เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน คือ

เพราะเชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ ต้องอาศัยความเชื่อมโยงกันของทุกภาคส่วน CEA ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการ สร้างนิเวศและสนับสนุนบุคลากรสร้างสรรค์ ให้เกิดการเชื่อมโยงกับภูมิปัญญา วัฒนธรรม และภาคการผลิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการจัดการความรู้สหวิทยาการและประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อการคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่าหรือดีขึ้น*

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม*

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ประกอบด้วย 15 สาขา คือ 1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ดนตรี 3) ศิลปะการแสดง 4) ทัศนศิลป์ 5) ภาพยนตร์ 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7) การพิมพ์ 8) ซอฟต์แวร์ 9) การโฆษณา 10) การออกแบบ 11) การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม 12) แฟชั่น 13) อาหารไทย 14) การแพทย์แผนไทย 15) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

*ที่มา: พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561

  • 2561
  • 2554
  • 2551
  • 2550
  • 2548

จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขึ้นเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว

สบร. มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานเฉพาะด้าน โดยคณะกรรมการบริการ สบร. มีมติยุบสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) และให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม ได้แยกออกเป็นองค์การมหาชนใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เหลือเพียง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)

คณะกรรมการบริหาร สบร. ได้ยกเลิกการควบรวม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นหน่วยงานเฉพาะด้าน 2 หน่วยงานเช่นเดิม

คณะกรรมการบริหาร สบร. มีมติให้ควบรวม 4 หน่วยงานเฉพาะด้าน เป็น 2 หน่วยงาน โดยควบรวม “ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ” กับ “สถาบันวิทยาการการเรียนรู้” เป็นสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) และ “สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” กับ “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ” เป็น “สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (สรส.)”

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 พิธีเปิดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบอย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 6 อาคารเอ็มโพเรียมชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ และเปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเปิดให้บริการและดำเนินงานในฐานะหน่วยงานเฉพาะด้านของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ประกอบด้วย 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (สมพช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)

วิสัยทัศน์

องค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ

อำนาจหน้าที่

  1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมให้แก่ชุมชน สาธารณชน และสถาบันการศึกษา
  3. ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่เอื้อต่อบรรยากาศสร้างสรรค์และการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ รวมทั้งพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
  4. พัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
  5. เป็นศูนย์กลางการรวบรวมและพัฒนาข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย และเพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม
  6. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ

  • นางอรรชกา สีบุญเรือง

    ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • อยู่ในระหว่างการสรรหา

    (กรรมการโดยตำแหน่ง)

  • อยู่ในระหว่างการสรรหา

    (กรรมการโดยตำแหน่ง)

  • อยู่ในระหว่างการสรรหา

    (กรรมการโดยตำแหน่ง)

  • นายดนุชา พิชยนันท์

    เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กรรมการโดยตำแหน่ง)

  • นายวรรณชัย บุญบำรุง

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นางสีลาภรณ์ บัวสาย

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นางการดี เลียวไพโรจน์

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายแดน ศรมณี

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายชาคริต พิชญางกูร

    กรรมการและเลขานุการ

คณะอนุกรรมการ

  • คณะกรรมการตรวจสอบ
  • อนุกรรมการกฎหมาย
  • อนุกรรมการบริหารงานบุคคล

ข้อมูลสรุปการประชุมของคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • การเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ ประจำปี 2563
  • การเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ ประจำปี 2562
  • การเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ ประจำปี 2561

อัตราค่าเบี้ยประชุม คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการ

  • อัตราค่าเบี้ยประชุม

  • นายชาคริต พิชญางกูร

    ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายอินทพันธุ์ บัวเขียว

    รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายพิชิต วีรังคบุตร

    รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นางสาวศิริอร หริ่มปราณี

    ผู้ช่วยผู้อำนวยการ

  • นางสาวศิริอร หริ่มปราณี

    รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

  • นางปรียนันท์ มงคลศรี

    ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและการตลาด

  • นายวริทธิ ตีรประเสริฐ

    รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม

  • นางสาวมนฑิณี ยงวิกุล

    ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นายเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร

    ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์

  • นางสาวศิริอร หริ่มปราณี

    รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร

  • นายอินทพันธุ์ บัวเขียว

    รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

  • นางยุวรีย์ พงศาสนองกุล

    หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน

  • นายเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร

    รักษาการหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • นายพิชิต วีรังคบุตร

    รักษาการผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชียงใหม่

  • นายชุตยาเวศ สินธุพันธุ์

    ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขอนแก่น

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
CREATIVE ECONOMY AGENCY (PUBLIC ORGANIZATION)

อาคารไปรษณีย์กลาง เลขที่ 1160 ถนนเจริญกรุง
แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ (66) 2 105 7400
โทรสาร (66) 2 105 7450

Publish date: 12.06.2563

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด