ข้อใดเป็น ขั้น ตอน สุดท้าย ของการรับสาร

๑.เพื่อการนำไปใช้ เช่น เพื่อข้อมูลที่ได้มาเขียนเรียงความ เพื่อช่วยทบทวนความรู้ ความคิด และความจำ เพื่อนำใจความสำคัญไปใช้ในการติดต่อสื่อสาร ช่วยให้การฟังและการดูได้ผลดียิ่งขึ้น                                              

๒.เพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การรับสารเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครียด ไม่เน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิมากนักในการรับสาร                     

๓.เพื่อความจรรโลงใจ ได้แก่ การรับสารที่ก่อให้เกิดสติปัญญาหรือช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้รับสารต้องมีวิจารณญาณที่จะเชื่อหรือปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง                                              

๔.เพื่อประเมินผลและวิจารณ์ ได้แก่ การรับสารที่ต้องอาศัยความรู้อย่างละเอียด ถูกต้องในเรื่องที่จะประเมินหรือวิจารณ์ นอกจากนั้น ต้องมีความเป็นธรรม ไม่มีอคติต่อผู้ส่งสารหรือตัวสาร                                     กระบวนการฟังและการดู มี ๖ ขั้นตอนดังนี้ 

๑.ขั้นได้ยินหรือเห็น เป็นขั้นต้นของการรับสาร เมื่อมีคลื่นเสียงมากกระทบกับโสตประสาทหรือได้เห็นภาพที่ปรากฏอยู่ในสายตา                                      

๒.ขั้นพิจารณาแยกแยะเสียงที่ได้ยินหรือภาพที่เห็น ว่าเป็นเสียงอะไรหรือภาพอะไร คน สัตว์ สิ่งของ หรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ                                                                                          

๓.ขั้นยอมรับ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการพิจารณาแล้ว ผู้ฟังหรือผู้ดูอาจยอมรับหรือปฏิเสธว่าข้อความที่ได้ยินหรือภาพที่เห็น สื่อความหมายได้หรือไม่                                          

๔.ขั้นตีความ เป็นขั้นที่ผู้ฟังหรือผู้ดูแปลความหมายหรือตีความหมายของสิ่งที่ได้ยินหรือได้เห็นให้ตรงกับจุดประสงค์ของผู้ส่งสารที่ต้องการสื่อถึงผู้รับสาร เนื่องจากสารที่ส่งมาอยู่ในรูปของความหมายโดยนัย                    

๕.ขั้นเข้าใจ เป็นขั้นที่ผู้ฟังหรือผู้ดูทำความเข้าใจกับข้อความที่ได้ยินหรือภาพที่ได้เห็น                       

๖.ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่พิจารณาจนเข้าใจ อย่างถ่องแท้แล้ว ผู้ฟังและผู้ดูก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง               

   หลักการฟังและการดูที่ดี ได้แก่ ๑.ฟังและดูให้ตรงจุดประสงค์ จะทำให้ผู้รับสารรู้จักเลือกฟังหรือดูในสิ่งที่ต้องการและทำให้ตั้งใจรับสารเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด                                ๒.ฟังและดูด้วยความพร้อม คือ ต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา                    

๓.ฟังและดูอย่างมีสมาธิ คือ มีความตั้งใจ จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟังหรือดู ไม่ฟุ้งซ่านหรือคิดถึงเรื่องอื่น              

๔.ฟังและดูด้วยความกระตือรือร้น คือ มีความสนใจ เห็นประโยชน์หรือคุณค่าของเรื่องที่ฟังหรือดู               

๕.ฟังและดูโดยไม่มีอคติ คือ ไม่มีความลำเอียง ซึ่งความลำเอียงเกิดจากความรัก ความโกรธ ความหลง                

๖.ฟังและดูโดยใช้วิจารณญาณ จะนำสิ่งที่ฟังหรือดูมาประเมินว่ามีประโยชน์หรือน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน                 

   หลักการฟังและดูสารจากสื่อมวลชน ได้แก่ ๑.การเลือกสื่อที่จะฟังและดู ในปัจจุบันที่สื่อมากมายได้รับการคัดเลือกเพื่อนำมาใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร วิทยุ เป็นสื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด สามารถเข้าถึงทุกชุมชนในเวลาอันรวดเร็ว ราคาถูก โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ซีดี เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่อาจมีไม่ทั่วถึงทุกชุมชน เนื่องจากราค่อนข้างแพง และยังเป็นสื่อที่มองเห็นภาพ  สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่กำลังได้รับความนิยมกันในปัจจุบันแต่ก็มีใช้เฉพาะกลุ่มบุคคลเท่านั้น                 

๒.การเลือกเรื่องหรือรายการที่จะฟังและดู กลุ่มผู้ฟังมีความสนใจเรื่องราวที่จะฟังแตกต่างกัน เช่นสนใจฟังเพลง ละคร ข่าวสาร สารคดี ตลอดจนการวิเคราะห์เหตุการณ์บ้านเมือง                         

๓.มีวิจารณญาณ สื่อมวลชนต่างๆ นำเสนอรายการมากมายหลายรูปแบบ ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณ แยกแยะว่ารายการใดมีประโยชน์ เหมาะสมกับเพศ  วัย แยกแยะองค์ความรู้ ข้อเท็จจริง                                 

๔.การแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง รายการวิทยุหรือโทรทัศน์บางรายการ ผู้ฟังและผู้ดูสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารได้ดังนั้นหากมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ควรแสดงความคิดเห็นบ้างตามโอกาส           มารยาทในการฟังและการดู มีดังนี้ ๑.ไปถึงสถานที่จัดงานก่อนเวลาอย่างน้อย ๑๕ นาที เพื่อจะได้ไม่รบกวนผู้อื่นขณะฟังและดูการแสดง และควรนั่งตามลำดับก่อนหลัง                                 

๒.แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ถ้างานที่จัดเป็นทางการ ควรสวมเสื้อผ้าที่สุภาพเรียบร้อย ไม่สวมรองเท้าแตะ             

๓.ให้เกียรติผู้พูดหรือผู้แสดงเมื่อมีการแนะนำตัวด้วยการปรบมือ และปรบมืออีกครั้งเมื่อมีการพูด                           

๔.ตั้งใจฟังหรือดูการแสดงด้วยอาการสำรวม ไม่พูดคุยหรือวิจารณ์เสียงดัง เพราะเป็นการรบกวนผู้อื่น                

๕.รักษาความสงบ ไม่รบกวนสมาธิผู้อื่นด้วยการกระทำใดๆ                                              

๖.ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่นขณะฟังหรือดูการแสดง                               

๗.ควรปิดเครื่องมือสื่อสาร หากมีธุระจำเป็นควรใช้ระบบฝากข้อความ                               

๘.สบตาผู้พูดเพื่อแสดงความสนใจ ไม่ควรทำกิจกรรมอย่างอื่น                                                                                                                                                                                                                    ส่วนประกอบของข้อความที่ฟังและดู ได้แก่ ๑.ใจความ หมายถึง ข้อความที่สำคัญที่สุดของเรื่องจะตัดออกไม่ได้ ถ้าตัดออกจะทำให้สาระสำคัญของเรื่องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม                             ๒.พลความ หมายถึง ข้อความที่มีความสำคัญน้อยกว่าใจความ มีหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนขึ้น                     

   ขั้นตอนการสรุปความจากการฟังและการดู ได้แก่ ๑.ขั้นรับสารให้เข้าใจ เมื่อฟังและดูเรื่องใดแล้วต้องทำความเข้าใจ จับประเด็นสำคัญหรือแนวคิดสำคัญของเรื่องที่ผู้ส่งสารรู้เรื่อง เข้าใจ ว่าเป็นเรื่องอะไร    

๒.ขั้นคิดสรุปความ เพื่อให้เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องทั้งหมด ด้วยการตั้งคำถามต่อจากการจับประเด็นสำคัญของเรื่องว่า เรื่องนั้นเกี่ยวกับใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยสรุปใจความสำคัญ          ๓.ประโยชน์หรือข้อคิดที่ได้จากการฟังและดู หลังจากสรุปเรื่องทั้งหมดได้แล้ว เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการฟังและดูยิ่งขึ้น ผู้รับสารควรติดต่อว่าเราได้อะไรจากเรื่องนั้นบ้าง จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร                   

๔.ขั้นเขียนสรุป นำใจความสำคัญมาเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของผู้สรุปเองอย่างสั้นๆ           

   การสรุปความจากสารประเภทต่างๆ ได้แก่ ๑.สารที่ให้ความรู้ มีทั้งความรู้ทั่วไปที่ได้ยินได้เห็นในชีวิตประจำวัน การทำงานจากบุคคลรอบข้าง ข่าวสาร สารคดี บทวิเคราะห์ข่าว พิจารณาให้รอบคอบ            ๒.สารที่ให้ความบันเทิง จะไม่เน้นที่ความสำคัญของเนื้อหาสาระ จะเน้นที่ความสนุกสนาน เพลิดเพลินแก่ผู้รับสาร                                                                       

๓.สารที่ให้ความจรรโลงใจ ก่อให้เกิดสติปัญญา หรือช่วยยกระดับจิตใจของผู้รับสารให้สูงขึ้น ผู้รับสารต้องมีวิจารณญาณที่เชื่อหรือปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง                                          

๔.สารที่โน้มน้าวใจ จะออกมาในลักษณะชักชวนให้เห็นดีเห็นงามหรือให้โอนอ่อนตาม ให้เชื่อหรือปฏิบัติตามในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ ผู้ฟังหรือผู้ดูสารต้องมีวิจารณญาณให้รอบคอบ เช่น การดูโฆษณาสินค้า