สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีที่ไหนบ้าง

สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีที่ไหนบ้าง

คงมีน้อง ๆ หลายคนที่ฝันอยากจะเป็นสถาปนิกในอนาคต แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองอยากเป็นสถาปนิกด้านไหน หรือตัวเองควรเรียนสถาปนิกสาขาไหนกันแน่ วันนี้พี่ ๆ ออนดีมานด์จะมาแนะนำ “6 สาขา สถาปนิก” ให้กับน้อง ๆ เอง ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปค้นหา “สถาปนิกสาขาไหนที่ใช่คุณ” กันดีกว่าาา

🏛 สาขาสถาปัตยกรรม (Architectural Design)

น้อง ๆ คนไหนที่อยากออกแบบอาคารในฝันของตัวเอง…ต้องเรียนสาขานี้เลย เพราะสาขานี้เรียนเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้น้อง ๆ มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับเหล่าวิศวกรในอนาคต ตั้งตารอไว้ได้เลย 👀

🏠 สถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture)

สาขานี้เรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ สาขานี้เรียนเกี่ยวการออกแบบพื้นที่ภายในอาคารให้มีความสวยงามและสามารถใช้ประโยชน์ได้ ฮั่นแน่ ~ เริ่มสนใจสาขานี้กันแล้วใช่มั้ยล่ะ 🥰

🇹🇭 สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture)

หากน้อง ๆ ชื่นชอบศิลปะของไทย ห้ามพลาดสาขานี้เป็นอันขาด เพราะสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย โดยน้อง ๆ จะได้ถ่ายทอดความเป็นไทยผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ นั่นเอง 👍

🛣 สถาปัตยกรรมผังเมือง (Urban Architecture)

น้อง ๆ คนไหนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นคนวางผังเมือง สาขานี้จะช่วยสานฝันให้กับน้อง ๆ เอง เพราะสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบและวางผังเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับภูมิทัศน์โดยรอบ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ จะต้องระวังเรื่องของภัยพิบัติด้วยเช่นกัน 🌊

🌇 ภูมิสถาปัตย์ (Landscape Architect)

น้อง ๆ ที่รักธรรมชาติควรเก็บสาขานี้ไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือก เพราะสาขานี้เรียนเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติให้มีความสมดุลกัน เพื่อให้สถาปัตยกรรมสามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมได้นั่นเอง

🛋 ออกแบบอุตสาหกรรม หรือ ศิลปอุตสาหกรรม (Industrial Design)

สาขานี้มีสาขาย่อยอีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ…สาขาย่อยเหล่านี้พอจะมัดใจให้น้อง ๆ ได้มั้ยน้าาา

จบไปแล้วกับ 6 สาขา สถาปนิก เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ เจอสาขาที่ใช่สำหรับตัวเองแล้วหรือยัง ? ถ้าเจอแล้วลำดับต่อไปมา วางแผนการเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าในคณะที่ชอบกันดีกว่า 👇

สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีที่ไหนบ้าง

สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีที่ไหนบ้าง

สวัสดีค่ะ ในช่วงวิกฤติ COVID-19 มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายวิชาชีพที่ได้ร่วมมือกันทำประโยชน์เพื่อสังคม อย่างองค์กรวิชาชีพสถาปัตย์ก็ได้ร่ามกันสร้างและออกแบบ รพ.สนาม เพื่อให้สามารถจัดการพื้นที่ในการดูแลผู้ป่วย COVID ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียกได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ที่สนใจจะเรียน “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” ได้อย่างมากเลยล่ะค่ะ ตลอดมาสถาปัตย์ก็เป็นคณะในดวงใจใครหลายคน วันนี้พี่เมก้าเลยรวบรวมแผนเตรียมสอบมาฝาก                        ถ้าพร้อมแล้วก็ตามไปดูกันเลย!    

สาขาสถาปัตยกรรมไทย มีที่ไหนบ้าง
เตรียมตัวสอบ TCAS65 "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" 

คณะนี้เรียนอะไร

สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ ส่วนใหญ่เน้นศึกษาความรู้แบบสหวิทยาการ โดยประยุกต์ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการต่างๆ ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าต่อมนุษย์และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม  ด้วยความที่สถาปัตย์เน้นบูรณาการความรู้จึงมีสาขาให้เลือกเรียนหลากหลาย แต่ละสาขาก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป เช่น ‘สาขาสถาปัตยกรรม’ ศึกษาทฤษฎี การออกแบบวางผังอาคาร และการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม ‘สาขาสถาปัตยกรรมภายใน’ ศึกษาทฤษฎี การออกแบบ และการจัดงานสถาปัตยกรรมภายในอาคาร ‘ภูมิสถาปัตยกรรม’ ศึกษาทฤษฎี การออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมจากสภาพแวดล้อมท้องถิ่นผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ‘สถาปัตยกรรมผังเมือง’ ศึกษาทฤษฎี การออกแบบ และวางแผนจัดการพัฒนาเชิงพื้นที่และเชิงคุณค่าของชุมชนเมือง    

สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลักโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือวุฒิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถ.บ. (5 ปี) และวุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต วท.บ. (4 ปี) ส่วนสาขาวิชาอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้ร่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระยะเวลาเรียนและวุฒิการศึกษาจะขึ้นอยู่กับคณะ/มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด เช่น สถาปัตยกรรมผังเมือง สถ.บ. จุฬาฯ เรียน 5 ปี ส่วนการผังเมือง ผ.บ. ม.ธรรมศาสตร์ เรียน 4 ปี เป็นต้น  

การเรียนโดยทั่วไป ปี 1 จะเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ปูพื้นฐานวาดเส้น การออกแบบ และเขียนแบบเบื้องต้น ปี 2 เน้นออกแบบสร้างสรรค์และศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม เช่น ศึกษาโครงสร้างและวัสดุเพื่อการก่อสร้าง ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ ศึกษาการนำเสนอแนวคิดทางสถาปัตยกรรม ฯลฯ ปี 3 ฝึกปฏิบัติการออกแบบทางสถาปัตยกรรม สำรวจ วิเคราะห์ และวางผังพื้นที่ตั้งโครงการ ปี 4-5 ฝึกปฏิบัติงานก่อสร้างจริง ตั้งแต่การวางขั้นตอน การตรวจสอบโครงสร้างและวัสดุ การควบคุมงาน และการแก้ปัญหาในการก่อสร้างโดยอิงกับหลักกฎหมายและวิชาชีพ                                   หลายมหาวิทยาลัยก่อนเรียนจบ น้องๆ ยังต้องประมวลความรู้และสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวด้วยค่ะ      

คณะนี้เหมาะกับใคร

1. บางมหาวิทยาลัยกำหนดแผนการเรียน 'วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์' แต่อีกหลายแห่งไม่ได้กำหนดค่ะ จบแผนวิทย์หรือแผนศิลป์ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้ ฝากไว้แค่เช็กระเบียบการอย่างรอบคอบทุกครั้งนะคะ  

2. ชอบเสพงานศิลป์ มีไอเดียสร้างสรรค์ มีพื้นฐานด้านศิลปะและการออกแบบมาบ้าง  

3. ถนัดงานละเอียด คล่องแคล่ว แต่รอบคอบแบบหาตัวจับยาก    

4. มีความอดทนสูง คณะนี้ขึ้นชื่อเรื่องการทำงานภายใต้ความกดดัน งานหนัก งานเร่ง โต้รุ่งบ่อย ดังนั้น ต้องค่อนข้างกายถึก ใจแกร่ง และควบคุมวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีค่ะ    

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง

  • สถาปัตยกรรม (สถ.บ.)
  • สถาปัตยกรรมหลัก (สถ.บ.)
  • สถาปัตยกรรม 4 ปี (วท.บ.)
  • สถาปัตยกรรมไทย (สถ.บ.)
  • สถาปัตยกรรมภายใน (สถ.บ./สน.บ.)
  • สถาปัตยกรรมผังเมือง (สถ.บ.)
  • สถาปัตยกรรมเขตร้อน (สถ.บ.)
  • ศิลปอุตสาหกรรม (สถ.บ.)
  • เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม (สถ.บ.)
  • ภูมิสถาปัตยกรรม (ภ.สถ.บ.)
  • เทคโนโลยีภูมิทัศน์ (ทล.บ.)
  • การผังเมือง (ผ.บ.)
  • การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม (ผ.บ.)
  • การออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (อบ.ม.บ.)
  • การออกแบบ (อบ.บ.)
  • การออกแบบภายใน (ศ.บ./ศป.บ.)
  • การออกแบบอุตสาหกรรม (ออ.บ.)
  • การออกแบบสถาปัตยกรรม (วท.บ.)
  • การออกแบบเชิงบูรณาการสถาปัตยกรรมแนวใหม่ (วท.บ.)
  • การจัดการงานก่อสร้าง (วท.บ.)
  • การจัดการออกแบบธุรกิจและเทคโนโลยี (วท.บ.)
  • นวัตกรรมอาคาร (วท.บ.)
  • นวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (วท.บ.)
  • นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ (วท.บ.)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์  

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ม.เกษตรศาสตร์
  • ม.ธรรมศาสตร์
  • ม.ศิลปากร
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ม.ขอนแก่น
  • ม.มหาสารคาม
  • ม.อุบลราชธานี
  • ม.เชียงใหม่
  • ม.นเรศวร
  • ม.แม่โจ้
  • ม.พะเยา
  • ม.สงขลานครินทร์
  • ม.วลัยลักษณ์
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่น มรภ.พระนคร มรภ.สวนสุนันทา มรภ.ภูเก็ต เป็นต้น
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล เช่น มทร.ธัญบุรี มทร.พระนคร มทร.ตะวันออก มทร.ล้านนา มทร.ศรีวิชัย มทร.อีสาน เป็นต้น
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น ม.กรุงเทพ ม.รังสิต ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เกษมบัณฑิต ม.วงษ์ชวลิตกุล เป็นต้น

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ม.เกษตรศาสตร์ 14,670 บาท / ภาคการศึกษา
  • ส.ลาดกระบัง 16,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.ขอนแก่น 18,000 บาท  / ภาคการศึกษา
  • ม.นเรศวร 20,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.ศิลปากร 22,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • จุฬาฯ 25,500 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.เชียงใหม่ 29,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.สงขลานครินทร์ 30,000 บาท / ภาคการศึกษา

ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับแต่ละรอบ (อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS64)

รอบ มหาวิทยาลัย/โครงการ เกณฑ์คัดเลือก คะแนนต่ำสุดปี 64
รอบ 1 
Portfolio
ม.มหาสารคาม (สถาปัตยกรรม)
โครงการสานฝันฉันอยากเรียนออกแบบสถาปัตย์และก่อสร้าง
GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.00 + Portfolio ไม่เกิน 10 หน้า          (ผลงานด้านศิลปะ การออกแบบ การเข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะออกแบบสร้างสรรค์ ใบประกาศนียบัตรด้านการออกแบบ) + สอบสัมภาษณ์ -
จุฬาฯ (สถาปัตยกรรม) 
โครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาใน                                       คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.50 + GPA คณิต ฟิสิกส์ ศิลปะ แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 3.50 + CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 + Portfolio ไม่เกิน 10 หน้า (ประวัติการอบรม การเข้าร่วมกิจกรรม รางวัล และภาพผลงานด้านศิลปะ                การออกแบบ หรือสถาปัตยกรรม) + สอบสัมภาษณ์ -
ส.ลาดกระบัง (สถาปัตยกรรมหลัก) 
โครงการคัดเลือกจากแฟ้มรวบรวมผลงาน                          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 20% + Portfolio 60%           (ความเรียงตามหัวข้อที่กำหนด ผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะ ผลงานศิลปะแสดงตัวตน ผลงานทัศนศิลป์) + ความสามารถพิเศษอื่นๆ 20% (ภาษา กิจกรรมพิเศษระดับชาติขึ้นไป) + สอบสัมภาษณ์  -
ม.เกษตรศาสตร์ (สถาปัตยกรรม) 
โครงการช้างเผือก 
GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 20% + Portfolio ไม่เกิน 10 หน้า 20% (ผลงานด้านการออกแบบ และ/หรือผลงานที่ได้รับรางวัลระดับโรงเรียนขึ้นไป) + สอบสัมภาษณ์ 10% + แสดงทักษะและความถนัด 50% -
       
รอบ 2 
Quota
ม.เชียงใหม่ (สถาปัตยกรรม) 
โครงการผู้มีแววเป็นสถาปนิก
GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + PAT4 + วิชาสามัญ (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์) + Portfolio ไม่เกิน 10 หน้า (ผลงานแสดงตัวตน  ผลงานความสามารถทางศิลปะ ผลงานความสามารถการออกแบบ ความสามารถพิเศษอื่นๆ) + VDO Clip + สอบสัมภาษณ์  -
ม.พะเยา (สถาปัตยกรรม)  
โครงการรับตรงรร.ในเขตพื้นที่บริการ
GPAX 20% + GAT 30% + PAT4 50%  -
ม.ศิลปากร (สถาปัตยกรรม)  
โครงการโควตา 28 จังหวัด
GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + Portfolio ผลงานไม่เกิน 10 หน้า (ผลงานด้านออกแบบ การเขียนลายเส้นสามมิติ และการเขียนทัศนียภาพ) + สอบสัมภาษณ์  -
ม.ขอนแก่น (สถาปัตยกรรม) 
โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สอบสมรรถนะหลัก ม.ขอนแก่น 70% (ไทย อังกฤษ คณิต วิทย์ ดิจิทัล) + สอบสมรรถนะเฉพาะด้าน 30% (ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์)   -
       
รอบ 3 Admission จุฬาฯ (สถาปัตยกรรม) GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 + PAT4 40% + วิชาสามัญ 60% (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์1 ฟิสิกส์)   50.6167
ส.ลาดกระบัง (สถาปัตยกรรมหลัก) GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.50 + GAT 30% + PAT4 70% + สอบสัมภาษณ์  7146.3000
ม.ศิลปากร (สถาปัตยกรรม) GAT 15% + PAT4 50% + วิชาสามัญ 35% (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์) 30.8200
ม.ธรรมศาสตร์ (สถาปัตยกรรม) 
 โครงการพิเศษ  
GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 + GAT 35% + PAT4 35% + วิชาสามัญ 30% (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์) 25.5000

อาชีพหลังจบการศึกษา

น้องๆ ที่ต้องการเป็นสถาปนิก ในบางงานต้องมีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (ก.ส.) ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก เพื่อใช้เป็นเอกสารรับรองการออกแบบและเซ็นรับรองแบบของสถาปนิก ปัจจุบันมี 4 สาขาที่ต้องสอบใบประกอบฯ คือสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรม สามารถตรวจสอบหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่สภาสถาปนิกรับรองได้ที่เว็บไซต์สภาสถาปนิก 

สาขาสถาปัตยกรรมหลัก ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิก นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้างอิสระ ที่ปรึกษาโครงการและบริษัทบริหารงานโครงการก่อสร้าง บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานราชการด้านสถาปัตยกรรมและงานโยธา ผู้ประกอบการด้านออกแบบต่างๆ  

สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑณศิลป์ ผู้บริหารโครงการออกแบบและก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน ผู้ก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมภายใน นักออกแบบในสาขาอาชีพอื่นๆ

สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ประกอบอาชีพเป็นนักผังเมือง นักวิเคราะห์โครงการและวางแผน นักวิชาการและที่ปรึกษาด้านผังเมือง นักวิจัย และอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษา  

สาขาภูมิสถาปัตยกรรม ประกอบอาชีพเป็นภูมิสถาปนิกในหน่วยงานข้าราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรม ที่ปรึกษาด้านงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมหน่วยงานเอกชนหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร  

ฝากน้องๆ ที่อยากเรียน “สถาปัตยกรรมศาสตร์” นะคะ การเตรียมสอบที่เน้นมากๆ คือ GAT PAT4 และวิชาสามัญ 3 ตัวหลักคือภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ต้องเก็บให้แม่นเลย เพราะตอนเข้าไปเรียน น้องๆ จะได้เจอการคำนวณอย่างน้อยก็ในวิชาโครงสร้างค่ะ ตั้งใจและอดทนนะคะ คว้าฝันได้แน่นอน!  

ขอขอบคุณรูปภาพจาก Banner vector created by macrovector www.freepik.com

คณะสถาปัตย์ มีที่ไหนบ้าง

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย.

ภูมิสถาปัตยกรรม ที่ไหนดี

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง 3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการผังเมือง

ป.โท ผังเมือง มีที่ไหนบ้าง

มีการสอนด้านผังเมืองในมหาวิทยาลัยไหนบ้าง ? ระดับปริญญาตรีมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระดับปริญญาโทมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียนสถาปัตยกรรมไทยมีอะไรบ้าง

การเรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเฉพาะด้านเกี่ยวกับความเป็นไทย ศึกษาประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, โครงสร้างอาคารบ้านเรือนในอดีต, เรียนรู้วัฒนธรรมไทย และพัฒนาการความเป็นมาของศิลปะสถาปัตยกรรมไทยแต่ละยุคสมัย เพื่อนำความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นไทยออกมา จุดสำคัญของคนเรียนสาขาวิชานี้คือ ต้องชอบศิลปะ ...