป็นเขตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดส่วนหนึ่งของผืนป่า โดยในพื้นที่เพียง 1 เฮกตาร์ของอุทยานแห่งชาติยาซูนิ ก็มีต้นไม้อยู่มากถึง 670 ชนิดพันธุ์แล้ว ซึ่งมากกว่าความหลากหลายของพืชพรรณที่มีอยู่ทั้งหมดในอเมริกาเหนือเสียอีก

นอกจากนี้ ผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติของเอกวาดอร์ยังชี้ว่า ต้นไม้ราว 40%-60% ในผืนป่าแอมะซอนส่วนของตนนั้น ยังเป็นต้นไม้ที่นักพฤกษศาสตร์ไม่รู้จักและยังไม่ได้ทำการศึกษา

นกแก้วมาคอว์ในเขตป่าฝนแอมะซอนของเอกวาดอร์

ที่มา Getty

การทำเหมืองแร่เป็นที่แพร่หลายขึ้น

ข่าวโครงการทำเหมืองแร่และขุดเจาะสำรวจหาแหล่งน้ำมันในผืนป่าแอมะซอน กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งที่สร้างความฮือฮาในประเทศเอกวาดอร์เมื่อไม่นานมานี้

โครงการหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากก็คือ "มิราดอร์" (Mirador) เหมืองเปิดขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งจะขุดหาทองคำ เงิน และทองแดง ในพื้นที่ 2 จังหวัดของภูมิภาคแอมะซอน แต่นั่นไม่ใช่โครงการเดียว

รัฐบาลเอกวาดอร์บอกว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในภูมิภาคดังกล่าวจะดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบโดยบริษัทสัญชาติจีน ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจะเปิดทางให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นด้วย

อย่างไรก็ตาม บรรดานักอนุรักษ์มองว่าการทำเหมืองแร่จะนำปัญหาร้ายแรงมาสู่ภูมิภาคแอมะซอนเสียมากกว่า

ดร.คาร์เมน โฮซเซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของมูลนิธินิเวศวิทยาศาสตร์ (EcoCiencia) บอกว่าเรื่องนี้ไม่ต่างไปจากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งไม่อาจจะรู้ได้แน่นอนว่าผู้ประกอบการเอกชนจะสร้างเขื่อนเหมืองแร่ขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ และจะเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

มันเป็นพื้นที่ทุรกันดารที่ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่มาก เราไม่ต้องการให้เกิดโศกนาฏกรรมเขื่อนเหมืองแร่แตก อย่างที่เมืองบรูมาดีโญในบราซิล ดร. คาร์เมน โฮซเซ มูลนิธินิเวศวิทยาศาสตร์ (EcoCiencia)

บีบีซีได้สอบถามไปยังรัฐบาลเอกวาดอร์ เรื่องแผนป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปเร่งการตัดไม้ทำลายป่าให้เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้รับคำตอบ

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

ทหารของเฟรนช์เกียนามีหน้าที่ออกลาดตระเวนในป่า เพื่อติดตามค้นหาผู้ทำเหมืองแร่โดยผิดกฎหมาย

องค์กร GFW ระบุเมื่อปี 2016 ว่าพื้นที่ถึง 75% ของดินแดนในปกครองฝรั่งเศสแห่งนี้ยังคงเป็นป่าดั้งเดิมที่สมบูรณ์ และแทบจะไม่เคยโดนน้ำมือของมนุษย์แตะต้อง

เฟรนช์เกียนามีสัดส่วนร้อยละของพื้นที่ป่าในเขตอนุรักษ์ถึง 50% ซึ่งจัดว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศสมาชิกของภูมิภาคแอมะซอนทั้งหลาย นอกจากนี้ เฟรนช์เกียนายังมีอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในระดับต่ำสุดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของชนพื้นเมืองและนักอนุรักษ์ต่างเป็นกังวลกันว่า มีขบวนการบุกรุกป่าของผู้ทำธุรกิจเหมืองแร่ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย กำลังรุกคืบเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์มากขึ้นเรื่อย ๆ

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน french-guianaปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 1628 1267 3268 2024 1944 2420 3713 2088 2417 2141 7405 1948 2788 1946 3921 2739 2613 2271
ที่มา : Global Forest Watch

เมื่อช่วงต้นปี 2019 ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ได้สั่งระงับโครงการเหมืองทองคำขนาดใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติเกียนันแอมะซอน หลังจากที่เขาเป็นผู้อนุมัติโครงการเองในตอนแรก เมื่อเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศได้ไม่นาน เห็นได้ชัดว่าคำสั่งที่ออกมาล่าสุดนั้นเป็นผลจากการประท้วงคัดค้านของกลุ่มอนุรักษ์ระดับชาติและนานาชาติ

ถึงกระนั้นก็ตาม การลักลอบทำเหมืองแร่ก็ยังเป็นภัยคุกคามหลักต่ออุทยานแห่งชาติของเฟรนช์เกียนา กองกำลังรักษาความมั่นคงตรวจพบกรณีการลักลอบทำเหมืองแร่ในพื้นที่เพิ่มขึ้นนับแต่ปี 2017

ประมาณการว่ามีผู้กระทำผิดถึง 8,000 -10,000 ราย ซึ่งจัดว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไม่ถึง 300,000 คน สาเหตุนั้นเนื่องมาจากราคาทองที่เพิ่มขึ้นหลังวิกฤตการเงินปี 2008 เป็นต้นมา ทำให้ผู้คน "ตื่นทอง" และพากันหลั่งไหลเข้ามาหาทองคำในป่าแห่งนี้

ทหารของเฟรนช์เกียนาติดตามค้นหาผู้ทำเหมืองแร่โดยผิดกฎหมาย

ที่มา Getty

บรรยายภาพ : ทหารของเฟรนช์เกียนาติดตามค้นหาผู้ทำเหมืองแร่โดยผิดกฎหมาย

"ส่วนใหญ่พวกเขาจะเป็นเด็กหนุ่มยากจนจากบราซิลที่พยายามจะหาเงินด้วยวิธีง่าย ๆ พวกเขาจะอาศัยอยู่ในป่านานหลายเดือน" ร้อยเอกเวียนเนย์ ผู้นำปฏิบัติการต่อต้านการทำเหมืองทองคำซึ่งประจำการในกองทหารต่างชาติแห่งฝรั่งเศสกล่าว

บีบีซีได้สอบถามไปยังกระทรวงดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส เรื่องแผนของรัฐบาลที่จะปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า แต่ไม่ได้รับคำตอบ

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

95% ของพื้นที่ประเทศกายอานาถูกปกคลุมด้วยป่าแอมะซอน

กายอานามีแนวทางบริหารจัดการป่าไม้อยู่ 2 แนวทาง ซึ่งดูเหมือนว่าจะไปด้วยกันไม่ได้ ในทางหนึ่งมีการมองหาวิธีใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากป่าไม้ แต่ในอีกทางหนึ่งก็พยายามสร้างภาพความเป็นรัฐสีเขียวที่คอยปกป้องผืนป่าแอมะซอนไปด้วย

ตัวเลขสถิติของรัฐบาลชี้ว่า ประเทศแห่งนี้มีอัตราการตัดไม้ทำลายป่าต่อปีที่ 0.051% ซึ่งต่ำสุดในภูมิภาค

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน guyanaปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 2802 4199 2612 3554 3722 3318 6350 4896 6619 5804 8927 4503 7764 8439 16653 13362 7549 12787
ที่มา : Global Forest Watch

ความสำเร็จส่วนหนึ่งของกายอานามาจากกลยุทธ์อย่างเช่นการตั้งคณะกรรมการบริหารป่าไม้ ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจว่าต้นไม้ต้นใดควรจะถูกตัดโค่นได้หรือไม่

ถึงกระนั้นก็ตาม การตัดไม้อย่างถูกกฎหมายที่ควบคุมโดยรัฐบาล ก็ยังถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าอยู่ดี บรรดานักอนุรักษ์ชี้ว่าการออกใบอนุญาตให้บริษัทอุตสาหกรรมป่าไม้ข้ามชาติขนาดใหญ่ ทำให้เกิดช่องทางเข้าถึงพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ยังไม่เคยถูกรุกล้ำ โดยพวกลักลอบทำเหมืองแร่ก็พากันฉวยใช้ประโยชน์จากช่องทางนี้

คณะกรรมการป่าไม้ของกายอานาชี้แจงว่า ไม่ได้เปิดพื้นที่ป่าแห่งใหม่ให้กับผู้รับสัมปทานตัดไม้มาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว

นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ยังมีการเรียกคืนใบอนุญาตจากบางบริษัทที่ดำเนินงานไม่ถูกต้องด้วยซ้ำ และรัฐบาลได้นำพื้นที่ดังกล่าวกลับมาเป็นเขตอนุรักษ์แล้ว

ส่วนปัญหาการลักลอบทำเหมืองทองคำในป่านั้น นับเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียพื้นที่ป่าถึง 85% ของที่ถูกตัดโค่นไปทั้งหมด เนื่องจากทองคำเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ

ผืนป่าแอมะซอนของกายอานาเมื่อมองจากมุมสูง

ที่มา Alamy

รัฐบาลกายอานาแถลงว่า ประเทศของตนใช้ "กลยุทธ์พัฒนารัฐสีเขียว" ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และพลังงานที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ ออกมาตรการจำกัดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมโครงการอนุรักษ์ป่าให้มีเพิ่มมากขึ้น

แผนการทั้งหมดนี้จะใช้งบประมาณที่ได้จากข้อตกลงระหว่างประเทศและรายได้จากการขุดเจาะแหล่งน้ำมันดิบในทะเล

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

เกษตรกรรมขนาดย่อมเคยเป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าในเปรู แต่ในปัจจุบัน การทำสวนปาล์มน้ำมัน รวมทั้งการปลูกต้นโกโก้และต้นโคคากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เริ่มกลายมาเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ผืนป่าถูกทำลาย

ผลวิจัยในปี 2018 พบว่า 11% ของพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดระหว่างปี 2007-2013 เป็นบริเวณที่ใช้ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แม้ว่าผลผลิตของพืชชนิดนี้จะคิดเป็นเพียง 4% ของบรรดาพืชเศรษฐกิจในภูมิภาคแอมะซอนเท่านั้น

ซานดรา ริยอส นักภูมิสารสนเทศจากสถาบันเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม (Instituto de Bien Comun - IBC) ของเปรูบอกว่า หลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มบางรายถูกทางการสั่งปรับด้วยโทษฐานตัดไม้ทำลายป่า ธุรกิจเหล่านี้ก็หันไปกว้านซื้อที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย ซึ่งได้ที่ดินเปล่ามาจากการตัดไม้และแผ้วถางป่าอย่างผิดกฎหมาย

ภาครัฐเชื่องช้ามากในการวางระบบเฝ้าระวัง ควบคุม และลงโทษผู้ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ซานดรา ริยอส, สถาบันเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม (IBC)

บีบีซีได้สอบถามไปยังรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของเปรู ในเรื่องแผนป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า แต่ไม่ได้รับคำตอบ

การทำเหมืองทองยังส่งผลให้ผืนป่าแอมะซอนของประเทศเสี่ยงต่อการถูกทำลายยิ่งขึ้น เปรูนั้นเป็นผู้ส่งออกทองคำรายใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา และเป็นรายใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า 25% ของทองคำที่ผลิตได้ในแต่ละปีมาจากการทำเหมืองอย่างผิดกฎหมาย

นับแต่ปี 2006 เป็นต้นมา เกิดกระแสตื่นทองครั้งใหม่ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติตัมโบปาตาของเปรู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคแอมะซอน โดยกระแสตื่นทองครั้งนี้เกิดจากราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งการก่อสร้างทางหลวงข้ามทวีปซึ่งเชื่อมต่อฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของบราซิลเข้ากับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเปรู

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน peruปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 45814 43622 61903 97220 58529 77830 88568 120049 100856 88782 176931 142699 132921 104726 142541 180299 140042 161468
ที่มา : Global Forest Watch

ทางหลวงข้ามทวีปดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นเท่านั้น มันยังเปิดทางให้เข้าถึงพื้นที่ป่าทึบที่ไม่เคยมีใครเข้าถึงได้มาก่อนอีกด้วย ส่งผลให้กลุ่มคนทำเหมืองในพื้นที่แถบเมืองลาปัมปามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงราว 5,000 คนแล้ว

พวกคนทำเหมืองตัดโค่นต้นไม้และกำจัดพืชพรรณต่าง ๆ ออกจากผืนดินของป่าแอมะซอนเพื่อค้นหาทองคำ มีการใช้ปรอทแยกเอาโลหะมีค่าออกจากสินแร่ชนิดอื่น ๆ ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนและสัตว์ป่าเป็นอันตรายจากพิษของสารปรอทไปด้วย

ศูนย์เพื่อนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของแอมะซอน (CINCIA) บอกว่าในปี 2017 สถิติการตัดไม้ทำลายป่าของเปรูพุ่งขึ้นถึงระดับสูงสุดนับแต่ปี 1985 เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุจากการทำเหมือง

เมื่อเดือนมีนาคมของปีที่แล้ว รัฐบาลเปรูได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 60 วัน เพื่อดำเนินปฏิบัติการทางทหารปราบปรามขบวนการลักลอบทำเหมืองในเขตลาปัมปา

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

ด้วยเหตุที่เขตแดนของประเทศซูรินามอยู่ในผืนป่าแอมะซอนถึง 94% ทำให้มีประวัติดีเด่นที่สุดสำหรับความพยายามอนุรักษ์ระบบชีวนิเวศแห่งนี้

อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ซูรินามเริ่มสูญเสียพื้นที่ป่าไปมากขึ้นเพราะการทำเหมืองทองคำเป็นสาเหตุหลัก

จานใส่ก้อนแร่ทองคำที่หาได้จากเหมืองในซูรินาม

ที่มา Alamy

มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการป่าไม้และควบคุมการผลิต ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลซูรินามระบุว่า ระหว่างปี 2000-2014 พื้นที่การทำเหมืองขยายตัวขึ้นอย่างมากถึง 893% โดยส่วนใหญ่เป็นการทำเหมืองแร่ขนาดเล็กแบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าถึง 73% ในประเทศก็มาจากการทำเหมือง

ซูรินามมีสัดส่วนการผลิตทองคำเทียบกับขนาดพื้นที่ประเทศสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก โดยยังไม่ได้รวมเอาสถิติการทำเหมืองทองแบบผิดกฎหมายเข้าไว้ด้วย

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน surinameปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 1916 2218 2703 1763 1860 2091 4367 4217 4794 4103 13377 6624 9638 8060 10425 13706 15363 13995
ที่มา : Global Forest Watch

เหตุลักลอบทำเหมืองทองคำมักเกิดขึ้นในป่าลึกห่างไกลจากเจ้าหน้าที่ทางการ คาดกันว่าพวกลักลอบทำเหมืองราว 60% อาจเป็นชาวบราซิลที่ข้ามพรมแดนมาอย่างผิดกฎหมาย

ส่วนในบางเขตที่มีพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่กว่า ซึ่งมักเป็นของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมหรือผู้สืบเชื้อสายของทาสในอดีต การทำเหมืองแร่ได้กลายเป็นแหล่งรายได้หลักของครอบครัวในท้องถิ่นไปเสียแล้ว

ภัยคุกคามผืนป่าที่ร้ายแรงที่สุดในแต่ละประเทศคืออะไร เลือกประเทศเพื่อดูสถานการณ์ในพื้นที่แต่ละส่วนของแอมะซอน
  • โบลิเวีย
  • บราซิล
  • โคลอมเบีย
  • เอกวาดอร์
  • เฟรนช์เกียนา
  • กายอานา
  • เปรู
  • ซูรินาม
  • เวเนซุเอลา

ไม่มีตัวเลขสถิติการตัดไม้ทำลายป่าที่เป็นทางการของเวเนซุเอลาในขณะนี้ แต่จากการเฝ้าสังเกตการณ์ของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ พบว่ามีการสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐบาลกำหนดให้พื้นที่รูปโค้งลุ่มแม่น้ำโอริโนโกเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่เรียกว่า Orinoco Mining Arc หรือ "โค้งเหมืองแร่โอริโนโก"

นับแต่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตกต่ำ และปริมาณการผลิตน้ำมันของเวเนซุเอลาก็ลดลงมาตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลของประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ได้หันไปให้ความสนใจกับรัฐที่อุดมไปด้วยแหล่งแร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเช่นภูมิภาคแอมะซอน

เวเนซุเอลานั้นมีแหล่งแร่ทองคำในธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ซึ่งคิดเป็นปริมาณถึง 7,000 ตัน

นับแต่มีการก่อตั้งเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่โอริโนโกในปี 2016 มีการมอบประทานบัตรให้เอกชนหลายรายเข้าทำเหมืองทองคำ เพชร และแร่คอลแทน (coltan เป็นแร่ผสมโคลัมไบต์-แทนทาไลต์ ที่ใช้ในการผลิตโทรศัพท์มือถือ) เขตทำเหมืองแร่ดังกล่าวกินพื้นที่ถึง 112,000 ตร.กม. หรือราว 12% ของทั้งประเทศ

พื้นที่ทำเหมืองแร่ขนาดมหึมายังครอบคลุมสถานที่สำคัญทางธรรมชาติ เขตป่าสงวน อุทยานแห่งชาติแอมะซอน และพื้นที่กำหนดให้เป็นเขตอยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมถึง 4 แห่ง

นายการ์โลซ ปาลาเอซ์ นักนิเวศวิทยาขององค์กรเอกชนโปรวิตา (Provita) บอกว่า "เขตลุ่มน้ำโอริโนโกนั้นเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่มาแต่เดิมอยู่แล้ว แม้แต่ชนเผ่าพื้นเมืองก็ยังนิยมทำเหมืองแร่กันแพร่หลาย"

"แต่กฎหมายในปัจจุบันกลับไปยอมรับการทำเหมืองแร่บางประเภทที่เคยมีอยู่แล้ว ซึ่งมันไม่ช่วยลดกิจกรรมลักษณะนี้ลงได้เลย ทั้งจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมและประชากรในท้องถิ่นด้วย"

อันที่จริงแล้ว แผนการของประธานาธิบดีมาดูโรคือการมอบสัมปทานทำเหมืองแร่แก่บริษัทต่างชาติ ซึ่งจะต้องจัดตั้งกิจการร่วมค้ากับรัฐวิสาหกิจขึ้นมาเพื่อให้ดำเนินการในพื้นที่ได้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติขณะนี้ กลับมีกิจการทำเหมืองแร่รายย่อยผุดขึ้นมากมายแทนที่เหมือนดอกเห็ด

ในปี 2018 เพียงปีเดียว ธนาคารกลางของเวเนซุเอลาระบุว่า รัฐบาลได้ซื้อทองคำไปแล้วถึง 9.2 ล้านตันจากตลาดภายในประเทศ ซึ่งเท่ากับปริมาณที่ซื้อทั้งหมดระหว่างปี 2011-2017

การสูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิใน venezuelaปี 2002-2019

year 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
hectares 7400 16309 9882 8515 10332 18307 12820 17304 20090 12136 17090 12684 17193 13024 64016 25215 22547 52897
ที่มา : Global Forest Watch

การก่อตั้งเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อภูมิภาค

นายปาลาเอซ์บอกว่า น่าเสียดายที่ทองคำซึ่งได้จากการขุดเหมืองในเขตดังกล่าวมีคุณภาพต่ำและไม่บริสุทธิ์พอ ทั้งยังหาได้ในปริมาณน้อยกว่าที่คาดหวังกันไว้ด้วย

ผู้คนกำลังทำลายป่าและขุดหาทองไปทุกแห่งที่ขุดได้ ทิ้งไว้เพียงทรายที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ใช้เพาะปลูกต้นอะไรก็ไม่ขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่นี้ไม่อาจฟื้นคืนสภาพเดิมได้แล้ว การ์โลซ ปาลาเอซ์, องค์กรเอกชนโปรวิตา

การทำเหมืองทองยังก่อให้เกิดตะกอนหลายล้านตันสะสมตัวอยู่ในแม่น้ำสายหลัก ทั้งมีสารปรอทที่เป็นพิษปนเปื้อนลงไปด้วย

แต่เวเนซุเอลาก็ยังคงมีสถิติของกรณีลักลอบทำเหมืองสูงที่สุดในภูมิภาคแอมะซอน โดยข้อมูลขององค์กร RAISG ระบุว่า มีเหมืองแร่ที่ดำเนินกิจการโดยผิดกฎหมายถึง 1,899 แห่ง กระจุกตัวกันอยู่ในพื้นที่โค้งเหมืองแร่โอริโนโก

แผนภาพแสดงการลักลอบทำเหมืองแร่ในภูมิภาคแอมะซอน

ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางการเมืองของเวเนซุเอลา สภาแห่งชาติได้พยายามถอดถอนกฎหมายจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่โอริโนโก โดยประณามว่าเป็นอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อมและ "การฆาตกรรมระบบนิเวศ"

บีบีซีได้สอบถามไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3 แห่งของเวเนซุเอลา ในเรื่องแผนลดการตัดไม้ทำลายป่าในโอริโนโก แต่ไม่มีกระทรวงใดให้คำตอบกลับมา