เมื่อส่วนราชการจ่ายเงินจำนวนเท่าใดต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

คำนวณ หัก ณ ที่จ่าย

โปรแกรมคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม

การหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นมาตรการสำหรับเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่คุณรับเงิน ซึ่งโดยทั่วไปแม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีหน้าที่ต้อง ยื่นภาษี อีกต่อไปแล้ว เพราะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย

ทั้งนี้ การจ่ายเงินบางกรณีกฎหมายจะกำหนดให้คนที่จ่ายเงินมีทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนที่คุณรับเงินด้วย แล้วค่อยนำเงินภาษีนั้นนำส่งกรมสรรพากรอีกที ในขณะที่การจ่ายเงินบางกรณีกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดหน้าที่ให้คนจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและประเภทของเงินที่จ่าย1

อนึ่ง หากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดไม่ถึง 1,000 บาท (999.99 บาทลงมา) กฎหมายไม่บังคับให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป กฎหมายจะบังคับให้ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้ว่าสัญญานั้นแบ่งงวดการจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาทก็ตาม2

อย่างไรก็ดี ผู้รับเงินจะได้รับ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการเสียภาษีด้วย

หักภาษี ณ ที่จ่ายไปทำไม?

การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องรับภาระภาษีเป็นเงินก้อนพอถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ เพราะมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว จึงเป็นเครดิตสำหรับคำนวณภาษีได้3

ในกรณีที่คุณถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าภาระที่คุณต้องจ่ายจริง เช่น คุณมีภาระต้องจ่ายภาษีตอนยื่นภาษี 5,000 บาท แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตอนรับเงินไป 6,000 บาท แสดงว่าคุณจ่ายภาษีเกินไป 1,000 บาท แบบนี้คุณก็มีสิทธิขอเงินคืนภาษี 1,000 บาท ที่จ่ายเกินไปได้ แต่ต้องรีบยื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีภายใน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี4

อีกเหตุผลของการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เป็นการการันตีให้ภาครัฐว่าจะเก็บภาษีจากประชาชนได้แน่นอนเพราะหักภาษีทันทีขณะที่คุณมีเงินจ่าย

ทั้งนี้ ข้อมูลการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะถูกส่งเข้าไปบันทึกอยู่ในระบบของกรมสรรพากรเป็นรายเดือน ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีข้อมูลการถูกหักภาษี ณ ท่ีจ่ายของผู้มีเงินได้ทุกคนครบถ้วน หากผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายได้ไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่สรรพากรจึงทราบเพราะตรวจสอบโดยอ้างอิงจากข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่อยู่ในระบบอีกทางนึงด้วย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินเดือนพนักงาน

อ่านเพิ่ม วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างละเอียดสำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงาน

ในกรณีที่ต้องจ่ายค่าจ้างในรูปของเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) ให้พนักงาน จะใช้วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือนโดยให้ คำนวณภาษี ของพนักงานแต่ละคนที่น่าจะเกิดขึ้นตลอดทั้งปีโดยคำนวณจากเงินเดือนที่จะได้รับทั้งปี รวมถึง ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อได้ค่าภาษีแล้ว จึงค่อยนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย5

ค่าภาษีที่คํานวณได้ ÷ จํานวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เช่น คำนวณค่าภาษีทั้งปีแล้วได้ ฿12,000 โดยจ่ายเงินเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ตลอดทั้งปีจึงมีการจ่ายเงินเดือน 12 งวด ทำให้ทุกๆ เดือนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนละ ฿1,000 เป็นต้น

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าตัวเองมีรายได้แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตอนรับเงิน หมายความว่าตัวเองทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว เลยไม่ยื่นภาษี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะโดยปกติการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้ายแต่เป็นเพียงการจ่ายภาษีล่วงหน้าบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่มากโดยเฉพาะตอนรับรางวัลลุ้นโชคต่างๆ คิดว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แล้วจบเลย

ดังนั้น ต่อให้ถูกคุณยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามกฎหมายอยู่ เว้นแต่ว่าเงินได้ของคุณจะเข้าข่ายได้รับยกเว้นให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ เช่น เงินปันผลจากหุ้น/กองทุนรวม ดอกเบี้ย เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 50 ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ข้อ 12/7 คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

  3. ^

    มาตรา 60 ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 63 ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 50(1) ประมวลรัษฎากร, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543


ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป


สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมเราจะต้องถูกหัก และทำไมในแต่ละครั้งถึงถูกหักไม่เท่ากัน โดยจะขอเล่าคร่าวๆ ว่า


  • ให้เราอ่านให้ฟัง
  • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร
  • ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง
    • หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง
    • หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
    • หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ
    • หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
    • ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

ให้เราอ่านให้ฟัง


ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ในการทำหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่องคือ


  1. คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)

ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง โดยออกอย่างน้อย 4 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับแรกออกให้คู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าเก็บไว้ใช้ขอคืนภาษีฉบับหนึ่ง และเก็บไว้เป็นหลักฐานฉบับหนึ่ง ส่วนฉบับที่ 3 และ 4 เราเก็บไว้เอง โดยฉบับที่ 3 เอาไว้สำหรับส่งภาษี (โดยปกติก็จะส่งฉบับนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำให้) และฉบับที่ 4 เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย พร้อมยื่นต่อกรมสรรพากร ผ่านโปรแกรม FlowAccount

ผู้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายสามารถใช้โปรแกรมบัญชีช่วยในการออกเอกสารได้อย่างง่ายๆ แล้ว ลองใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจ  FlowAccount ซึ่งสามารถออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่ายนี้ได้ทั้งทางเว็บไซต์และแอปมือถือ    


ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง

แต่ละประเภทค่าใช้จ่ายนั้นจะถูกหัก ณ ที่จ่ายในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง

ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก

แต่! ถ้าเป็นไปรษณีย์ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น

หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา

การโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%

ส่วนบริการด้านการตลาดคือ การจ้างบล็อกเกอร์รีวิวโฆษณาสินค้า จ้างมาร์เก็ตติ้ง Consult ด้านการตลาดให้ หรือบริการทำ roll-up ป้ายออกบูท (อันนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ) จะต้องหัก 3%

หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ

ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ

หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกที่ต้องหัก 5% เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย

แต่! ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับด้วย เราถือกุญแจรถก็จริง แต่จะถือว่าเป็นการบริการ เพราะมีคนขับรถให้ต้องทำหัก ณ ที่จ่าย 3%

ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท

ซึ่งในการเปิดบิลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี FlowAccount เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่ามูลค่ารวมนั้นจะรวมการเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่ และเสียเท่าไหร่ จากนั้นจะคำนวณยอดชำระให้โดยอัตโนมัติ

Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer & Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้

ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้

สมัครเลย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด