โครงสร้างใดที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

1.พันธุกรรม

2.โภชนาการ  เช่น ถ้าขาดวิตามิน A และ C จะลดการทำงานของฟาโกไซต์และ T-Cell

3.ยาบางชนิด  เช่น ยาพวก คอร์ติโคสเตอรอยด์ จะห้ามการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างไม่จำเพาะและเจาะจง

 1.ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด Innate immunity

                คือ เป็นการป้องกันและกำจัดแอนติเจนที่มีมาก่อนหน้าที่แอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย เช่น  การขับเหงื่อ  เหงื่อทางผิวหนัง  โดยขนจมูกจะสามารถช่วยกรองแอนติเจนต่างๆ Lysozyme ในน้ำลาย น้ำตา น้ำมูก ตลอดจนปฏิกิริยารีเฟลกซ์ต่างๆ คือ การไอ และการจาม     น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา มีหน้าที่ชะล้างเชื้อโรคออกไปจากเยื่อบุ อีกทั้งในสารคัดหลั่งเหล่านี้ยังมี enzyme ที่มีคุณสมบัติในการย่อยทำลายเชื้อโรคอย่างอ่อนๆ อีกด้วย จะเห็นว่าเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำตาจะหลั่งน้ำตาเป็นปริมาณมากออกมาขับไล่สิ่งแปลกปลอมออกไป หรือเมื่อสิ่งแปลกปลอม สารระคายเคืองเข้าจมูกหรือเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะหลั่งน้ำมูกออกมาก และจามบ่อย เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมเช่นเดียวกันกัน        การไอช่วยขับไล่สิ่งแปลกปลอมที่เราสำลักเข้าไปในหลอดลมและปอด หากสิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการระคายเคืองมาก เราก็ยิ่งไอนาน ไอจนกว่าจะหลุดออกมา ในผู้สูงอายุระบบต่างๆทำงานเฉื่อยลงรวมถึงการไอด้วย ผู้สูงอายุจึงเป็นปอดอักเสบจากการสำลักได้บ่อย ในผู้ที่จมน้ำก็เช่นกัน ถ้าว่ายน้ำธรรมดา สำลักน้ำเพียงเล็กน้อยมักไม่มีปัญหา สายเสียงและฝาปิดกล่องเสียงจะปิดทันทีเพื่อป้องกันน้ำเข้าไปในหลอดลมเพิ่ม แต่ในกรณีจมน้ำระบบนี้เสียไปเมื่อผู้จมน้ำนานจนหมดสติ น้ำจึงเข้าไปในปอดในปริมาณมาก และถ้าเป็นน้ำครำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคนานาชนิด ทั้งทรงกลม (cocci) ทรงแท่ง (basilli) เชื้อที่ต้องอาศัยออกซิเจน (aerobic bacteria) และไม่อาศัยออกซิเจน (anaerobic bacteria) เชื้อรา โปรโตซัว เกินขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันจัดการไหว ต้องกระหน่ำยาต้านจุลชีพหลายขนานอีกแรง จึงปลอดภัยจากปอดอักเสบรุนแรงจากแบคทีเรียในขั้นต้น และไม่ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจนช็อก

         ความเป็นกรดของสารคัดหลั่งในช่องคลอดช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค

         ความแรงของกรดในกระเพาะอาหารที่ฆ่าเชื้อโรคแทบไม่เหลือ ยกเว้นเชื้อทนกรดเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

นอกจากนี้ความสมดุลของเชื้อโรคนานาชนิดที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยังช่วยป้องกันเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากจนเป็นก่อโรค

2.ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ Acquired immunity

        คือ เป็นภูมิคุ้มกันก่อขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแอนติเจน

        -ภูมิคุ้มกันที่ก่อเอง Active Immunization เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการนำสารที่เป็นแอนติเจนทำให้อ่อนกำลังลง ไม่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ มาฉีด มากิน หรือนำมาทา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาต่อต้านแอนติเจน เช่น

-วัคซีน ทำมาจากเชื้อโรคที่อ่อนกำลังลง เช่น ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค วัณโรค โปลิโอ หัด คางทูม

-ทอกซอยด์ ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก

          -ภูมิคุ้มกันที่รับมา Passive Immunization  เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้จากแอนติบอดีท่าสร้างจากร่างกายของสัตว์อื่น มาใช้ในการป้องกันเชื้อโรค

-ซีรัม หรือเซรุ่ม   ส่วนน้ำใสของน้ำเลิอด ที่ได้รับจากการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีมาฉีดให้กับผู้ป่วย  เช่น คอตีบ และ พิษงู

-น้ำนมที่ทารกได้จากการดูดน้ำนมแม่ และภูมิคุ้มกันที่ทารกในครรภ์ได้รับผ่านทางรก

- B lymphocyte เมื่อสัมผัสกับ antigen แล้ว จะเปลี่ยนไปเป็น plasma cell มีหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำเรียกว่า humoral immunity (HI) คือภูมิต้านทาน (antibody) ที่จำเพาะต่อเชื้อนั้น ประกอบด้วยโปรตีน globulin ชนิดต่างๆ เรียกว่า immunoglobulin มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ IgG, IgA, IgM, IgD, IgE ทำหน้าที่จับติดกับ antigen แล้วทำลายด้วยวิธีต่างๆที่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่ภูมิต้านทานเหล่านี้จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต เพราะมีเซลล์ที่แปรสภาพเป็นเซลล์ความจำ (memory cell) ทำหน้าที่จำเชื้อที่เคยพบแล้ว เมื่อเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เซลล์ความจำก็จะระดมพลเพื่อสร้าง immunoglobulin ออกมาในปริมาณมากทันทีภายในสัปดาห์แรกที่ติดเชื้อ จึงสามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปโดยไม่ทันก่อโรค ต่างจากการติดเชื้อในครั้งแรกที่ระดับภูมิต้านทานขึ้นในสัปดาห์ที่ 2

 - T lymphocyte เริ่มงานเมื่อได้รับสัญญาณจาก APC มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ เรียกว่า cell-mediated immunity (CMI) ที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ

         T helper หรือ CD4 มีหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เมื่อได้รับสัญญาณจาก APC มันจะกลายเป็น sensitized T cell ที่มีอานุภาพสูง หลั่งสารมากมายหลายชนิดออกมาจากเซลล์เรียกว่า cytokines เพื่อกระตุ้นเซลล์ชนิดต่างๆในระบบภูมิคุ้มกันให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนระดมพล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคเหมือนทหารที่ฮึกเหิมพร้อมออกศึก

         T suppressor หรือ CD8 มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งยับยั้งการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันเมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายต่อร่างกายจากการทำงานที่เกินเลยของระบบภูมิคุ้มกัน

         natural killer cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก

จะเห็นว่าเซลล์เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างดีเยี่ยม เพื่อรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันไม่มากไปหรือน้อยไปจนเกิดความเสียหายตามมา

สารใดในกระแสเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกัน หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรค

แอนติบอดี เป็นส่วนที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายจึงเรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) หรือ Ig ซึ่งมี5 ชนิด คือ IgG, IgA, IgM, IgD และ IgE. พบ IgG ในกระแสเลือดมากที่สุด ภูมิต้านทานที่หลั่งออกมานี้ จะหมุนเวียนในร่างกายและทําหน้าที่ใน การจับสิ่งแปลกปลอมที่มีลักษณะเหมือนแอนติเจน

เซลล์ชนิดใด ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคและสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย

ที-เซลล์ เป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการหาเซลล์ที่ติดเชื้อหรือเชื้อโรคต่าง ๆ และกำจัดมัน มันทำหน้าที่นี้ได้โดยการใช้โปรตีนที่อยู่บนพื้นผิวของมันเองไปยึดเกาะกับโปรตีนบนพื้นผิวของสิ่งแปลกปลอม

เซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ทำหน้าที่ใด

ก.เซลล์เม็ดเลือดขาวในกลุ่มฟาโกไซต์ (phagocyte) คือ เม็ดเลือดขาวที่มีคุณสมบัติในการเก็บกลืนกินสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้แก่ นิวโทนฟิล อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล และโมโนไซต์ เป็นต้น

เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างสารชนิดใดมาทำลายเชื้อโรค

นิวโทรฟิลมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราและจุลชีพอื่นๆที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย เม็ดเลือดชนิดนี้เป็นเหมือนด่านแรกของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหากร่างกายได้รับเชื้อโรค ซึ่งถ้ามีการทำงานหรือเกิดการตายเกิดขึ้นจะแสดงออกมาในรูปของหนอง

สารใดในกระแสเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกัน หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรค เซลล์ชนิดใด ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคและสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ทำหน้าที่ใด เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างสารชนิดใดมาทำลายเชื้อโรค เซลล์ที่ควบคุมการทํางานของเซลล์บี เซลล์ทีผู้ช่วย และเซลล์ทีทําลายสิ่งแปลกปลอม เซลล์ทีผู้ช่วย ทําหน้าที่อะไร ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ มีลักษณะอย่างไร ระบบภูมิคุ้มกันคืออะไร โครงสร้างของระบบภูมิคุ้มกัน กลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม แบบไม่จําเพาะ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ม 4