อาณาจักร ใด บ้าง ที่ มี อิทธิพล ต่อ อารยธรรม ใน ดิน แดน สุวรรณภูมิ

คุณภาพชีวิต-สังคม

เผยพบหลักฐานยืนยัน 'ดินแดนสุวรรณภูมิ' มีอยู่จริง

05 ส.ค. 2564 เวลา 18:38 น.4.3k

ผอ.สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา เผยข้อมูลการค้นพบหลักฐานหลายชิ้นที่บ่งบอกถึงสถานที่ตั้งของ'ดินแดนสุวรรณภูมิ' มีอยู่จริง

จากงานวิจัยเสวนา ครั้งที่ 1 เรื่อง เส้นทางอารยธรรมสุวรรณภูมิและร่องรอยภูมิหลังทวารวดี จัดโดยหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมกับสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา

นพ.บัญชา พงษ์พานิช ผอ.สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา วิทยาสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การศึกษาถึงการมีอยู่ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น  ได้ทบทวนเอกสารทั้งของไทย และนานาชาติ ที่เคยมีการศึกษาไว้

โดยพบว่าเมื่อประมาณกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัย ร.4 ที่ทรงเคยศึกษาไว้ และนานานักวิชาการไทยทำกันมา เห็นว่า สุวรรณภูมิ มีจริง อยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างอินเดียกับจีน แยกเป็น 2 ศูนย์ คือ ด้านการค้า และด้านพระพุทธศาสนา แต่ยังขาดหลักฐานที่ยืนยันอย่างชัดเจน

  • เปิดหลักฐานระบุ 5 พื้นที่สนับสนุน 'ดินแดนสุวรรณภูมิ'

ขณะที่การศึกษาของต่างประเทศสรุปว่า เชื่อได้ว่าดินแดนสุวรรณภูมิมีเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว อยู่ในยุคแรกแริ่มประวัติศาสตร์ มีการค้าเป็นปัจจัยหลัก และพระพุทธศาสนามีบทบาทมาก ทั้งมีการขุดค้นทาง โบราณคดี พบหลักฐานเพิ่มขึ้นมากในเมียนมาร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย และจีน พบหลักฐานที่เก่าแก่ถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 2 ที่อาจบ่งบอกถึง ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้

อาณาจักร ใด บ้าง ที่ มี อิทธิพล ต่อ อารยธรรม ใน ดิน แดน สุวรรณภูมิ

นพ.บัญชา กล่าวต่อไปว่า ต่อมาเมื่อปี 2561 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จีสด้า ได้รวบรวมข้อมูลล่าสุดจากนักวิชาการต่างๆ พบข้อ มูลหลักฐานสนับสนุนที่ระบุว่าพบดินแดนสุวรรณภูมิในพื้นที่

1.บริเวณคอคอดกระและตอนบนของคาบสมุทรไทยและตะวันตกของอ่าวไทย

2.ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย

3.ทางตอนใต้ของเมียนมาร์และตะวันตกของไทย

4.บริเวณปากแม่น้ำโขงในกัมพูชาและเวียดนาม เชื่อมลุ่มน้ำบางปะกง เจ้าพระยา และป่าสัก

5.บริเวณอ่าวเมาะตะมะ ถึงลุ่มน้ำชีข้ามออกตอนกลางของเวียดนามแถบดานัง-เว้

  • คาดหลักฐานชิ้นเดียวพบในไทย บนพื้นที่จ.ชุมพร 

โดยได้มีการค้นพบโบราณวัตถุสำคัญจำนวนมาก เช่น ลูกปัดโบราณ วงแหวนเมารยะ (ราชวงศ์โบราณของอินเดีย) ซึ่งในโลกพบเพียง 30 ชิ้น ทั้งหมดพบในอินเดีย

มีเพียงชิ้นเดียวที่พบในประเทศไทย ในพื้นที่ จ.ชุมพร เมื่อปี 2560 ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญของโลก ทั้งยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นจากยุคอินเดียโบราณ เช่น เงินตรากหาปนะ ผอบพระบรมสารีริกธาตุ รวมไปถึง โบราณวัตถุ ที่มีการสลักรูปนักรบโรมัน จักรพรรดิ,กษัตริย์ในยุคโรมัน จึงเกิดเป็นประเด็นคำถามว่ามาพบในพื้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป

ทั้งนี้ จากข้อมูลหลักฐานการค้นพบดังกล่าว นำไปสู่การจัดตั้ง สถาบันสุวรรณภูมิศึกษาโดยจะศึกษาและร่วมมือกับประเทศในแถบอาเซียน เพื่อเดินหน้าศึกษาว่าด้วยถึงที่ตั้งของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่แท้จริงต่อไป โดยมุ่งการเชื่อมโยงจากอดีตผ่านปัจจุบันสู่อนาคต ครอบคลุมอาณาบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงย่านอ่าวเบงกอลและอ่าวตังเกี๋ย ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ ของโลก ทั้งในมิติการสร้างสรรค์พัฒนาองค์ความรู้และคลังฐานข้อมูลความรู้ เสริมสร้างแวดวงวิชาการ ตลอดจนการนำมาสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชาติและภูมิภาคไปด้วยกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกดินแดนที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณหลายฉบับในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคำว่าสุวรรณภูมินี่มีความหมายว่า แผ่นดินทอง[1][2]

ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงแปลว่า ดินแดนแห่งทองคำ หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา ส่วนมากปรากฏในคัมภีร์ชาดก (เรื่องราวที่มีอดีตมายาวนาน)[3] เช่น มหาชนกชาดก กล่าวถึงพระมหาชนกเดินทางมาค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือแตกกลางทะเล ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 234 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นประธาน เมื่อท่านมาถึง ได้ปราบผีเสื้อสมุทรที่ชอบเบียดเบียนชาวสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวสุวรรณภูมิเลื่อมใส จากนั้นท่านได้แสดงพรหมชาลสูตร เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนปราบผีเสื้อสมุทร ท่านได้สวดพระปริตรป้องกันเกาะสุวรรณภูมิไว้ จึงมีคำเรียก สุวรรณภูมิ อีกชื่อหนึ่งว่า สุวรรณทวีป แปลว่า เกาะทอง [4]เมื่อสันนิษฐานจากสองคำนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างน้อย 2 อย่าง คือ

  1. สุวรรณภูมิ เป็นดินแดนที่เป็นแผ่นดินใหญ่
  2. สุวรรณทวีป คือ เกาะที่อยู่ติดกับสุวรรณภูมิ

และเนื่องจากในชาดกกล่าวว่า สุวรรณภูมิอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย เมื่อพิจารณาจากแผนที่โลก จึงน่าจะสันนิษฐานได้ต่อไปว่า สุวรรณภูมิ คือส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว ไทย กัมพูชา ส่วนสุวรรณทวีปซึ่งเป็นเกาะ น่าจะได้แก่ เกาะชวา สุมาตรา หรืออินโดนีเซีย ตลอดทั้งฟิลิปปินส์[5]เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาพบว่า เมืองหงสาวดี และเมืองนครปฐมสมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุด และร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 6[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. “To Suvarnabhumi he [Moggaliputta] sent Sona and Uttara”; Mahānāma, The Mahāvaṃsa, or, The Great Chronicle of Ceylon, translated into English by Wilhelm Geiger, assisted by Mabel Haynes Bode, with an addendum by G.C. Mendis, London, Luzac & Co. for the Pali Text Society, 1964, Chapter XII, “The Converting of Different Countries”, p.86.
  2. Sussondi-Jātaka, Sankha-Jātaka, Mahājanaka-Jātaka, in Edward B. Cowell (ed.), The Jātaka: or Stories of the Buddha's Former Births, London, Cambridge University Press, 1897; reprinted Pali Text Society, dist. by Routledge & Kegan Paul, 1969, Vol. III, p.124; Vol. IV, p.10; Vol. VI, p.22
  3. J. S. Speyer, The Jatakamala or Garland of Birth-Stories of Aryasura, Sacred Books of the Buddhists, Vol. I, London, Henry Frowde, 1895; reprint: Delhi, Motilal Banarsidass, 1982, No.XIV, Supâragajâtaka, pp.453-462.
  4. Rufius Festus Avienus, Descriptio orbis terrae, III, v.750-779.Descriptio orbis terrae
  5. "Gold in early Southeast Asia". Archeosciences.
  6. The Siam Society: Miscellaneous Articles Written for the JSS by His Late Highness Prince Damrong. The Siam Society, Bangkok, B.E. 2505 (1962); Søren Ivarsson, Creating Laos: The Making of a Lao Space Between Indochina and Siam, 1860-1945, NIAS Press, 2008, pp.75-82.
  7. Manit Vallibhotama, "Muang U-Thong", Muang Boran Journal, Volume 14, no.1, January–March 1988, pp.29-44; Sisak Wanliphodom, Suwannaphum yu thi ni, Bangkok, 1998; Warunee Osatharom, Muang Suphan Through Changing Periods, Bangkok, Thammasat University Press, 2004; The Siam Society, Miscellaneous Articles Written for the JSS by His Late Highness Prince Damrong, The Siam Society, Bangkok, B.E. 2505 (1962); William J. Gedney, “A Possible Early Thai Route to the Sea”, Journal of the Siam Society, Volume 76, 1988, pp.12-16.[1] เก็บถาวร 2016-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน