โรคระบาดในข้อใดที่มีความเกี่ยวข้องกับภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

นอกจากปัญหาการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุให้บางพื้นที่เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลกลดลง เกิดความอดอยาก เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง จากการศึกษาของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติพบว่า ผลผลิตข้าวจะลดลงร้อยละ ๑๕ เมื่ออากาศร้อนขึ้น ๑ องศาเซลเซียส

ในทวีปแอฟริกา นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ น้ำในแม่น้ำต่างๆ จะมีปริมาณลดลงร้อยละ ๒๕ อันจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและการประมง ผู้คนกว่า ๒๐ ล้านคนจะไม่มีอาหารพอเลี้ยงชีพ สัตว์ป่าหลายชนิดจะขาดแคลนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และอาจส่งผลให้สัตว์ป่าในแอฟริกาตั้งแต่นกไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องสูญพันธุ์

ความแห้งแล้งยังก่อให้เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงทั่วโลก ตั้งแต่ป่าในสหรัฐอเมริกา ป่าแอมะซอนในบราซิล ไปจนถึงป่าในออสเตรเลีย ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาเกิดไฟไหม้ป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียรุนแรงขึ้นทุกปี พื้นที่ป่าเสียหาย ๑๒ ล้าน ๕ แสนไร่ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ คลื่นความร้อนอย่างรุนแรงได้แผ่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๓๕,๐๐๐ คน

ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพายุหมุนในทะเลถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพายุเฮอริเคน ไซโคลน และพายุไต้ฝุ่น ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เมืองที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของพายุบ่อยครั้ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ พายุเฮอริเคนแคทรีนา (Katrina) ได้พัดถล่มเมือง

นิวออร์ลีนส์ในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างย่อยยับ มีผู้เสียชีวิตนับพันคน และในปีก่อนหน้านั้น พายุไต้ฝุ่นถึง ๑๐ ลูกได้พัดถล่มเกาะญี่ปุ่นมากเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยทำสถิติปีละ ๗ ลูก เช่นเดียวกับพายุไซโคลนที่พัดถล่มประเทศออสเตรเลียอย่างรุนแรง ไม่แพ้ประเทศในแถบทะเลจีนใต้ที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าถล่มเกือบ ๒๐ ลูกในช่วงปีที่ผ่านมา จากเดิมที่มีเฉลี่ยปีละ ๑๐ ลูก

ภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ตั้งแต่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย พม่า บังกลาเทศ จนถึงอินเดีย เช่นที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ในเดือนกรกฎาคม ๒๐๐๕ วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึงระดับ ๓๗ นิ้วภายใน ๒๔ ชั่วโมง

ผลกระทบสำคัญอีกประการคือ การระบาดของเชื้อโรคชนิดต่างๆ เนื่องจากแมลงหลายชนิดที่เป็นพาหนะสำคัญของเชื้อโรคมีการกระจายพันธุ์ได้ดีขึ้น อาทิ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้วงจรชีวิตของยุงมีระยะสั้นลง และยุงยังสามารถอพยพไปอยู่ในที่ที่เคยมีอากาศเย็นได้ ภูเขาหลายแห่งและพื้นที่ที่ไม่เคยมียุงมาก่อนกลับพบว่ามียุงแพร่กระจายเข้าไป ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคมาลาเรียอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทุกวันนี้มีผู้ได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ ๕๐๐ ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง ๔ เท่านับจากเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๐ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา ขณะที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงปีละ ๑๕ ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก และมีการคำนวณว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาเซลเซียส จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงถึงร้อยละ ๔๗ นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นครั้งแรกในเทือกเขาแอนดีส ประเทศชิลี ยังไม่นับรวมการระบาดของโรคอีกหลายชนิด อาทิ ไข้อหิวาไข้สมองอักเสบ ฯลฯ และการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชที่เป็นต้นเหตุของการทำลายพืชผลการเกษตรทั่วโลก
องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ในแต่ละปีประชากร ๑๖๐,๐๐๐ คนป่วยตายจากโรคที่มีผลมาจากภาวะโลกร้อน
ความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้เกิดภัยแล้ง ผืนดินกลายเป็นทะเลทราย และระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น รวมทั้งความแปรปรวนของฤดูกาล  ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการโยกย้ายถิ่นฐาน และการทำลายสิ่งแวดล้อมที่รวมถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐาน เมื่อก่อนเราคุ้นชินกับคำว่า ผู้ลี้ภัยสงคราม ผู้ลี้ภัยทางการเมือง และในวันนี้เราก็เริ่มได้ยินคำว่า ผู้ลี้ภัยด้านสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งปัจจุบันนี้เราจึงเปลี่ยนมาเรียกกันว่า ผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ

 

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้มีผู้ที่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยหรือผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ (Climate refugees) เช่น ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น น้ำท่วม พายุ ซึ่งคำว่า Climate refugees นี้เริ่มถูกใช้ในปี 1980 โดยผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศกลุ่มแรกๆ คือ ประชากรบนเกาะโบลา (Bhola Island) ในประเทศบังกลาเทศ ที่มีจำนวนมากกว่า 500,000 คนที่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน สาเหตุจากน้ำท่วมจนพื้นที่เกาะหายไปถึงครึ่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 2005

 

ขณะที่ชาวเกาะคาเทเร็ต (Carteret Islands) ในปาปัวนิวกีนีเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่กลายเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก ขณะที่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับน้ำทะเลต่ำในหลายพื้นที่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเจอกับปัญหาดังกล่าวเช่นกัน ขณะที่ประเทศตูวาลู (Tuvalu), คีรีบาทิส (Kiribati) และ มัลดีฟส์ (Maldives) จัดอยู่ในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์เช่นนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและคลื่นพายุ

 

ในอลาสก้า หมู่บ้านชิชมารีฟ (Shishmaref) ซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่รอบแนวเกาะซาริแชฟ (Saricherf)  ต้องอพยพถอยร่นออกจากพื้นที่เนื่องจากเผชิญกับปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำแข็งในทะเลและน้ำแข็งจากหิมะละลาย

ขณะนี้ประเทศหมู่เกาะทั่วโลกกำลังจะจมในอนาคตอันใกล้ พวกเขาคือกลุ่มแรกที่ต้องเผชิญกับปัญหาอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ไม่เพียงหมู่เกาะกลางทะเลเท่านั้น พื้นที่ชายฝั่ง พื้นที่แห้งแล้ง พื้นที่ประสบภัยพิบัติมากมายจนส่งผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์กำลังเกิดและปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่อาจคาดการณ์ได้

 

สำหรับประเทศไทย หลายพื้นที่ในประเทศต่างได้รับผลกระทบจากการหายไปของพื้นที่ชายฝั่ง วันนี้ในหลายพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเริ่มมีการอพยพออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่บางขุนเทียน (กรุงเทพฯ) ขุนสมุทรจีน (สมุทรปราการ)บริเวณอ่าวไทยตอนบน และอ่าวไทยตอนล่างได้แก่บริเวณแหลมตะลุมพุก

โรคระบาดในข้อใดที่มีความเกี่ยวข้องกับภัยแล้งในแอฟริกา

OCHA กล่าวว่า ภัยแล้งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน และโรคหัด นอกจากนี้ หลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทั่วทั้งภูมิภาค ยังได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและความขัดแย้งภายในประเทศอีกด้วย

ข้อใดเป็นผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

ปัญหานี้ไม่เพียงจะส่งผลต่อมนุษย์ แต่ยังรวมถึงสัตว์จำนวนมาก ทั้งสัตว์ป่าและปศุสัตว์ของชาวบ้าน ที่พากันล้มตายเพราะไม่มีอาหารและน้ำให้ดื่มกิน โลกเผชิญวันอากาศร้อนทะลุ 50 องศาเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 4 ทศวรรษ ประชากรโลกต้องอพยพหนีอากาศร้อนเหมือนทะเลทรายในอีก 500 ปี

ภัยแล้งในทวีปแอฟริกาเกิดจากอะไร

ในแต่ละปี แอฟริกาประสบปัญหาภัย แล้งจากภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์ เรือนกระจก ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อ การเกษตร จึงส่งผลต่อการขาดแคลน อาหารสำหรับประชากรด้วย พ.ศ. 2558 ปรากฏการณ์ เอลนีลโญ่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะ แห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดของภูมิภาคนี้ใน รอบ 35 ปีภัยแล้งได้กระทบต่อคนราว 41 ล้านคนในประเทศต่างๆ รวมทั้ง โมซัมบิก มา ดา ...

บริเวณใดเกิดปัญหาภัยแล้งมากที่สุดในทวีปแอฟริกา

เขตซาเฮล (Sahel Region) ตั้งอยู่ที่ในทวีปแอฟริกาเหนือ ใต้ทะเลทรายซาฮารา ทอดยาวเป็นระยะทาง 5,900 กม. ดังรูป พื้นที่นี้มีลักษณะกึ่งแห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนที่แปรปรวน เกิดภัยแล้งและน้ำท่วมเป็นประจำซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มสะอาด และที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในพื้นที่มีระดับความยากจนหลายมิติ (multidimensional poverty) สูง ...