ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดองค์การที่ edwin e.fippo เสนอให้มีความสัมพันธ์มูลฐาน

           ความหมายของการจัดองค์การ

มีผู้ให้คำนิยาม คำว่า " การจัดองค์การ " ไว้หลายท่าน ดังนี้

Edwin B.Flippo ( 1970 : 129 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ คือ ตัวบุคคลและหน้าที่การงาน เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้

ธงชัย สันติวงษ์ ( 2537 : 63 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูป และการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้ การจัดองค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่างทราบว่า ใครต้องทำอะไร และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง

สมคิด บางโม ( 2538 : 94 ) กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดแบ่งองค์การออกเป็นหน่วยงานย่อยๆให้ครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ขององค์การ พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์กับองค์กรย่อยอื่นๆไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

สรุปได้ว่า การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดองค์การที่ edwin e.fippo เสนอให้มีความสัมพันธ์มูลฐาน

#POL2301
1.        ประโยชน์โครงสร้างขององค์การคืออะไร ?

-          เป็นเสมือนกรอบงานสำหรับการบริหารในองค์การ

-          เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการมอบอำนาจหน้าที่การรับผิดชอบ

-          เป็นเครื่องกระตุ้นให้สมาชิกทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

-          เป็นเครื่องช่วยในการประสานร่วมมือกัน

2.        Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมบริหารและหน้าที่บริหารไว้ 5 ประการ

-          POCCC             1. P : Planning                     (การวางแผน)

  2. O : Organizing                 (การจัดรูปแบบ)

                  3. C : Commanding              (การสั่งการ)

4. C : Coordinating         (การประสานงาน)

  5. C : Controlling                 (การควบคุมบังคับบัญชา)

3.        โครงสร้างขององค์การ หมายถึง สร้างแบบ(Pattern)ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ(Component)ต่างๆขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา,  อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ, ช่วงการบังคับบัญชา, เอกภาพในการบังคับบัญชา เป็นต้น  โครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆของหน่วยงานในองค์การ

4.        อำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานบังคับบัญชา

-          Power to Command             เป็นหน้าที่อำนาจตามกระบวนการทางการ

5.        Authority คือ

-          Power to Command             อำนาจในการสั่งการของผู้บังคับบัญชา

6.        การจัดการบังคับบัญชาที่ดี

-          จำนวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาต้อง ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป

-          สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้อง ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ

-          สายของการบังคับบัญชาแต่ละสาย จะต้องไม่สับสนหรือซ้ำซ้อนกัน

7.        Functional  Chart คือ

-          แผนภูมิที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน จัดขึ้นเพื่อความสะดวกแก่ความเข้าใจในกิจการและองค์การ

8.        หน่วยงานหลัก  คือ  หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงงานขององค์การ

หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน  คือ หน่วยงานที่ช่วยเหลือส่งเสริม สนับสนุนงานหลักให้ดำเนินไปโดยบรรลุเป้าหมาย

หน่วยงานอนุกร  คือ  หน่วยงานแม่บ้าน หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยเหลือหน่วยงานหลักและหน่วยงานปรึกษา

9.        ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดในการบริหารที่เรียกว่า

Human Relations Approach คือ Geoge Elton Mayo

10. สายการบังคับบัญชา คือ ความสัมพันธ์ตามลำดับขั้นตอนระหว่างผู้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การเพื่อแสดงให้ทราบว่า สัมพันธภาพของการติดต่อส่งข้อความจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชานั้นมีการเดินทางอย่างเป็นทางการ

11. การจัดองค์การที่ถูกต้องเหมาะสมจะเกิดประโยชน์อย่างไร

-          ช่วยให้การบริหารต่างๆให้บรรลุเป้าหมาย

-          ช่วยแก้ปัญหาค้างคา

-          ช่วยแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน

-          ช่วยให้สะดวกในการควบคุมและติดตามงานให้เกิดประสิทธิภาพ

12. การควบคุมงานที่มอบหมายไป (Proper Control) อาจทำได้โดย

-          ระมัดระวังมิให้มอบหมายงานมีลักษณะของการขาดลอย

-          ใช้วิธีการปรึกษาในเบื้องต้นก่อนทำการมอบหมายงาน

-          การให้คำถามเป็นครั้งคราว หรือ ผู้บริหารอาจตั้งคำถามในระหว่างกระบวนการปฏิบัติงาน

-          ใช้มีการเสนอเป็นครั้งคราวเมื่อเสร็จงาน

13. นักวิชาการกลุ่มคลาสสิก เชื่อว่า การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้านเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์การและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

ซึ่งนักวิชาการที่มีแนวคิดนี้ ได้แก่ Adam Smith , Fredorick W. Tayler , Max Weber.

ส่วนนักวิชาการที่คัดค้านแนวคิดนี้ ได้แก่ George Elton Mayo , Koontz และ O’ Donnell

14. ผู้บริหารที่มีทัศนคติแบบ Recepliveness (ความเปิดกว้าง) คือผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยมักจะยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในการปฏิบัติงานได้เสมอ กรณีที่ความคิดเห็นนั้นมีความแตกต่างไปจากตน ถ้าหากเป็นเหตุเป็นผลกว่านี้ก็ยังยอมรับความคิดเห็นนั้นๆ โดยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย

15. ข้อจำกัดของอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการมักขาดหายไป

-          พฤติกรรมกลุ่ม

-          ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมในสังคม

-          ข้อจำกัดด้านความด้อย ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา

-          สภาพทางภูมิศาสตร์

-          หลักชีววิทยา ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมาย นโยบาย

16. การจัดช่วงควบคุมหรือการบังคับบัญชาให้กว้างจะทำได้ในกรณี

-          เป็นงานที่อยู่ระดับต่ำๆขององค์การ

-          งานหรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นงานกิจกรรมธรรมดา ไม่ยุ่งยาก

     ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องอาศัยความละเอียด

-          ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถมาก ต้องการความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน

-          องค์การมีลักษณะการกระจายอำนาจมากกว่ารวมอำนาจ

-          ผู้บังคับบัญชามีจำนวนน้อยมากในองค์การ

17. การรวมอำนาจ คือ

-          การสงวนหรือรักษาอำนาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การอย่างเป็นระบบ

-          สภาวะองค์การซึ่งในระดับสูงๆของสายการบังคับบัญชาได้รวมอำนาจหน้าที่ไว้ เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทำในระดับสูง

18. ข้อเสียของการกระจายอำนาจ คือ

-          หากกระจายอำนาจมาก และดูแลไม่ทั่วถึงอาจเกิดปัญหาหรือผลเสียได้

-          การไร้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือการเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าองค์การ อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

-          การกระจายเครื่องมือไปสู่หน่วยงานต่างๆอาจทำให้สิ้นเปลืองมาก

19. George Elton Mayo ได้ทำการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiment เพื่อหาผลลัพธ์ของการทำงานภายใต้ปัจจัยหรือเงื่อนไขทางกายภาพที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ความเชื่อที่ว่า

“เมื่อเงื่อนไขในการทำงานได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดจะเป็นผลให้องค์การมีผลผลิตในการทำงานมากขึ้น”

20. แผนภูมิหรือแผ่นผังองค์การ มีดังนี้

-          แผ่นภูมิขององค์การทั้งหมด (Over-All Organization Chart)

คือ ภาพแสดงของโครงสร้างทั้งหมดขององค์การ เช่น การแสดงการแบ่งงานตามสายบังคับบัญชา

-          แผนภูมิเกี่ยวกับหน้าที่การงาน (Functional Chart)

คือ แผนภูมิที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกแก่การเข้าใจในกิจกรรมขององค์การ

-          แผ่นภูมิสถานที่ทำงาน (Space and Physical Layout)

คือ แผ่นผังที่แสดงว่าที่ทำการหรือห้องทำงานขององค์การมีที่ไหนบ้าง

-          แผ่นภูมิแสดงความเคลื่อนไหวของงาน (Process of Work Flow Chart)

คือ แผ่นภูมิที่แสดงว่างานต่างๆนั้นเริ่มจากผู้ใด ยุติลงที่ผู้ใด และมีความเคลื่อนไหวอย่างไร

21. วัตถุประสงค์ขององค์การ

-          เป้าหมายปลายทางขององค์การหรือจุดอ้างอิงในการพยายามดำเนินงานองค์การ

-          ประการแรกที่สำคัญมาก คือ การให้ความสนใจวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิก

-          ต่อจากนั้นจึงพัฒนาปรับปรุงวัตถุประสงค์ขององค์การ ได้ช่วยวัตถุประสงค์ของสมาชิกให้บรรลุเป้าหมาย

-          หากองค์การสร้างความพอใจให้สมาชิกได้มากเท่าไหร่ ก็จะนับว่าองค์การนั้นมีประสิทธิภาพมากๆตามไปด้วย

22. ประโยชน์ของการรวมอำนาจ

-         ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและบริหาร

-          ทำให้ทรพัยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน

-          เกิดความรวดเร็วและความสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา

-          ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ

-          มีการประสานงานที่ดีทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายได้

23. ลักษณะและองค์ประกอบของสายบังคับบัญชา มี 3 ลักษณะ

-          ลักษณะของอำนาจหน้าที่                  (Authority Aspect)

-          ลักษณะของความรับผิดชอบ              (Responsibility Aspect)

-          ลักษณะของการติดต่อสื่อการ             (Communication Aspect)

24. อำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Legal Authority) หรือที่เรียกว่าฃอำนาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) นั้นถือเป็นอำนาจขององค์การที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีแบบแผนและเป็นทางการในทางกฎหมาย

25. ความรับผิดชอบ คือ พันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน

26. องค์การปฐมภูมิ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)

อบจ.สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

     องค์การทุตยภูมิหรือองค์การถาวร คือ กรมการปกครอง กรมพัฒนาชุมชน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ธนาคารกรุงเทพ จุฬาลงกรณ์

27. ระบบเปิด

-          ความต้องการที่จะวางแผนและจัดการ

-          ความต้องการที่จะอยู่รอด

-          ความต้องการที่จะรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุล

-          ความต้องการทางกลไกที่จะให้ข้อมูลข่าวสาร

-          ความต้องการที่จะปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ

-          ความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความสับสน

28. Hawthorne Experiments คือ พบผลทางบวกจากกลุ่มต่างไม่ยอมแพ้กันละกัน

29. การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้านมีประโยชน์

-          ปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์

-          ทำให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

-          ทำให้เกิดประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพในการทำงาน

-          ช่วยแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนกัน

30. Warren Bennis ได้เสนอให้ Ideal Bureaucracy -> ตัวระบบราชการ ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies”

-          การจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่งๆดังนี้

1.        การกระจายอำนาจให้เป็นประชาธิปไตย

2.        มีการจัดรูปแบบในลักษณะที่ยืดหยุ่น

3.        เปลี่ยนจากการใช้อำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นการใช้ความรู้ (Knowledge)

หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ

4.        เน้นความสัมพันธ์ในแนวนอน

31. เหตุผลของการเกิดองค์การอรูปนัย ได้แก่

-          เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม

-          ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของ

-          ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน  หรือการหาเพื่อน

-          เป็นที่ระบายความรู้สึก

-          เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล

-          เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี

-          เป็นแหล่งในการข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

32. Educational Control เป็นการควบคุมแบบใด

-          เป็น Pre Control เป็นหนึ่ง

·        การควบคุมล่วงหน้า Pre Control อาจทำได้โดย

1.        การวางแผนหรือการกำหนดโปรแกรมการทำงานไว้ล่วงหน้า (Programmed Control)

2.        การจัดทำงบประมาณล่วงหน้า (Budgetary Control)

3.        การให้การศึกษาและความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการ (Educational Control)

33. นักวิชาการที่ถือกำเนิดก่อนกลุ่มอื่น คือ Scientific Management

1900 – 1930 : Classical Organization Theory ได้แก่

-          Scientific Management

-          Bureaucratic Model

-          Administrative Theorists

34. คอขวด (Bottle Neck) คือ การค้างคาของงาน

35. รูปแบบทฤษฎีองค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber

-          การกำหนดสายการบังคับบัญชา

-          การกำหนดตำแหน่งและอำนาจหน้าที่

-          การกำหนดระเบียบ และข้อบังคับที่แน่นอน

-          การแบ่งงานการทำเฉพาะด้าน

-          การจัดทำคู่มือการทำงาน และคำบรรยายลักษณะงาน

-          การกำหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา

-          การคัดเลือกและเลื่อนขั้น

-          การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ

36. Management Science : MS คือ วิทยาการบริหาร

-          เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหาร

37. แนวความคิดของ Max Weber , Henry Fayol เป็นระบบโครงสร้าง

38. Homeostasis คือ กลไกควบคุมโดยอัตโนมัติ

39. ข้อใดไม่เข้ากัน ??