เงินได้ 40 2 หัก ณ ที่จ่าย

  1. ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่เรียกเก็บโดยตรงจากผู้มีเงินได้พึงประเมินจะประกอบไปด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมการเสียภาษีเงินได้คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  2. ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีเรียกเก็บจากผู้บริโภค
    หรือภาษีที่มีผู้ขายผลักภาระให้กับผู้ซื้อเป็นผู้ชำระหรือรับภาระภาษีอากรแทนผู้ขาย
    ประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เมื่อภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นเครื่องมือทางภาษีในการตรวจสอบผู้มีเงินได้ว่าได้เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร
    1. ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
      1. บุคคลธรรมดา
      2. ผู้ตายระหว่งปีภาษี
      3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
      4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
    2. ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
      1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
      2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
      3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาล องค์กรของรัฐบาลหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
      4. กิจกรรมร่วมค้า
      5. มูลนิธ หรือ สมาคม

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเครื่องมือทางภาษาอากรชนิดหนึ่งที่จะควบคุมผู้มีเงินได้ มาว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลว่าได่เสียภาษีและนำส่งกรมสรรรพากรภายในวันที่7ของเดือนถัดไป ดังนั้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะแบ่งออกเป็น

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย (มาตรา50)
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก  ณ ที่จ่าย
    1. ตามมาตรา 3 เตรส
    2. ตามมาตรา 69 ทวิ
    3. ตามมาตรา 69 ตรี
  3. การจ่ายเงินตามมาตรา 70
  4. การจ่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ

ประเภทของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40

เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร จะแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินดังนี้

  1. มาตรา 40 (1) เงินได้เนื่องจากจ้างแรงงานดังนี้
    1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยงเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
    2. เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้
    3. เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    4. เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
    5. เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
  2. มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ มีดังนี้.
    1. ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
    2. เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
    3. เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายให้ เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    4. เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
    5. เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆบรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นประจำหรือชั่วคราว
  3. มาตรา 40 (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
  4. มาตรา 40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือเงินได้อื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน แบ่งออกเป็น
    • (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหน้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่ผู้ถือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ได้โอนเปลี่ยนมือก่อนวันครบกำหนดตามสัญญาให้เงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเพียงอย่างเดว เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้(กฎกระทรวง ฉบับที่ 223 พ.ศ.2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2542) ดอกเบี้ยบางประเภทกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายและให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา 15% ของเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่นก็ได้ สำหรับเงินได้ดังต่อปนี้
      1. ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณษจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้  ดอกเบียตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
      2. ผลต่างระหว่างค่าไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกต่ำกว่าราคาไถ่ถอน และผู้มีเงินได้เป็นผู้ทรงคนแรก
    • (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากษริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม (ที่เป็นคณะบุคคล) หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้จากเงินปันผลนี้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ถ้ามีเงินได้เป็นภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี ให้คูณด้วยจำนวณเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ข้อสังเกต ผู้มี้เงินได้ซึ่งเป็นผู่อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้อย่างอื่น สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม (ที่เป็นคณะบุคคล)หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพราะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมจะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% ของเงินได้โดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น
    • (ค) เงินโบนัสที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    • (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
    • (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือหางหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินกันไว้รวมกัน
    • (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
    • (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพราะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน และเงินได้ตามมารตรา 40 (4) (7) นี้ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้โดยไม่ต้องไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่นก็ได้
  5. มาตรา 40 (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
    1. การให้เช่าทรัพย์สิน
    2. การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    3. การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
      • ในกรณีตาม (1) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไปไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงาประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก้อได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฏากรมาใช้บังคับโยอนุโลม ในกรณี (2) (3)ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับแล้วต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึ่งประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
  6. มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่นซึ่งจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
  7. มาตรา 40 (7) เงินได้จากการรับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในว่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  8. มาตรา 40 (8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ กาพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในเงินได้มาตรา 40 (1) – (7)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ได้กำหนดให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัทสมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฏากรมาตรา 40 คือเงินได้ต่อไปนี้และรวมถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายหรือผู้อื่นออกแทนให้ ดังนั้นเงินได้ของบุคคลธรรมดาได้กำหนดไว้ดังนี้

  1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน
  2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุมบำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม
  4. เงินได้ที่เป็น
    1. ดอกเบี้ยพ้นธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้  รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
    2. เงินปันผล เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตเลียมเฉพราะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย
    3. เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    4. เงินลงทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพราะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกัน
    5. เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินได้ที่กันไว้รวมกัน
    6. ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
    7. ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วเงิน ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
  5. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
    1. การให้เช่าทรัพย์สิน
    2. การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    3. การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
  6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิขากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี หรือวิชาชีพอิสระอย่างอื่น
  7. เงินได้รับจากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  8. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การขนส่ง (หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ1-7)

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในกรณีที่ผู้ได้รับเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยกำหนดให้บุคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเป็นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการจ่ายเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีภาษีนั้น เช่น เข้าทำงานในวันที่ 1 ตุลาคมของปีภาษีและกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจิงในปีภาษีนั้น เท่ากับ 3 คราว ดังนั้น จึงคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วย 3 ได้จำนวนเงินได้พึงประเมินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายไม่ลงตัวให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งรัษฎากร ดังนี้

  1. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้
    1. (1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
      1. (ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12
      2. (ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24
      3. (ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52
    2. ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวนภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
    3. (3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ล่ะคราวที่จ่ายเงินนั้น
    4. (4)  กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) – (3)
    5. (5) กรณีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
    6. (6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฏากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น
    7. (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลยให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรจนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก
    8. (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
  2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้นให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวนภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี(คำนวณตามข้อ 1 )และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม – กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2เดือน(ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว= (928.33 x 9)+(4,315 x 2)=16,984.97 บาท  เหลือภาษีที่จะต้องหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,0140-16,984.97 = 3,155.03 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีหัก ณ  ที่จ่าย

1. ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ค่าบำเหน็จ ฯลฯ

วิธิคำนวณ

  1. นำเงินได้พึงประเมินที่จะต้องจ่ายเป็นตัวตั้ง
  2. คูณ จำนวณคราวที่จ่าย
  3. ผลลัพธ์  คือจำนวนเงินได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
  4. หัก ค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
  5. คงเหลือ เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
  6. หัก ค่าลดหย่อนต่างๆ
  7. คงเหลือ เงินได้สุทธิ
  8. นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษี ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่คำนวณได้คือยอดภาษีรวมทั้งปี
  9. นำยอดภาษีรวมทั้งปีมาหารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย (จำนวนคราวตาม (2))ผลลัพธ์คือจำนวนเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายในคราวนั้น

กรณีที่จ่ายเงินได้เป็นรายเดือน เดือนล่ะเท่าๆ กันตลอดปีภาษี

ตัวอย่าง 1 ปีภาษี 2555 นาย ก ได้รับเงินเดือน เดือนละ 30000 บาทนาย ก ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้

ภรรยาไม่มีเงินได้และบุตรกำลังศึกษา 2 คน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2555 จำนวน 9600 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่จะต้องจ่ายทั้งปีจำนวน 13200 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งแต่ล่ะเดือน ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30000 x 12  = 36000 บาท

หัก  ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60000 บาท) = 60000 บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 300000 บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30000  บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30000 บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34000 บาท

ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 9600  บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 13200 บาท = 116800  บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 183200  บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี 150000 บาทแรกยกเว้น (33200×10%)

= 3320  บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือน 3320 หาร 12                  = 276.66  บาท

เหลือเศษ               = 0.006  บาท

จำนวนเงินที่เหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม

= 276.66 + (0.006 x 12)                  =  276.73 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน เดือนละ         = 276.66 บาท

เดือนธันวาคม                                        = 276.73 บาท

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่จ่ายระหว่างปีภาษี และคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย  เดือนธันวาคม

ตัวอย่างที่2 จากตัวอย่าง 1 ถ้านาย ก. ได้รับเงินเดือนขึ้นในเดือนตุลาคม 2555 เป็นเดือนละ 60000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำเดือนตุลาคม 2555 ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี  60000 x 12                = 720000  บาท

หัก  ค่าใช้จ่าย (40% ไม่เกิน 60000 บาท )                      = 60000    บาท

คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                               = 660000  บาท

หัก  ค่าลดหย่อน (30000 + 30000 + 34000 + 13200 )

= 116800  บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                        = 543200  บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี (15000 บาทแรกยกเว้น) + (35000 x 10 %)

+ (43200 x 20 %)                        =  43640  บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไ 43640 หาร 12

= 3636.66   บาท

สำหรับในเดือนธันวาคม ให้ปรับปรุงการหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้

ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน เดือนละ 30000 บาท 9 เดือน และ เดือนละ 60000 บาท 3 เดือน )    = 12320  บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน)

= (276.66 x 9 ) + (3636.66 x 2)      = 9763.26  บาท

เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในเดือนธันวาคม

= 12320 – 9763.26                           = 2556.74   บาท

สรุป ผู้จ่ายได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคมถึงกันยายน เดือนละ      = 276.66  บาท

เดือนตุลาคมถึงพฤจิกายน เดือนละ     = 3636.66 บาท

เดือนธันวาคม                                = 2556.74  บาท

กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี

ตัวอย่าง จากตัวอย่าง 1 นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามจำนวนวันที่ทำงาน

เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6500 บาท

เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5200 บาท

บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละคราว ดังนี้

วิธีคำนวณ

มกราคม

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี 30000×12      =  360000  บาท

ค่าล่วงเวลา                                                   =   6500  บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                      =   366500  บาท

หัก  ค่าใช้จ่าย ( 40 % ไม่เกิน 60000 บาท )        =     60000   บาท

คงเหลือเงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย                         =    306500  บาท

หัก  ค่าลดหย่อน

( 30000 + 30000 + 34000 + 9600 + 13200 )     =    116800  บาท

คงเหลือเงินสุทธิ                                               =    189700  บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือนและค่าล่วงเวลา

= (150000 บาทแรกยกเว้น ) + ( 39700 x 10% )          = 3970  บาท

หัก  ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพราะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1 )   = 3320  บาท

ภาษีเงินได้จากค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                      =  650    บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของเดือนมกราคม            =   276.66  บาท

รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 276.66)        =  926.66  บาท

กุมภาพันธ์

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30000 x 12         = 360000  บาท

ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                                         = 6500     บาท

ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์                                      = 5200   บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                              =  371700  บาท

หัก  ค่าใช่จ่าย ( 40 % ไม่เกิน 60000 บาท )               =   60000     บาท

คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช่จ่าย                                 =    311700   บาท

หักค่าลดหย่อน ( 30000 + 30000 + 34000 + 9600 + 13200 )

=  116800   บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                   =   194900   บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือนและค่าล่วงเวลา

= ( 150000 บาทแรกยกเว้น ) + (44900 x 10% )           =   4490   บาท

หัก  ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1)       =  3320    บาท

ภาษีเงินได้เฉพาะค่าล่วงเวลา                                      =   1170    บาท

หัก  ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                      =    650.00  บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์                   =     276.66  บาท

รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ (520+276.66)         =     796.66   บาท

สรุป  ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม                                                   =   926.66  บาท

เดือนกุมภาพันธ์                                                =   796.66   บาท

เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน เดือนละ                       =    276.66  บาท

เดือนธันวาคม                                                    =     276.73   บาท

Comments

comments

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด