ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ทําหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทั้งหมด

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จำแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้  2  ประเภท  ดังนี้

          สำหรับการศึกษาในชั้นนี้จะขออธิบายเครื่องมือทางภูมิศาสตร์รวมๆ กันไปซึ่งเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะกับการนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลทางกายภาพและสังคมของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีดังนี้

          1. แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากเนื่องจากการเรียนวิชานี้ต้องกล่าวถึงสถานที่ที่มีขนาดต่างกัน  ทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้น  ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก  และสิ่งที่จะสามารถนำมาใช้อธิบายสภาพพื้นที่  สถานที่ได้ดีที่สุด  คือ  แผนที่

            1.)ความหมายของแผนที่  พจนานุกรมศัพท์ทางภูมิศาสตร์  ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า  “แผนที่  หมายถึง  สื่อรูปแบบหนึ่งที่ถ่ายทอดข้อมูลของโลกในรูปกราฟิก   จึงกล่าวไว้ว่า  แผนที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะของพื้นผิวโลก  และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก  และสิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 

            2.)ชนิดของแผนที่  แผนที่สามารถแบ่งออกได้หลายชนิดหลายลักษณะ  ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง  ทั้งนี้โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็น  2  ชนิด  คือ

                 2.1)  แผนที่ภูมิประเทศ  (Topographic  Map)  เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิลักษณ์แบบต่างๆ  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  ภูเขา  ที่ราบสูง  ที่ราบ  แม่น้ำ  ทะเล  ทะเลสาบ  เป็นต้น  และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น เมือง  หมู่บ้าน  พื้นที่เกษตรกรรม  อ่างเก็บน้ำ  ถนน  ทางรถไฟ  เป็นต้น

                                                                                      ตัวอย่างแผนที่ภูมิประเทศ

          2.2)  แผนที่เฉพาะเรื่อง  (Thematic  Map)  เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เช่น  แผนที่ประชากร  แผนที่อากาศ  แผนที่ป่าไม้  แผนที่ท่องเที่ยว

             เนื่องจากแผนที่เฉพาะเรื่องมีความหลากหลายชนิดมาก  จึงได้นำเสนอตัวอย่างเพียงบางชนิด  ดังนี้

          (1)แผนที่ท่องเที่ยว  มีการจัดทำทั้งในระดับประเทศ  ระดับภาค  และระดับจังหวัด  โดยเน้นข้อมูลด้านการเดินทาง  ได้แก่  ถนน  ทางรถไฟ  ที่ตั้งจังหวัด  อำเภอ  สถานที่  ท่องเที่ยว  สถานที่พัก  ร้านอาหาร

              ตัวอย่างแผนที่ท่องเที่ยว

          (2)แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม  แผนที่นี้จัดทำโดยกรมทางหลวง  เพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม  ได้แก่  ถนน  ทางรถไฟ  สนามบิน  เป็นหลัก  แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมมีประโยชน์เพื่อใช้กำหนดเส้นทาง  ระยะทางโดยประมาณ และการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหา  เนื่องจากมีข้อมูลไม่มากนัก 

ตัวอย่างแผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม

          (3)แผนที่ธรณีวิทยา  เป็นแผนที่ที่แสดงอายุของหิน  หน่วยหิน  ชนิดหิน  และโครงสร้างทางธรณีวิทยา  นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูลประกอบอื่นๆ  เช่น  ทางหลวงสายสำคัญ  ที่ตั้งของจังหวัด  เป็นต้น

 ตัวอย่างแผนที่ธรณีวิทยา

          (4)แผนที่การใช้ที่ดิน  แผนที่นี้แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน  โดยเฉพาะด้านการเกษตร  มาตราส่วนที่จัดทำ  เช่น  1 : 1,000,000  และ  1 : 250,000  และ  1 : 50,000  และเนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว  แผนที่การใช้ที่ดินจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา 

                                                                                       ตัวอย่างแผนที่การใช้ที่ดิน 

          2. ลูกโลกจำลอง  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลกแสดงที่ตั้งอาณาเขตพรมแดนของประเทศต่างๆ และลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี  ลูกโลกจำลองแสดงสิ่งต่อไปนี้

            1)   รูปทรงของโลก  โลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม  คือ  ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร  โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร  ยาว  12,756  กิโลเมตร  และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว  12,714  กิโลเมตร  จึงเห็นได้ว่ารูปร่างของโลกไม่เป็นทรงกลมอย่างแท้จริง  บนผิวโลกจะมีองค์ประกอบหลัก  2  ส่วน  คือ  ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ  ได้แก่  ทะเล  มหาสมุทรต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  375  ล้านตารางกิโลเมตร  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ได้แก่  ทวีปและเกาะต่างๆ  มีเนื้อที่รวมกัน  150  ล้านตารางกิโลเมตร  เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว  โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ  525  ล้านตารางกิโลเมตร  โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ  2  ใน  3  ส่วน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  1  ใน  3  ส่วน

            2)  ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง  ลูกโลกจำลองมีหลายแบบตามวัตถุประสงค์ของการแสดง  ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  2  แบบ  ดังนี้

              2.1)  ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก  โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น  2  ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ซึ่งได้แก่ น้ำทะเล  มหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่จะแสดงด้วยสีน้ำเงินอ่อน  และส่วนที่เป็นแผ่นดิน  ซึ่งได้แก่  รายละเอียดของทวีป  ประเทศ  ที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองสำคัญ

              2.2)  ส่วนที่สมมติขึ้น  ลูกโลกจำลองจะแสดงเส้นเมริเดียนที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้  และเส้นขนานที่ลากรอบโลกขนานกับเส้นศูนย์สูตร  เส้นทั้งสองมีไว้เพื่อบอกพิกัดภูมิศาสตร์เป็นค่าของละติจูด  และลองจิจูดของตำแหน่งต่างๆ  ที่อยู่บนพื้นผิวโลก

ลูกโลกจำลอง

          3. ดาวเทียม  คือ  วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์  เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก  ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย 

          ข้อมูลจากดาวเทียม  เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ  ณ  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ  เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว  จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม  ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่  ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้

          1) ชนิดของดาวเทียม  แบ่งออกได้ดังนี้

            1.1)  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ  เช่น  ดาวเทียม  GMS  ดาวเทียม  GOES  เป็นต้น

           1.2)  ดาวเทียมสมุทรศาสตร์  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์  เช่น  ดาวเทียม SEASAT  จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์  และดาวเทียม  MOS  (Marine  Observation  Satellite)

           1.3)  ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก  จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย  เช่น  ดาวเทียมธีออส  THEOS  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย  ส่วนดาวเทียม  LANDSAT  ของสหรัฐอเมริกา  ดาวเทียม  SPOT  ของประเทศฝรั่งเศส  ดาวเทียม  ERS  ของกลุ่มประเทศยุโรป  ดาวเทียม  RANDARSAT  ของประเทศแคนาดา  เป็นต้น

           1.4) ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม  เช่น  การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์  โทรสาร  ข่าวสาร  ภาพโทรทัศน์  รายการวิทยุ  ข้อมูลข่าวสาร  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา

           1.5)   ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก  ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  เช่น  เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ  จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค  การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไปโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด  เป็นต้น

           1.6) ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร  การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก  การศึกษาแนวพรมแดน  การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร  ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ  เช่น  การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ  การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการทางทหารต่างๆ  เป็นต้น

ตัวอย่างดาวเทียม

อ้างอิง

https://etcgeography.wordpress.com/2011/07/19/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/

http://jakkrit-geography1.blogspot.com/

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

https://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=631&tbm=isch&q=แผนที่ธรณีวิทยา

https://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=631&tbm=isch&q=แผนที่การใช้ที่ดิน

https://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=631&tbm=isch&q=ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

1. เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์  หมายถึงวัสดุ   อุปกรณ์  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้  สำหรับการศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์  อาจอยู่ในรูปของตัวหนังสือ  รูปภาพ  แผนภูมิ  แบบจำลอง  สื่อดิจิทัล  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้

2. เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์  หมายถึง  วัสดุ  อุปกรณ์  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เพื่อสำรวจ  ตรวจวัด  บันทึก  เก็บรวบรวม  และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการสืบค้นคืออะไร

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญต่อการศึกษาโลกและ ปรากฏการณ์บนโลกอย่างยิ่งเพราะช่วยให้มองเห็นภาพของ โลกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากโลกมีพื้นที่กว้างขวาง ทําให้มี ความหลากหลายทางสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในแต่ละบริเวณ การทําความเข้าใจจึงต้องใช้ เครื่องมือช่วย

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใดบ้างที่สามารถสืบค้นสถานที่สำคัญในจังหวัดได้ชัดเจนที่สุด

แผนที่และรูปถ่ายเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้แสดงลักษณะทาง กายภาพ แหล่งทรัพยากร และสถานที่ส าคัญในจังหวัดของเรา การรู้จัก ใช้แผนที่และรูปถ่ายได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้การสืบค้นและอธิบายข้อมูล จังหวัดของเรา สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แผนที่ รูปถ่าย

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใดที่เป็นการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย

1) แบบแผนที่ เหมาะแก่การนำ เสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่ต้องการจะให้เข้าใจหรือ เห็นภาพรวมของพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประเทศ ภูมิภาค หรือทวีปก็ได้ ไม่ต้องอธิบายความมากหรือราย ละเอียดที่แสดงไม่มีความสำคัญมากนัก รวมทั้ง เหมาะกับการแสดงข้อมูลเพียง 1-2 ประเภท เพราะยิ่งใส่ข้อมูลลงไปมากก็จะยิ่งดูยาก

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการสืบค้นคืออะไร ข้อใดเป็นประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใดบ้างที่สามารถสืบค้นสถานที่สำคัญในจังหวัดได้ชัดเจนที่สุด เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใดที่เป็นการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย ข้อใด ไม่ใช่ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการใช้แผนที่ คือข้อใด การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมมีองค์ประกอบหลักในการวิเคราะห์หลายประการ ยกเว้นข้อใด ระบบการทํางานของการถ่ายรูปทางอากาศที่สําคัญที่สุด คือข้อใด การใช้เครื่องบินสำรวจด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด การบันทึกข้อมูลของดาวเทียมพาสซีพ passive คืออะไร