ข้อ ใด เสีย มารยาท มาก ที่สุด ในการใช้โทรศัพท์ สาธารณะ

Submitted by ฐิตารีย์ สมรูป on Tue, 08/21/2018 - 03:01

การจัดการความรู้เรื่อง มารยาทในการพูดโทรศัพท์
ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะอุตสาหกรรมเกษตร

การพูดโทรศัพท์
1. ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายโทรศัพท์ติดต่อ ควรเจ้งหมายเลขที่ต้องการติดต่อ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงกับหมายเลขที่เราจะติดต่อหรือไม่ ถ้าถูกต้องจึงบอกชื่อ ผู้ที่เราต้องการจะขอพูดด้วยอย่างชัดเจน
2. ถ้าเราเป็นฝ่ายรับโทรศัพท์ ควรแจ้งหมายเลขของเราให้ทราบพร้อมกับถามว่าเขาต้องการพูดกับใคร และรีบจัดการติดต่อให้ทันที
3. มีหลายครั้งที่โทรศัพท์เข้ามาผิดหมายเลข แต่อาจอยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยราชการ หรือองค์กร บริษัท ถ้าสามารถติดต่อให้ได้ บอกให้เขาถือสายรอ เราจะโอนให้
4. การใช้โทรศัพท์ควรพูดเฉพาะที่จำเป็นและไม่ใช้เวลานานเกินสมควร เพราะอาจมีผู้อื่นต้องการใช้สายในขณะนั้น
5. ถ้าต้องการตัดบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีบอกอย่างตรงไปตรงมาแต่นุ่มนวล
6. ในสมัยก่อนจะมีความเชื่อกันว่าผู้น้อย หรือเด็กกว่าไม่ควรโทรศัพท์นัดหมายผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันเวลาเป็นสิ่งมีค่า และการเดินทางไปมาลำบาก การติดต่อทางโทรศัพท์เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ใหญ่จึงมักอนุโลมให้มีการติดต่อนัดหมายทางโทรศัพท์

                 กรณีที่ผู้น้อยติดต่อไปหาผู้ใหญ่จึงต้องคำนึงถึงการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ในการสนทนาใช้น้ำเสียง ที่นุ่มนวลและน่าฟัง  ไม่ควรพูดห้วนๆ  หรือเรียกร้องเอาฝ่ายเดียว ต้องนึกถึงเวลาและโอกาส หรือความสะดวกของผู้ฟังด้วย

แนวปฏิบัติในการพูดโทรศัพท์
 การพูดโทรศัพท์ที่ดีมีแนวปฏิบัติกว้าง ๆ ดังนี้
1. ผู้โทรศัพท์ติดต่อไป  เมื่อมีผู้รับโทรศัพท์ควรปฏิบัติ ดังนี้
   1.1 ทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าถูกต้อง จากนั้นจึงบอกชื่อผู้พูดโทรศัพท์ หรือชื่อหน่วยงานของผู้พูดโทรศัพท์
   1.2 บอกชื่อผู้ที่เราต้องการจะพูดด้วยให้ชัดเจน
   1.3 ถ้าต้องการขอความช่วยเหลือจากผู้รับให้ตามตัวผู้ที่เราต้องการจะพูดด้วย หรือฝากข้อความถึงผู้ที่ไม่อยู่ ต้องพูดให้สุภาพและขอบคุณทันที ไม่ควรรอไว้ขอบคุณภายหลัง
   1.4 การฝากข้อความไว้กับผู้รับ ควรสอบถามก่อนว่าผู้รับฝากข้อความเป็นใครมีหน้าที่อะไร  เพื่อหากมีปัญหาในการสื่อสารจะด้วยเหตุใดก็ตามสามารถอ้างอิงหรือสอบถามกับผู้รับฝากข้อความได้
   1.5 การพูดโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สาธารณะหรือที่ใดก็ตามควรรักษามารยาทด้วยการไม่ใช้นานเกินสมควร เพราะอาจจะมีผู้มีธุระจำเป็นต้องการใช้อยู่
   1.6 การติดต่อโทรศัพท์ผิดหมายเลข ควรกล่าวคำขอโทษอย่างสุภาพ


2. ผู้รับโทรศัพท์ มารยาทในการเป็นผู้รับโทรศัพท์ที่ดีควรปฏิบัติ ดังนี้
   2.1 เมื่อรับโทรศัพท์ควรเริ่มต้นทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” พร้อมกับแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของตน  หรือบอกชื่อผู้รับโทรศัพท์ กรณีเป็นหน่วยงานควรบอกชื่อหน่วยงานของผู้รับโทรศัพท์ให้ทราบ และควรถามว่าต้องการติดต่อกับใครด้วยความสุภาพ  มีน้ำเสียงนุ่มนวล
   2.2 ถ้าผู้ติดต่อมาต้องการพูดกับผู้อื่น ควรรีบติดต่อให้ทันที หากการติดต่อต้องใช้เวลานาน ควรบอกให้ผู้ติดต่อมาทราบเสียก่อน หรือบอกให้โทรศัพท์ติดต่อมาอีกครั้งหนึ่งในระยะเวลาเท่าไร
   2.3 กรณีที่ผู้ที่ต้องการจะติดต่อด้วยไม่อยู่ และผู้ติดต่อมาต้องการฝากข้อความไว้ ควรใช้วิธีจดให้ชัดเจน ไม่ควรใช้วิธีจำเป็นอันขาด หรือมิฉะนั้นควรสอบถามชื่อของผู้ที่โทรศัพท์ติดต่อมาพร้อมหมายเลขที่จะโทรศัพท์กลับไปภายหลัง
   2.4 ถ้าต้องการตัดบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรบอกอย่างตรงไปตรงมาแต่นุ่มนวล เช่น “ขอโทษครับ มีอะไรอีกไหมครับ พอดีมีคนเข้ามาติดต่องาน (หรืองานกำลังยุ่ง) ครับ หากมีอะไรก็โทรมาใหม่นะครับ สวัสดีครับ”

รูปภาพเกี่ยวกับบทความ: 

ข้อ ใด เสีย มารยาท มาก ที่สุด ในการใช้โทรศัพท์ สาธารณะ

Language Thai

มารยาท 10 อย่างการใช้มือถือ...(ที่ต้องรู้)

[11-กุมภาพันธ์-2556] ไอบัดดี้โฟนเรา..วันนี้ มีบทความดีๆมาฝาก เกี่ยวกับมารยาทการใช้มือถือที่เราต้องใส่ใจสังคมคนรอบๆข้างตัวเรา (บ้าง)...โทรศัพท์มือถือในยุคปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยที่4 ของคนเราไปเสียแล้ว ไม่ว่าเราจะนั่งชิลๆ อยู่กับบ้าน หรือแม้กระทั่งต้องออกนอกบ้านก็ไม่สามารถอยู่ห่างมือถือได้เลย

ข้อ ใด เสีย มารยาท มาก ที่สุด ในการใช้โทรศัพท์ สาธารณะ

และเมื่อยิ่งต้องไปพบปะผู้คน เพื่อนฝูง ตามที่ชุมชนต่างๆ การรู้จักใส่ใจสิ่งเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ก็จะทำให้เราดูดีในสายตาของคนรอบข้างอย่างไม่น่าเชื่อ..

ข้อ ใด เสีย มารยาท มาก ที่สุด ในการใช้โทรศัพท์ สาธารณะ

1. เคราพสถานที่?

ในแหล่งที่ชุมชน มือถือของเราควรเก็บไว้ในที่มิดชิด เช่น กระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง ไม่ควรนำออกมาถือไว้ที่มือ  (เพื่อโชว์เหนือ โชว์พาวน์) นอกจากจะไม่เป็นจุดสนใจของมิจฉาชีพแล้ว (โปรดระวัง: ปัจจุบันสมาร์ทโฟนโดยโจรฉกต่อหน้า มีทั้งทำร้ายร่างกาย โดยที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวมากมาย) นอกจากนี้แล้วเรายังได้ชื่อว่าเคราพและให้เกียรติสถานที่อีกด้วย

2. เงียบ

ไม่ควรเปิดหรือรับโทรศัพท์ขณะประชุม หรือคนรอบข้างกำลังสนทนากัน เราอาจจะปิดมือถือ หรือตั้งเป็นระบบสั่นแทน

3. อย่าพูดแบบตะโกนเสียงดัง

ขณะรับโทรศัพท์ไม่ควรสนทนากันอย่างเสียงดัง จนคนรอบข้างหันมามองอย่างสงสัย...~@#$%^%$

4. ดับเบิ้ลเช็ค

ให้ตรวจสอบคู่สนทนาฝ่ายตรงข้ามของเรา ว่าพร้อมที่จะรับโทรศัพท์ในขณะนี้หรือไม่  (ตัวอย่าง ^^)  เช่น ไม่ทราบ..น้องสต็อป หรือพี่อนันดา ตอนนี้สะดวกรับโทรศัพท์มั้ย ครับ/ค่ะ เป็นต้น

5. เก็บไว้ให้เราสองคน

การรับโทรศัพท์ในพื้นที่สาธารณะ ไม่ควรพูดเนื้อหาของบทสนทนาให้คนอื่นได้ยิน ไม่มีใครต้องการฟังกัน..(นะ) ให้รู้กันเพียงแค่สองคนก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นควรพูดเสียงเบาๆเข้าไว้ (จะทำให้เราดูดี มีมารยาท เช่น บนรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟไต้ดิน เป็นตัน)

6. SMS

ในพื้นที่สารธารณะ การส่งเมสเซสแทนการรับโทรศัพท์ ก็เป็นหนทางแก้ไขปัญหาที่ดีได้เหมือนกัน

7. อย่าเห็นโทรศัพท์ดีกว่าเพื่อน

ในขณะบนโต๊ะอาหาร ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ  เราควรหันมาพูดคุยหรือใส่ใจเพื่อนร่วมโต๊ะคนรอบข้างของเรา จะทำให้เราดูดี มีมารยาท เป็นที่ต้องตาต้องใจของคนที่ได้พบเห็น (ไม่เชื่อให้ลองดูกัน..)

8. พูดไป ดูมือถือไป

ขณะสนทนา ไม่ควรพูดไป เล่นมือถือไปด้วย

9. ยกสมบัติให้คนอื่น

ปัจจุบันมีแอพต่างๆ มากมาย หากเราไม่แน่ใจว่าฝ่ายตรงข้ามสนใจหรือไม่ ไม่ควรส่งเมสเซส รบกวนคนอื่น

10. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ในระหว่างนั่งหรือยืนอยู่กับคู่สนทนาของเรา บางคนอาจเซนซิทีฟ กับความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากมือถือ (ปัญหาเทคนิคขั้นสูง..) การรับโทรศัพท์ หรือการขอตัวออกไปข้างนอกเพื่อพูดคุยโทรศัพท์ จึงถือได้ว่าเป็นมารยาทที่ดี...ชนิดที่เรียกได้ว่า..ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวไปพร้อมๆกัน..

ข้อ ใด เสีย มารยาท มาก ที่สุด ในการใช้โทรศัพท์ สาธารณะ

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ: www.ibuddyphone.com