บทเพลงซิมโฟนีของคีตกวีสากลท่านใดที่ได้รับเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติยุโรป

เบโธเฟน แต่งบทเพลงอมตะได้อย่างไรทั้งที่หูหนวก

  • วิลเลียม มาร์เกซ
  • บีบีซี นิวส์ มุนโด

16 ธันวาคม 2020

บทเพลงซิมโฟนีของคีตกวีสากลท่านใดที่ได้รับเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติยุโรป

ที่มาของภาพ, Getty Images

กรุงเวียนนา วันที่ 7 พ.ค. ปี 1824 เหล่าเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม ต่างมุ่งหน้าไปยังโรงละคร Kärntnertortheater ในเมืองหลวงของออสเตรียเพื่อชมการแสดงรอบปฐมทัศน์ "ซิมโฟนีหมายเลข 9" ของ ลุดวิก แวน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)

ผู้ชมต่างคาดหวังกับการแสดงครั้งนี้ไว้อย่างสูง

นักประพันธ์เพลงและวาทยากรผู้นี้ห่างหายจากการสร้างสรรค์บทเพลงซิมโฟนีมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ เขายังหายหน้าจากการแสดงบนเวทีมาร่วม 12 ปีแล้ว

  • โมซาร์ทน้อย
  • เวียนนาทึ่ง "ซินเดอเรลล่า" โอเปร่าภาษาเยอรมัน โดย ดญ.อังกฤษ 11 ขวบ
  • Loving Vincent ภาพยนตร์ชีวประวัติแวนโก๊ะ
  • อาลัย อาวิชี ดีเจซูเปอร์สตาร์ เบื้องหลังเพลงฮิตแห่งทศวรรษ

แต่ในที่สุดเขาก็ปรากฏตัวขึ้น ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นมายืนที่แท่นด้านหน้าวงออร์เคสตราวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในยุคนั้น เพื่อแสดงคอนเสิร์ตที่ไม่เหมือนกับครั้งใด ๆ

ที่มาของภาพ, Getty Images

และถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงโดยรวมเอาเสียงของนักร้องเข้ามาไว้ในบทเพลงซิมโฟนีด้วย

ขณะที่หันหลังให้กับผู้ชม เบโธเฟน ก็เริ่มนำนักดนตรีบรรเลงบทเพลงของเขาด้วยอารมณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความลุ่มหลง เขาโยกร่างกาย และขยับแขนไปตามเสียงดนตรี

เบโธเฟนเคลิบเคลิ้มกับมันมาก จนเมื่อบทเพลงจบลงเขายังคงแสดงท่าทางต่อไป ทำให้นักร้องคนหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าคือนักร้องคอนทราลโตที่ชื่อ คาโรลีน อุงเงอร์ ต้องเข้าไปจับตัวเขาให้หันหน้าออกไปหาผู้ชมเพื่อที่จะได้เห็นพวกเขากำลังปรบมือกันอย่างกึกก้อง

แต่ตอนนั้น เบโธเฟน ได้กลายเป็นคนหูหนวกไปเสียแล้ว

ค่ำคืนแห่งความทรงจำ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ภาพวาดเบโธเฟนในการแสดงคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9

ศาสตราจารย์ลอรา ทันบริดจ์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของเบโธเฟนที่ชื่อ Beethoven: a life in nine pieces ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า มีคำบอกเล่ามากมายของผู้คนที่อยู่ในการแสดงครั้งนั้น

"เขาอยู่ที่โพเดียมในการแสดงรอบปฐมทัศน์ (ของซิมโฟนีหมายเลข 9) แต่มีผู้กำกับการแสดงดนตรีคนหนึ่งอยู่ข้าง ๆ เพื่อคอยดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เพราะในตอนนั้นเป็นที่ทราบกันว่าเบโธเฟนไม่ใช่วาทยากรผู้ที่อยู่กับร่องกับรอยมานานแล้ว" ศ.ทันบริดจ์ กล่าว

"ดูเหมือนว่าเสียงปรบมือจะเกิดขึ้นในท่อนหนึ่งของเพลง เพราะผู้ชมอยากฟังมันซ้ำอีกรอบ"

นี่อาจกลายเป็นค่ำคืนแห่งความโกลาหลได้ เพราะนักแต่งเพลงและวาทยกรเป็นคนหูหนวก เพลงซิมโฟนีมักมีความยาวและซับซ้อน อีกทั้งในสมัยนั้นนักดนตรีมักมีการซักซ้อมกันน้อยมาก

"มันน่าทึ่งที่การแสดงครั้งนั้นออกมาดีมาก ทั้งที่ไม่มีการเตรียมตัวกันมากนัก" ศ.ทันบริดจ์ กล่าว

"ดนตรีคือศิลปะรูปแบบหนึ่ง"

ที่มาของภาพ, BBC/Richard Strittmatter

คำบรรยายภาพ,

ศ.ลอรา ทันบริดจ์ เขียนหนังสือ Beethoven: a life in nine pieces เนื่องในวาระครบรอบ 250 ปีวันเกิดของเบโธเฟน

คอนเสิร์ตครั้งนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์และโศกนาฏกรรมในชีวิตของเบโธเฟน

เขาเกิดที่เมืองบอนน์ ของเยอรมนีเมื่อปี 1770 ซึ่งครบรอบ 250 ปีในปี 2020 แม้จะมีความไม่ชัดเจนเรื่องวันเกิดของเขา โดยเชื่อกันว่าเขาเกิดวันที่ 16 ธ.ค. แต่มีบันทึกว่าเขาเข้าพิธีบัพติศมาเป็นคริสต์ศาสนิกชนเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.

เขาคือนักประพันธ์เพลงผู้เปี่ยมไปด้วยพลัง จินตนาการ และความหลงใหล ที่มาพร้อมกับบุคลิกอันซับซ้อนและย้อนแย้ง

ชีวิตวัยเด็กของเขาตรงกับสมัยสงครามนโปเลียนซึ่งเกิดความวุ่นวายทางการเมืองไปทั่วยุโรป

แม้จะเกิดในเยอรมนี แต่เบโธเฟนก็ได้รับการยอมให้เป็นหนึ่งในนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของเวียนนา เมืองหลวงแห่งดนตรีคลาสสิคที่ถือว่านักดนตรีชื่อก้องโลกอย่าง โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท, โยเซฟ ไฮเดิน, ฟรันซ์ ชูเบิร์ต และ อันโตนิโอ วิวัลดี คือคนของเมือง

ศ.ทันบริดจ์ กล่าวว่า "ในหลายแง่มุมเขา (เบโธเฟน) ได้ปฏิวัติขอบเขตของดนตรีในเชิงของเสียงและระดับความดัง"

"ความทะเยอทะยานของเขา บวกกับแนวคิดว่าดนตรีสามารถสื่อถึงความนึกคิดและความรู้สึก เขาได้แสดงให้เห็นว่าดนตรีเป็นมากกว่าแค่ความบันเทิง มันมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมาก"

"เบโธเฟนคือบุคคลสำคัญในการยกระดับดนตรีไปสู่การเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง" เธอบอก

ขณะเดียวกัน เขาก็เป็นที่รู้จักในฐานะคนเจ้าอารมณ์ เห็นแก่ตัว หลงตัวเอง ไม่ชอบเข้าสังคม บึ้งตึง โหยหาความรัก รุ่มร่าม ตระหนี่ คอยหมกมุ่นอยู่กับเรื่องสุขภาพของตัวเอง และเป็นคนติดเหล้า

ชีวิตที่มีปัญหาสุขภาพรุมเร้า

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เบโธเฟนมีแนวคิดว่าดนตรีสามารถสื่อถึงความนึกคิดและความรู้สึก เพราะมันคือศิลปะไม่ใช่ความบันเทิง

บุคลิกที่ไม่น่าพิสมัยของเบโธเฟนส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่เขาต้องทนทุกข์กับปัญหาสุขภาพมากมาย และต้องเผชิญกับวิธีการรักษาอันทรมานในสมัยนั้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ในยุคปัจจุบันหลายคนได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อระบุว่าเบโธเฟนต้องทนทุกข์กับโรคอะไรบ้าง และความเจ็บป่วยเหล่านี้ทำให้เขาสูญเสียการได้ยินไปได้อย่างไร รวมทั้งมันได้ส่งผลอย่างไรถึงบุคลิกและการสร้างสรรค์บทเพลงของเขา

นพ.เฮนรี มาร์ช ศัลยแพทย์ทางประสาทชาวอังกฤษได้รวบรวมอาการป่วยต่าง ๆ ของเบโธเฟนเพื่อหาว่ามันคือโรคอะไรในปัจจุบัน เอาไว้ในสารคดีของบีบีซีที่ชื่อ Dissecting Beethoven (ชำแหละเบโธเฟน)

หลังจากคีตกวีผู้นี้สิ้นลมเมื่อวันที่ 26 มี.ค. ปี 1827 นพ.โยฮันเนส วากเนอร์ ผู้โด่งดังในยุคนั้นได้ทำการชันสูตรศพ แล้วพบว่าช่องท้องมีอาการบวม ตับเสียหายอย่างหนักและหดตัวเหลือเพียง 1 ใน 4 ของขนาดปกติ ซึ่งล้วนเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงโรคตับแข็ง

โรคพิษสุราเรื้อรังเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาในตระกูลของเบโธเฟน เพราะทั้งย่าและพ่อของเขาต่างก็เป็นนักดื่มตัวยง

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

แพทย์ทำการชันสูตรศพเบโธเฟน แล้วพบหลักฐานบ่งชี้ว่าเขาเป็นโรคตับแข็ง

ศ.ทันบริดจ์ เล่าว่า เบโธเฟน ดื่มไวน์เป็นประจำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในยุคนั้น เนื่องจากน้ำไม่สะอาดปลอดภัยพอสำหรับการบริโภค

ดร.วิลเลียม เมเรดิธ นักวิจัยจากศูนย์เบโธเฟนศึกษา ที่มหาวิทยาลัยซานโฮเซ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งสมมุติฐานถึงความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มไวน์กับภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่ว โดยใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างเส้นผมของเบโธเฟนที่พบสารดังกล่าวตกค้างอยู่

ในยุคนั้นพ่อค้าไวน์มักหมักน้ำองุ่นในถังที่บุด้วยตะกั่ว เพื่อให้ได้เครื่องดื่มรสชาติดีโดยที่ไม่ล่วงรู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วอาจสร้างความเสียหายต่อระบบประสาท อย่างไรก็ตามยังไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าเบโธเฟนป่วยด้วยสาเหตุนี้

สูญเสียการได้ยินไปอย่างไร

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เบโธเฟนเคยคิดอยากฆ่าตัวตาย และหลบลี้หนีหน้าผู้คนจากปัญหาสุขภาพและการไม่ได้ยิน

สิ่งที่มีการพิสูจน์แล้วก็คือ การได้ยินของเขาได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่ง นพ.วากเนอร์ ได้สังเกตและเขียนรายงานเรื่องนี้ไว้ในเอกสารการชันสูตรศพ

ดร.เมเรดิธ บอกบีบีซีว่า อาการหูหนวกของเบโธเฟน อาจเกี่ยวข้องกับโรคระบบการย่อยอาหารของเขา นอกจากนี้ เขายังบ่นอยู่เสมอว่าเป็นไข้สูงและปวดศีรษะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องทนทุกข์อยู่ตลอดชีวิต

ขณะที่ ดร.ฟิลิป แมคโกแย็ก จากคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ เสนออีกทฤษฎีที่ว่า ภาวะหูหนวกของเบโธเฟน อาจเป็นอาการข้างเคียงของโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด (congenital syphilis) ซึ่งทารกได้รับเชื้อจากแม่ที่ติดโรค อย่างไรก็ตาม นพ.มาร์ช มองว่านี่เป็นเพียงการสันนิษฐาน และยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ที่ชัดเจน

แต่ข้อมูลที่แน่ชัดก็คือ เบโธเฟน เริ่มมีปัญหาด้านการได้ยินตั้งแต่ปี 1797 และในปี 1802 เขาได้ย้ายออกจากกรุงเวียนนาตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อไปอยู่ในเมืองใกล้ ๆ กันที่เงียบสงบกว่า และเพื่อทำใจยอมรับกับความพิการทางโสตประสาทของตนเอง

ในจดหมายที่เขาเขียนถึงน้องชายสองคนแต่ไม่เคยได้ส่งไปถึง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามของ "พินัยกรรมไฮลิเกนชตัดท์" (Heiligenstadt Testament) เบโธเฟน เล่าถึงความคิดอยากฆ่าตัวตาย และความต้องการหลบลี้หนีหน้าผู้คนเนื่องจากปัญหาสุขภาพและการไม่ได้ยิน

ถึงจะต้องเผชิญกับความทุกข์เหล่านี้ แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อทำงานศิลปะที่เขารัก ซึ่งตอนหนึ่งของจดหมายที่ถูกค้นพบหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว เบโธเฟน ได้เขียนเอาไว้ว่า

"เฮ้อ ! ไม่รู้จะยอมรับอย่างไรกับความอ่อนแอของประสาทสัมผัสในตัวพี่ที่ควรจะอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบกว่าใคร ๆ ประสาทรับเสียงที่ครั้งหนึ่งเคยยอดเยี่ยมที่สุดชนิดที่คนในอาชีพของพี่เพียงไม่กี่คนที่จะมีประสาทสัมผัสเช่นนี้"

เบโธเฟน เล่าว่าในช่วงแรกเขาเริ่มสูญเสียการได้ยินเสียงในความถี่บางระดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็สูญเสียการได้ยินไปแทบทั้งหมด

มีหลักฐานว่าในปี 1818 เบโธเฟน เริ่มจะฟังคนพูดไม่รู้เรื่อง เขาจึงใช้วิธีเขียนสื่อสารกับผู้อื่นแทน แต่ถึงอย่างนั้น เขายังคงแต่งเพลงต่อไป ซึ่งรวมถึงบทเพลงที่น่าประทับใจที่สุดบางชิ้นของเขา

การที่เบโธเฟนถนัดการเล่นเปียโนมากที่สุด เขาจึงใช้มันในการแต่งเพลง โดยใช้อุปกรณ์ขยายเสียงต่าง ๆ เข้าช่วยด้วย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

อุปกรณ์ช่วยฟังที่เบโธเฟนใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลง

ทว่าเครื่องดนตรีที่ทรงพลังที่สุดของเขาคือ "สมอง"

ศ.ทันบริดจ์ กล่าวว่า "นักดนตรีต้องพึ่งพาการใช้จินตนาการสูง และพวกเขาสามารถได้ยินเสียงดนตรีในหัวได้ ซึ่งมันเป็นวิธีการที่เบโธเฟนใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีมาตั้งแต่เด็ก"

การเขียนเพลงที่ตัวเองไม่สามารถได้ยิน ผลักดันให้เบโธเฟน ใส่พลังและการแสดงภาษากายเข้าไปในชิ้นงานของเขาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

อันที่จริงผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีในยุคปัจจุบันมองว่าความพิการทางโสตประสาทได้เพิ่มพรสวรรค์ทางดนตรีของเขาในหลายด้าน

ดนตรีกับความหวัง

ศ.ทันบริดจ์ เล่าว่า เบโธเฟน แต่งคำร้องที่นำมาจากโคลงภาษาเยอรมัน Ode an die Freude (Ode to Joy) ของฟรีดริช ชิลเลอร์ ไว้ในท่อนหนึ่งของซิมโฟนีหมายเลข 9 ในช่วงที่เขาเผชิญมรสุมชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นว่าเขายังมีหวังในอนาคต และเป็นความรู้สึกที่ปรากฏอยู่อย่างดาษดื่นในผลงานชิ้นต่อ ๆ มาของเขา

ศ.ทันบริดจ์ คิดว่าแนวคิดเรื่องภราดรภาพและความสุขในบทเพลงของ เบโธเฟน "คือสิ่งที่เขามีความหวังให้เกิดขึ้นในทางการเมืองและสังคมโดยรวม"

"เขาเก็บงำความฝันนั้นไว้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และนั่นคือสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้"

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ชาวกรุงเวียนมาไปร่วมกล่าวอำลาเบโธเฟนเป็นสุดท้ายในงานศพของเขา หลังจากเขาเสียชีวิตลงในวันที่ 26 มี.ค. ปี 1827 ขณะมีอายุ 56 ปี

คีต กวี สากล มี ใคร บ้าง

คีตกวีเอกของโลก.
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach).
ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven).
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart).
เฟรเดริก ฟร็องซัว ชอแป็ง (Frédéric François Chopin).
โรเบิร์ต อะเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann).
ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert).

คีตกวีท่านใดได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ประพันธ์เพลงมากที่สุด

เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่

กวีท่านใดได้รับยกย่องให้เป็นบิดาของซิมโฟนี

ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ไฮเดิน เป็นคีตกวีชาวออสเตรียในยุคคลาสสิก เนื่องจากเป็นคีตกวีในความดูแลของราชสำนัก จึงได้ประพันธ์บทเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งซิมโฟนี" และ "บิดาแห่งสตริงควอเท็ต"

สังคีตกวีท่านใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น " เจ้าของบทเพลงสุดโรแมนติก "

ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน (เยอรมัน: Ludwig van Beethoven, ออกเสียง: [ˈluːtvɪç fan ˈbeːt.hoːfn̩]; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 – 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน