ค่าประเมินบ้าน จ่าย ตอนไหน

สินเชื่อบ้านกรุงไทย กู้ซื้อบ้าน กู้สร้างบ้าน วงเงินสูง | ธนาคารกรุงไทยสินเชื่อบ้านกรุงไทย อนุมัติเร็วทันใจ ผ่อนนานสูงสุดถึง 40 ปี ยื่นกู้เงินสร้างบ้าน กู้ซื้อบ้านใหม่ และบ้านมือสองวันนี้ ฟรีค่าธรรมเนียมสินเชื่อบ้าน, อยากมีบ้าน, ดอกเบี้ยบ้าน, กู้ซื้อบ้าน, กู้เงินสร้างบ้าน, กู้เงินต่อเติมบ้าน, ซื้อบ้าน, ซื้อคอนโด, ซื้อทาวเฮาส์, คำนวณผ่อนบ้าน, กู้เงินซื้อบ้าน, คำนวณดอกเบี้ยบ้าน, ผ่อนบ้าน, สินเชื่อบ้านแลกเงิน, กู้ซื้อที่ดิน

•  สำหรับใครที่จะยื่นกู้บ้าน แนะนำให้ยื่นผ่านโครงการเลยจะสะดวกกว่า เพราะบางธนาคารมี Fast Track ให้สำหรับคนที่ยื่นกับโครงการ จะช่วยให้เรารู้ผลการอนุมัติเร็วขึ้น และยังไม่ต้องเสียค่าตรวจประเมินบ้านด้วย 

การอนุมัติเงินกู้แต่ละแบงก์จะใช้เวลาเร็วช้าต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วการอนุมัติสินเชื่อจะใช้เวลาประมาณ 7 - 20 วันทำการ(เฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์) แต่ก็มีบางธนาคารที่อาจแจ้งผลอนุมัติเบื้องต้นได้ภายใน 3 วันหลังจากได้รับเอกสารและประเมินรายได้เบื้องต้น หรือบางธนาคารอาจใช้เวลาอนุมัตินานเป็นเดือนหรือ 2 เดือนก็มี  เช่นในกรณีที่มีการเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมหรือการเพิ่มจำนวนผู้กู้ร่วม เป็นต้น

5.ทำสัญญากู้

หลังได้รับอนุมัติสินเชื่อขั้นตอนต่อไปคือ การทำสัญญากู้ซึ่งทั่วไปเมื่อแบงก์อนุมัติสินเชื่อแล้วจะกำหนดให้เราต้องทำสัญญาภายใน 45 วัน หากพ้นจากนี้อาจต้องมีการพิจารณาสินเชื่อใหม่ ทั้งนี้การทำสัญญากู้มักจะทำก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธิ์เล็กน้อย(1-2วัน) โดยสามารถทำนอกธนาคาร(เจ้าหน้าที่เอาเอกสารมาให้เซ็น)หรือจะทำสัญญากู้ที่สำนักงานธนาคารก็ได้

6.ทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์

การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จะนัดพร้อมกันทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และธนาคาร ที่สำนักงานที่ดินแต่หากเราไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเองจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่โครงการดำเนินการแทนก็ได้ โดยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์เจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้เราทราบจะต้องเตรียมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในวันโอนด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนอง รวมถึงวงเงินส่วนเกินที่เราจะได้หากเรากู้ได้มากกว่าค่าบ้าน หรือเงินส่วนต่างที่เราต้องจ่ายให้โครงการหากกู้ได้น้อยกว่า เป็นต้น 

ถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการกู้แล้วค่ะ โดยในวันนั้นเราก็จะได้เอกสารสัญญาซื้อขาย,สัญญากู้ สัญญาจำนองและสำเนาโฉนดกลับมา เดือนถัดไปก็เริ่มผ่อนธนาคารได้เลย

บริษัทใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของบริษัทที่ดีขึ้น รวมถึงใช้ในการทำการตลาดให้ตรงตามความสนใจของท่านมากที่สุด โดยท่านสามารถเลือก

หากท่านปฏิเสธคุกกี้ หรือยังคงใช้งานเว็บไซต์ต่อไป บริษัทจะยังคงเก็บคุกกี้ (Cookies) ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ของท่านเท่านั้น ทั้งนี้ท่านสามารถตั้งค่าการจัดการคุกกี้ได้ตามวิธีการตั้งค่าที่ระบุไว้ในแต่ละเว็บเบราเซอร์ที่ใช้บริการ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ (Cookies Policy) และ ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านไม่ได้มีแค่ ‘ราคาบ้าน’ เท่านั้น หลายคนที่เข้าใจผิดอาจไม่ได้เตรียมเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนเมื่อจะซื้อบ้านจริงๆ อาจเกิดปัญหาเงินไม่พอจนบ้านที่ตั้งใจจะซื้อต้องหลุดลอยไป…

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เราจึงควรมาทำความรู้จักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือจากราคาบ้าน เพื่อที่ว่าเราจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านให้เพียงพอ ซึ่งในท้ายบทความเราจะมาสรุปกันว่า คุณควรเตรียมเงินไว้เท่าไร เมื่อคิดจะซื้อบ้าน

หัวข้อหลัก

  • เตรียมพร้อม! 10 ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้าน
  • สรุปแล้วเราควรเก็บเงินเท่าไรเพื่อซื้อบ้าน?

เตรียมพร้อม! 10 ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้าน

1.ค่าจองและทำสัญญา (ค่ามัดจำ)

ค่าจอง อาจเรียกง่ายๆ ว่า “เงินจอง” เป็นเงินที่เราจะต้องนำไปให้กับผู้ขายเพื่อเป็นการรับประกันว่าเราต้องการซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมนี้จริงๆ ไม่ว่าจะการจองตั้งแต่ก่อนก่อสร้างหรือภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ขายหรือโครงการ แต่มักจะมีราคาหลักหมื่นขึ้นไป 

หลังจากวางเงินจองแล้ว คุณจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งระบุรายละเอียดและค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าใครคือผู้รับผิดชอบ จำนวนเท่าไหร่ คุณควรอ่านและศึกษารายละเอียดของสัญญาก่อนลงนาม โดยสัญญาจะซื้อจะขายต้องมีคู่ฉบับให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายลงนาม และถือไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ หลายโครงการกำหนดให้ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขาย

2.ค่าดาวน์

สำหรับข้อนี้ ทุกคนที่ตั้งใจจะซื้อบ้านคงน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี และเป็นเงินส่วนที่มักจะเตรียมมาแล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้เปรียบเสมือนเงินจองในอีกขั้น เพราะไม่ใช่เงินแค่หมื่นต้นๆ แต่เงินดาวน์จะมีตั้งแต่ 5% – 10% ของราคาบ้าน เช่น หากซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาท คุณจะต้องเตรียมเงินเป็นค่าดาวน์ 50,000 – 100,000 บาท 

3.ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

เงินส่วนนี้เป็นเงินที่ธนาคารเรียกเก็บจากคุณเป็นค่าดำเนินการในการประเมินมูลค่าบ้านเพื่อที่ธนาคารจะได้นำมาประเมินวงเงินสินเชื่อให้คุณ ซึ่งค่าประเมินราคาจะมีราคาประมาณ 1,000 – 3,000 บาท แล้วแต่ธนาคาร นั่นหมายความว่า ถ้าคุณยื่นขอสินเชื่อจากหลายธนาคาร คุณก็ต้องจ่ายค่าประเมินราคาให้กับทุกเจ้า

ทั้งนี้ สินเชื่อบ้านบางโครงการของบางธนาคารอาจยกเว้นค่าประเมินราคา หรือบางที่อาจมีโปรโมชั่นฟรีค่าประเมินให้

4.ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนองจริงๆ แล้วคือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนกับกรมที่ดิน ซึ่งคิดเป็น 1% ของวงเงินจำนอง หรือราว 1% ของยอดกู้ (กรณีที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร) เช่น ได้วงเงินกู้ 1,000,000 บาท ต้องเตรียมเงินจำนองจำนวน 10,000 บาท นอกจากนี้ จะมีค่าอากรแสตมป์ราคา 0.50% ของราคาซื้อ-ขาย ซึ่งควรเจรจากับผู้ขายและควรระบุในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอน

5.ค่าโอนกรรมสิทธิ์

ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์นั้นจะจ่ายให้กับกรมที่ดินเช่นเดียวกับค่าจดจำนอง โดยกรมที่ดินคิดค่าจดทะเบียนสิทธิ 2% จากราคาประเมิน และสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้ซื้อกับผู้ขายควรตกลงว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งกันรับผิดชอบฝ่ายละ 1%

6.ค่าเบี้ยประกันภัยบ้าน

เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง หลายคนอาจคิดว่าไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านเลยก็ได้ แต่จริงๆ แล้ว อย่างน้อย เมื่อขอสินเชื่อบ้านแล้ว อย่างไรก็จะต้องทำประกันวินาศภัยหรืออัคคีภัยตามกฎหมาย ซึ่งเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับมุูลค่าบ้าน บ้านราคาสูง ค่าเบี้ยประกันสูงกว่าบ้านราคาต่ำจะอยู่ในช่วง 1,000 บาทขึ้นไป ต่อปี (สำหรับบางธนาคารอาจเรียกเก็บพร้อมค่าผ่อนรายเดือนอยู่แล้ว)

7.ค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า

สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านส่วนนี้ จะแตกต่างกันไปตามบ้านแต่ละประเภทโดยขึ้นอยู่กับมาตรวัด ขนาดมิเตอร์ และจำนวนกระแสน้ำ-ไฟที่ปล่อยได้ อาจมีได้ทั้งค่าติดตั้งมิเตอร์ ค่าประกันมิเตอร์ และค่าประกันการใช้น้ำ-ไฟฟ้า เมื่อรวมกันทั้งหมดจะอยู่ในช่วงหลักพันถึงหลักหมื่น

8.ค่าส่วนกลาง (ถ้ามี)

หากเป็นบ้านเดี่ยวไม่ได้มีโครงการดูแลต่อหลังจากการขาย ก็จะไม่มีค่าส่วนกลาง แต่สำหรับคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร บ้านในหมู่บ้านของโครงการ จะมีค่าส่วนกลางสำหรับบริหาร ปรับปรุง และพัฒนาโครงการ เช่น ค่าระบบรักษาความปลอดภัย ค่าบำรุงรักษาสินทรัพย์ในโครงการ ค่าใช้บริการสินทรัพย์หรือสถานที่ส่วนกลาง เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ โดยเก็บตามขนาดพื้นที่ห้องชุดหรือขนาดเนื้อที่ดินกรณีที่ดินอาคาร

9.งบเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

แม้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านโดยตรง แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และบางทีก็เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจงอกขึ้นมาเรื่อยๆ หากไม่วางแผนก่อน แนะนำว่า ในระหว่างที่คุณกำลังเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ให้คุณประเมินและวางแผนซื้อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมกับราคาบ้านที่ต้องการไว้ด้วย

10.งบตกแต่งบ้าน

เช่นเดียวกับข้อข้างบน คุณควรที่จะตั้งงบประมาณก่อนที่จะออกไปซื้อของมาตกแต่งบ้าน และลองคิดว่าจะใช้เงินส่วนนี้กับอะไรบ้างให้คุ้มค่าที่สุด และคิดหาวิธีที่จะตกแต่งบ้านให้น่าอยู่ได้แบบประหยัด

สรุปแล้วเราควรเก็บเงินเท่าไรเพื่อซื้อบ้าน?

ค่าประเมินบ้าน จ่าย ตอนไหน

โดยทั่วไปธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้คุณราว 85% – 95% เมื่อรวมค่าใช้ค่าจ่ายต่างๆข้างต้นแล้วนั่นหมายความว่า คุณต้องเตรียมเงินส่วนต่างจากสินเชื่อราว 10%-20%

หากคุณอยากลดค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านลง หนึ่งในวิธีที่ทำได้ คือ การเลือกสินเชื่อที่ดอกเบี้ยถูก ให้วงเงินได้สูง หรือมองหาสินเชื่อที่งดเว้นค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าประเมินราคา เพื่อให้คุณมีเงินสำหรับการซื้อบ้านจริงๆ สูงขึ้น หรือกู้ได้มากขึ้น และเงินที่เหลือจะได้ใช้เป็นค่าซื้อสิ่งของและตกแต่งบ้านต่อไป

และสำหรับการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ซึ่งอาจอาศัยระยะเวลานานหลายปี ขอแนะนำให้เลือกบัญชีเงินฝากประจำเพื่อที่คุณจะได้ดอกเบี้ยปันผลสูง และยังช่วยไม่ให้ถอนเงินออกมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ และที่สำคัญคือคุณต้องฝากอย่างสม่ำเสมอและมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการฝากด้วย 

ใครเป็นคนจ่ายค่าประเมินบ้าน

ราคาประเมินบ้านคืออะไร ทั้งนี้ การประเมินราคาบ้านจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร/บริษัทประเมิน และผู้ซื้อเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนนี้

ค่าประเมินบ้าน ธอส เท่าไร

ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน – วงเงินขอกู้ไม่เกิน 500,000. - ค่าธรรมเนียม 1,900.- / แห่ง – วงเงินขอกู้ 500,001-3,000,000. - ค่าธรรมเนียม 2,800.- / แห่ง

ธนาคารจะประเมินบ้านตอนไหน

เมื่อยื่นกู้แล้ว ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินราคาบ้านและที่ดิน ที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกันโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน วิเคราะห์รายได้ ฐานะทางการเงิน

ค่าประเมินบ้านคิดยังไง

การประเมินราคาบ้าน และที่ดิน ด้วยวิธีคิดจากต้นทุน.
คำนวนหาราคาของสิ่งปลูกสร้างใหม่.
คำนวนหาค่าเสื่อมราคาแล้วนำมาหักออกจากราคาคำนวนสิ่งปลูกสร้างใหม่.
รวมมูลค่าของที่ดินและสิ่งอื่นๆ (ในที่นี้หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ดินกับที่ดิน) ก็จะได้ราคาประเมินของทรัพย์สินนั้นๆ.