ยาสีฟันที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้” เป็นองค์ประกอบข้อความโฆษณาใด

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

บการแปรงฟัน เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่คุณต้องใส่ใจเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับแปรงฟันจึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องใส่ใจและควรเลือกใช้แบบที่เหมาะสมกับสุขภาพเหงือกและฟันของตนเอง

ยาสีฟัน (Toothpaste) ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ลองพลิกกล่อง หรือหลอดยาสีฟันที่มีอยู่ขึ้นมาดูว่า มีส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยดูแลสุขภาพฟันได้อย่างครบถ้วนแล้วหรือยัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

รักษารากฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2880 บาท ลดสูงสุด 3360 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

ยาสีฟันที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้” เป็นองค์ประกอบข้อความโฆษณาใด

ส่วนประกอบสำคัญของยาสีฟัน

ส่วนประกอบหลักๆ ที่มีในยาสีฟันทั่วไป ได้แก่ สารขัดถู สารทำให้เกิดฟอง สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง สารลดแรงตึงผิว สารปรุงแต่งกลิ่น รส และสี

ส่วนสารประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขจัดคราบสกปรก คราบจุลินทรีย์ ลดโอกาสทำให้เกิดฟันผุได้ ได้แก่

1. สารฟลูออไรด์ (Fluoride)

สารฟลูออไรด์ คือ สารป้องกันฟันผุในยาสีฟัน โดยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ควรมีปริมาณฟลูออไรด์ประมาณ 1,000-1,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm)

การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ถือเป็นวิธีดูแลรักษาฟันที่องค์การอนามัยโลกใช้เป็นกลวิธีหลักเพื่อป้องกันฟันผุ โดยรูปแบบของฟลูออไรด์ที่ถูกใช้ในยาสีฟัน ได้แก่

  • โซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride)
  • โซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต (Sodium monofluorophosphate)
  • แสตนนัสฟลูออไรด์ (Stannous fluoride)

อย่างไรก็ตาม ฟลูออไรด์มีข้อควรระวังสำหรับใช้ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ซึ่งควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน

มิฉะนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นฟันตกกระ (Dental fluorosis) ของฟันแท้ ซึ่งเป็นความผิดปกติของผิวฟันที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ทางการกินมากเกินไป ในขณะที่ฟันแท้ยังไม่ขึ้นสู่ช่องปาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

รักษารากฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2880 บาท ลดสูงสุด 3360 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

ยาสีฟันที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้” เป็นองค์ประกอบข้อความโฆษณาใด

2. สารไตรโคลซาน (Triclosan)

สารไตรโคลซาน คือ สารยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Antibacteria) ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย เช่น สบู่ ยาสีฟัน

สารไตรโคลซานมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดคราบแบคทีเรีย (plaque) ฟันผุ รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ (Periodontitis) หรือโรคเหงือก (Gum disease)

อย่างไรก็ตาม บางประเทศก็มีกฎห้ามใช้ไตรโคลซาน เนื่องจากมีบางงานวิจัยพบว่า ไตรโคลซานในขนาดสูงอาจส่งผลเสียต่อร่างกายโดยทำให้ปริมาณฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายลดลง ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยถึงข้อมูลเหล่านี้ต่อไป

3. สารฟอกฟันขาว (Whitening)

โดยปกติ สารฟอกฟันขาว หรือสารไวท์เทนนิ่ง จะเป็นส่วนประกอบของสารขัดฟันที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติในการขจัดคราบสกปรกได้ดีขึ้น ซึ่งหากใช้มากเกินไปก็อาจทำให้ฟันสึกได้ โดยเฉพาะหากใช้ร่วมกับแปรงแข็ง

สารที่ช่วยขัดฟันอาจเป็นสารแคลเซียมไพโรฟอสเฟท (Calcium pyrophosphate) สารแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) หรืออาจเป็นส่วนผสมของสารซิลิกา (Silica) หรือสารอะลูมิเนียม (Aluminium)

ยาสีฟันบางชนิดอาจใส่สารฟอกฟันขาวที่มีคุณสมบัติช่วยเปลี่ยนสีเนื้อฟันได้เล็กน้อย เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หรือ คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) มาด้วย แต่หากใช้ในปริมาณมากและต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการเสียวฟันได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

รักษารากฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2880 บาท ลดสูงสุด 3360 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

ยาสีฟันที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้” เป็นองค์ประกอบข้อความโฆษณาใด

4. สารลดอาการเสียวฟัน (Sensitivity)

ผู้ใช้ยาสีฟันบางรายอาจเผชิญอาการเสียวฟันระหว่างแปรงฟัน ทำให้มีการใส่สารลดอาการเสียวฟันเข้ามาในยาสีฟันบางยี่ห้อ

อาการเสียวฟันขณะแปรงฟัน มักมีสาเหตุมาจากอาการเหงือกร่น (Gum recession) หรือฟันสึก ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเสียวฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หากเป็นการเสียวฟันจากฟันผุ ฟันสึกที่ลึกต้องอุด ฟันแตก ฟันร้าว หรือโรคเหงือก จะได้ทำการรักษาทันท่วงที

สารลดอาการเสียวฟันที่นิยมใช้ในยาสีฟันจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ 1 ได้แก่ สารโพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate) และโพแทสเซียมซิเตรต (Potassium citrate) ซึ่งสาร 2 ตัวนี้จะไปลดการทำงานของเส้นประสาทที่กระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟันขึ้น
  • กลุ่มที่ 2 ได้แก่ สารสตรอนเทียม (Strontium) สารอาร์จินีน (Arginine) และสารแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกต (Calcium sodium phosphosilicate) หรือเรียกอีกชื่อว่า “สารโนวามิน (NovaMin)”

สารเหล่านี้จะทำงานโดยไปยับยั้งการกระตุ้นที่บริเวณท่อเนื้อฟัน (Dentinal tubules) 

ประเภทของยาสีฟัน

ควรเลือกใช้ยาสีฟันที่เหมาะสมกับสุขภาพช่องปาก และถูกวัตถุประสงค์การใช้ สามารถจำแนกประเภทของยาสีฟันได้ต่อไปนี้

1. ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

เป็นยาสีฟันที่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อป้องกันปัญหาฟันผุ โดยสูตรยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ซึ่งเป็นที่นิยมคือ สูตรที่มีสารฟลูออไรด์เข้มข้น 1,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)

ความถี่ในการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์คือ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรแปรงนานประมาณ 2-3 นาทีให้ทั่วทั้งปาก ให้สารฟลูออไรด์เข้าไปสัมผัสกับผิวฟันและซอกฟัน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สารฟลูออไรด์มีข้อควรระมัดระวังในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ดังนั้นกลุ่มผู้ใช้ยาสีฟันชนิดนี้ที่เป็นเด็กเล็ก ควรได้รับการดูแลจากผู้ปกครองในระหว่างใช้ด้วย เพื่อไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน รวมทั้งควรเก็บยาสีฟันให้พ้นมือเด็ก

สามารถจำแนกระดับของปริมาณยาสีฟันที่บีบลงไปบนแปรงสีฟันได้ตามอายุของเด็กดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุ 6 เดือน -3 ขวบ ควรบีบยาสีฟันแค่แตะเบาๆ บนแปรงสีฟัน
  • เด็กอายุ 3-6 ขวบ ควรบีบยาสีฟันขนาดเท่ากับความกว้างของแปรงสีฟัน
  • เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ควรบีบยาสีฟันยาวเท่ากับความยาวของแปรงสีฟัน

2. ยาสีฟันสมุนไพร

ส่วนมากมักใช้เพื่อลดอาการเหงือกอักเสบ หรือบำรุงสุขภาพเหงือก แต่มักไม่ได้ช่วยป้องกันฟันผุได้มากเท่ายาสีฟันชนิดอื่น

ข้อควรระวังของยาสีฟันประเภทนี้คือ บางยี่ห้อที่ไม่มี อย. อาจมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน มีสารปนเปื้อน เน้นโฆษณาจุดเด่นของสมุนไพรแต่ละชนิด แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและความสะอาดของวัตถุดิบ

ควรเลือกซื้อยาสีฟันที่มีกล่องผลิตภัณฑ์มีตราสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อความปลอดภัยในการใช้

3. ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน

เป็นยาสีฟันรักษาอาการเสียวฟันโดยเฉพาะซึ่งมักเกิดจากอาการเหงือกร่น คอฟันสึก ซึ่งมักเกิดจากการแปรงฟันผิดวิธี หรือใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งเกินไป

ยาสีฟันประเภทนี้มักประกอบไปด้วยสารบางชนิดที่ช่วยลดอาการเสียวฟันได้โดยเฉพาะ เช่น โซเดียมซิเตรต (Sodium citrate) โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate)

นอกจากใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟันแล้วยังควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำด้วย

4. ยาสีฟันสำหรับลดและควบคุมหินปูน

เป็นยาสีฟันสำหรับลดการเกิดหินปูนบนเนื้อฟันผ่านสารประกอบในยาสีฟันบางชนิด เช่น สารไตรโคลซาน ไพโรฟอสเฟต (Pyrophosphates) แต่ข้อควรระวังสำหรับยาสีฟันประเภทนี้คือ อาจเกิดอาการเสียวฟัน หรือแพ้สารในยาสีฟันได้

5. ยาสีฟันสำหรับเพิ่มสีฟันขาว

เป็นอีกยาสีฟันที่ได้รับความนิยม เพราะนอกจากสุขภาพฟันที่ดี เราทุกคนย่อมไม่อยากให้เนื้อฟันเป็นคราบ หรือหมองไม่น่ามอง ยาสีฟันหลายยี่ห้อจึงคิดค้นสูตรยาสีฟันเพื่อช่วยให้เนื้อฟันมีสีขาวมากขึ้น

เพราะในชีวิตประจำวันของเรา มีหลายปัจจัยที่ทำให้สีฟันหมองลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีสีเข้ม หรือการสูบบุหรี่ก็ทำให้สีฟันมีคราบหมองลงได้ ซึ่งยาสีฟันประเภทนี้จะช่วยขจัดคราบเหล่านี้ออกไป

แต่ไม่ควรใช้ยาสีฟันประเภทนี้บ่อย เพราะอาจจะทำให้ผิวฟันสึกกร่อนลง

นอกจากนี้ทันตแพทย์อาจจ่ายยาสีฟันประเภทนี้แก่ผู้ที่ฟอกสีฟัน เพราะต้องใช้ยาสีฟันพิเศษในการดูแลไม่ให้เนื้อฟันที่เพิ่งฟอกกลับไปหมองคล้ำอีกครั้ง

ปริมาณการบีบยาสีฟันที่เหมาะสมในผู้ใหญ่

นอกจากปริมาณยาสีฟันสำหรับเด็กที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ใหญ่หลายคนอาจสงสัยว่า ควรบีบยาสีฟันในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม

หลายคนอาจเข้าใจว่า ต้องบีบยาสีฟันให้มากๆ มีฟองในปากมากๆ และต้องได้รสชาติยาสีฟันขณะแปรงให้มากที่สุด จึงจะแสดงว่า "ฟันสะอาดแล้ว" ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริง เนื่องจากการบีบยาสีฟันที่เหมาะสมในผู้ใหญ่คือ บีบยาสีฟันให้ความยาวเท่ากับความยาวของขนแปรงสีฟันที่ใช้ก็พอ 

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟันสะอาดได้นั้นไม่ใช่ยาสีฟัน แต่เป็นแปรงสีฟันและการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ทั้งนี้แปรงสีฟันที่เหมาะสมควรมีเนื้อแปรงนุ่ม ขนแปรงมน ไม่แหลมคม หรือแข็งจนทำให้เหงือกบาดเจ็บ 

เพียงเท่านี้ สุขภาพฟันของคุณก็จะแข็งแรงขึ้นและไม่สิ้นเปลืองยาสีฟันจนเกินไปด้วย

อีกสิ่งสำคัญที่คุณต้องสังเกตก่อนเลือกซื้อยาสีฟันคือ ไม่ควรซื้อยาสีฟันที่วัน เดือน ปีที่ผลิตนานเกิน 3 ปี ระมัดระวังไม่ใช้ยาสีฟันที่มีสารทำให้เกิดอาการแพ้

หากมีปัญหาสุขภาพช่องปากด้านใดและต้องการรักษาเป็นพิเศษ ให้ปรึกษาทันตแพทย์ว่า ควรเลือกใช้ยาสีฟันแบบไหนดี หมั่นตรวจฟันเป็นประจำ และอย่าลืมแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขอนามัยช่องปากสะอาด มีเหงือกและฟันที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่กับคุณไปนานๆ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน