อักษรหมู่ใดเมื่อผันวรรณยุกต์แล้ว

ความผิดพลาด ในการผันวรรณยุกต์ที่พบมากในปัจจุบันก็คือ ออกเสียงวรรณยุกต์ ตามรูปวรรณยุกต์ที่ปรากฏ ซึ่งนับว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก คำในภาษาไทยนั้นอาจจะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยัญชนะต้นว่าเป็นอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ และเป็น คำเป็นหรือคำตาย นักเรียนควรทบทวนเรื่องเหล่านี้ให้เข้าใจก่อนที่จะศึกษาหลักการผันเสียงวรรณยุกต์

หลักการผันเสียงวรรณยุกต์ 

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ครบ 4 รูป 5 เสียง รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น อา อ่า อ้า อ๊า อ๋า พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้ตรีเป็นเสียงตรี และผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
  2. คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 3 รูป 4 เสียง เริ่มด้วยเสียงเอก เช่น อะ อ้ะ อ๊ะ อ๋ะ คำ “อะ” เสียงเอกไม่มีรูปวรรณยุกต์

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง ขัน ขั่น ขั้น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท
  2. คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 1 รูป 2 เสียง ขะ ข้ะ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง คาน ค่าน ค้าน พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี
  2. คำตาย สระเสียงยาว ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คาด ค้าด ค๋าด พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา
  3. คำตาย สระเสียงสั้น ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คะ ค่ะ ค๋ะ พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
  4. อักษรคู่ ถ้าผันเสียงคู่กับอักษรสูงจะสามารถผันได้ครบ 5 เสียง เช่น คา ข่า ค่า-ข้า ค้า ขา
  5. อักษรเดี่ยว เมื่อมี “ห” หรืออักษรสูง หรืออักษรกลางมานำจะผันเสียงได้ตามอักษรที่นำ เช่น หนา หน่า หน้า หรือคำว่า “ตลาด” จะอ่านว่า “ตะ-หลาด” ไม่ใช่ “ตะ-ลาด” เป็นต้น

โปรดสังเกตตาราง การผันวรรณยุกต์ ต่อไปนี้

อักษรหมู่ใดเมื่อผันวรรณยุกต์แล้ว

จากตารางการผันวรรณยุกต์ จะพบว่า

  1. คำที่มี พยัญชนะต้น เป็นอักษรกลางและเป็นคำเป็น จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบทุกเสียง และรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกันมากที่สุด
  2. คำที่มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ มีเพียงคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางและอักษรต่ำคำเป็นเท่านั้น
  3. คำที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวานั้น มีเฉพาะคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง และ ห นำ อักษรเดี่ยว หรืออักษรสูงนำอักษรเดี่ยวคำเป็นเท่านั้น
  4. คำที่มีรูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกันเลย ได้แก่คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำตายเท่านั้น
  5. คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำคำตาย ระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียง ยาว จะผันเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ยกเว้นเสียงจัตวา
  6. คำที่ผันเสียงวรรณยุกต์ได้น้อยที่สุด คือ คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงหรือ ห นำอักษรเดี่ยว หรืออักษรสูงนำอักษรเดี่ยว คำตาย

นักเรียนสามารถนำตารางนี้ไปใช้ในการเทียบเสียงวรรณยุกต์ได้ โดยวิเคราะห์คำที่ต้องการทราบเสียงวรรณยุกต์ว่ามีพยัญชนะต้นเป็นอักษรชนิดใด คำนั้นเป็นคำเป็นหรือคำตาย ใช้สระเสียงสั้นหรือเสียงยาว และมีรูปวรรณยุกต์อะไร ต่อจากนั้นนำไปเทียบกับคำในตาราง ก็จะทราบได้ว่าคำนั้น มีเสียงวรรณยุกต์ใด ซึ่งหากนักเรียนฝึกเทียบเสียงคำบ่อย ๆ จะเกิดความชำนาญและสามารถวิเคราะห์ได้โดยไม่ต้องใช้ตาราง

การเทียบเสียงวรรณยุกต์ของคำ อาจใช้วิธีเทียบกับอักษรกลาง หรือใช้เสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียง “อ” ก็ได้ เช่นนักเรียนต้องการทราบว่า “ร้อง” มีเสียงวรรณยุกต์ใด ก็เทียบกับคำเสียง “อ” ได้แก่ ออง อ่อง อ้อง อ๊อง อ๋อง จะพบว่า “ร้อง” เสียงเท่ากับ “อ๊อง” ซึ่งเป็นเสียงตรี (อักษรกลาง คำเป็นผันด้วยไม้ตรี เป็นเสียงตรี) จึงบอกได้ว่า “ร้อง” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี เป็นต้น

มนุษย์ติดโซเชียล พร้อมพาส่องหนุ่มหล่อสาวสวยมากความสามารถ ชอบอัปเดตเทรนด์ของโลก มีอะไรปังๆ ดังๆ ก็ไม่พลาดเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

คำในภาษาไทยนั้นอาจจะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยัญชนะต้นว่าเป็นอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ และเป็น คำเป็นหรือคำตาย ดังนั้นควรที่จะแยกให้ออกว่าคำไหนต้องออกเสียงอย่างไรโดยการผันวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง

หลักการผันเสียงวรรณยุกต์

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  • คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ครบ 4 รูป 5 เสียง รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น อา อ่า อ้า อ๊า อ๋า พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้ตรีเป็นเสียงตรี และผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
  • คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 3 รูป 4 เสียง เริ่มด้วยเสียงเอก เช่น อะ อ้ะ อ๊ะ อ๋ะ คำ “อะ” เสียงเอกไม่มีรูปวรรณยุกต์

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  • คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง ขัน ขั่น ขั้น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท
  • คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 1 รูป 2 เสียง ขะ ข้ะ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

  • คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง คาน ค่าน ค้าน พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี
  • คำตาย สระเสียงยาว ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คาด ค้าด ค๋าด พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา
  • คำตาย สระเสียงสั้น ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คะ ค่ะ ค๋ะ พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
  • อักษรคู่ ถ้าผันเสียงคู่กับอักษรสูงจะสามารถผันได้ครบ 5 เสียง เช่น คา ข่า ค่า-ข้า ค้า ขา
  • อักษรเดี่ยว เมื่อมี “ห” หรืออักษรสูง หรืออักษรกลางมานำจะผันเสียงได้ตามอักษรที่นำ เช่น หนา หน่า หน้า หรือคำว่า “ตลาด” จะอ่านว่า “ตะ-หลาด” ไม่ใช่ “ตะ-ลาด” เป็นต้น

ข้อควรจำสำหรับการผันวรรณยุกต์

  1. คำที่มี พยัญชนะต้น เป็นอักษรกลางและเป็นคำเป็น จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบทุกเสียง และรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกันมากที่สุด
  2. คำที่มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ มีเพียงคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางและอักษรต่ำคำเป็นเท่านั้น
  3. คำที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวานั้น มีเฉพาะคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง และ ห นำ อักษรเดี่ยว หรืออักษรสูงนำอักษรเดี่ยวคำเป็นเท่านั้น
  4. คำที่มีรูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกันเลย ได้แก่คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำตายเท่านั้น
  5. คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำคำตาย ระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียง ยาว จะผันเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ยกเว้นเสียงจัตวา
  6. คำที่ผันเสียงวรรณยุกต์ได้น้อยที่สุด คือ คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงหรือ ห นำอักษรเดี่ยว หรืออักษรสูงนำอักษรเดี่ยว คำตาย

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ภาพ :istockphoto

อักษรหมู่ใดเมื่อผันวรรณยุกต์แล้ว

แท็กที่เกี่ยวข้อง

การผันวรรณยุกต์ คืออะไรการผันวรรณยุกต์หลักการผันเสียงวรรณยุกต์การบ้านภาษาไทยวิชาภาษาไทยข้อสอบพื้นฐานภาษาไทยความรู้รอบตัวeducationEDUCATION