บุคคลใด คือ บิดาแห่งการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ความเป็นมาของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นระดับหนึ่งของการวิจัยเชิงประฏิบัติการ (Carr & Kemmis 1986) ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันทั้งผู้วิจัยและ ผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผล การ ใช้วิธีวิจัยหลักที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยกึ่งทดลองและเชิงทดลองทั้งหมดเป็นวิธีวิทยาศาสตร์ของการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) สำหรับการวิจัยที่ต้องการหาความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามมุมมองของผู้ถูกวิจัย จะเป็นวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีวิจัยเหล่านี้มีข้อจำกัดคือ การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้ทันท่วงทีในระหว่างกระบวนการทำวิจัย แต่ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ได้ออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการปฏิบัติการแก้ปัญหาผนวกรวมเข้าไป ด้วย ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาอันเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวิธีวิจัยแบบอื่น ๆ (จำเริญ จิตรหลัง. 2555)

           Kurt Lewin  นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันได้เขียนบทความชื่อ  “Action  research   and  minority  problems” ในวารสาร “Journal  of  Social  lssues” ตีพิมพ์ในปี 1946  ทำให้แนวคิดการทำวิจัย (Research) ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน (Action) โดยผู้ปฏิบัติงานเป็นนักวิจัยเองที่เรียกว่า  “Action  Research”  ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเริกา  อังกฤษ ออสเตรเลีย  แคนาดา รวมทั้งประเทศในทวีปยุโรปได้นำวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการปรับ ปรุงพัฒนางานในบริบทต่าง ๆ  ทั้งงานพัฒนาชุมชน องค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข  หรือการศึกษาในช่วงเวลาร่วม  50  ปีที่ผ่านมา (จำเริญ จิตรหลัง.2555)

           Corey  (1953) ได้ยืนยันว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดจากการเสนอแนวคิดของ  Collier  ต่อคณะกรรมาธิการของ Indian Affairs ระหว่างปี  ค.ศ. 1933 –1945 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมาธิการว่า  ความสำคัญของงานวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโครงการวิจัยหรือเป้าหมายการวิจัยแล้ว ผลวิจัยก็ควรนำไปปฏิบัติได้โดยผู้ร่วมงานวิจัย และจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้ รับมา ผู้บริหารหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานต้องร่วมกันวิจัยในสิ่งที่เป็นความต้อง การในหน่วยงานของตนเองด้วย Kurt  Lewin (1940)  ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ  2 ประการ คือ การตัดสินใจของกลุ่ม  และความตั้งใจร่วมกันที่จะทำการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นเกิดจากการพยายามเชื่อมโยงทฤษฎีที่นักวิจัยได้วิจัยไว้ไป สู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาทางสังคมที่มีความแตกต่างของ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการแบ่งชนชั้น ความมีอคติ และการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย  (Ebbutt.1983) ความคิดของคนที่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือที่มีความคลุมเครือไม่กระจ่างชัด  มักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจ 3 ข้อ คือ สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? มีอันตรายอะไรบ้าง ? และที่สำคัญที่สุดคือ แล้วเราจะทำอย่างไร ? (Kurt  Lewin 1946)

ต่อมาได้มีการนำแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้กับวงการอุตสาหกรรม ที่สถาบัน Tavistock ที่ประเทศอังกฤษ

          Stephen  M.Corey  (1953) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้นำการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้กับการจัดการศึกษาในอเมริกา  โดยนำมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียน (Corey,1953) ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในวงการศึกษาของอังกฤษและออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1970 โดยในอังกฤษได้พยายามส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน  (Classroom  Action  Research)  เพื่อให้ครูปรับปรุงการเรียนการสอนและเปลี่ยนแปลงบทบาทเรียกว่า  ครูนักวิจัย  (Teacher  as  a  Researcher) โดยสอนคู่ไปกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  (Elliott,1987)

          ออสเตรเลีย ได้มีการขยายแนวคิดเรื่อง  การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง ถึงกับจัดให้การวิจัยปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียนและการ ศึกษาของออสเตรเลีย โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของโรงเรียนและการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน และสร้างความตระหนักให้กับครูในการแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ  โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย  Deakin ได้พัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประยุกต์แนวคิดพื้นฐานของ  Kurt  Lewin  มาใช้  โดยกำหนดขั้นตอนของการวิจัยในลักษณะ “บันไดเวียน” (Spiral)  ประกอบด้วย การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ  (Act) การสังเกต (Observe) และการสะท้อนผล  (Reflect)  (Ebbutt, 1983 : Kemmis  and  McTaggart.1988)

ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          คำว่า  “Action  Research”  ในตำราภาษาไทยหลายคำ เช่น  “การวิจัยปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติ” “การวิจัยดำเนินการ” หรือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งน่าจะทำความเข้าใจในความหมายและมโนทัศน์ของคำนี้ให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายพื้นฐานของการวิจัยปฏิบัติการไว้  หลายคน อาทิเช่น Kurt  Lewin  (1946) Dezin  and  Lincoin  (1994) และ Stringer  (1996) 

การ วิจัยปฏิบัติการเป็นการเชื่อมโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ  แนวคิด ซึ่งเป็นการนำทฤษฎี  ไปสู่การปฏิบัติได้จริง จากบนไปสู่ล่าง ระดับรากหญ้า ผู้ปฏิบัติงานคือนักวิจัย (Practitioners  as  a  Researcher)  ซึ่งอยู่ในองค์กรหรือชุมชนที่กำลังเผชิญสภาพการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา หรือข้อสงสัยที่คลุมเครือไม่กระจ่าง เป้าหมายคือ 1) เพื่อแก้ปัญหา และ 2) เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ หัวใจสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการของการวิจัยปฏิบัติการคือการมีส่วนร่วม  (Participation) และความร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อนำไปสู่ความเกี่ยวพันกัน (Involvement)  ของผู้เกี่ยวข้อง  (Participants) ในองค์กรหรือชุมชนที่ดำเนินการวิจัย การมีส่วนร่วมในการวิจัยปฏิบัติการคือ การร่วมกันตระหนักในปัญหา วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ส่องสะท้อนตัวเอง และรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบวิวัฒน์ ที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจากจุดเล็ก ๆ ของคนกลุ่มหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตซับซ้อนเกินไปจุดเด่นข้อหนึ่งของ การวิจัยปฏิบัติการคือ  ผู้ปฏิบัติงานในฐานะนักวิจัยเมื่อได้ทำวิจัยแล้ว  ผลวิจัยจะตอบสนองความต้องการของตนเองทำให้อยากศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงพัฒนา งานต่อไป  Carr & Kemmis (1986) จำแนกการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ออกเป็น 3 ระดับ 1) Technical Action Research ผู้วิจัยทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ 2) Practical Action Research   ผู้วิจัยมีส่วนร่วมกับผู้ร่วมวิจัยมากขึ้น 3) Participatory Action Research   ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ต่างร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมิน

แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย 

ประเทศ ไทยนั้นแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการแพร่หลายมากพอสมควรในช่วง  10  ปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการศึกษา แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการที่มีอิทธิพลมาก คือ แนวคิดจากมหาวิทยาลัย  Deakin โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแปลหนังสือชื่อ The  Action Research Planner ของ Kemmis and McTaggart (1988) เป็นภาษาไทยชื่อ “นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ”  เมื่อปี  2538  อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อมีพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่าให้สถานศึกษาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนางานในโรงเรียนโดยใช้การวิจัย  จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาสนใจแนวคิดเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำการวิจัยปฏิบัติการไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ เรียกว่า  Classroom  Action  Research : CAR

สม โภชน์ อเนกสุข (2548) เขียนบทความไว้ในวารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2548 กล่าวถึง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มี คุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงาน กำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่นในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษามีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม ระบบอุตสาหกรรม และองค์การต่าง ๆ แต่มีน้อยมากในงานด้านการศึกษา ซึ่งมีอยู่บ้างเมื่อครูแต่ละคนทำการแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนของตนเอง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต้องมีการทำความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกับ ชุมชนและสังคม และมีจุดเน้นของการวิจัยที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเป็นอิสระหรือมีส่วน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม การวิจัยในลักษณะนี้มักจะเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และอาจจะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วยก็ได้ (Creswell, 2002 : 609) จะเห็นได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้นำแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพมาประยุกต์ใช้ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วมกันแสวงหารูปแบบหรือ วิธีการแก้ปัญหาของตน เน้นการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และชีวิต ตลอดจนเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนให้ดี ขึ้น และเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้กับประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์การจากภายนอกทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาหรือเป็น ผู้ประสานงานเพื่อให้

ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มีคุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงานกำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า   มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ถึง แม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่น ในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษา มีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง (สมโภชน์ อเนกสุข.2548)

สรุป การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันที่ทั้ง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผลมีรูปแบบล่างขึ้นบน จึงมีความเป็นประชาธิปไตยสูงเปรียบได้กับการใช้ทฤษฎี Y  ทฤษฎี  Maturity Organization (Selena Rezvani, M.S.W) ทฤษฎี System 4 (R. Likert and Likert 1976) เปรียบได้กับการใช้ภาวะผู้นำแบบยึดผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง แบบมีส่วนร่วม แบบมอบอำนาจ แบบความเป็นเพื่อนหรือมุ่งคน นำเอาหลักการบริหารแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน (Site Based Management : SBM) เป็น การนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา กระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง

จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชนชุมชน และชีวิตครอบครัว (Stringer, 1999, Cited in Creswell, 2002 : 609) โดยมีสาระที่สำคัญ คือการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือ ในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การและเป็นผู้ ร่วมกระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในทางการเมือง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยังมีจุดเน้นที่การกระจายอำนาจทางการเมือง ไปสู่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และกำหนดวิธีการปฏิบัติในโครงการวิจัยนั้น การร่วมกันปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการวิจัย รูปแบบนี้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลในการวิจัย จะทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจ ที่ดีในรายละเอียดและทำให้เกิดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมวิถีชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนวิธีการที่จะต้อง ปฏิบัติทั้งหมด (Merriam, 2002 : 138-139) เมื่อพิจารณาบทบาทของนักวิจัยจะพบว่า นักวิจัยมีบทบาทเป็นสมาชิกในบางด้านขององค์การ เป็นผู้มีส่วนร่วมตลอดกระบวนการของวิจัยในองค์การนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ นักวิจัยจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทั้งในสถานะภาพของสมาชิกในองค์การและการเป็นนักวิจัย บทบาทเหล่านี้จะกำหนดให้นักวิจัยต้องพัฒนาข้อสรุปที่ถูกต้องตรงตามความเป็น จริง (Valid Conclusions) เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนในองค์การ และเกิดความพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น (Schutt, 1996 : 432, 584)

ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีรูปแบบที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน

เช่น การวิจัยโดยมีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Inquiry) การวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ(Collaborative Action Research) การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Critical Action Research) เป็นต้น คุณค่าของการวิจัยแบบนี้คือ กระบวนการของความร่วมมือ (Stringer, 1999 : 9 ; Kemmis & McTaggart, 2000 : 567 ; Mills, 2000 : 7, Cited in Creswell, 2002 : 609)ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการสังเกต การสะท้อนการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่พึงพอใจ ซึ่งต้องมีความยืดหยุ่นสูงและไม่ควรกำหนดเวลาในการวิจัยหรือกิจกรรมไว้ล่วง หน้า รวมทั้งตระหนักถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ภูมิปัญญาของนักวิชาการ (สมอาจ วงศ์ขมทอง, 2536 : 5 อ้างถึงใน ประพิณ วัฒนกิจ,2542 : 140)

เคมมิส และวิลคินสัน (Kemmis.& Wilkinson, 1988 cited in Creswell, 2002 : 609-610)ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ไว้ 6 ประการ คือ 1) เป็นกระบวนการทางสังคมที่นักวิจัยมีเจตนาขยายความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละ บุคคลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลสร้างความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมผ่านปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร 2) รูปแบบของการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วม หมายความว่า แต่ละคนจะเกิดความเข้าใจใน

สิ่งที่ตนทำ แล้วเสนอความรู้และความคิดเห็นสู่บุคคลอื่น รวมทั้งผลักดันให้เกิดการกระทำร่วมกัน 3) เป็นความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกัน เพราะการวิจัยจะมีความสมบูรณ์ต้องเกิดจากการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชน หรือสร้างความรู้ให้กับองค์การทางสังคม เพื่อลดความไม่สมเหตุสมผล ความล้มเหลว และความไม่ยุติธรรม ในการปฏิบัติ หรือจากปฏิสัมพันธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ 4) การดำเนินงานไม่มีการบังคับ ทุกคนมีอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ไม่มีเหตุผลและโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาตนเอง 5) ช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอิสระในตัวเอง จากข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น สื่อ ภาษาและกระบวนการทำงาน เป็นต้น 6) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันได้อีก โดยการพิจารณาผลที่สะท้อนกลับและเหตุผลที่เหมาะสม เพราะเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ

วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วิธีดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีลักษณะร่วมกันกับการวิจัยปฏิบัติการ

หลายประการ จึงขอสร้างความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ ดังนี้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็นรูปแบบของการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบโดยผู้ที่ปฏิบัติมีส่วน เกี่ยวข้องในการใช้เทคนิคกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ของตน (Gall & Others, 1999 : 468) ลักษณะของการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบของปัญหาทั่ว ๆ ไปในระดับย่อยหรือเฉพาะท้องถิ่น โดยอาจศึกษาจากกลุ่มเฉพาะเล็ก ๆ ซึ่งการวิจัยลักษณะนี้ไม่เคร่งครัดในกฏเกณฑ์และรูปแบบเหมือนกับวิธีการวิจัย ตามปกติการวิจัยปฏิบัติการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ดีจากข้อค้นพบที่มีคุณภาพ จากข้อมูลในการวิจัยเข้ากับประสิทธิผลของระบบที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัย นั้น (Fryer & Feather, 1994 : 230) และใช้ข้อค้นพบนั้นไปปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากระบวน การวิจัยปฏิบัติการจะพบว่า มีลักษณะเป็นเกลียวของการคิดการพิจารณา และการกระทำ ซึ่งเรียกว่า “เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)” ซึ่งเสนอไว้โดย สตริงเกอร์ (Stringer, 2007:9) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ดูว่ามีปัญหาอะไร (Look) คิดพิจารณา (Think) และลงมือปฏิบัติ (Act) ซึ่งรูปแบบลักษณะนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเส้นตรง กระบวนการทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำอีกและจะมีการปรับปรุงกระบวนการและ การให้ความหมายในขั้นตอนต่อไป

ภาพที่ 2.1 เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)

แหล่งที่มา :Stringer, E.T. Action research. 2007: 9

เครสเวลล์ (Creswell, 2002 : 614) ได้สรุปลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) มีจุดเน้นไปสู่การนำไปปฏิบัติ 2) การดำเนินการวิจัยมีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย 4) เป็นกระบวนการที่เป็นพลวัติ (Dynamic Process) ของเกลียวปฏิสัมพันธ์ ที่มีกระบวนการย้อนกลับและนำไปสู่การพัฒนาขั้นต่อไป (Back and Forth) จากผลสะท้อนของสิ่งที่เป็นปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติ 5) การพัฒนาแผนการดำเนินงานต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ 6) มีการนำเสนอผลการวิจัยต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนในท้องถิ่น ชุมชน และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าการวิจัยปฏิบัติการและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะมีลักษณะร่วม กันหลาย ประการแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ การวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อนำความรู้ไปใช้ ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวัน (Reason & Bradbury, 2001 : 2 cited in Donna, 2004 : 536) ดังนั้นระเบียบวิธีการวิจัยจึงต้องการมาตรฐานทางทฤษฎีที่มากเพียงพอต่อการนำ ไปใช้และการนำไปปฏิบัติ (Donna, 2004 : 536) ส่วนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อสร้างความรู้และกระตุ้นประชาชนธรรมดา (Borda & Rahman, 1999 cited in Donna, 2004 : 538) ซึ่งกระบวนการนี้มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจและการไร้อำนาจของบุคคลในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายหรือมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเน้นความร่วมมือที่ทุกคนมีอำนาจอย่างเท่าเทียมกันทั้งตัวผู้วิจัย ผู้ให้ข้อมูล และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนที่มี ลักษณะเป็นพลวัติ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการสูง และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องซึ่ง พันธุ์ทิพย์ รามสูต (มปป. : 42-43) ได้เสนอกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1) การเตรียมชุมชน เพื่อที่จะให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัยในระดับที่เสมอ ภาคกัน 2) อบรมนักวิจัยร่วมจากชุมชน เพื่อเตรียมนักวิจัยในท้องถิ่นให้มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในท้องถิ่น บทบาทของผู้ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยท้องถิ่น การจัดองค์การชุมชน รูปแบบของผู้นำการสนับสนุนและมนุษยสัมพันธ์ 3) กำหนดรูปแบบการวิจัย โดยกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันกำหนดรูปแบบการวิจัย เช่น การพิจารณารายละเอียดปัญหาทั่วไปที่ชุมชนได้เลือกขึ้นมา การจำแนกออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อที่จะสามารถทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาได้ทีละส่วน กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเครื่องมือที่จะใช้ รูปแบบคำถาม วิธีการถาม กลุ่มและขนาดของตัวอย่าง เป็นต้น 4) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล 5) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ข้อสังเกตหรือข้อ วิจารณ์สิ่งที่พบ วิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงได้ข้อมูลเช่นนั้น เขียนสรุปสิ่งที่พบออกอย่างกว้าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะประกอบ 6) หารือข้อค้นพบกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเสนอคืนต่อชุมชน ให้มีโอกาสตรวจสอบและแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง ตลอดจนทำการวิเคราะห์ สรุปประเด็น หรือชี้แนะประเด็นสำคัญให้แก่กลุ่มนักวิจัย 7) วางแผนชุมชน โดยการอบรม กลุ่มที่ทำหน้าที่วางแผนให้สามารถเขียนโครงการได้รวมทั้งมีความสามารถในการ จัดองค์การชุมชนด้วย โครงการที่กลุ่มวางแผนเขียนขึ้นนี้จะต้องนำมาปรึกษาหารือกับชุมชน ให้ชุมชนตรวจสอบแก้ไขและรับรองก่อนนำไปเสนอขอรับการสนับสนุนจากองค์การที่ เกี่ยวข้องต่อไป 8) นำแผนไปปฏิบัติ โดยการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ตลอดจนองค์การประชาชนต่าง ๆ ใน ชุมชนมาร่วมปฏิบัติตามแผนที่จัดวางขึ้น จากพื้นฐานข้อมูลที่เป็นผลมาจากการศึกษาร่วมกัน 9) ติดตามกำกับและประเมินผลในชุมชน โดยกลุ่มนักวิจัยร่วมกับชุมชนข้อควรพิจารณา ในการเลือกชุมชนเป้าหมายควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือก มีการพิจารณาศักยภาพของชุมชน และศึกษาข้อมูลที่สำคัญของชุมชนนั้นมาก่อน การเข้าสู่ชุมชนต้องทำความรู้จักชุมชน หาความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความคุ้นเคยกับบุคคลผู้นำชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การเลือกทีมนักวิจัยท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมได้ตลอดโครงการ จากนั้นนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นจะทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น หลังจากทำการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเสร็จแล้ว ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นเสนอให้ชุมชนรับทราบ มีการแนะนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนทำการพัฒนา ทัศนคติของประชาชนให้รู้จักการทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทำการวิจัย จัดกิจกรรมการวิจัยขนาดเล็กเพื่อทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะในการทำการ วิจัยซึ่งทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการในการพัฒนา เลือกปัญหาที่จะทำการวิจัยซึ่งปัญหานั้นต้องสามารถจะหาคำตอบมาแก้ปัญหาได้ จากนั้นจึงหาทางเลือก และวิธีการต่าง ๆ มาใช้ ในขั้นตอนต่อไปจะมีการวางแผนการวิจัย การวางแผนการปฏิบัติ การกำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผล การเขียนรายงานการวิจัย ถ้าการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนนั้นสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกลับมาใช้ ใหม่ โดยไม่ต้องมีนักวิจัยจากภายนอกมาช่วยดำเนินการ และเป็นการเริ่มต้นวงจรต่อไปของกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนนั้น เอง

คุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          Mckernan (1996) ได้อธิบายลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไว้  9 ประการ โดยอาศัยแนวคิดของ  Elliott (1978)  ดังนี้ 1) ปัญหาที่นำมาวิจัย  ต้องเป็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงาน 2) ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ 3) ปัญหานั้นเป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ  ไม่ใช่ปัญหาเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการ 4) มีการเสนอทางออกของปัญหาและปรับเปลี่ยนไปจนกว่าการวิจัยจะเสร็จสิ้น 5) เป้าหมายคือต้องการให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา 6) ใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study)  เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยและสถานการณ์ปัญหาที่เกาะ ติดเพื่อศึกษา 7) ใช้การบรรยายข้อมูลจากสัญลักษณ์ทางภาษาที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน 8) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลได้อย่างอิสระ 9) เปิดรับหรือรวบรวมข้อมูลได้อย่างอิสระภายในกลุ่มหรือในระหว่างการปฏิบัติ

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          Mckernan (1996)  กล่าวว่า  การวิจัยปฏิบัติการมีหลักการสำคัญอยู่  16  ประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1)  เพิ่มพูนความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ  2)  มุ่งปรับปรุงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของบุคคล 3)  เน้นที่ปัญหาเร่งด่วนของผู้ปฏิบัติงาน 4)  ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5)  ดำเนินการวิจัยภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา 6)  ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรมชาติ 7)  เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือศึกษาเพียงหน่วยเดียว 8)  ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระทำต่อตัวแปร 9) ปัญหา วัตถุประสงค์ และระเบียบวิธีมีลักษณะเป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ความจริง 10)  มีการประเมินหรือส่องสะท้อนผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวน 11)  ระเบียบวิธีวิจัยมีลักษณะเป็นนวัตกรรม  สามารถคิดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาได้ 12)  กระบวนการศึกษามีความเป็นระบบหรือเป็นวิทยาศาสตร์ 13)  มีการแลกเปลี่ยนผลวิจัยและมีการนำไปใช้จริง 14)  ใช้วิธีการแบบบรรยายข้อมูล  หรือการอภิปรายร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ 15)  คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องมาจากการทำความเข้าใจ  การตีความหมายและการคิดอย่างอิสระ 16)  เป็นการวิจัยที่ปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระ และเป็นการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงาน (Empowerment) ให้ผู้เกี่ยวข้อง

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 Mckernan. (1996) กล่าวว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการนำมาซึ่งสิ่งสำคัญ  3  ประการ คือ 1)  ปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์  ปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ 2)  ส่งเสริมให้คนเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างนักวิจัย 3)  สร้างความกระจ่างในสังคมอย่างรอบด้าน

         กระบวนการหรือขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สำคัญและมีผู้นำมา ประยุกต์ใช้ มีอยู่  5  กระบวนการ คือ กระบวนการของ  Kurt Lewin,  John  Elliott, มหาวิทยาลัย Deakin,David Ebbutt  และ James Mckernan อย่างไรก็ดีแม้ว่ากระบวนการวิจัยปฏิบัติการจะมีหลายรูปแบบแต่หลักการสำคัญ หรือวิธีการก็ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน  สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของะกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัย  Deakin  ในประเทศออสเตรเลีย  Stephen Kemmis และคณะได้นำแนวคิดของ Lewin  มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาของ ออสเตรเลียจนได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปกว้างขวาง  ซึ่งในความคิดของ  Kemmis  และคณะนั้นการวิจัยปฏิบัติการ คือ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันเป็นหมู่คณะจะกระทำคนเดียวไม่ได้  เพราะการกระทำเพียงคนเดียวถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ก็จะทำลายพลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่ม ดังนั้นในขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการจึงต้องกำหนดจุดสนใจร่วมกัน  (thematic concern)  เช่น สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมตลาดพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน  หรือพัฒนาให้ชุมชนตลาดเข้าใจวิธีการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมให้ลึกซึ้ง  เป็นต้น  เมื่อได้จุดสนใจร่วมกันแล้วก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ 4 ประการที่เกี่ยวข้องกันเป็นวงจร  คือ

  1. การพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่มี

โครง สร้างและแนวทาง  การวางแผนต้องมีความยืดหยุ่น  และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อ แผนที่กำหนดไว้ได้

  1. การปฏิบัติตามแผน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างละเอียด

รอบคอบ  และมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์

  1. การสังเกตผลการปฏิบัติ เป็นการบันทึกข้อมูล หลักฐาน หรือร่องรอยต่าง ๆ อย่างมี

วิจารณญาณ เกี่ยวกับผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดยอาจใช้วิธีการวัดแบบต่าง ๆ  เข้ามาช่วย  ซึ่งสารสนเทศจากการสังเกตนี้จะนำไปสู่การส่องสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติ อย่างเข้าใจและถูกทิศทาง

  1. การส่องสะท้อนผลการปฏิบัติ  เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติจากบันทึกที่ได้

จากการสังเกตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานการวางแผนในวงจรต่อไป

          ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย Deakin  จึงประกอบด้วยจุดสำคัญทั้ง  4 จุดดังที่กล่าวมาคือ การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล  (Observation)  และการสะท้อนผล  (Reflection) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวลักษณะ “เกลียวสว่าน” ไปในจุดทั้ง  4 จุด ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบลงด้วยตัวเอง

ภาพที่ 2.2  กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย  Deakin

(McKernan, 1996)

                McKernan (1996) ได้เสนอวงจรการวิจัยปฏิบัติการที่ยึดเอาระยะเวลาในการปฏิบัติงานและกิจกรรม เป็นหลัก โดยวงจรปฏิบัติที่ 1 เริ่มจากการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและมีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน นั้น  เมื่อปฏิบัติจนครบวงจรแล้ว  ก็เริ่มระบุปัญหาในการปฏิบัติงานและกิจกรรมใหม่ในวงจรปฏิบัติที่  2  และต่อไปเรื่อย ๆ ดังที่นำเสนอในภาพประกอบที่  2.2

               กิจกรรมในแต่ละวงจร  ประกอบด้วย

  1. การนิยามปัญหา ในสถานการณ์ที่นักวิจัยประสบอยู่ในการปฏิบัติงาน
  2. การประเมินความต้องการจำเป็นที่จะปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
  3. การกำหนดสมมุติฐาน  เป็นการกำหนดผลที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติแล้ว
  4. พัฒนาแผนปฏิบัติ  ซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ
  5. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้  ซึ่งต้องมีการบันทึกข้อมูลไว้
  6. ประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
  7. สะท้อนผลปฏิบัติ  อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและทำความเข้าใจ
  8. ตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาต่อไป

จากกระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่กล่าวมาทั้งหมด นั้น จะเห็นว่า  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาหรือจุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปสู่ขั้นตอนใหญ่ ๆ 3  ขั้น คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการปฎิบัติ  ซึ่งก็คือการปฏิบัติงานที่เป็นระบบนั่นเอง  แต่จุดเด่นของการวิจัยปฏิบัติการนอกเหนือจากความเป็นระบบแล้วคือการดำเนิน การนั้นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม  รวมทั้งต้องมีการส่องสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่กำลังดำเนินการให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหรือให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่ง  Kemmis  และ  McTaggart (1988) ได้กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  4  ประการคือ 1)  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ใช่สิ่งที่ทำตามปกติ  แต่ต้องทำเป็นระบบและได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม 2)  ไม่เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่เท่านั้น  แต่ต้องเกิดมาจากแรงกระตุ้นที่ต้องการปรับปรุงพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3)  ไม่ใช่การปรับปรุงพัฒนางานของผู้อื่น แต่เป็นงานของกลุ่มตนเองที่มีบทบาทหน้าที่อยู่ 4)  การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมองในแง่การทดสอบ สมมุติฐานเพื่ออธิบายสภาพการณ์อย่างเดียว  แต่ต้องเป็นระบบที่หมุนวนไปเรื่อย ๆ  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวนักวิจัย  และสถานการณ์แวดล้อม

          ดังนั้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักวิจัย  ก็ควรต้องคำนึงถึงและพิจารณากระบวนการที่ได้ลงมือปฏิบัติว่าสอดคล้องเป็นไป ตามหลักการดังที่กล่าวมานี้หรือไม่  เพื่อให้เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะข้อมูล  ขั้นตอนการวิจัย  และกลุ่มเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูล ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเทคนิค วิธีการรวบรวมข้อมูลตามลักษณะของแหล่งข้อมูลที่จะทำการรวบรวมทั้งที่เป็นการ วิจัยปฏิบัติการที่ทำในชุมชน  ดังนี้ คือ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป และ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป

            1.  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน

               วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอน นักวิจัยต้องกำหนดขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการสำรวจแหล่งข้อมูล สืบค้น และรวบรวมเอกสารและหลักฐาน ก่อนที่จะบันทึกข้อมูล นักวิจัยต้องศึกษาประเมิน คัดเลือกเอกสารและหลักฐานคัดเอาไว้เฉพาะส่วนนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ แล้วจึงบันทึกข้อมูล หลักการในการดำเนินงานทุกขั้นตอนก็คือ  การทำใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ  ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบ  ศึกษาเอกสารหลักฐานอย่างละเอียด  และต้องมีความชำนาญในการหาความหมาย  หรือข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในเอกสารหลักฐานเหล่านั้นด้วย  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                1)  สำรวจ  สืบค้น และรวบรวมเอกสารหลักฐาน

                    เมื่อได้สืบค้นทราบแหล่งของเอกสารหลักฐานแล้ว  นักวิจัยควรจัดทำรายการเอกสารหลักฐานให้เป็นระบบเพื่อความสะดวกในการศึกษา  และใช้ประโยชน์ต่อไป

                2)  ประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐาน

                    นักวิจัยต้องประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐานก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ  วิธีการประเมินต้องพิจารณาประเมินทั้งแบบภายนอกและภายใน การประเมินภายนอกเป็นการประเมินลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปของเอกสารหลักฐานว่าเป็นเอกสารอะไร ผลิตที่ไหน  เมื่อไร ใครผลิต  มีการดัดแปลงหรือไม่  สาระยังคงถูกต้องคงเดิมหรือไม่  มีการตรวจสอบได้อย่างไร ส่วนการประเมินภายในเป็นการประเมินเนื้อหาสาระว่าเอกสารหลักฐานนั้นมีข้อมูล ครบถ้วน  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่

                3)  บันทึกข้อมูล

                    การบันทึกข้อมูลจากเอกสารอาจจดบันทึกอย่างละเอียด หรือเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นที่สนใจ โดยทำรายการประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้ในแบบบันทึก  แล้วบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์  หรือพฤติกรรมในแต่ละประเด็น  ลักษณะแบบบันทึกในการวิจัยนิยมใช้บัตรขนาด  4 ´6  นิ้ว  บันทึกข้อมูลแยกบัตรละประเด็น  เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยยึดหลักการบันทึกข้อมูลให้ตรงตามวัตถุ ประสงค์  และถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

            2.  การสังเกต  (Observation)

                การสังเกตเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้มากสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ เหมาะกับการกระทำ กิริยาอาการหรือพฤติกรรมที่สามารถใช้ประสาทสัมผัส และ / หรือ เครื่องมือช่วยในการรับรู้  ทำความเข้าใจ และจดบันทึกเป็นข้อมูลได้เหมาะสมที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้งจากบุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ

                2.1  ประเภทของการสังเกต

                    2.1.1  การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัว / ไม่รู้ตัว  (Know / unknown   observation) การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัวนั้น นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์  และใกล้ชิดกับผู้ถูกสังเกต ข้อดีคือนักวิจัยสังเกตพฤติกรรมได้ครบถ้วน แต่มีข้อเสียคือการที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวอาจมีผลทำให้การแสดงพฤติกรรมไม่ เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนการสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวนั้น  นักวิจัยอาจไม่ได้เห็นพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตอย่างใกล้ชิด แต่จะได้พฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติแท้จริง

                    2.1.2  การสังเกตแบบมี /ไม่มีส่วนร่วม  (participant / non – participant  observation)การสังเกตแบบมีส่วนร่วมนั้นนักวิจัยต้องทำตัวเสมือนเป็นสมาชิก ของกลุ่ม  และต้องร่วมทำกิจกรรมไปกับกลุ่มด้วย โดยอาจมีการบันทึกข้อมูลโดยผู้ถูกสังเกตรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้  วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และได้ข้อมูลครบถ้วน ส่วนการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นการสังเกตที่นักวิจัยทำตัวเป็นผู้ดู หรือผู้สังเกตการณ์อยู่นอกกลุ่ม และไม่เข้าร่วมกิจกรรม วิธีนี้จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติ  และอาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเมื่อผู้ถูกสังเกตมีปฏิกิริยาต่อนักวิจัย

                    2.1.3  การสังเกตแบบมี / ไม่มีระบบ  (structured / unstructured  observation)

ใน กรณีที่นักวิจัยทราบแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่จะสังเกตเกิดขึ้นช่วงเวลาใด  อย่างไร ก็อาจกำหนดแนวทาง รูปแบบของการสังเกตให้เป็นระบบไว้ล่วงหน้าได้ โดยการนิยามพฤติกรรมการกำหนดหน่วยพฤติกรรม  และตัวผู้ถูกสังเกต การกำหนดช่วงเวลาการสังเกต การสร้างเครื่องมือบันทึกผลการสังเกต  และการซ้อมก่อนที่จะทำการสังเกตจริง การเตรียมระบบการสังเกตล่วงหน้าทำให้ได้ข้อมูลมีความเป็นปรนัย  ครบถ้วนและมีความสอดคล้องกรณีที่มีผู้สังเกตหลายคน  สำหรับการสังเกตแบบไม่มีระบบเหมาะสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า  หรืออาจต้องการได้ข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป หรืออาจต้องการรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดจนไม่อาจวาง ระบบการสังเกตได้

                    2.1.4  การสังเกตโดยตรง / อ้อม  (direct / indirect  observation)การสังเกตโดยตรงเป็นวิธีการที่นักวิจัยได้สัมผัสสิ่งที่ต้องการ สังเกตด้วยตนเอง  ส่วนการสังเกตโดยอ้อมนั้น นักวิจัยไม่สามารถสังเกตสัมผัสด้วยตนเอง แต่ใช้เครื่องมือ  เช่น  การบันทึกเทปโทรทัศน์  แล้วนำมาสังเกต และบันทึกข้อมูล วิธีนี้ได้ข้อมูลที่มีข้อจำกัด และคุณภาพต่ำกว่าการสังเกตโดยตรง

               2.2  หลักการสังเกต

                    1)  นักวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร ควรให้นิยามของสิ่งที่จะสังเกตและกำหนดรายละเอียดของสิ่งที่จะสังเกตเป็น หน่วยย่อย ๆ

                    2)  นักวิจัยควรเตรียมการสังเกต วางระบบการสังเกตไว้ล่วงหน้าถ้าสามารถทำได้กรณีมีผู้สังเกตหลายคนควรมีการ ฝึกซ้อมให้การสังเกตมีมาตรฐานเดียวกัน

                    3)  ระหว่างการสังเกต นักวิจัยควรมีสมาธิจดจ่อกับผู้ถูกสังเกต เตรียมประสาทสัมผัสให้ตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้รายละเอียด โดยพยายามรบกวนผู้ถูกสังเกตให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เป็น ธรรมชาติ

                    4)  การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยในการสังเกตต้องระมัดระวังให้กระทบกระเทือนผู้ถูกสังเกตน้อยที่ สุด ควรขออนุญาตก่อนใช้ และควรมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลืม  การบันทึกข้อมูลต้องทำด้วยความรอบคอบให้ข้อมูลตรงตามสภาพความเป็นจริงมากที่ สุด

               2.3  เครื่องมือบันทึกการสังเกต

          เครื่องมือสำหรับการสังเกต ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต และเครื่องมือช่วยการสังเกตประเภทโสตทัศนูปกรณ์  เช่น เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพยนต์ เป็นต้นในที่นี้จะเสนอเฉพาะแบบบันทึกการสังเกตเท่านั้น  แบบบันทึกการสังเกตเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสม กับจุดมุ่งหมายของการสังเกต และลักษณะข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเพื่อใช้บันทึกสิ่งที่สังเกตได้  การบันทึกอาจจะบันทึกในขณะทำการสังเกต  หรือบันทึกหลังจากเสร็จสิ้นการสังเกตโดยบันทึกจากความทรงจำ  หรือบันทึกจากการดูภาพ หรือวิดิทัศน์ก็ได้  ลักษณะของแบบบันทึกการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  4 แบบ คือ แบบรายการตรวจสอบ (checklists) แผนภูมิการมีส่วนร่วม (participation charts) มาตรประมาณค่า (rating scales) และแบบบันทึกพฤติกรรม  (anecdotal  records) 

            3.  การสัมภาษณ์  (Interviews)

               การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสนทนา ซักถามและโต้ตอบระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้ข้อมูล วิธีนี้นักวิจัยมีโอกาสสังเกตบุคลิกภาพ อากัปกิริยา ตลอดจนพฤติกรรมทางกายและวาจา  ขณะสัมภาษณ์ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลประกอบได้ด้วย

               3.1  ประเภทของการสัมภาษณ์

                    3.1.1  การสัมภาษณ์แบบมี / ไม่มีระบบ  (Structured / unstructured  interviews) การสัมภาษณ์แบบมีระบบเป็นวิธีการที่นักวิจัยกำหนดรูปแบบการสัมภาษณ์  รายการคำถาม  เวลาและสถานที่สัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว  ขณะสัมภาษณ์นักวิจัยจะดำเนินการตามระบบที่วางไว้ให้บรรยากาศ  และวิธีการคล้ายคลึงและมีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกันทุกครั้ง วิธีนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่เบี่ยงเบนเนื่องจากความแตกต่างในการ สัมภาษณ์ แต่มีข้อเสียตรงที่ทำให้ได้ข้อมูลไม่ลึกซึ้งเพียงพอในบางประเด็น ตรงข้ามกับการสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ ซึ่งนักวิจัยอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อดึงข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูลให้ มากที่สุด  ทั้งนี้นักวิจัยอาจทำการสัมภาษณ์แบบลึก  หรือตั้งคำถามตะล่อมให้ผู้ให้ข้อมูลเพ่งความสนใจไปที่เรื่องเฉพาะเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เป็นการสัมภาษณ์แบบรวมจุดสนใจ  (focused  interviews) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้ง แต่ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนมีรูปแบบต่างกันไม่เป็นมาตรฐานเดียว กัน

                    3.1.2  การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม / รายบุคคล  (group / individual  interviews)

การ สัมภาษณ์แบบนี้เป็นการแยกตามจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นกลุ่มใช้เมื่อผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อเท็จจริงจากสมาชิกทั้ง กลุ่ม อาจจะต้องการข้อมูลจากสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วย  แต่ความสนใจอยู่ที่ข้อมูลจากสมาชิกทั้งกลุ่ม วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์  และถ้าจัดกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ให้มีลักษณะประสบการณ์คล้ายคลึงกันในบางเรื่อง จะยิ่งทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์มีอารมณ์ร่วม  และเต็มใจตอบคำถามมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็นก่อนสรุปเป็นความคิดเห็นของ กลุ่ม  ทำให้ได้ความคิดเห็นจากกลุ่มที่เที่ยงตรงขึ้น

                    3.1.3  การสัมภาษณ์แบบลึก  (in – depth  interviews) วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่นักวิจัยต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ตะล่อมถาม  (probe)  เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์มากที่สุด  การสัมภาษณ์แบบนี้นักวิจัยเตรียมแนวทางการสัมภาษณ์ได้ล่วงหน้า  เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์แบบอื่น ๆ แต่คำถามที่จะใช้ตะล่อมถามเป็นความสามารถเฉพาะตัวนักวิจัยซึ่งต้องอาศัยความ รู้ความชำนาญ ลักษณะของการสัมภาษณ์แบบลึกจึงมีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีรูปแบบเป็น ระบบมาตรฐาน เพราะการตะล่อมถามอาจแตกต่างกันตามลักษณะผู้ให้สัมภาษณ์  แม้ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นคนเดียวกันก็ตาม

               3.2  หลักการสัมภาษณ์

                    ในการสัมภาษณ์  นักวิจัยควรดำเนินการดังนี้

                    1)  นักวิจัยควรกำหนดจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน  เตรียมแบบสัมภาษณ์  (interview  schedule)  แบบบันทึก ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะต้องใช้ในการสัมภาษณ์ให้พร้อม ถ้าเป็นไปได้ควรมีการทดลองใช้ก่อนการสัมภาษณ์จริง

                    2)  ควรมีการติดต่อนัดหมาย กำหนดเวลา สถานที่ และวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ให้เรียบร้อย

                    3)  สัมภาษณ์ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้ความเป็นกันเอง และชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าจะนำผลการสัมภาษณ์ไปใช้อย่างไร ให้คำรับรองว่าจะไม่ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์เสื่อมเสียเดือดร้อน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจให้ความร่วมมือ

                    4)  ในขณะสัมภาษณ์นักวิจัยควรตั้งคำถามทีละคำถาม ใช้เวลารอคำตอบไม่เร่งเร้า  และไม่ใช้คำถามนำหรือชี้แนะ  ต้องแน่ใจว่าผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามทุกคำถามก่อนตอบ คำถามต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับปัญหาวิจัย  ภาษาง่าย  สื่อความหมายชัดเจน  และเป็นคำถามที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อมูล  เมื่อได้ฟังคำตอบไม่ควรแสดงอารมณ์ หรือปฏิกริยาใด ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการตอบคำถามต่อไป  ถ้าจำเป็นต้องตั้งคำถามเพื่อล้วงหาความจริง  หรือถามลึกลงไปควรชี้แจง  และกระทำด้วยความสุภาพ

                    5)  นักวิจัยควรจดบันทึกผลการสัมภาษณ์ทันทีตามที่เป็นจริง ไม่ควรเว้นเพราะอาจลืมได้  พยายามจดบันทึกให้เร็วเพื่อมิให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องรอนาน ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยินยอมอาจใช้เครื่องบันทึกเสียงหรืออุปกรณ์อย่าง อื่นช่วยได้

               3.3  เครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รูปแบบของแบบรายการสัมภาษณ์ที่ ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามลักษณะคำถาม  คือ  คำถามกำหนดตัวเลือก  (fixed – alternative  questions)  คำถามปลายเปิด  (open  end  questions)  และคำถามแบบมาตรประมาณค่า  (scale  questions)

4.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  (Questionnaire)

การ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นวิธีที่เหมาะสมมากสำหรับการสำรวจซึ่งต้องรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก  หรืออยู่อย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลที่เหมาะสมกับการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็นความเชื่อ  ทัศนคติ  และความสนใจ โดยแบบสอบถาม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  ตามรูปแบบของแบบสอบถาม  คือ  ชนิดปลายปิดและชนิดปลายเปิด  (closed /  open  form  questionnaire)

ซึ่ง มีหลักการในการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1)  นักวิจัยต้องมีการเตรียมการอย่างดี  ตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การวางแผนการดำเนินงานการสร้างแบบสอบถาม  และการรวบรวมข้อมูล 2)  การรับรองว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับเพื่อให้ผู้ตอบมีความมั่นใจที่จะให้ ข้อมูล

3)  เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว  ให้ตรวจสอบดูความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด  และการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามตามปกติผู้ตอบไม่ต้องลงชื่อ ผู้วิจัยจะต้องยึดหลักในการสร้างแบบสอบถามที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้ 1) คำถามต้องถามเรื่องที่สำคัญ  ตรงตามปัญหาวิจัย 2) คำถามสั้น  กะทัดรัด  ชัดเจน   และสมบูรณ์  แต่ละคำถามควรถามประเด็นเดียว 3) คำถามมีการเรียงลำดับ  เช่น เรียงจากคำถามง่ายไปยาก เรียงจากคำถามเรื่องทั่ว ๆ ไป ไปหาเรื่องเฉพาะ ตามความเหมาะสม 4)  รูปแบบการตอบง่าย และสะดวก ไม่ทำให้ผู้ตอบเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

5)  มีคำแนะนำชัดเจน รวมทั้งคำอธิบายศัพท์ที่ต้องการให้เข้าใจตรงกัน 6)  แบบสอบถามมีรูปเล่มน่าตอบ สะอาดเรียบร้อย อ่านง่ายและไม่ยาวเกินไป 7)  ระบุวิธีการและอำนวยความสะดวกในการส่งคืน สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนนั้นต้องระมัดระวังในการใช้แบบสอบถามในการ รวบรวมข้อมูล เพราะไม่อาจรับประกันได้ว่า ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นคำตอบจากใจจริงของผู้ตอบ  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวนไม่มาก และรู้จักกัน ทำให้อาจมีความรู้สึกเกรงใจกันอยู่  หรือไม่กล้าตอบตามความจริงทั้งหมด ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

            5.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดหรือมาตรวัด (Scales)

               การรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดเหมาะสมกับข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่ เป็นนามธรรม  มาตรวัดประกอบด้วยชุดของข้อคำถามหรือสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้ให้ ข้อมูล  แสดงการตอบสนองตามความเป็นจริง  นักวิจัยกำหนดช่วงของการตอบสนอง  และกำหนดค่าตัวเลขตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ให้ค่าตัวเลขแทนระดับของคุณลักษณะที่ต้องการ       ประเภทของมาตรประมาณค่าที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติ การในโรงเรียน จำแนกตามประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ มาตรจัดประเภท  มาตรเรียงลำดับ และมาตรอันตรภาค  แต่ละประเภทแยกย่อยได้อีกดังนี้ 1)  มาตรจัดประเภท (categorical  scales)มาตรประเภทนี้มีการเสนอสิ่งเร้าให้ผู้ตอบสนองโดยการจัดประเภทคำตอบ  เช่น ให้ตอบว่า ถูก / ผิด  เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย มาก / ปานกลาง / น้อย  เป็นต้น  มาตรวัดจัดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้สำรวจข้อมูลทั่ว ๆ ไป 2)  มาตรเรียงอันดับ  (ordinal  scales) มาตรเรียงอันดับมีการเสนอสิ่งเร้าในรูปข้อความ สถานการณ์ หรือคำถาม  แล้วให้ผู้ตอบตอบสนองสิ่งเร้าโดยการจัดเรียงลำดับการตอบสนอง  มาตรที่เป็นที่รู้สึกกันดีได้แก่ 1) มาตรวัดความต้องการในกรณีที่นักวิจัยวัดความต้องการในการประกอบอาชีพ  ความต้องการในการศึกษาต่อ และอื่น ๆ อาจใช้รายการทางเลือกที่คาดว่าจะเป็นไปได้ทั้งหมดเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบจัด เรียงอันดับว่าต้องการสิ่งใดจากมากไปหาน้อย

2) สังคมมิติ  (Sociometry) สังคมมิติเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งที่อาจจัดเป็นมาตรเรียงอันดับ วิธีการที่สำคัญคือการให้สิ่งเร้าในรูปคำสั่งให้บุคคลระบุชื่อบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ทางสังคมตามลักษณะที่นักวิจัยต้องการศึกษา เช่น ให้ระบุชื่อเพื่อนสนิทที่สุด 2 คน ให้ระบุชื่อเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้นำดีที่สุด 3 คน เป็นต้น แล้วนำข้อมูลจากบุคคลทั้งกลุ่มมาเสนอในรูปตาราง หรือแผนภูมิสังคม  (Sociogram) ให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลใด มีการรวมตัว และการกระจายของสมาชิกในกลุ่มอย่างไร 3)  มาตรอันตรภาค  (interval  scales) มาตรประเภทอันตรภาพมีการจัดสิ่งเร้าให้ผู้ตอบตอบสนองมีระดับแตกต่างกันโดย แต่ละระดับมีช่วงความแตกต่างเท่ากัน เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทคุณลักษณะทางจิต เช่น  ทัศนคติ ความรู้สึก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  เป็นต้น 4)  มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท  (Likert’s  summated  rating  scales) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติประเภทหนึ่ง  มาตรวัดประกอบด้วยข้อคำถาม  หรือข้อความชุดหนึ่ง  ซึ่งครอบคลุมทัศนคติทุกมิติที่ต้องการวัด น้ำหนักความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อเท่าเทียมกัน  ผู้ตอบประเมินความเข้มตามความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อคำถามเหล่านั้นเรียงจาก มากไปน้อย โดยมีการประเมินค่าได้ตั้งแต่ 3 – 12 ระดับ ผลการวัดได้จากการรวมคะแนนผลการประเมินแต่ละข้อที่มีทิศทางเดียวกันเป็นค่า บอกระดับทัศนคติของผู้ตอบแต่ละคน  มีข้อดีคือสร้างง่าย  ใช้สะดวก

ลักษณะ ของมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยข้อคำถาม หรือข้อความที่มีตัวเลือกให้ผู้ตอบได้เลือกตอบโดยการประเมินตามระดับความ เข้มของพฤติกรรมที่ตรงกับตัวเลือก มีการกำหนดคะแนนแทนตัวเลือกแต่ละตัว มาตรประมาณค่าแบบนี้แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 แบบ ต่อไปนี้ 1)มาตรประมาณค่าใช้กราฟ 2)  มาตรประมาณค่าใช้คำ  3)  มาตรประมาณค่ารายข้อ 4)  มาตรประมาณค่าเปรียบเทียบ  หรือมาตรประมาณค่าจัดลำดับ ลักษณะมาตรประมาณค่ามีตัวเลือกให้เลือกตอบโดยที่ผู้ตอบต้องจัดลำดับความ สำคัญ  เช่น ในมาตรประมาณค่าประโยชน์ของกิจกรรม ผู้ตอบต้องจัดลำดับว่าตามความคิดเห็นของตนกิจกรรมใดให้ประโยชน์มากกว่า กิจกรรมใด 5)  มาตรประมาณค่าแบบออสกูด  (Osgood  scale) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติแบบหนึ่งมีพื้นฐานว่าทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งอธิบายได้โดยการใช้ภาษา หรือให้นัยได้เป็นหลายมิติ โดยที่แต่ละบุคคลจะให้ความหมายมีระดับแตกต่างกัน  ในแต่ละมิติจึงกำหนดนัยโดยใช้คุณศัพท์สองคำที่มีความหมายตรงกันข้ามให้ผู้ ตอบเลือกตอบว่าจำแนกนัยตรงจุดไหน  การกำหนดนัยให้ผู้ตอบจำแนกทำเป็นสามด้าน  คือ 1) การจำแนกนัยด้านประเมินคุณค่า (evaluation) เช่น  ดี – เลว เป็นคุณ-ให้โทษ 2) การจำแนกนัยด้านพลังหรืออำนาจ (potency) เช่นหนัก – เบา  แข็งแรง – อ่อนแอ 3)  การจำแนกนัยด้านกิจกรรม  (activity) เช่น คล่องแคล่ว – อืดอาด  ขยัน – เกียจคร้าน

               หลักการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด  หรือมาตรวัด เนื่องจากแบบวัด หรือมาตรวัด เป็นเครื่องมือวิจัยประเภทที่ผู้ตอบต้องให้การตอบสนองโดยการเขียนเช่นเดียว กับแบบสอบถาม วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดจึงมีหลักการคล้ายคลึงกับการรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม หลักการเขียนข้อความที่เป็นสิ่งเร้าก็คล้ายคลึงกัน  เช่น  ควรเป็นข้อความที่มีความหมายเพียงประเด็นเดียว  เป็นประโยคเดี่ยว ใช้ภาษาง่าย ไม่ซับซ้อน  เป็นต้น

 2.  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

                ตัวนักวิจัย ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการ เพราะนักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ  (Practitioner) ที่สัมผัสและรับรู้ปัญหา วางแผนแก้ไข ลงมือปฏิบัติ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวนักวิจัยจึงสามารถสะท้อนสิ่งที่ปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลการวิจัย ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัยโดยนักวิจัยเอง  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบนี้  อาศัยการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติที่นักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติ สามารถออกแบบวิธีการได้หลากหลาย ซึ่งในที่นี้จะเสนอให้เห็นเป็นตัวอย่าง  3  วิธีคือ 1)  การทำตารางบันทึกการปฏิบัติงานส่วนบุคคล 2)  การบันทึกประจำวันหรือเขียนอนุทิน  และ 3)  การบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรม

ที่มา : //www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?PostID=42956

แนวคิดและความเป็นมาของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ความเป็นมาของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นระดับหนึ่งของการวิจัยเชิงประฏิบัติการ (Carr & Kemmis 1986) ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันทั้งผู้วิจัยและ ผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผล การ ใช้วิธีวิจัยหลักที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยกึ่งทดลองและเชิงทดลองทั้งหมดเป็นวิธีวิทยาศาสตร์ของการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) สำหรับการวิจัยที่ต้องการหาความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามมุมมองของผู้ถูกวิจัย จะเป็นวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีวิจัยเหล่านี้มีข้อจำกัดคือ การแก้ปัญหาไม่สามารถกระทำได้ทันท่วงทีในระหว่างกระบวนการทำวิจัย แต่ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ได้ออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการปฏิบัติการแก้ปัญหาผนวกรวมเข้าไป ด้วย ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาอันเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากวิธีวิจัยแบบอื่น ๆ (จำเริญ จิตรหลัง. 2555)

           Kurt Lewin  นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันได้เขียนบทความชื่อ  “Action  research   and  minority  problems” ในวารสาร “Journal  of  Social  lssues” ตีพิมพ์ในปี 1946  ทำให้แนวคิดการทำวิจัย (Research) ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน (Action) โดยผู้ปฏิบัติงานเป็นนักวิจัยเองที่เรียกว่า  “Action  Research”  ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเริกา  อังกฤษ ออสเตรเลีย  แคนาดา รวมทั้งประเทศในทวีปยุโรปได้นำวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการปรับ ปรุงพัฒนางานในบริบทต่าง ๆ  ทั้งงานพัฒนาชุมชน องค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข  หรือการศึกษาในช่วงเวลาร่วม  50  ปีที่ผ่านมา (จำเริญ จิตรหลัง.2555)

           Corey  (1953) ได้ยืนยันว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดจากการเสนอแนวคิดของ  Collier  ต่อคณะกรรมาธิการของ Indian Affairs ระหว่างปี  ค.ศ. 1933 –1945 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมาธิการว่า  ความสำคัญของงานวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโครงการวิจัยหรือเป้าหมายการวิจัยแล้ว ผลวิจัยก็ควรนำไปปฏิบัติได้โดยผู้ร่วมงานวิจัย และจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้ รับมา ผู้บริหารหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานต้องร่วมกันวิจัยในสิ่งที่เป็นความต้อง การในหน่วยงานของตนเองด้วย Kurt  Lewin (1940)  ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ  2 ประการ คือ การตัดสินใจของกลุ่ม  และความตั้งใจร่วมกันที่จะทำการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งแนวคิดเริ่มต้นเกิดจากการพยายามเชื่อมโยงทฤษฎีที่นักวิจัยได้วิจัยไว้ไป สู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาทางสังคมที่มีความแตกต่างของ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการแบ่งชนชั้น ความมีอคติ และการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย  (Ebbutt.1983) ความคิดของคนที่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือที่มีความคลุมเครือไม่กระจ่างชัด  มักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจ 3 ข้อ คือ สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ? มีอันตรายอะไรบ้าง ? และที่สำคัญที่สุดคือ แล้วเราจะทำอย่างไร ? (Kurt  Lewin 1946)

ต่อมาได้มีการนำแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้กับวงการอุตสาหกรรม ที่สถาบัน Tavistock ที่ประเทศอังกฤษ

          Stephen  M.Corey  (1953) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้นำการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้กับการจัดการศึกษาในอเมริกา  โดยนำมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียน (Corey,1953) ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในวงการศึกษาของอังกฤษและออสเตรเลียในช่วงทศวรรษ 1970 โดยในอังกฤษได้พยายามส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน  (Classroom  Action  Research)  เพื่อให้ครูปรับปรุงการเรียนการสอนและเปลี่ยนแปลงบทบาทเรียกว่า  ครูนักวิจัย  (Teacher  as  a  Researcher) โดยสอนคู่ไปกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  (Elliott,1987)

          ออสเตรเลีย ได้มีการขยายแนวคิดเรื่อง  การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง ถึงกับจัดให้การวิจัยปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียนและการ ศึกษาของออสเตรเลีย โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของโรงเรียนและการพัฒนาหลักสูตรระดับโรงเรียน และสร้างความตระหนักให้กับครูในการแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ  โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย  Deakin ได้พัฒนากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประยุกต์แนวคิดพื้นฐานของ  Kurt  Lewin  มาใช้  โดยกำหนดขั้นตอนของการวิจัยในลักษณะ “บันไดเวียน” (Spiral)  ประกอบด้วย การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ  (Act) การสังเกต (Observe) และการสะท้อนผล  (Reflect)  (Ebbutt, 1983 : Kemmis  and  McTaggart.1988)

ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          คำว่า  “Action  Research”  ในตำราภาษาไทยหลายคำ เช่น  “การวิจัยปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ”  “การวิจัยเชิงปฏิบัติ” “การวิจัยดำเนินการ” หรือ “การวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งน่าจะทำความเข้าใจในความหมายและมโนทัศน์ของคำนี้ให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายพื้นฐานของการวิจัยปฏิบัติการไว้  หลายคน อาทิเช่น Kurt  Lewin  (1946) Dezin  and  Lincoin  (1994) และ Stringer  (1996) 

การ วิจัยปฏิบัติการเป็นการเชื่อมโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ  แนวคิด ซึ่งเป็นการนำทฤษฎี  ไปสู่การปฏิบัติได้จริง จากบนไปสู่ล่าง ระดับรากหญ้า ผู้ปฏิบัติงานคือนักวิจัย (Practitioners  as  a  Researcher)  ซึ่งอยู่ในองค์กรหรือชุมชนที่กำลังเผชิญสภาพการณ์การปฏิบัติงานที่เป็นปัญหา หรือข้อสงสัยที่คลุมเครือไม่กระจ่าง เป้าหมายคือ 1) เพื่อแก้ปัญหา และ 2) เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ หัวใจสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการของการวิจัยปฏิบัติการคือการมีส่วนร่วม  (Participation) และความร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อนำไปสู่ความเกี่ยวพันกัน (Involvement)  ของผู้เกี่ยวข้อง  (Participants) ในองค์กรหรือชุมชนที่ดำเนินการวิจัย การมีส่วนร่วมในการวิจัยปฏิบัติการคือ การร่วมกันตระหนักในปัญหา วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ส่องสะท้อนตัวเอง และรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบวิวัฒน์ ที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจากจุดเล็ก ๆ ของคนกลุ่มหนึ่งในประเด็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตซับซ้อนเกินไปจุดเด่นข้อหนึ่งของ การวิจัยปฏิบัติการคือ  ผู้ปฏิบัติงานในฐานะนักวิจัยเมื่อได้ทำวิจัยแล้ว  ผลวิจัยจะตอบสนองความต้องการของตนเองทำให้อยากศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงพัฒนา งานต่อไป  Carr & Kemmis (1986) จำแนกการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ออกเป็น 3 ระดับ 1) Technical Action Research ผู้วิจัยทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ 2) Practical Action Research   ผู้วิจัยมีส่วนร่วมกับผู้ร่วมวิจัยมากขึ้น 3) Participatory Action Research   ทั้งผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ต่างร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมิน

แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย 

ประเทศ ไทยนั้นแนวคิดการวิจัยปฏิบัติการแพร่หลายมากพอสมควรในช่วง  10  ปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการศึกษา แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการที่มีอิทธิพลมาก คือ แนวคิดจากมหาวิทยาลัย  Deakin โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแปลหนังสือชื่อ The  Action Research Planner ของ Kemmis and McTaggart (1988) เป็นภาษาไทยชื่อ “นักวางแผนวิจัยปฏิบัติการ”  เมื่อปี  2538  อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางเมื่อมีพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่าให้สถานศึกษาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนางานในโรงเรียนโดยใช้การวิจัย  จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาสนใจแนวคิดเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำการวิจัยปฏิบัติการไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ เรียกว่า  Classroom  Action  Research : CAR

สม โภชน์ อเนกสุข (2548) เขียนบทความไว้ในวารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2548 กล่าวถึง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มี คุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงาน กำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่นในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษามีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม ระบบอุตสาหกรรม และองค์การต่าง ๆ แต่มีน้อยมากในงานด้านการศึกษา ซึ่งมีอยู่บ้างเมื่อครูแต่ละคนทำการแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนของตนเอง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต้องมีการทำความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกับ ชุมชนและสังคม และมีจุดเน้นของการวิจัยที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเป็นอิสระหรือมีส่วน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม การวิจัยในลักษณะนี้มักจะเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และอาจจะเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมด้วยก็ได้ (Creswell, 2002 : 609) จะเห็นได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้นำแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพมาประยุกต์ใช้ โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วมกันแสวงหารูปแบบหรือ วิธีการแก้ปัญหาของตน เน้นการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่และชีวิต ตลอดจนเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนให้ดี ขึ้น และเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้กับประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์การจากภายนอกทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาหรือเป็น ผู้ประสานงานเพื่อให้

ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เป็นการวิจัยที่มีคุณลักษณะหลายประการแตกต่างไปจากการวิจัยแบบปกติทั่วไป เช่น กระบวนการที่ใช้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพันธะกรณีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน กรอบของการดำเนินงานกำหนดขึ้นโดยกลุ่มคนในพื้นที่วิจัย จุดเน้นของการวิจัยเริ่มที่คนเป็นหลัก โดยทำให้คนมีคุณค่า   มีความภูมิใจในการกระทำ เป้าหมายของการวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนในพื้นที่ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมและตามความจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ถึง แม้ว่าแต่ละคนจะแตกต่างในด้านพื้นฐาน ทักษะและโครงสร้างทางสังคม แต่นักวิจัยเชื่อมั่น ในความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ของคน จึงต้องการให้คนเหล่านั้นมีส่วนร่วม โดยนักวิจัยจะไม่กำหนดกรอบที่ตายตัว แต่ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการดำเนินการที่เรียบง่ายซึ่งคนในชุมชนรู้จักคุ้นเคยและมีทางเลือก หลากหลาย นักวิจัยมองชุมชนอย่างองค์รวมในลักษณะประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ศึกษา มีลักษณะเป็นนามธรรม ค่านิยม ความรู้สึก และความพอใจของคนในชุมชน การดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตยโดยให้กลุ่มคนในพื้นที่มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการสร้างกำลังและอำนาจในการคิดและการต่อรองให้ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่ คนในชุมชนอยากทำ ส่งเสริมวัฒนธรรมการพึ่งตนเอง ผู้ได้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมให้โครงการประสบผล สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่เน้นวัตถุ แต่เน้นความสามารถของคนในชุมชน เน้นการเรียนรู้ และความพอใจของผลที่ได้รับ (พันธุ์ทิพย์ รามสูตร, ม.ป.ป. : 60-63)

การ วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมส่วนหนึ่งขององค์การและการเป็นนักวิจัย เป็นการนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา โดยผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหา วิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง (สมโภชน์ อเนกสุข.2548)

สรุป การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึงผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการวิจัยในลักษณะที่เป็นความร่วมมือกันที่ทั้ง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกันในการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติและร่วมกันประเมินผลมีรูปแบบล่างขึ้นบน จึงมีความเป็นประชาธิปไตยสูงเปรียบได้กับการใช้ทฤษฎี Y  ทฤษฎี  Maturity Organization (Selena Rezvani, M.S.W) ทฤษฎี System 4 (R. Likert and Likert 1976) เปรียบได้กับการใช้ภาวะผู้นำแบบยึดผู้ปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง แบบมีส่วนร่วม แบบมอบอำนาจ แบบความเป็นเพื่อนหรือมุ่งคน นำเอาหลักการบริหารแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน (Site Based Management : SBM) เป็น การนำแนวคิดและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการศึกษา กระบวนการวิจัยช่วยกันแสวงหารูปแบบของการพัฒนาหรือหาวิธีการแก้ปัญหา มีการพัฒนาความสำนึกในการวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างและความสัมพันธ์พื้นฐานในสังคมของตนเอง

จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพองค์การ ประชาชนชุมชน และชีวิตครอบครัว (Stringer, 1999, Cited in Creswell, 2002 : 609) โดยมีสาระที่สำคัญ คือการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมจุดมุ่งหมายของความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเกิดความร่วมมือ ในการตัดสินใจ มีความเห็นร่วมกันทั้งในฐานะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การและเป็นผู้ ร่วมกระทำกิจกรรมการวิจัยบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในทางการเมือง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยังมีจุดเน้นที่การกระจายอำนาจทางการเมือง ไปสู่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการออกแบบ และกำหนดวิธีการปฏิบัติในโครงการวิจัยนั้น การร่วมกันปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการวิจัย รูปแบบนี้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลในการวิจัย จะทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจ ที่ดีในรายละเอียดและทำให้เกิดข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมวิถีชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนวิธีการที่จะต้อง ปฏิบัติทั้งหมด (Merriam, 2002 : 138-139) เมื่อพิจารณาบทบาทของนักวิจัยจะพบว่า นักวิจัยมีบทบาทเป็นสมาชิกในบางด้านขององค์การ เป็นผู้มีส่วนร่วมตลอดกระบวนการของวิจัยในองค์การนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ นักวิจัยจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทั้งในสถานะภาพของสมาชิกในองค์การและการเป็นนักวิจัย บทบาทเหล่านี้จะกำหนดให้นักวิจัยต้องพัฒนาข้อสรุปที่ถูกต้องตรงตามความเป็น จริง (Valid Conclusions) เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนในองค์การ และเกิดความพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น (Schutt, 1996 : 432, 584)

ลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีรูปแบบที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน

เช่น การวิจัยโดยมีชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Inquiry) การวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ(Collaborative Action Research) การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Critical Action Research) เป็นต้น คุณค่าของการวิจัยแบบนี้คือ กระบวนการของความร่วมมือ (Stringer, 1999 : 9 ; Kemmis & McTaggart, 2000 : 567 ; Mills, 2000 : 7, Cited in Creswell, 2002 : 609)ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการสังเกต การสะท้อนการปฏิบัติ และการปรับปรุงแผนเพื่อนำไปปฏิบัติในวงจรต่อไป จนกว่าจะได้รูปแบบของการปฏิบัติงานที่พึงพอใจ ซึ่งต้องมีความยืดหยุ่นสูงและไม่ควรกำหนดเวลาในการวิจัยหรือกิจกรรมไว้ล่วง หน้า รวมทั้งตระหนักถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ภูมิปัญญาของนักวิชาการ (สมอาจ วงศ์ขมทอง, 2536 : 5 อ้างถึงใน ประพิณ วัฒนกิจ,2542 : 140)

เคมมิส และวิลคินสัน (Kemmis.& Wilkinson, 1988 cited in Creswell, 2002 : 609-610)ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ไว้ 6 ประการ คือ 1) เป็นกระบวนการทางสังคมที่นักวิจัยมีเจตนาขยายความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละ บุคคลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลสร้างความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมผ่านปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร 2) รูปแบบของการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วม หมายความว่า แต่ละคนจะเกิดความเข้าใจใน

สิ่งที่ตนทำ แล้วเสนอความรู้และความคิดเห็นสู่บุคคลอื่น รวมทั้งผลักดันให้เกิดการกระทำร่วมกัน 3) เป็นความร่วมมือในการปฏิบัติร่วมกัน เพราะการวิจัยจะมีความสมบูรณ์ต้องเกิดจากการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชน หรือสร้างความรู้ให้กับองค์การทางสังคม เพื่อลดความไม่สมเหตุสมผล ความล้มเหลว และความไม่ยุติธรรม ในการปฏิบัติ หรือจากปฏิสัมพันธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ 4) การดำเนินงานไม่มีการบังคับ ทุกคนมีอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ไม่มีเหตุผลและโครงสร้างที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาตนเอง 5) ช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอิสระในตัวเอง จากข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น สื่อ ภาษาและกระบวนการทำงาน เป็นต้น 6) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสามารถเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันได้อีก โดยการพิจารณาผลที่สะท้อนกลับและเหตุผลที่เหมาะสม เพราะเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ

วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วิธีดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีลักษณะร่วมกันกับการวิจัยปฏิบัติการ

หลายประการ จึงขอสร้างความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ ดังนี้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เป็นรูปแบบของการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบโดยผู้ที่ปฏิบัติมีส่วน เกี่ยวข้องในการใช้เทคนิคกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ของตน (Gall & Others, 1999 : 468) ลักษณะของการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบของปัญหาทั่ว ๆ ไปในระดับย่อยหรือเฉพาะท้องถิ่น โดยอาจศึกษาจากกลุ่มเฉพาะเล็ก ๆ ซึ่งการวิจัยลักษณะนี้ไม่เคร่งครัดในกฏเกณฑ์และรูปแบบเหมือนกับวิธีการวิจัย ตามปกติการวิจัยปฏิบัติการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ดีจากข้อค้นพบที่มีคุณภาพ จากข้อมูลในการวิจัยเข้ากับประสิทธิผลของระบบที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิจัย นั้น (Fryer & Feather, 1994 : 230) และใช้ข้อค้นพบนั้นไปปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากระบวน การวิจัยปฏิบัติการจะพบว่า มีลักษณะเป็นเกลียวของการคิดการพิจารณา และการกระทำ ซึ่งเรียกว่า “เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)” ซึ่งเสนอไว้โดย สตริงเกอร์ (Stringer, 2007:9) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ดูว่ามีปัญหาอะไร (Look) คิดพิจารณา (Think) และลงมือปฏิบัติ (Act) ซึ่งรูปแบบลักษณะนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวเส้นตรง กระบวนการทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำอีกและจะมีการปรับปรุงกระบวนการและ การให้ความหมายในขั้นตอนต่อไป

ภาพที่ 2.1 เกลียวปฏิสัมพันธ์ (Interacting Spiral)

แหล่งที่มา :Stringer, E.T. Action research. 2007: 9

เครสเวลล์ (Creswell, 2002 : 614) ได้สรุปลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) มีจุดเน้นไปสู่การนำไปปฏิบัติ 2) การดำเนินการวิจัยมีการปฏิบัติร่วมกันระหว่างนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมการวิจัย 4) เป็นกระบวนการที่เป็นพลวัติ (Dynamic Process) ของเกลียวปฏิสัมพันธ์ ที่มีกระบวนการย้อนกลับและนำไปสู่การพัฒนาขั้นต่อไป (Back and Forth) จากผลสะท้อนของสิ่งที่เป็นปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติ 5) การพัฒนาแผนการดำเนินงานต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ 6) มีการนำเสนอผลการวิจัยต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนในท้องถิ่น ชุมชน และบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าการวิจัยปฏิบัติการและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะมีลักษณะร่วม กันหลาย ประการแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ การวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อนำความรู้ไปใช้ ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวัน (Reason & Bradbury, 2001 : 2 cited in Donna, 2004 : 536) ดังนั้นระเบียบวิธีการวิจัยจึงต้องการมาตรฐานทางทฤษฎีที่มากเพียงพอต่อการนำ ไปใช้และการนำไปปฏิบัติ (Donna, 2004 : 536) ส่วนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อสร้างความรู้และกระตุ้นประชาชนธรรมดา (Borda & Rahman, 1999 cited in Donna, 2004 : 538) ซึ่งกระบวนการนี้มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจและการไร้อำนาจของบุคคลในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายหรือมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเน้นความร่วมมือที่ทุกคนมีอำนาจอย่างเท่าเทียมกันทั้งตัวผู้วิจัย ผู้ให้ข้อมูล และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนที่มี ลักษณะเป็นพลวัติ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการสูง และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องซึ่ง พันธุ์ทิพย์ รามสูต (มปป. : 42-43) ได้เสนอกระบวนการของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1) การเตรียมชุมชน เพื่อที่จะให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัยในระดับที่เสมอ ภาคกัน 2) อบรมนักวิจัยร่วมจากชุมชน เพื่อเตรียมนักวิจัยในท้องถิ่นให้มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในท้องถิ่น บทบาทของผู้ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยท้องถิ่น การจัดองค์การชุมชน รูปแบบของผู้นำการสนับสนุนและมนุษยสัมพันธ์ 3) กำหนดรูปแบบการวิจัย โดยกลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันกำหนดรูปแบบการวิจัย เช่น การพิจารณารายละเอียดปัญหาทั่วไปที่ชุมชนได้เลือกขึ้นมา การจำแนกออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อที่จะสามารถทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาได้ทีละส่วน กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเครื่องมือที่จะใช้ รูปแบบคำถาม วิธีการถาม กลุ่มและขนาดของตัวอย่าง เป็นต้น 4) ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล 5) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มนักวิจัยท้องถิ่นจะร่วมกันประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ข้อสังเกตหรือข้อ วิจารณ์สิ่งที่พบ วิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงได้ข้อมูลเช่นนั้น เขียนสรุปสิ่งที่พบออกอย่างกว้าง ๆ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะประกอบ 6) หารือข้อค้นพบกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเสนอคืนต่อชุมชน ให้มีโอกาสตรวจสอบและแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง ตลอดจนทำการวิเคราะห์ สรุปประเด็น หรือชี้แนะประเด็นสำคัญให้แก่กลุ่มนักวิจัย 7) วางแผนชุมชน โดยการอบรม กลุ่มที่ทำหน้าที่วางแผนให้สามารถเขียนโครงการได้รวมทั้งมีความสามารถในการ จัดองค์การชุมชนด้วย โครงการที่กลุ่มวางแผนเขียนขึ้นนี้จะต้องนำมาปรึกษาหารือกับชุมชน ให้ชุมชนตรวจสอบแก้ไขและรับรองก่อนนำไปเสนอขอรับการสนับสนุนจากองค์การที่ เกี่ยวข้องต่อไป 8) นำแผนไปปฏิบัติ โดยการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ตลอดจนองค์การประชาชนต่าง ๆ ใน ชุมชนมาร่วมปฏิบัติตามแผนที่จัดวางขึ้น จากพื้นฐานข้อมูลที่เป็นผลมาจากการศึกษาร่วมกัน 9) ติดตามกำกับและประเมินผลในชุมชน โดยกลุ่มนักวิจัยร่วมกับชุมชนข้อควรพิจารณา ในการเลือกชุมชนเป้าหมายควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือก มีการพิจารณาศักยภาพของชุมชน และศึกษาข้อมูลที่สำคัญของชุมชนนั้นมาก่อน การเข้าสู่ชุมชนต้องทำความรู้จักชุมชน หาความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างความคุ้นเคยกับบุคคลผู้นำชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การเลือกทีมนักวิจัยท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมได้ตลอดโครงการ จากนั้นนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นจะทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น หลังจากทำการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเสร็จแล้ว ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นเสนอให้ชุมชนรับทราบ มีการแนะนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนทำการพัฒนา ทัศนคติของประชาชนให้รู้จักการทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทำการวิจัย จัดกิจกรรมการวิจัยขนาดเล็กเพื่อทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะในการทำการ วิจัยซึ่งทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการในการพัฒนา เลือกปัญหาที่จะทำการวิจัยซึ่งปัญหานั้นต้องสามารถจะหาคำตอบมาแก้ปัญหาได้ จากนั้นจึงหาทางเลือก และวิธีการต่าง ๆ มาใช้ ในขั้นตอนต่อไปจะมีการวางแผนการวิจัย การวางแผนการปฏิบัติ การกำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผล การเขียนรายงานการวิจัย ถ้าการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนนั้นสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกลับมาใช้ ใหม่ โดยไม่ต้องมีนักวิจัยจากภายนอกมาช่วยดำเนินการ และเป็นการเริ่มต้นวงจรต่อไปของกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของชุมชนนั้น เอง

คุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          Mckernan (1996) ได้อธิบายลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการไว้  9 ประการ โดยอาศัยแนวคิดของ  Elliott (1978)  ดังนี้ 1) ปัญหาที่นำมาวิจัย  ต้องเป็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงาน 2) ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ 3) ปัญหานั้นเป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ  ไม่ใช่ปัญหาเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการ 4) มีการเสนอทางออกของปัญหาและปรับเปลี่ยนไปจนกว่าการวิจัยจะเสร็จสิ้น 5) เป้าหมายคือต้องการให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา 6) ใช้วิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study)  เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยและสถานการณ์ปัญหาที่เกาะ ติดเพื่อศึกษา 7) ใช้การบรรยายข้อมูลจากสัญลักษณ์ทางภาษาที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน 8) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลได้อย่างอิสระ 9) เปิดรับหรือรวบรวมข้อมูลได้อย่างอิสระภายในกลุ่มหรือในระหว่างการปฏิบัติ

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          Mckernan (1996)  กล่าวว่า  การวิจัยปฏิบัติการมีหลักการสำคัญอยู่  16  ประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1)  เพิ่มพูนความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ  2)  มุ่งปรับปรุงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานของบุคคล 3)  เน้นที่ปัญหาเร่งด่วนของผู้ปฏิบัติงาน 4)  ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5)  ดำเนินการวิจัยภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเป็นปัญหา 6)  ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรมชาติ 7)  เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือศึกษาเพียงหน่วยเดียว 8)  ไม่มีการควบคุมหรือจัดกระทำต่อตัวแปร 9) ปัญหา วัตถุประสงค์ และระเบียบวิธีมีลักษณะเป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ความจริง 10)  มีการประเมินหรือส่องสะท้อนผลที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวน 11)  ระเบียบวิธีวิจัยมีลักษณะเป็นนวัตกรรม  สามารถคิดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาได้ 12)  กระบวนการศึกษามีความเป็นระบบหรือเป็นวิทยาศาสตร์ 13)  มีการแลกเปลี่ยนผลวิจัยและมีการนำไปใช้จริง 14)  ใช้วิธีการแบบบรรยายข้อมูล  หรือการอภิปรายร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ 15)  คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องมาจากการทำความเข้าใจ  การตีความหมายและการคิดอย่างอิสระ 16)  เป็นการวิจัยที่ปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระ และเป็นการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงาน (Empowerment) ให้ผู้เกี่ยวข้อง

กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 Mckernan. (1996) กล่าวว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการนำมาซึ่งสิ่งสำคัญ  3  ประการ คือ 1)  ปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์  ปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ 2)  ส่งเสริมให้คนเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างนักวิจัย 3)  สร้างความกระจ่างในสังคมอย่างรอบด้าน

         กระบวนการหรือขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่สำคัญและมีผู้นำมา ประยุกต์ใช้ มีอยู่  5  กระบวนการ คือ กระบวนการของ  Kurt Lewin,  John  Elliott, มหาวิทยาลัย Deakin,David Ebbutt  และ James Mckernan อย่างไรก็ดีแม้ว่ากระบวนการวิจัยปฏิบัติการจะมีหลายรูปแบบแต่หลักการสำคัญ หรือวิธีการก็ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน  สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของะกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัย  Deakin  ในประเทศออสเตรเลีย  Stephen Kemmis และคณะได้นำแนวคิดของ Lewin  มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาของ ออสเตรเลียจนได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปกว้างขวาง  ซึ่งในความคิดของ  Kemmis  และคณะนั้นการวิจัยปฏิบัติการ คือ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันเป็นหมู่คณะจะกระทำคนเดียวไม่ได้  เพราะการกระทำเพียงคนเดียวถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ก็จะทำลายพลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกลุ่ม ดังนั้นในขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการจึงต้องกำหนดจุดสนใจร่วมกัน  (thematic concern)  เช่น สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมตลาดพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน  หรือพัฒนาให้ชุมชนตลาดเข้าใจวิธีการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมให้ลึกซึ้ง  เป็นต้น  เมื่อได้จุดสนใจร่วมกันแล้วก็จะนำไปสู่การปฏิบัติที่สำคัญ 4 ประการที่เกี่ยวข้องกันเป็นวงจร  คือ

  1. การพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่มี

โครง สร้างและแนวทาง  การวางแผนต้องมีความยืดหยุ่น  และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อ แผนที่กำหนดไว้ได้

  1. การปฏิบัติตามแผน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างละเอียด

รอบคอบ  และมีการควบคุมอย่างสมบูรณ์

  1. การสังเกตผลการปฏิบัติ เป็นการบันทึกข้อมูล หลักฐาน หรือร่องรอยต่าง ๆ อย่างมี

วิจารณญาณ เกี่ยวกับผลที่ได้จากการปฏิบัติ โดยอาจใช้วิธีการวัดแบบต่าง ๆ  เข้ามาช่วย  ซึ่งสารสนเทศจากการสังเกตนี้จะนำไปสู่การส่องสะท้อนและปรับปรุงการปฏิบัติ อย่างเข้าใจและถูกทิศทาง

  1. การส่องสะท้อนผลการปฏิบัติ  เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติจากบันทึกที่ได้

จากการสังเกตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งอย่างไร เพื่อเป็นพื้นฐานการวางแผนในวงจรต่อไป

          ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย Deakin  จึงประกอบด้วยจุดสำคัญทั้ง  4 จุดดังที่กล่าวมาคือ การวางแผน  (Plan) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล  (Observation)  และการสะท้อนผล  (Reflection) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวลักษณะ “เกลียวสว่าน” ไปในจุดทั้ง  4 จุด ไม่อยู่นิ่ง และไม่จบลงด้วยตัวเอง

ภาพที่ 2.2  กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของมหาวิทยาลัย  Deakin

(McKernan, 1996)

                McKernan (1996) ได้เสนอวงจรการวิจัยปฏิบัติการที่ยึดเอาระยะเวลาในการปฏิบัติงานและกิจกรรม เป็นหลัก โดยวงจรปฏิบัติที่ 1 เริ่มจากการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและมีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน นั้น  เมื่อปฏิบัติจนครบวงจรแล้ว  ก็เริ่มระบุปัญหาในการปฏิบัติงานและกิจกรรมใหม่ในวงจรปฏิบัติที่  2  และต่อไปเรื่อย ๆ ดังที่นำเสนอในภาพประกอบที่  2.2

               กิจกรรมในแต่ละวงจร  ประกอบด้วย

  1. การนิยามปัญหา ในสถานการณ์ที่นักวิจัยประสบอยู่ในการปฏิบัติงาน
  2. การประเมินความต้องการจำเป็นที่จะปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
  3. การกำหนดสมมุติฐาน  เป็นการกำหนดผลที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติแล้ว
  4. พัฒนาแผนปฏิบัติ  ซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ
  5. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้  ซึ่งต้องมีการบันทึกข้อมูลไว้
  6. ประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
  7. สะท้อนผลปฏิบัติ  อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและทำความเข้าใจ
  8. ตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาต่อไป

จากกระบวน การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่กล่าวมาทั้งหมด นั้น จะเห็นว่า  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหาหรือจุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปสู่ขั้นตอนใหญ่ ๆ 3  ขั้น คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการปฎิบัติ  ซึ่งก็คือการปฏิบัติงานที่เป็นระบบนั่นเอง  แต่จุดเด่นของการวิจัยปฏิบัติการนอกเหนือจากความเป็นระบบแล้วคือการดำเนิน การนั้นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม  และการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม  รวมทั้งต้องมีการส่องสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่กำลังดำเนินการให้เกิด การเปลี่ยนแปลงหรือให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่ง  Kemmis  และ  McTaggart (1988) ได้กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  4  ประการคือ 1)  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ใช่สิ่งที่ทำตามปกติ  แต่ต้องทำเป็นระบบและได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม 2)  ไม่เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่เท่านั้น  แต่ต้องเกิดมาจากแรงกระตุ้นที่ต้องการปรับปรุงพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3)  ไม่ใช่การปรับปรุงพัฒนางานของผู้อื่น แต่เป็นงานของกลุ่มตนเองที่มีบทบาทหน้าที่อยู่ 4)  การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมองในแง่การทดสอบ สมมุติฐานเพื่ออธิบายสภาพการณ์อย่างเดียว  แต่ต้องเป็นระบบที่หมุนวนไปเรื่อย ๆ  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวนักวิจัย  และสถานการณ์แวดล้อม

          ดังนั้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักวิจัย  ก็ควรต้องคำนึงถึงและพิจารณากระบวนการที่ได้ลงมือปฏิบัติว่าสอดคล้องเป็นไป ตามหลักการดังที่กล่าวมานี้หรือไม่  เพื่อให้เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

          การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะข้อมูล  ขั้นตอนการวิจัย  และกลุ่มเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูล ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเทคนิค วิธีการรวบรวมข้อมูลตามลักษณะของแหล่งข้อมูลที่จะทำการรวบรวมทั้งที่เป็นการ วิจัยปฏิบัติการที่ทำในชุมชน  ดังนี้ คือ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป และ  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลทั่วไป

            1.  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน

               วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอน นักวิจัยต้องกำหนดขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการสำรวจแหล่งข้อมูล สืบค้น และรวบรวมเอกสารและหลักฐาน ก่อนที่จะบันทึกข้อมูล นักวิจัยต้องศึกษาประเมิน คัดเลือกเอกสารและหลักฐานคัดเอาไว้เฉพาะส่วนนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ แล้วจึงบันทึกข้อมูล หลักการในการดำเนินงานทุกขั้นตอนก็คือ  การทำใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ  ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบ  ศึกษาเอกสารหลักฐานอย่างละเอียด  และต้องมีความชำนาญในการหาความหมาย  หรือข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในเอกสารหลักฐานเหล่านั้นด้วย  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                1)  สำรวจ  สืบค้น และรวบรวมเอกสารหลักฐาน

                    เมื่อได้สืบค้นทราบแหล่งของเอกสารหลักฐานแล้ว  นักวิจัยควรจัดทำรายการเอกสารหลักฐานให้เป็นระบบเพื่อความสะดวกในการศึกษา  และใช้ประโยชน์ต่อไป

                2)  ประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐาน

                    นักวิจัยต้องประเมินคัดเลือกเอกสารหลักฐานก่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ  วิธีการประเมินต้องพิจารณาประเมินทั้งแบบภายนอกและภายใน การประเมินภายนอกเป็นการประเมินลักษณะภายนอกทั่ว ๆ  ไปของเอกสารหลักฐานว่าเป็นเอกสารอะไร ผลิตที่ไหน  เมื่อไร ใครผลิต  มีการดัดแปลงหรือไม่  สาระยังคงถูกต้องคงเดิมหรือไม่  มีการตรวจสอบได้อย่างไร ส่วนการประเมินภายในเป็นการประเมินเนื้อหาสาระว่าเอกสารหลักฐานนั้นมีข้อมูล ครบถ้วน  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่

                3)  บันทึกข้อมูล

                    การบันทึกข้อมูลจากเอกสารอาจจดบันทึกอย่างละเอียด หรือเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นที่สนใจ โดยทำรายการประเด็นที่ต้องการศึกษาไว้ในแบบบันทึก  แล้วบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์  หรือพฤติกรรมในแต่ละประเด็น  ลักษณะแบบบันทึกในการวิจัยนิยมใช้บัตรขนาด  4 ´6  นิ้ว  บันทึกข้อมูลแยกบัตรละประเด็น  เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยยึดหลักการบันทึกข้อมูลให้ตรงตามวัตถุ ประสงค์  และถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

            2.  การสังเกต  (Observation)

                การสังเกตเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ใช้มากสำหรับการวิจัยปฏิบัติการ เหมาะกับการกระทำ กิริยาอาการหรือพฤติกรรมที่สามารถใช้ประสาทสัมผัส และ / หรือ เครื่องมือช่วยในการรับรู้  ทำความเข้าใจ และจดบันทึกเป็นข้อมูลได้เหมาะสมที่จะใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้งจากบุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ

                2.1  ประเภทของการสังเกต

                    2.1.1  การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัว / ไม่รู้ตัว  (Know / unknown   observation) การสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตรู้ตัวนั้น นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์  และใกล้ชิดกับผู้ถูกสังเกต ข้อดีคือนักวิจัยสังเกตพฤติกรรมได้ครบถ้วน แต่มีข้อเสียคือการที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวอาจมีผลทำให้การแสดงพฤติกรรมไม่ เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนการสังเกตโดยผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวนั้น  นักวิจัยอาจไม่ได้เห็นพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตอย่างใกล้ชิด แต่จะได้พฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติแท้จริง

                    2.1.2  การสังเกตแบบมี /ไม่มีส่วนร่วม  (participant / non – participant  observation)การสังเกตแบบมีส่วนร่วมนั้นนักวิจัยต้องทำตัวเสมือนเป็นสมาชิก ของกลุ่ม  และต้องร่วมทำกิจกรรมไปกับกลุ่มด้วย โดยอาจมีการบันทึกข้อมูลโดยผู้ถูกสังเกตรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้  วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ และได้ข้อมูลครบถ้วน ส่วนการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นการสังเกตที่นักวิจัยทำตัวเป็นผู้ดู หรือผู้สังเกตการณ์อยู่นอกกลุ่ม และไม่เข้าร่วมกิจกรรม วิธีนี้จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติ  และอาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเมื่อผู้ถูกสังเกตมีปฏิกิริยาต่อนักวิจัย

                    2.1.3  การสังเกตแบบมี / ไม่มีระบบ  (structured / unstructured  observation)

ใน กรณีที่นักวิจัยทราบแน่ชัดว่าพฤติกรรมที่จะสังเกตเกิดขึ้นช่วงเวลาใด  อย่างไร ก็อาจกำหนดแนวทาง รูปแบบของการสังเกตให้เป็นระบบไว้ล่วงหน้าได้ โดยการนิยามพฤติกรรมการกำหนดหน่วยพฤติกรรม  และตัวผู้ถูกสังเกต การกำหนดช่วงเวลาการสังเกต การสร้างเครื่องมือบันทึกผลการสังเกต  และการซ้อมก่อนที่จะทำการสังเกตจริง การเตรียมระบบการสังเกตล่วงหน้าทำให้ได้ข้อมูลมีความเป็นปรนัย  ครบถ้วนและมีความสอดคล้องกรณีที่มีผู้สังเกตหลายคน  สำหรับการสังเกตแบบไม่มีระบบเหมาะสำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า  หรืออาจต้องการได้ข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป หรืออาจต้องการรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดจนไม่อาจวาง ระบบการสังเกตได้

                    2.1.4  การสังเกตโดยตรง / อ้อม  (direct / indirect  observation)การสังเกตโดยตรงเป็นวิธีการที่นักวิจัยได้สัมผัสสิ่งที่ต้องการ สังเกตด้วยตนเอง  ส่วนการสังเกตโดยอ้อมนั้น นักวิจัยไม่สามารถสังเกตสัมผัสด้วยตนเอง แต่ใช้เครื่องมือ  เช่น  การบันทึกเทปโทรทัศน์  แล้วนำมาสังเกต และบันทึกข้อมูล วิธีนี้ได้ข้อมูลที่มีข้อจำกัด และคุณภาพต่ำกว่าการสังเกตโดยตรง

               2.2  หลักการสังเกต

                    1)  นักวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร ควรให้นิยามของสิ่งที่จะสังเกตและกำหนดรายละเอียดของสิ่งที่จะสังเกตเป็น หน่วยย่อย ๆ

                    2)  นักวิจัยควรเตรียมการสังเกต วางระบบการสังเกตไว้ล่วงหน้าถ้าสามารถทำได้กรณีมีผู้สังเกตหลายคนควรมีการ ฝึกซ้อมให้การสังเกตมีมาตรฐานเดียวกัน

                    3)  ระหว่างการสังเกต นักวิจัยควรมีสมาธิจดจ่อกับผู้ถูกสังเกต เตรียมประสาทสัมผัสให้ตื่นตัวพร้อมที่จะรับรู้รายละเอียด โดยพยายามรบกวนผู้ถูกสังเกตให้น้อยที่สุดเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เป็น ธรรมชาติ

                    4)  การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยในการสังเกตต้องระมัดระวังให้กระทบกระเทือนผู้ถูกสังเกตน้อยที่ สุด ควรขออนุญาตก่อนใช้ และควรมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลืม  การบันทึกข้อมูลต้องทำด้วยความรอบคอบให้ข้อมูลตรงตามสภาพความเป็นจริงมากที่ สุด

               2.3  เครื่องมือบันทึกการสังเกต

          เครื่องมือสำหรับการสังเกต ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต และเครื่องมือช่วยการสังเกตประเภทโสตทัศนูปกรณ์  เช่น เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพยนต์ เป็นต้นในที่นี้จะเสนอเฉพาะแบบบันทึกการสังเกตเท่านั้น  แบบบันทึกการสังเกตเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสม กับจุดมุ่งหมายของการสังเกต และลักษณะข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเพื่อใช้บันทึกสิ่งที่สังเกตได้  การบันทึกอาจจะบันทึกในขณะทำการสังเกต  หรือบันทึกหลังจากเสร็จสิ้นการสังเกตโดยบันทึกจากความทรงจำ  หรือบันทึกจากการดูภาพ หรือวิดิทัศน์ก็ได้  ลักษณะของแบบบันทึกการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น  4 แบบ คือ แบบรายการตรวจสอบ (checklists) แผนภูมิการมีส่วนร่วม (participation charts) มาตรประมาณค่า (rating scales) และแบบบันทึกพฤติกรรม  (anecdotal  records) 

            3.  การสัมภาษณ์  (Interviews)

               การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสนทนา ซักถามและโต้ตอบระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้ข้อมูล วิธีนี้นักวิจัยมีโอกาสสังเกตบุคลิกภาพ อากัปกิริยา ตลอดจนพฤติกรรมทางกายและวาจา  ขณะสัมภาษณ์ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลประกอบได้ด้วย

               3.1  ประเภทของการสัมภาษณ์

                    3.1.1  การสัมภาษณ์แบบมี / ไม่มีระบบ  (Structured / unstructured  interviews) การสัมภาษณ์แบบมีระบบเป็นวิธีการที่นักวิจัยกำหนดรูปแบบการสัมภาษณ์  รายการคำถาม  เวลาและสถานที่สัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว  ขณะสัมภาษณ์นักวิจัยจะดำเนินการตามระบบที่วางไว้ให้บรรยากาศ  และวิธีการคล้ายคลึงและมีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกันทุกครั้ง วิธีนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่เบี่ยงเบนเนื่องจากความแตกต่างในการ สัมภาษณ์ แต่มีข้อเสียตรงที่ทำให้ได้ข้อมูลไม่ลึกซึ้งเพียงพอในบางประเด็น ตรงข้ามกับการสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ ซึ่งนักวิจัยอาจตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อดึงข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูลให้ มากที่สุด  ทั้งนี้นักวิจัยอาจทำการสัมภาษณ์แบบลึก  หรือตั้งคำถามตะล่อมให้ผู้ให้ข้อมูลเพ่งความสนใจไปที่เรื่องเฉพาะเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เป็นการสัมภาษณ์แบบรวมจุดสนใจ  (focused  interviews) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลละเอียดลึกซึ้ง แต่ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนมีรูปแบบต่างกันไม่เป็นมาตรฐานเดียว กัน

                    3.1.2  การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม / รายบุคคล  (group / individual  interviews)

การ สัมภาษณ์แบบนี้เป็นการแยกตามจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นกลุ่มใช้เมื่อผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อเท็จจริงจากสมาชิกทั้ง กลุ่ม อาจจะต้องการข้อมูลจากสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วย  แต่ความสนใจอยู่ที่ข้อมูลจากสมาชิกทั้งกลุ่ม วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์  และถ้าจัดกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ให้มีลักษณะประสบการณ์คล้ายคลึงกันในบางเรื่อง จะยิ่งทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์มีอารมณ์ร่วม  และเต็มใจตอบคำถามมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็นก่อนสรุปเป็นความคิดเห็นของ กลุ่ม  ทำให้ได้ความคิดเห็นจากกลุ่มที่เที่ยงตรงขึ้น

                    3.1.3  การสัมภาษณ์แบบลึก  (in – depth  interviews) วิธีการสัมภาษณ์แบบลึกเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่นักวิจัยต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ตะล่อมถาม  (probe)  เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์มากที่สุด  การสัมภาษณ์แบบนี้นักวิจัยเตรียมแนวทางการสัมภาษณ์ได้ล่วงหน้า  เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์แบบอื่น ๆ แต่คำถามที่จะใช้ตะล่อมถามเป็นความสามารถเฉพาะตัวนักวิจัยซึ่งต้องอาศัยความ รู้ความชำนาญ ลักษณะของการสัมภาษณ์แบบลึกจึงมีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีรูปแบบเป็น ระบบมาตรฐาน เพราะการตะล่อมถามอาจแตกต่างกันตามลักษณะผู้ให้สัมภาษณ์  แม้ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นคนเดียวกันก็ตาม

               3.2  หลักการสัมภาษณ์

                    ในการสัมภาษณ์  นักวิจัยควรดำเนินการดังนี้

                    1)  นักวิจัยควรกำหนดจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน  เตรียมแบบสัมภาษณ์  (interview  schedule)  แบบบันทึก ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะต้องใช้ในการสัมภาษณ์ให้พร้อม ถ้าเป็นไปได้ควรมีการทดลองใช้ก่อนการสัมภาษณ์จริง

                    2)  ควรมีการติดต่อนัดหมาย กำหนดเวลา สถานที่ และวิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ให้เรียบร้อย

                    3)  สัมภาษณ์ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้ความเป็นกันเอง และชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่าจะนำผลการสัมภาษณ์ไปใช้อย่างไร ให้คำรับรองว่าจะไม่ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์เสื่อมเสียเดือดร้อน  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจให้ความร่วมมือ

                    4)  ในขณะสัมภาษณ์นักวิจัยควรตั้งคำถามทีละคำถาม ใช้เวลารอคำตอบไม่เร่งเร้า  และไม่ใช้คำถามนำหรือชี้แนะ  ต้องแน่ใจว่าผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามทุกคำถามก่อนตอบ คำถามต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับปัญหาวิจัย  ภาษาง่าย  สื่อความหมายชัดเจน  และเป็นคำถามที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อมูล  เมื่อได้ฟังคำตอบไม่ควรแสดงอารมณ์ หรือปฏิกริยาใด ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการตอบคำถามต่อไป  ถ้าจำเป็นต้องตั้งคำถามเพื่อล้วงหาความจริง  หรือถามลึกลงไปควรชี้แจง  และกระทำด้วยความสุภาพ

                    5)  นักวิจัยควรจดบันทึกผลการสัมภาษณ์ทันทีตามที่เป็นจริง ไม่ควรเว้นเพราะอาจลืมได้  พยายามจดบันทึกให้เร็วเพื่อมิให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องรอนาน ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยินยอมอาจใช้เครื่องบันทึกเสียงหรืออุปกรณ์อย่าง อื่นช่วยได้

               3.3  เครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รูปแบบของแบบรายการสัมภาษณ์ที่ ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามลักษณะคำถาม  คือ  คำถามกำหนดตัวเลือก  (fixed – alternative  questions)  คำถามปลายเปิด  (open  end  questions)  และคำถามแบบมาตรประมาณค่า  (scale  questions)

4.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  (Questionnaire)

การ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นวิธีที่เหมาะสมมากสำหรับการสำรวจซึ่งต้องรวบ รวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก  หรืออยู่อย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลที่เหมาะสมกับการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็นความเชื่อ  ทัศนคติ  และความสนใจ โดยแบบสอบถาม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  ตามรูปแบบของแบบสอบถาม  คือ  ชนิดปลายปิดและชนิดปลายเปิด  (closed /  open  form  questionnaire)

ซึ่ง มีหลักการในการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1)  นักวิจัยต้องมีการเตรียมการอย่างดี  ตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การวางแผนการดำเนินงานการสร้างแบบสอบถาม  และการรวบรวมข้อมูล 2)  การรับรองว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับเพื่อให้ผู้ตอบมีความมั่นใจที่จะให้ ข้อมูล

3)  เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว  ให้ตรวจสอบดูความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด  และการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามตามปกติผู้ตอบไม่ต้องลงชื่อ ผู้วิจัยจะต้องยึดหลักในการสร้างแบบสอบถามที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้ 1) คำถามต้องถามเรื่องที่สำคัญ  ตรงตามปัญหาวิจัย 2) คำถามสั้น  กะทัดรัด  ชัดเจน   และสมบูรณ์  แต่ละคำถามควรถามประเด็นเดียว 3) คำถามมีการเรียงลำดับ  เช่น เรียงจากคำถามง่ายไปยาก เรียงจากคำถามเรื่องทั่ว ๆ ไป ไปหาเรื่องเฉพาะ ตามความเหมาะสม 4)  รูปแบบการตอบง่าย และสะดวก ไม่ทำให้ผู้ตอบเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

5)  มีคำแนะนำชัดเจน รวมทั้งคำอธิบายศัพท์ที่ต้องการให้เข้าใจตรงกัน 6)  แบบสอบถามมีรูปเล่มน่าตอบ สะอาดเรียบร้อย อ่านง่ายและไม่ยาวเกินไป 7)  ระบุวิธีการและอำนวยความสะดวกในการส่งคืน สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนนั้นต้องระมัดระวังในการใช้แบบสอบถามในการ รวบรวมข้อมูล เพราะไม่อาจรับประกันได้ว่า ข้อมูลที่ได้นั้นเป็นคำตอบจากใจจริงของผู้ตอบ  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในชุมชนจำนวนไม่มาก และรู้จักกัน ทำให้อาจมีความรู้สึกเกรงใจกันอยู่  หรือไม่กล้าตอบตามความจริงทั้งหมด ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

            5.  การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดหรือมาตรวัด (Scales)

               การรวบรวมข้อมูลด้วยมาตรวัดเหมาะสมกับข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะทางจิตใจที่ เป็นนามธรรม  มาตรวัดประกอบด้วยชุดของข้อคำถามหรือสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้ให้ ข้อมูล  แสดงการตอบสนองตามความเป็นจริง  นักวิจัยกำหนดช่วงของการตอบสนอง  และกำหนดค่าตัวเลขตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ให้ค่าตัวเลขแทนระดับของคุณลักษณะที่ต้องการ       ประเภทของมาตรประมาณค่าที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยปฏิบัติ การในโรงเรียน จำแนกตามประเภทของข้อมูล แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ มาตรจัดประเภท  มาตรเรียงลำดับ และมาตรอันตรภาค  แต่ละประเภทแยกย่อยได้อีกดังนี้ 1)  มาตรจัดประเภท (categorical  scales)มาตรประเภทนี้มีการเสนอสิ่งเร้าให้ผู้ตอบสนองโดยการจัดประเภทคำตอบ  เช่น ให้ตอบว่า ถูก / ผิด  เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย มาก / ปานกลาง / น้อย  เป็นต้น  มาตรวัดจัดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้สำรวจข้อมูลทั่ว ๆ ไป 2)  มาตรเรียงอันดับ  (ordinal  scales) มาตรเรียงอันดับมีการเสนอสิ่งเร้าในรูปข้อความ สถานการณ์ หรือคำถาม  แล้วให้ผู้ตอบตอบสนองสิ่งเร้าโดยการจัดเรียงลำดับการตอบสนอง  มาตรที่เป็นที่รู้สึกกันดีได้แก่ 1) มาตรวัดความต้องการในกรณีที่นักวิจัยวัดความต้องการในการประกอบอาชีพ  ความต้องการในการศึกษาต่อ และอื่น ๆ อาจใช้รายการทางเลือกที่คาดว่าจะเป็นไปได้ทั้งหมดเป็นสิ่งเร้าให้ผู้ตอบจัด เรียงอันดับว่าต้องการสิ่งใดจากมากไปหาน้อย

2) สังคมมิติ  (Sociometry) สังคมมิติเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งที่อาจจัดเป็นมาตรเรียงอันดับ วิธีการที่สำคัญคือการให้สิ่งเร้าในรูปคำสั่งให้บุคคลระบุชื่อบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ทางสังคมตามลักษณะที่นักวิจัยต้องการศึกษา เช่น ให้ระบุชื่อเพื่อนสนิทที่สุด 2 คน ให้ระบุชื่อเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้นำดีที่สุด 3 คน เป็นต้น แล้วนำข้อมูลจากบุคคลทั้งกลุ่มมาเสนอในรูปตาราง หรือแผนภูมิสังคม  (Sociogram) ให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลใด มีการรวมตัว และการกระจายของสมาชิกในกลุ่มอย่างไร 3)  มาตรอันตรภาค  (interval  scales) มาตรประเภทอันตรภาพมีการจัดสิ่งเร้าให้ผู้ตอบตอบสนองมีระดับแตกต่างกันโดย แต่ละระดับมีช่วงความแตกต่างเท่ากัน เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทคุณลักษณะทางจิต เช่น  ทัศนคติ ความรู้สึก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  เป็นต้น 4)  มาตรประมาณค่าแบบลิเคอร์ท  (Likert’s  summated  rating  scales) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติประเภทหนึ่ง  มาตรวัดประกอบด้วยข้อคำถาม  หรือข้อความชุดหนึ่ง  ซึ่งครอบคลุมทัศนคติทุกมิติที่ต้องการวัด น้ำหนักความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อเท่าเทียมกัน  ผู้ตอบประเมินความเข้มตามความรู้สึกของตนที่มีต่อข้อคำถามเหล่านั้นเรียงจาก มากไปน้อย โดยมีการประเมินค่าได้ตั้งแต่ 3 – 12 ระดับ ผลการวัดได้จากการรวมคะแนนผลการประเมินแต่ละข้อที่มีทิศทางเดียวกันเป็นค่า บอกระดับทัศนคติของผู้ตอบแต่ละคน  มีข้อดีคือสร้างง่าย  ใช้สะดวก

ลักษณะ ของมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยข้อคำถาม หรือข้อความที่มีตัวเลือกให้ผู้ตอบได้เลือกตอบโดยการประเมินตามระดับความ เข้มของพฤติกรรมที่ตรงกับตัวเลือก มีการกำหนดคะแนนแทนตัวเลือกแต่ละตัว มาตรประมาณค่าแบบนี้แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 แบบ ต่อไปนี้ 1)มาตรประมาณค่าใช้กราฟ 2)  มาตรประมาณค่าใช้คำ  3)  มาตรประมาณค่ารายข้อ 4)  มาตรประมาณค่าเปรียบเทียบ  หรือมาตรประมาณค่าจัดลำดับ ลักษณะมาตรประมาณค่ามีตัวเลือกให้เลือกตอบโดยที่ผู้ตอบต้องจัดลำดับความ สำคัญ  เช่น ในมาตรประมาณค่าประโยชน์ของกิจกรรม ผู้ตอบต้องจัดลำดับว่าตามความคิดเห็นของตนกิจกรรมใดให้ประโยชน์มากกว่า กิจกรรมใด 5)  มาตรประมาณค่าแบบออสกูด  (Osgood  scale) เป็นเครื่องมือวัดทัศนคติแบบหนึ่งมีพื้นฐานว่าทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งอธิบายได้โดยการใช้ภาษา หรือให้นัยได้เป็นหลายมิติ โดยที่แต่ละบุคคลจะให้ความหมายมีระดับแตกต่างกัน  ในแต่ละมิติจึงกำหนดนัยโดยใช้คุณศัพท์สองคำที่มีความหมายตรงกันข้ามให้ผู้ ตอบเลือกตอบว่าจำแนกนัยตรงจุดไหน  การกำหนดนัยให้ผู้ตอบจำแนกทำเป็นสามด้าน  คือ 1) การจำแนกนัยด้านประเมินคุณค่า (evaluation) เช่น  ดี – เลว เป็นคุณ-ให้โทษ 2) การจำแนกนัยด้านพลังหรืออำนาจ (potency) เช่นหนัก – เบา  แข็งแรง – อ่อนแอ 3)  การจำแนกนัยด้านกิจกรรม  (activity) เช่น คล่องแคล่ว – อืดอาด  ขยัน – เกียจคร้าน

               หลักการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด  หรือมาตรวัด เนื่องจากแบบวัด หรือมาตรวัด เป็นเครื่องมือวิจัยประเภทที่ผู้ตอบต้องให้การตอบสนองโดยการเขียนเช่นเดียว กับแบบสอบถาม วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดจึงมีหลักการคล้ายคลึงกับการรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม หลักการเขียนข้อความที่เป็นสิ่งเร้าก็คล้ายคลึงกัน  เช่น  ควรเป็นข้อความที่มีความหมายเพียงประเด็นเดียว  เป็นประโยคเดี่ยว ใช้ภาษาง่าย ไม่ซับซ้อน  เป็นต้น

 2.  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัย

                ตัวนักวิจัย ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการ เพราะนักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ  (Practitioner) ที่สัมผัสและรับรู้ปัญหา วางแผนแก้ไข ลงมือปฏิบัติ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวนักวิจัยจึงสามารถสะท้อนสิ่งที่ปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลการวิจัย ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากตัวนักวิจัยโดยนักวิจัยเอง  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบนี้  อาศัยการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติที่นักวิจัยได้ลงมือปฏิบัติ สามารถออกแบบวิธีการได้หลากหลาย ซึ่งในที่นี้จะเสนอให้เห็นเป็นตัวอย่าง  3  วิธีคือ 1)  การทำตารางบันทึกการปฏิบัติงานส่วนบุคคล 2)  การบันทึกประจำวันหรือเขียนอนุทิน  และ 3)  การบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด