ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

“หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา และได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ซึ่งบนปกสมุดไทยใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398

สยามเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อระเบียบใหม่เข้ามา ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงลงนามในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ เดิมถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นี ในปี 2369 และซึ่งเบาว์ริงใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา 

สนธิสัญญาเบาว์ริงเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศโดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ ทำให้เกิดการค้าเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาด ของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพนัน) นอกจากนี้ สนธิสัญญายังอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยาม ทั้งให้สหราชอาณาจักรจัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ด้วย

สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืออะไร ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นแม่แบบของสนธิสัญญากับประเทศชาติตะวันตกอื่น ๆ ด้วย เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เดนมาร์ก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  

ผลของสนธิสัญญาทำให้คนจีนที่เข้ามาค้าขายในไทย ขอเข้าเป็นคนในบังคับชาติตะวันตก เพื่อต้องการได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนไทยเกิดข้อเสียเปรียบอย่างยิ่ง นำมาสู่การพยายามเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งบางประเทศได้คืนเอกราชทางการศาลใหไทย บางประเทศต่อรองว่าไทย ต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้วเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างเด็ดขาดให้

สู่หนทางพัฒนากฎหมายไทย

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามในเวลานั้นก็เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้เป็นสากล หวังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทวงคืนอธิปไตยทางการศาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการชำระกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายของไทย

ในปี พ.ศ. 2477 ไทยได้จัดทำประมวลกฎหมายสำเร็จ และประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2478 นับต่อไปอีก 5 ปี คือราวปี 2480 รัฐบาลไทยได้เจรจาขอความร่วมมือในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมา นับรวมอายุของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่มีอิทธิพลต่อไทยนับเป็นเวลากว่า 80 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 - 2480 

Sources : www.m-culture.go.th, pridi.or.th, วารสารนิติสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1/2549: ความตกลง FTA กับความชอบด้วยกฎหมาย

เรียบเรียง : อ.อโณทัย

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

เซอร์จอห์น เบาว์ริง (John Bowring)

ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wikiเซอร์จอห์น เบาว์ริง/:Sir_John_Bowring_by_John_King.jpg

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4
สนธิสัญญาเบาว์ริง
     หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศ หรือบนปกสมุดไทย ใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง  หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง  เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา ซึ่งมีสาระสำคัญในการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้า ระหว่างประเทศโดยการสร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่ เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนาม ระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369
สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่าง ชาติเข้ามาทำการค้า เสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตก ได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษ ในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้
สนธิสัญญาเบาว์ริงนี้มีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญา นานกิงซึ่งจีนลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ใน พ.ศ. 2385 และก่อนหน้าสนธิสัญญาเบาว์ริงเพียงหนึ่งปี (พ.ศ. 2397) สหรัฐอเมริกาก็บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคะนะงะวะโดยใช้สนธิสัญญา นานกิงเป็นต้นแบบสนธิสัญญาเบาว์ริงถูกเรียกว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" หรือ "สนธิสัญญาที่เสียเปรียบ" เนื่องจากสยามไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะเจรจาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเกรงกลัวในแสงยานุภาพ ทางทหารของอังกฤษในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้ทำให้รู้สึกท้อถอยที่จะป้องกันมิให้มีการค้ากับชาติตะวันตก โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ระบุว่า ความต้องการสำคัญของอังกฤษก็คือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงคราม กับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล
เมื่อทราบว่าพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์ใหม่ทรงแสดงความต้องการจะทำสนธิสัญญาด้วย รัฐบาลอังกฤษก็ได้ส่งจอห์น เบาว์ริงเข้ามาทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2398 โดยปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมไทย ให้ทูตเชิญพระราชสาส์นสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียเข้ามาถวายพระเจ้าแผ่นดินไทย จึงได้รับการต้อนรับดีกว่าทูตตะวันตกที่ผ่านมาทั้งหมด
จอห์น เบาว์ริง อยู่ในกรุงสยาม 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์เจรจากับ “ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม” 5 พระองค์และคน คือ

  • สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่) ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร ประธานผู้แทนรัฐบาล
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
  • สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย) ผู้สำเร็จราชการพระนคร
  • เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รักษาการในตำแหน่ง สมุหพระกระลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่ายตะวันตก
  • เจ้าพระยารวิวงศ์ พระคลัง และสำเร็จราชการกรมท่า บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก

จอห์น เบาว์ริงกล่าวยกย่องผู้แทนรัฐบาลไทยสองท่าน ว่ามีความเห็นสอดคล้องกับตน ได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท สำหรับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์นั้นได้ตำหนิระบบผูกขาดและการทุจริตของชนชั้นสูงอย่างรุนแรง และออกปากจะช่วยทูตอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา ถึงกับทำให้เบาว์ริงสงสัยว่าจะพูดไม่จริง แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าเป็นคนพูดจริงทำจริง และได้สรรเสริญว่าเป็นบุคคลที่ฉลาดยิ่งกว่าคนอื่นที่พบปะมาแล้ว
ส่วนอีกด้านหนึ่ง เบาว์ริงได้ตำหนิสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาประยุรวงศ์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ผู้มีความคิดในการค้าผูกขาด และคัดค้านข้อเสนอของทูตอังกฤษอยู่เสมอ เบาว์ริงเห็นว่า ทั้งสองคนนี้เองที่ทำให้การเจรจาขอแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ไม่ประสบความสำเร็จ

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4
สาระสำคัญ
สรุปสาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริง มีดังนี้

  • คนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจ ควบคุมของกงสุลอังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว
  • คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่าทุกแห่งของสยาม และสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้ ภายในอาณาเขตสี่ไมล์ (สองร้อยเส้น) แต่ไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวได้ คนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทาง ได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล
  • ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน
    • อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3 ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน
    • สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน (จังกอบ ภาษีป่า ภาษีปากเรือ) หรือภาษีส่งออก
  • พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยามโดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวาง
  • รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

ที่มาของภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/social03/28/03con02_files/03i02.html

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4

ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัย ร.4

หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง หรือในชื่อทางการว่าหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร โดยราชทูต เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษส่งผลต่อไทยอย่างไร

สนธิสัญญาเบาว์ริ่งก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 4 ประการคือ (1) เปิดประตูให้ชาติอื่นๆ ทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับไทย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เท่ากับไทยถูกเอาเปรียบมากขึ้น (2) ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (3) ระบบเจ้าภาษีนายอากรถูกเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี โครงสร้างการคลังเปลี่ยนไป (4) การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากเกิดการ ...

บุคคลสำคัญของไทยในข้อใดมีบทบาทในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่) ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร ประธานผู้แทนรัฐบาล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมเจรจากับคณะทูตอังกฤษ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย) ผู้สำเร็จราชการพระนคร

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลต่อระบบใดของไทย

สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจาก “ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” ให้เข้าสู่ “ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด” ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกิจจะลักษณะและมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสยามประเทศก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก “การค้าแบบ ...