ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด

  • ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด

    ( หาภาพขรัวอินโข่งไม่เจอ เอาขรัวต้อยไปดูแทนนะ )

             

    เมื่อพูดถึงสังคมที่สามารถดำรงรักษาความเป็นไท(ไทย)เอาไว้ได้ประดุจเกลือรักษาความเค็ม ย่อมไม่แปลกนักที่สังคมลักษณะเช่นนี้จะเกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลด้านคำพูด อย่าง เก๋เฟร๋อ ดีเวอร์ ชิมิ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการเขียน อย่าง ครับ เป็น คับ ครัช คัด ย่อมทำให้สังคมลักษณะนี้ประสาทแดกได้ตลอดเวลา

              และในสังคมลักษณะนี้ เมื่อมีผู้ออกมาท้าทายขนบ ประเพณี ศิลธรรมอันดี ฯลฯ ของสังคม มันผู้นั้นที่กล้าออกมาท้าทายหรือสร้างความเปลี่ยนแปลง ย่อมกลายเป็นฝุ่นใต้ตีนของบรรดาผู้ออกมาปกป้องได้อย่างเร็วพัน ด้วยเหตุนี้เองสังคมที่มีลักษณะเช่นนี้จึงไม่ค่อยมีการพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้ามากนัก (ดูได้จากการรถไฟ ฯลฯ)

              แต่คุณผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ ว่าในสังคมแบบนี้ ก็มีคนที่พร้อมออกมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าคนคนนั้นไม่ถูกกระแสดราม่าถล่มจนจมปฐพีไปซะก่อน การออกมาเรียกร้องย่อมส่งผลการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เสมอ

              ตัวอย่างของบุคคลผู้กล้าหาญวันนี้ที่ผู้เขียนขอหยิบยกขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักก็คือ แทม ทา ดา แดม แทม แท่ม แทม แทม แท้ม "ขรัวอินโข่ง" (ดูหักมุมกับการเปิดตัวชะมัด) พระนักวาดที่คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนเคยได้ยินชื่อตอนท่อนหนังสือสอบ แต่ไม่เคยเห็นผลงานที่แท้จริง หรือบางท่านอาจลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าใครวะ ขรัวอินโข่ง

             เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เชิญท่านผู้อ่านขยับสายตาไปย่อหน้าต่อไปได้เลยยยยย

              ขรัวอินโข่งมีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 เป็น ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ เป็นศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น

              ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส

    ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด
              ( ภาพจิตกรรมแบบ 2 มิติ ตัวคนจะเท่ากัน )

             

    การที่ขรัวอินโข่งได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินที่ใช้เทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกเป็นคนแรกของสยามในงานจิตกรรมฝาผนังนั่น เป็นเพราะงานของขรัวอินโข่งที่ท่านได้วาดเอาไว้เป็นการฉีกขนบเดิมของแนวคิดในการวาดภาพจิตกรรมฝาผนังที่มีเทคนิคการวาดแบบไม่ว่าคนในภาพจะอยู่ในระยะใดก็ตาม คนเหล่านั้นจะมีขนาดตัวเท่ากัน ทำให้ขาดมิติความใกล้ไกลในภาพวาด

              เป็นผลมาจากความเชื่อเดิมของช่างเขียนภาพในยุคอดีตที่มีความเชื่อว่าภาพแทนตัวคนในงานจิตกรรมฝาผนังเหล่านั้น คือการจำลองเอาวิถีชีวิต หรือเอาตัวตนของคนเข้าไปในนั้นจริง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ไกล หรือใกล้ ตัวคนในรูปจึงมีขนาดตัวที่เท่ากัน แสดงให้เห็นถึงภาพแทนของคนจริง ที่ปราศจากระยะการจำลองของภาพ (ก็อยู่กันมาได้ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว)

    ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด

    ( ภาพจิตกรรมแบบ 2 มิติ ตัวคนจะเท่ากัน )

             

    เมื่อพิจารณาภาพจิตกรรมฝาผนังเปรียบเทียบระหว่างสมัยก่อนงายเขียนของขรัวอินโข่ง กับงานของขรัวอินโข่งเราก็จะเห็นความแตกต่างของงานได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเรายังได้เห็นถึงการแผ่ขยายเข้ามาของอิทธิพลทางวัฒนธรรมแบบตะวันตก ที่ถูกหยิบมาประยุกต์ใช้กับงานจิตกรรมฝาผนังของไทยในยุกต์ใหม่

              จะเห็นได้ว่าภาพจิตกรรมฝาผนังที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการทำงานของจิตกรที่เปลี่ยนไปแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดเรื่องราวของการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตกที่มีมากขึ้น ณ ช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการปรับตัวของแนวคิดต่าง ๆ ในประเทศไทย

    ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด
                     ( ภาพจิตกรรมของขรัวอินโข่ง )

    ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด
      ( ภาพดูมีมิติของความใกล้ไกล มากกว่าภาพแบบเก่า) 

    ขรัว อินโข่ง เป็นจิตรกรเอกในสมัยใด
                    ( ภาพจิตกรรมชองขรัวอินโข่ง )

             

    การเข้ามาของแนวคิดในการวาดภาพจิตกรรมฝาผนังที่เปลี่ยนไปจากอดีต หากให้เปรียบก็คงไม่ต่างกับการเข้ามาของแนวเพลง หรือวัฒนธรรมเพลงชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย อย่าง EXO (เขียนชื่อผิดจะโดนติ่งถล่มมั้ยวะ) maroon 5 ,backstreet boys ,girl generation ,ฯลฯ ที่แสดงถึงการเข้ามาของอิทธิพลต่างชาติ (ในทางรัฐศาสตร์เรียก soft power หรือ อำนาจละมุน) ที่เป็นการแผ่ขยายอิธิพลทางวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์บางอย่างของประเทศเจ้าของวัฒนธรรม อย่าง การท่องเทียว การขายสินค้า ฯลฯ

              เกือบลืมไป คำว่า ขรัว หมายถึง คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า ในกรณีของ ขรัวอินโข่ง หมายถึงคำเรียกของพระภิกษุที่มีอายุมาก คล้ายกับที่หนังเรื่องขรัวโต เรียกสมเด็จพุทธาจารย์โตพรมรังษี ว่าขรัวโต อันหมายถึงพระผู้ใกญ่นั่นแหละ

จิตรกรรมของขรัวอินโข่งอยู่ในสมัยใด

****ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเพศบรรพชิต เป็นจิตรกรไทยคนแรกที่นำเอา เทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกมาใช้ ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธ

ขรัวอินโข่ง เป็นใครในด้านศิลปะ

ขรัวอินโข่ง ท่านเป็นใคร ขรัวอินโข่งเป็นศิลปินในช่วงเวลารัชกาลที่ 3-4 ท่านเป็นศิลปินที่อยู่ในสมณเพศ (พระ) เดิมทีท่านจะวาดภาพตามคตินิยมตามแนวคิดพุทธศาสนา แต่ว่าภายหลังได้มีการพัฒนาการวาดภาพออกมาเป็นภาพปริศนาธรรมที่ดูแล้วเกิดแนวคิดต่อไปอีกมากมาย ปัจจุบันเราสามารถเสพงานของท่านได้จากฝาผนังพระอุโบสถในวัดบวรนิเวศ

ขรัวอินโข่ง เป็นจิตกรเขียนภาพวาดประเภทใด

จึงเป็นจิตรกรช่างเขียนไทยคนแรกที่เขียนภาพทิวทัศน์ผู้คนแบบประเทศตะวันตกบน ผนังโบสถ์ ใช้ตัวละครและสถานที่แบบฝรั่ง และยังเป็นคนแรกที่ริเริ่มวาดภาพแบบ 3 มิติ คือเป็นภาพที่มีความลึก เน้นที่แสงและเงา ใช้สีไม่ฉูดฉาดแบบภาพเขียนทางยุโรปซึ่งต่างจากภาพเขียนไทยในอดีต ภาพ เขียนของ “ขรัวอินโข่ง

จิตกรเอก ในรัชกาลที่4 มีชื่อว่าอะไร

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการแชร์ภาพชุดเปิดสมุดภาพ “ขรัวอินโข่ง” สมุดไทย ร่างภาพลายเส้น ฝีมือขรัวอินโข่งวัดราชบูรณะ จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 จากสำนักหอสมุดแห่งชาติ