ประเทศไทยกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงมาจากที่ใด

วานนี้ (10 ก.ค. 2562) ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดขึ้นอีก 30 สตางค์ต่อลิตร ยกเว้น แก๊สโซฮอล์ E85 ปรับขึ้น 15 สตางค์ต่อลิตร โดยการปรับราคาขึ้นนั้น เพื่อสะท้อนต้นทุนที่ปรับขึ้นตามปัจจัยสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นหลัก

ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง จากกรณีอิหร่านประกาศจะตอบโต้อังกฤษที่ปฏิบัติการยึดเรือบรรทุกน้ำมันของอิหร่านบริเวณช่องแคบยิบรอลตาเมื่อสัปดาห์ก่อน ประกอบกับปัจจัยด้านอุปทานที่พบว่าการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปกลดลง ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างรัสเซียก็มีปริมาณการผลิตในช่วงต้นเดือน ก.ค. นี้ ใกล้เคียงระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี รวมถึงปัจจัยด้านอุปสงค์ ที่สถาบันสารสนเทศด้าน พลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกในปี 2562 ลง 150,000 บาร์เรลต่อวัน

ประเทศไทยกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงมาจากที่ใด
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

ในสถานการณ์ราคาน้ำมันขาขึ้นอย่างนี้ ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center – ENC ชวนมาดูโครงสร้างราคาน้ำมันของไทยกันอีกสักครั้ง เพื่อเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคา และพอจะเบาใจได้ว่า ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น ก็มีโอกาสปรับลงได้เช่นกัน ตามสถานการณ์ตลาดอย่างที่กล่าว

- Advertisment -

ประเทศไทยกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงมาจากที่ใด

ประเทศไทยกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงมาจากที่ใด

จากโครงสร้างราคาน้ำมันของไทยตามภาพ จะเข้าใจได้ว่า เหตุใดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทย มีการปรับขึ้น-ปรับลง กันอยู่บ่อยๆ นั่นก็เนื่องจากว่า

คำว่า “ราคาน้ำมัน” ในที่นี้หมายถึง “ราคาหน้าปั๊ม” ซึ่งเป็นราคาน้ำมันที่ท่านจ่ายจริง ณ สถานีบริการน้ำมัน

ราคาน้ำมัน คือ ผลรวมของ ต้นทุนสินค้าซึ่งได้แก่น้ำมันนั่นเอง ภาษีสรรพสามิต ภาษีอื่นๆ และเงินสมทบกองทุนของรัฐบาล ตลอดจนค่าการตลาด

  • ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศ คือ ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น(ทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล) บวกกับค่าขนส่ง   เนื่องจากในประเทศไทยไม่สามารถกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศได้ทั้งหมด  จึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ    ดังนั้น เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยจึงต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ ตลาดสิงคโปร์  ซึ่งเป็นตลาดกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอื่นๆ นั้น ก็มีการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดกลางของแต่ละภูมิภาค  เช่น ตลาดดูไบในตะวันออกกลาง  ตลาดเวสต์เท็กซัสในสหรัฐอเมริกา และตลาดเบรนท์ในประเทศอังกฤษ
  • ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นหรือคลังน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ คือ   รัฐเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยรัฐกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น และอัตรากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแต่ละชนิด ในช่วงดังกล่าวประเทศไทยมีกำลังการกลั่นต่ำกว่าความต้องการในประเทศและต้องพึ่งพาการนำเข้า การกำหนดราคาน้ำมันที่ผลิตในประเทศจึงใช้หลักการของความเสมอภาคกับการนำเข้า (Import Parity Basis) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้นำเข้า โดยหลักเกณฑ์การกำหนดราคาจะอ้างอิงตามการเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในช่วงดังกล่าว ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยจะเป็นราคา CIF ของราคาสิงคโปร์ คือ ราคาสิงคโปร์บวกด้วยค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายต่างๆ จนกระทั่งถึงท่าเรือเมืองไทย การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นจะอิงกับราคาประกาศของโรงกลั่นในสิงคโปร์ และสำหรับการกำหนดราคานำเข้าจะอิงตามราคาตลาดจรสิงคโปร์เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการนำเข้าจริง โดยการประกาศราคาจะเปลี่ยนแปลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โรงกลั่นน้ำมันจะเป็นผู้กำหนดราคาด้วยตนเอง สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป จะเป็นตามต้นทุนตามจริง เนื่องจากโรงกลั่นต้องแข่งขันกับต้นทุนนำเข้า ดังนั้น โรงกลั่นจึงใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้า หากโรงกลั่นกำหนดราคาสูงกว่าการนำเข้า ผู้ค้าน้ำมันจะนำเข้าแทนการสั่งซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ แต่หากการกำหนดราคาต่ำกว่าราคานำเข้า จะทำให้โรงกลั่นได้รับกำไรต่ำ ย่อมไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนของธุรกิจการกลั่นในประเทศไทย แต่หลังจากกำลังการกลั่นของประเทศไทยมีเกินความต้องการทำให้ต้องส่งออก การส่งออกในปัจจุบันตามภาวะปกติจะไม่ได้ราคาที่ดีเท่าที่ควร จากปัญหากำลังการกลั่นในภูมิภาคที่สูงกว่าความต้องการ ดังนั้น โรงกลั่นจึงพยายามที่จำหน่ายน้ำมันในประเทศก่อนส่งออก โดยให้ส่วนลดราคา ณ โรงกลั่นในบางช่วง ทำให้การกำหนดราคาของไทยได้ลดลงมาอยู่ระหว่างราคาส่งออกและราคานำเข้า
  • ราคาขายปลีก คือ ราคาขายปลีกน้ำมันของไทย ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน จะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามต้นทุนที่เปลี่ยนไป หรือการประกาศราคาของโรงกลั่น โดยช่วงก่อนยกเลิกควบคุมราคาขายปลีก แม้รัฐบาลจะควบคุมราคาขายปลีกให้อยู่ในระดับคงที่เป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง การกำหนดราคาของโรงกลั่นมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ตามราคาตลาดโลกที่เปลี่ยนไป โดยรัฐได้ใช้ระบบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาระดับราคาขายส่งที่ออกจากโรงกลั่น และราคานำเข้าให้อยู่ในระดับคงที่ ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากมีการยกเลิกการควบคุมราคาแล้ว ราคาขายส่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งโรงกลั่นเป็นผู้กำหนดราคา และจะส่งผลให้ราคาขายปลีกเปลี่ยนแปลงตามในที่สุด 

แม้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อ 16 พ.ค. ให้ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลให้เป็น 5 บาทต่อลิตรไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่ 21 พ.ค.- 20 ก.ค. 2565 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคการขนส่งจาก แต่ราคาขายปลีกก็ยังพุ่งเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังมีความผันผวน

เป้าประสงค์ในการตัดสินใจของ ครม. ครั้งนี้ ก็เพื่อพยุงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับลิตรละ 32 บาทต่อไปอีกระยะ อย่างไรก็ตาม ต่อมาในวันที่ 30 พ.ค. ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ได้มีมติคงราคาดีเซลมาอยู่ที่ลิตรละ 33 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. เป็นต้นไป

วันที่ 13 มิ.ย. นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ว่าที่ประชุมมีติเห็นให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลในประเทศเป็น 35 บาทต่อลิตร จาก 34 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. เป็นต้นไป เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนและยังมีราคาสูงอยู่

ขณะที่ กองทุนอุดหนุนที่บริหารโดย กบน. คาดว่าจะติดลบทะลุ 100,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจาก ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิ.ย. กองทุนอุดหนุนดังกล่าวติดลบไปแล้ว 91,089 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมันติดลบ 54,574 ล้านบาท และบัญชีแก๊สหุงต้มติดลบ 36,515 ล้านบาท ส่วนกระแสเงินสดอยู่ที่ 11,152 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินฝากธนาคาร 8,277 ล้านบาท เงินฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 2,875 ล้านบาท

นอกจากราคาต้นทุนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ผันผวนแล้ว ยังมีปัจจัยอะไรที่ทำให้รัฐยังไม่สามารถบริหารจัดการราคาเชื้อเพลิงได้มากนัก บีบีซีไทยรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาอธิบาย ดังนี้

โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทย

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทย ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน อธิบายว่าในราคาน้ำมันแต่ละลิตรที่สถานีบริการน้ำมันมีองค์ประกอบใหญ่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. ราคาหน้าโรงกลั่น เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะได้รับเงินส่วนนี้ไป โดยไทยจะอ้างอิงจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามตลาดสิงคโปร์เนื่องจากเป็นตลาดกลางในภูมิภาคนี้ คิดจากต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่น เช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

2. ภาษีต่าง ๆ ที่รัฐบาลเรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาน้ำมัน เพื่อไปใช้เป็นรายได้แผ่นดิน ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล 10% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นอกจากนี้ ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่มอีกส่วนที่คิดจากค่าการตลาดอีกด้วย โดยคิดเป็น 7% ของค่าการตลาด

3. เงินกองทุนต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  • เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน อธิบายคือ หากราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป จะนำเงินส่วนนี้มาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้ โดยที่น้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราการเรียกเก็บแตกต่างกัน
  • เงินกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เป็นส่วนที่นำไปใช้ส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในประเทศ โดยจัดเก็บเท่ากันในอัตรา 0.10 บาท/ลิตร

ที่มาของภาพ, กระทรวงพลังงาน

4. ค่าการตลาด เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้อย่างเสรี ภายใต้กลไกตลาดและการแข่งขัน ซึ่งเงินส่วนนี่้จะเป็นเหมือนกับส่วนกำไรของธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกน้ำมัน

จากโครงสร้างราคาน้ำมันดังกล่าวจึงมีหลายฝ่าย ออกมาเรียกร้องลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงเพื่อช่วยพยุงให้ราคาน้ำมันไม่ให้แพงไปมากกว่านี้ และใช้อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลด้วยเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันปาล์มขึ้น ทำราคาไบโอดีเซลพุ่ง

สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ตั้งแต่ 22 ก.พ. เป็นปัจจัยซ้ำเติมให้สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกเลวร้ายลงจากช่วงต้นปี 2565

คำบรรยายภาพ,

แนวโน้มราคาปาล์มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นตาม

นักวิชาการส่วนหนึ่ง และสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานทบทวนมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ใช้ผสมในน้ำมันดีเซล หรือ "ไบโอดีเซล" หลังจากราคาปาล์มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุดอยู่ที่ กิโลกรัมละ 9-10 บาท

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ธิบายไว้บนเว็บไซต์กระทรวงพลังงานในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาว่า กระทรวงพลังงานใช้ราคาไบโอดีเซลอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนน้ำมันหน้าโรงกลั่นเพื่อจัดทำประกาศโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล บี7 บี10 และ บี20 หากราคาไบโอดีเซลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกและผู้ใช้น้ำมัน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 8 ก.พ. ในกิจกรรม Truck Power Final Season สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาน้ำมันหลายประการ นอกจากขอให้รัฐบาลคงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ราคา 25 บาทต่อลิตรแล้ว อีกหนึ่งในข้อเรียกร้องของสหพันธ์ฯ คือ การขอให้ตัดส่วนผสมไบโอดีเซลออกไปเพื่อให้ราคาปรับลดลง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

สภาพการจราจรบน ถ.วิภาวดีรังสิต บริเวณหน้ากระทรวงพลังงานติดขัด หลังจากคาราวานรถบรรทุกเคลื่อนขบวนมาชุมนุมขับไล่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์ุมีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน ที่พวกเขาเห็นว่าล้มเหลวในการบริหารจัดการราคาพลังงานจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่ง

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมีความเป็นไปได้ยาก เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างต่อเนื่อง และหากลดปริมาณการใช้วัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพลง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มด้วย

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อ 29 พ.ค. ถึงนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลว่า เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานสะอาด ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดฝุ่นละออง อีกทั้งยังช่วยรักษาเสถียรภาพระดับราคาพืชผลเกษตรกรไม่ให้ตกต่ำ มีรายได้ที่มั่นคง และในด้านพลังงานถือว่าช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานสะอาด ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการปรับลดส่วนผสมไบโอดีเซลเป็น บี5 (ใช้น้ำมันปาล์ม 5 ส่วนจากไบโอดีเซล 100 ส่วน) เป็นการชั่วคราวในช่วงที่ B100 มีราคาสูง โดยมีผลตั้งแต่ 5 ก.พ. ถึง 30 มิ.ย. นี้

ลุ้นกู้งบกลางเสริมกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่อง

กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการช่วงให้รัฐบาลสามารถตรึงราคาน้ำมันได้ ทว่าในตอนนี้ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) กลับกำลังเผชิญกับปัญหาขาดสภาพคล่องในการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ปัจจุบัน สกนช. มีเงินไหลเข้าเฉลี่ยเดือนละ 2,000 ล้านบาท แต่มีเงินไหลออกเฉลี่ย 7,000 ล้านบาท ส่งผลให้ติดลบเดือนละประมาณ 5,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากมีกระแสเงินสดที่ฝากไว้ที่กระทรวงการคลังอีกราว 1.2 หมื่นล้านบาท จึงทำให้สามารถบริหารจัดการเงินอุดหนุนราคาดีเซลได้อีกประมาณ 1 เดือนเท่านั้น

นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผอ. สกนช. เปิดเผยสื่อมวลชนเมื่อ 27 พ.ค. ว่า กองทุนน้ำมันฯ ได้เสนอขอให้รัฐบาลใช้งบกลาง เพื่อเติมสภาพคล่องตามมาตรา 6 (2) ของกองทุนน้ำมันฯ ได้ระบุว่า รัฐบาลอาจจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุนได้ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินและจำเป็น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ผอ. สกนช. จำเป็นต้องขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนเนื่องจากการเจรจาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินยังไม่มีข้อยุติ จึงต้องใช้งบกลางเข้ามาสนับสนุนกองทุนน้ำมันเป็นการทดแทน

สำหรับการกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนนี้ เป็นผลมาจากมติ ครม. เมื่อ พ.ย. 2564 ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยให้ สกนช. ดำเนินการกู้เฉพาะวงเงิน 20,000 ล้านบาท ตามกรอบของกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ และจะดำเนินการกู้เงินเพิ่มเติมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลบังคับทางกฎหมายแล้วหลังจากพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้รักษาราคาน้ำมันฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้้ามันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. 2564 ประกาศเมื่อ 29 พ.ค. 2564

ปมใหม่ ค่ากลั่นน้ำมันพุ่ง 10 เท่า ภายใน 2 ปี

ประเด็นใหม่ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมาพร้อมด้วยนายอรรรวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรค ในหัวข้อวิกฤตพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเขาระบุว่าราคาค่ากลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา

"ตอนนี้คนไทยกำลังโดนปล้นจากค่ากลั่นน้ำมัน จากข้อมูลราคาค่ากลั่นน้ำมันในช่วงเวลาเดียวกันปี 2563 อยู่ที่ 0.88 บาทต่อลิตร ปี 2564 อยู่ที่ 0.87 บาทต่อลิตร แต่ปี 2565 กระโดดมาอยู่ที่ 8.56 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เท่า เท่ากับค่ากลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ไปเพิ่มตามราคาตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ทั้งที่ต้นทุนไม่ได้เพิ่มขึ้น กลายเป็นภาระประชาชน ภาระกองทุนน้ำมัน แต่ทำไมรัฐปล่อยให้ฟันกำไรได้ขนาดนี้" นายกรณ์ถาม

นอกจากนี้ หัวหน้าพรรคกล้า ยังเสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 ประการ คือ

  • ควรกำหนดเพดานค่าการกลั่น เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันการค้ากำไรเกินควร พร้อมกำหนดขึ้นต่ำไม่ให้ถึงกับขาดทุน
  • เสนอเก็บ "ภาษีลาภลอย" (Windfall Tax) เพราะส่วนต่างจากราคาการกลั่นน้ำมัน เป็นราคาลาภลอยให้กับบริษัท ทำให้ได้กำไรจากส่วนต่าง จึงควรเก็บภาษีลาภลอย เพื่อนำกำไรที่เกินมาช่วยเหลือประชาชน นำมาช่วยในกองทุนน้ำมันต่อไป
  • ต้องจริงจังกับมาตรการประหยัดการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม ต่อมาในวันที่ 13 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าว ว่าตอนนี้กำลังหาทางอยู่ในเรื่องของการกลั่น โดยได้สั่งให้ตรวจสอบไปแล้ว ต้องเป็นการขอความร่วมมือ เพราะกฎหมายมันมีอยู่

ประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันจากไหน

โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทย 1. ราคาหน้าโรงกลั่น เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะได้รับเงินส่วนนี้ไป โดยไทยจะอ้างอิงจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามตลาดสิงคโปร์เนื่องจากเป็นตลาดกลางในภูมิภาคนี้ คิดจากต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่น เช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น Thai News Pix.

ใครเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในไทย

คำถามมาคือ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้ที่ซ่อนอยู่ แล้วใครคือกำหนด "ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม" ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ผู้กำหนดราคาน้ำมันหน้าปั๊มในประเทศไทยคือ "ผู้ค้าปลีก" หรือ "ปั๊มน้ำมัน" ต่างๆ ซึ่งการกำหนดราคาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น

ราคาน้ำมันของประเทศไทยอ้างอิงตามราคาหน้าโรงกลั่น ณ ที่ใด

1. ราคาหน้าโรงกลั่น : เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่น จะได้รับเงินส่วนนี้ไป ซึ่งไทยอ้างอิงจากราคาน ้ามัน หน้าโรงกลั่นตามตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นตลาดกลางในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นราคาที่คิดจากต้นทุนเนื้อน ้ามันดิบ บวกด้วย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่นเข้าไป เช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น

ประเทศไทยซื้อน้ำมันมาจากไหน

สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ในปี 2563 ประเทศไทยมีการจัดหาน้ำมันดิบเฉลี่ย 929,112 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นการจัดหาจาก - แหล่งตะวันออกกลาง 48% (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, คูเวต และบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง) - แหล่งตะวันออกไกล 12% (มาเลเซีย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย)