ภูมิภาค ใด ใน โลก นิยม ใช้ กังหัน ลม ผลิต กระแส ไฟฟ้า มาก ที่สุด

ภูมิภาค ใด ใน โลก นิยม ใช้ กังหัน ลม ผลิต กระแส ไฟฟ้า มาก ที่สุด

พลังงานลม ใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม

“ลม” เป็นแหล่งพลังงานสะอาดชนิดหนึ่งที่นานาประเทศมุ่งพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากลมมีศักยภาพในการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

การนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ “กังหันลม” ในการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญพลังงานลม ใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม หากจะผลักดันการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมอย่างยั่งยืนนั้น การพึ่งพาตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ

ภูมิภาค ใด ใน โลก นิยม ใช้ กังหัน ลม ผลิต กระแส ไฟฟ้า มาก ที่สุด

การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมมีกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีกำลังการติดตั้งรวมเกิน 487 กิกะวัตต์ ซึ่งพลังงานทดแทนประเภทพลังงานลมนี้สามารถสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีเป้าหมายว่าในปี พ.ศ.2579 จะใช้พลังงานลมเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.25 ของพลังงานทดแทนทั้งหมด หรือ คิดเป็น 3002 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งตลอดระยะเวลาการเติบโตของอุตสาหกรรมกังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างพลังงานลมช่วงปี พ.ศ.2555-2559 พบว่ามีการสร้างพลังงานลมเพียง 507 MW น้อยกว่าเป้าหมายถึงเกือบ 6 เท่า ดังนั้นโอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้พลิตพลังงานลมในประเทศไทยยังมีอยู่มาก

อย่างไรก็ดีอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวในอุตสาหกรรมกังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก ดังนั้นหากภาครัฐมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมกังหันลมผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ การส่งเสริมอุตสาหกรรมข้างเคียงที่อยู่ในโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานลมก็มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยสร้างประโยชน์แก่ประเทศได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความมั่นคงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนของไทยอย่างยั่งยืน

ภูมิภาค ใด ใน โลก นิยม ใช้ กังหัน ลม ผลิต กระแส ไฟฟ้า มาก ที่สุด
รองศาสตราจารย์ ดร.บัลลังก์ เนียมมณี

“โครงการการศึกษาโซ่คุณค่าของกังหันลมผลิตไฟฟ้าจึงเกิดขึ้นเพื่อค้นหาส่วนที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยอย่างคุ้มค่า” ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.บัลลังก์ เนียมมณี เป็นหัวหน้าโครงการ ได้ทำการประเมินและวิเคราะห์โซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมมกังหันลมผลิตไฟฟ้า ทั้งยังวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ ความคุ้มค่าทางสังคม เพื่อต้องการหาแนวทางให้ประเทศไทยสามารถเป็นฐานแห่งการผลิตส่วนประกอบกังหันลมผลิตไฟฟ้า ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมที่มีความเป็นไปได้ในการสนับสนุนตามห่วงโซ่คุณค่าได้ 3 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมติดตั้งและบำรุงรักษา อุตสาหกรรมผลิตเสา และอุตสาหกรรมผลิตใบพัด

โดยจากข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์เอกสาร สัมนาย่อย สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวของ พบว่า อุตสาหกรรมการติดตั้งและบำรุงรักษา และ อุตสาหกรรมผลิตเสากังหันลม เป็นอุตสาหกรรมที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นโดยทันที เนื่องจากมีศักยภาพและมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งได้เริ่มดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว แม้ว่าในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้นจะไม่ได้มีมูลค่ามากเท่ากับอุตสาหกรรมผลิตใบพัดกังหันลมไฟฟ้า แต่ก็ควรที่จะได้รับการสนับสนุนความเข้มแข็งและความมั่นคงด้านพลังงาน

นอกจากนี้ยังมีนโยบายสนับสนุนและแนวทางการส่งเสริมให้ประเทศสามารถเป็นฐานการผลิตส่วนประกอบกังหันลมผลิตไฟฟ้า โดยจะแบ่งกลุ่มนโยบายเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.นโยบายที่ควรเร่งดำเนินการ เช่น ทบทวนมาตรการสนับสนุนทางภาษี ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร/อุปกรณ์ และสร้างมาตรการสนับสนุนการลงทุนพัฒนาด้านบุคลกร

2.นโยบายการทบทวนและการกำหนวดมาตรฐานในอุตสาหกรรม เช่น ระยะเสาลม ราคารับซื้อไฟฟ้า การใช้กังหันลมความเร็วต่ำ การใช้อุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าและแผนการเปิดประมูลรอบถัดไป

3.นโยบายสร้างฐานข้อมูลรวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูล การรับข้อมูลต่าง ๆ และมาตรการกำหนดให้มีการผลิตเสาในประเทศ

4.นโยบายสร้างความเข้มแข็งแก่อุตสาหกรรม เช่น การปรับปรุงและทบทวนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเป้าหมายด้านพลังงานทดแทน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยไปยังต่างประเทศ

ภูมิภาค ใด ใน โลก นิยม ใช้ กังหัน ลม ผลิต กระแส ไฟฟ้า มาก ที่สุด

สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบัน (ข้อมูลปี พ.ศ.2562) มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 26 เมกะวัตต์ โดยมีกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่สำคัญ 2 แห่ง ได้แก่  กังหันลมแหลมพรหมเทพ จ. ภูเก็ต กำลังผลิต 0.19235 เมกะวัตต์  และกังหันลมลำตะคอง จ. นครราชสีมา กำลังผลิต 2.50 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคองระยะที่ 2 รวมกำลังการผลิต 24 เมกะวัตต์ โดยโครงการดังกล่าวจะใช้กับ Wind Hydrogen Hybrid System ควบคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการเก็บและผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้กักเก็บไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น

เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย

“การศึกษาโซ่คุณค่าของกันหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อค้นหาส่วนที่สามารถผลิตได้ในประเทศอย่างคุ้มค่า”

หัวหน้าโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.บัลลังก์ เนียมมณี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สนับสนุนการวิจัยโดย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)