แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

สรุปสาระสําคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙

ความนำ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็น

แผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลัก

ทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไป

สู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

สถานีอนามัยเป็นบริการพื้นฐานทางด้านสาธารณสุขขั้นต้นสำหรับประชาชนใน ชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและกระจายความเจริญสู่ ภูมิภาค  ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๔

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙)

จากการที่ประเทศไทยได้ทำการพัฒนามาแล้ว ๒๐ ปี ปรากฏว่า เศรษฐกิจขยายตัวค่อนข้างสูง รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้น การผลิตมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคม ขยายตัวกว้างขวางขึ้น แต่ปรากฏว่า ยังคงมีปัญหาสำคัญๆ หลายประการ เช่น เรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายเกินตัว ทั้งของภาครัฐบาล และเอกชน โครงสร้างเศรษฐกิจอ่อนแอ ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจยังคงรวมกันอยู่ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ ภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้ ปัญหาสังคม และปัญหาความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังขยายตัว และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาประเทศ เป็น แนว ใหม่ เช่น

  • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ เป็นแผนนโยบาย ที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก ในการพัฒนา และมีลักษณะ ทั้งในเชิง รับและเชิงรุก 
  • เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเงินการคลังของประเทศเป็นพิเศษ พร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจแต่ละด้าน และยอมให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่สูงนัก แต่ต้องอยู่ในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน 
  • เน้นความสมดุลในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการกระจายรายได้ และการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค การกระจาย การถือครองทรัพย์สิน และการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
  • เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน ในชนบทล้าหลัง เพื่อให้คนในชนบท อยู่ในฐานะพออยู่-พอกิน มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ สามารถช่วยเหลือตนเองได้
สำหรับเป้าหมายสำคัญๆ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ มีดังนี้
  • ให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๖.๖ ต่อปี โดยภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๕ และ ๗.๖ ต่อปีตามลำดับ ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๒๒.๓ ต่อปี 
  • ให้ดุลการค้าขาดดุลเฉลี่ยไม่เกินปีละ ๗๘,๔๐๐ ล้านบาท และขาดดุลบัญชี เดินสะพัดเฉลี่ยไม่เกินปีละ ๕๓,๐๐๐ ล้านบาท
  • ลดอัตราการเพิ่มของประชากรไม่ให้เกิน ร้อยละ ๑.๕ ในปี ๒๕๒๙ และลดอัตรา การไม่รู้หนังสือให้เหลือร้อยละ ๑๐.๕ ของประชากร 
  • ขยายการศึกษาทุกระดับเพื่อรับนักเรียน เพิ่มคือ ระดับก่อนประถมศึกษาให้ได้ ร้อยละ ๓๕.๔ ของประชากรในกลุ่มอายุ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอน ปลาย และอุดมศึกษาร้อยละ ๔๘.๓, ๓๐.๙ และ ๔.๘ ของประชากรในกลุ่มอายุ
  • ขยายบริการการป้องกันโรคให้ครอบคลุม ประชากรกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๗๐ และขจัดปัญหาการขาดโปรตีนแคลอรี ของเด็กทารก และเด็กก่อนวัยเรียนระดับ ๓ ให้หมดไป 
  • ลดปัญหาอาชญากรรมความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย และเพศ ให้ต่ำกว่า ๗๕ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน
  • แก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง โดยเร่งเพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขึ้นอีกโดย เฉลี่ยร้อยละ ๒ ต่อปี เร่งขยายและ กระจายบริการทางด้านการศึกษาและ สาธารณสุข เช่น จัดหาหนังสือประกอบ การเรียนและจัดระบบบริการสาธารณสุข มูลฐานให้ทั่วถึงใน ๒ ปี จัดบริการ ทางโภชนาการแก่เด็กและหญิงมีครรภ์ ๒.๒ ล้านคน 
สำหรับการพัฒนาในเชิงรุก ได้กำหนด เรื่องสำคัญที่จะดำเนินการคือ
  • เร่งพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ให้เป็นที่ตั้งอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรม เพื่อการ ส่งออก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ครบวงจร เพื่อเป็นการกระจายความเจริญ และเป็นฐานที่สำคัญ ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
  • เร่งพัฒนาการเกษตร ในเขตเกษตรก้าวหน้า โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต แทนการขยายพื้นที่เพาะปลูก เร่งกระจายการผลิต และส่งเสริมให้เอกชนลงทุนด้านการผลิต ในเขตเกษตรก้าวหน้า
  • เร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยใช้มาตรการทางภาษี และสิ่งจูงใจต่างๆ เพื่อส่งเสริมการผลิต เพื่อส่งออก และการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค เพื่อกระจายรายได้ และความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวอีก ค่าเงินดอลลาร์ผันผวน และราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ ประกอบกับประเทศอุตสาหกรรม ใช้นโยบายกีดกันทางการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ เศรษฐกิจขยายตัว เพียงร้อยละ ๕.๔ ต่อปี เพราะการผลิตภาคเกษตร และอุตสาหกรรม การลงทุน และการส่งออกต่ำกว่าเป้าหมาย และเกิดการว่างงาน ประมาณ ๑ ล้านคน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่รัฐบาลไทยค่อนข้างมีเสถียรภาพ มีการกำหนดนโยบาย และมาตรการทางด้านการเงินการคลังที่ถูกต้อง เช่น การลดค่าเงินบาท การณรงค์ เพื่อการประหยัด ใช้ของไทย และร่วมใจส่งออกฯลฯ ประกอบกับ การค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ส่งผลทำให้ประเทศไทย ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจมาได้ด้วยดี นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ ๒.๙ ส่วนการแก้ไขปัญหาความยากจน ในชนบทล้าหลัง ก็สามารถช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในพื้นที่เป้าหมายได้เป็นอย่างดี ในขณะที่สามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้คือ เหลือร้อยละ ๑.๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ดิน ๙๙.๘ ล้านไร่ ที่ยังขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะกับการเกษตร มีปัญหาเรื่องการบุกรุกทำลายป่า และประชาชน ใน ๓,๘๒๔ หมู่บ้าน ยังขาดแคลนแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร และ ๑๒,๖๗๘ หมู่บ้าน ยังมีปัญหา เรื่องน้ำกิน - น้ำใช้ นอกจากนี้ มีปัญหาเรื่อง การขาดแคลนเงินออม ทำให้จำเป็นต้องพึ่งทรัพยากรจากต่างประเทศมาลงทุน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องหนี้สิน ส่วนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะรัฐบาลจำเป็นต้องจำกัดขนาดของการลงทุน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านการเงินการคลังต่อไป

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ มีกี่ฉบับ

ประเทศไทยมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯมาตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปัจจุบันผ่านระยะเวลากว่า 60 ปี มี "แผนพัฒนาฯ" 12 ฉบับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่มุ่งให้ "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"

9) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้ แนวคิดที่เรียกว่า “อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน าทางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับ ที่ 8 ที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยมุ่งการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสู่ “สังคมที่เข้มแข็งและ ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนประเภทใด

สำหรับร่างแผนพัฒนาฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไปคือปี 2566-2570.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 เน้นอะไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) สาระสำคัญ : มีการอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนา ดำเนินการต่อเนื่องในเรื่องของการเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540.