ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

การรักษาดุลยภาพของกรด–เบสของเลือดโดยระบบหายใจ

ครูทบทวนสมการการเกิดปฏิกิริยาของ CO

2

และน้ำ�ในเลือดที่ทำ�ให้เกิดไฮโดรเจนไอออน (H

+

)

โดย H

+

ที่เกิดขึ้นนี้ทำ�ให้ค่าความเป็นกรด-เบสในเลือดเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนั้นให้นักเรียนสืบค้น

ข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือดโดยการทำ�งานของระบบหายใจจาก

หนังสือเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามดังนี้

ถ้าเลือดมีปริมาณ H

+

มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ pH

อย่างไร

การหายใจช่วยในการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือดได้อย่างไร

จากการสืบค้นและอภิปรายนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่า โดยปกติเลือดมีค่า pH ประมาณ

7.35-7.45 ถ้าเลือดมีปริมาณ H

+

มากกว่าปกติจะทำ�ให้ pH ของเลือดลดลง แต่ถ้าเลือดมีปริมาณ H

+

น้อยกว่าปกติจะทำ�ให้ pH ของเลือดเพิ่มขึ้น โดยการหายใจเป็นการช่วยรักษาดุลยภาพของกรด-เบส

ในเลือดได้ ดังรูป 14.18 ดังนี้ ถ้าปริมาณ CO

2

หรือไฮโดรเจนไอออนสะสมอยู่ในเลือดมากส่งผลให้

เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมอง

ส่วนพอนส์และเมดัลลาออบลองกาตา ซึ่งจะไปควบคุมการทำ�งานของกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง

แถบนอกและกล้ามเนื้อกะบังลม ทำ�ให้เพิ่มอัตราการหายใจเพื่อขับ CO

2

ออกจากปอดเร็วขึ้น แต่ถ้า

เลือดมีความเป็นเบสมากขึ้น อัตราการหายใจจะลดลงเพื่อเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนไอออนให้สูงขึ้นโดย

การสะสม CO

2

ในเลือด ทำ�ให้ความเป็นกรด-เบสของเลือดเข้าสู่ภาวะสมดุล

จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำ�ถามในหนังสือเรียน

ในขณะที่นอนหลับมีการควบคุมการหายใจแบบใด

มีการควบคุมการหายใจโดยระบบประสาทอัตโนวัติซึ่งอยู่นอกอำ�นาจจิตใจ

เพราะเหตุใดมนุษย์ไม่สามารถกลั้นหายใจจนเสียชีวิตได้

มนุษย์สามารถกลั้นหายใจได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นและจะหายใจเป็นปกติ เพราะขณะที่กลั้น

หายใจปริมาณ CO

2

ในร่างกายจะสูงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายทนไม่ได้ ทำ�ให้ต้องหายใจออก

เพื่อนำ� CO

2

ออกจากร่างกายและหายใจเอา O

2

เข้าไป โดยการตอบสนองนี้เป็นกลไกที่ควบคุม

โดยระบบประสาทอัตโนวัติที่อยู่นอกอำ�นาจจิตใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 14 | ระบบหายใจ

ชีววิทยา เล่ม 4

75

“ภาวะเลือดเป็นกรด"(hypo-Alkalinity)
เลือดเป็นกรด คือ ภาวะที่มีของเสียในเลือดมากเกินไป จนเลือดเปลี่ยนสภาพจากความเป็นด่างกลายเป็น"กรด" ทำให้เซลล์และอวัยวะในร่างกายเกิดความเสื่อม (เลือดไม่สะอาด)

** เพราะหัวใจและอวัยวะภายในร่างกาย ทำงานได้ดีในภาวะเลือดเป็นด่าง คือมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 7.2-7.4 พื้นฐานของร่างกายและหน้าที่สำคัญของด่างในร่างกายทำหน้าที่ในการช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมสุขภาพร่างกายทั้งหมด **

อันตรายจากเลือดเป็นกรด
: มะเร็ง เติบโตในดีในภาวะเลือดเป็นกรด
: ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ปวดศีรษะ
โรคประสาทต่างๆ และอาการนอนไม่หลับ กรดไหลย้อน ภูมิแพ้
: ปวดเมื่อยเนื้อตัว เนื่องจากมีภาวะร้อนภายในร่างกาย
: ป่วยแล้วหายยาก เพราะเซซล์เสื่อม ร่างกายฟื้นฟูได้ช้า

พฤติกรรมที่ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
1. สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ สารเคมี ฝุ่นละออง ควันพิษ บุหรี่
2. การรับประทานอาหารปรุงแต่ง/ชูรส/แปรรูปมากเกินไป
เช่น อาหารฟาสต์ฟูด เนื้อสัตว์ ของหมัก ดอง ทอด ปิ้ง ย่าง
น้ำอัดลม อาหารทะเลแช่สารให้ดูสด เหล้า บุหรี่ ยาปฎิชีวนะ ฯลฯ
3. ความเครียดสะสม จนร่างกายมีปริมาณกรดในเลือดเพิ่มขึ้น

วิถีชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ หรือความเครียดเรื้อรังสะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุลความเป็นกรด-ด่างอยู่เสมอ หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่โรคร้าย ทั้งเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง จึงควรรู้เท่ากันสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเร่งปรับพฤติกรรมให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลโดยเร็ว จึงจะมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยค่ะ

เมื่อร่างกายเสียสมดุล

          รองศาสตราจารย์ศรีสนิท อินทรมณี ภาควิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายภาวะที่ร่างกายเสียสมดุลกรด-ด่างว่า

          "ในภาวะปกติ เลือดของเราจะมีความเป็นด่างอ่อน ๆ หรือมีค่า pH ประมาณ 7.35-7.45 เมื่อค่า pH ในเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ จะทำให้เกิดภาวะกรดเกินหรือภาวะด่างเกินได้ ถ้าค่า pH ในเลือดต่ำกว่า 6.8 จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) อาจโคม่า และเสียชีวิตได้ หรือถ้า pH ในเลือดสูงกว่า 7.8 จะเกิดภาวะเลือดเป็นด่าง (Alkalosis) อาจมีอาการชักและเสียชีวิตในที่สุด"

          แต่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ อาจารย์บอกว่า ภาวะกรดเกินและด่างเกินเกิดขึ้นได้น้อยมาก นอกจากจะมีความผิดปกติของปอดหรือไตซึ่งเป็นอวัยวะที่ควบคุมสมดุลกรด-ด่างในร่างกายเท่านั้น โดยปกติแล้ว หากร่างกายมีภาวะเป็นกรดหรือด่างไม่มาก คืออยู่ระหว่าง 6.8-7.8 ร่างกายจะมีกลไกปรับสภาพความเป็นกรดด่างในร่างกายในสมดุลได้ โดยการขับถ่ายกรดออกนอกร่างกายทางปัสสาวะ (กรดอินทรีย์) หรือลมหายใจออก (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

กรดเกินเกิดจากอะไร

          สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ร่างกายมีภาวะกรดเกินมาจากความเครียด เชื้อโรค และอาหารที่เรากินในแต่ละวัน โดยอาหารเป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากอาหารในปัจจุบันส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรด จึงควรรู้จักอาหารเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงและกินให้น้อยลงค่ะ

          คุณสุพิศ กลิ่นหวล นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กล่าวว่า อาหารที่มีความกรดเป็นสูงได้แก่

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 อาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้วจะยิ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 ของหมักดอง น้ำส้มสายชู

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 น้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 เนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ รวมไปถึงนมวัว

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส ลืมผสมอาหาร อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน

          นอกจากนี้ ความเครียดหรือการนอนหลับไม่เพียงพอยังอาจทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นพิษและเสียสมดุลได้ ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีข้อสรุปความเครียดเพิ่มปริมาณของกรดในร่างกายได้จริงหรือไม่ แต่มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะกรดเกิน กระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนแย่ลง เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายรับภาวะความเป็นกรดได้รวดเร็วมากขึ้น

          อาจารย์ศรีสนิท กล่าวว่า การออกกำลังกายหนักเกินไปก็ทำให้เกิดภาวะกรดเกินในร่างกายได้เช่นกัน เพราะการออกกำลังกายหนัก ๆ จะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ร่างกายจะหายใจนำก๊าซออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกรดแล็กติก (Lactic Acid) ค้างอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก เกิดอาการปวด เกร็ง ชา เป็นตะคริว แต่ภาวะเช่นนี้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ถ้าได้นั่งพักสักครู่ อาการก็จะดีขึ้น

ด่างเกินมาจากไหน

          เป็นภาวะที่ร่างกายมีคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ต่ำ หรือมีไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) สูงเกินไป มักเกิดในผู้ที่ปอดและไตทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากไตและปอดมีหน้าที่รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกายและกำจัดกรดหรือด่างส่วนเกิน เมื่อไตหรือปอดทำงานได้ไม่ดี จึงทำให้มีค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายต่ำหรือสูงเกินไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

          ส่วนในกรณีที่ร่างกายมีไบคาร์บอเนตมากเกินไป ซึ่งอาจมาจากการได้รับไบคาร์บอเนตในปริมาณมาก ไบคาร์บอเนตนี้พบได้ในเบกกิ้งโซดา (ผงฟู) ยาลดกรด หรือเป็นผลจากอาการท้องร่วง อาเจียน สูญเสียน้ำ เมื่อร่างกายขาดคลอไรด์ ไตจะพยายามรักษาไบคาร์บอเนตในร่างกาย ทำให้มีปริมาณไบคาร์บอเนตสะสมในร่างกายมากเกินไป

          นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในผู้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่นโรค Hyperventilation หรืออาการที่หายใจลึกหรือเร็วกว่าปกติ Altitude หรือภาวะที่ออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้หายใจเร็วขึ้น จนระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ เป็นไข้ ติดเชื้อ เป็นเหตุให้ร่างกายเสียสมดุลชั่วขณะ เป็นต้น หรือแม้แต่การได้รับกชสารพิษ สารกระตุ้น เช่น ฝุ่นละออง ก็ทำให้ร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุลได้เช่นกัน

 เมื่อกรดเกินแล้วเป็นอย่างไร

          สังเกตง่าย ๆ ผู้ที่มีภาวะกรดเกินจะมีอาการเหนื่อยง่ายหอบ หายใจถี่ ไม่ค่อยมีแรง แขนขาเป็นตะคริว ขี้หนาว คลื่นไส้ ปวดศีรษะบ่อย ๆ ผิวแห้ง ไม่ชุ่มชื่น มีกระ เกลื้อน สิว เล็บเปราะบาง ผมไร้น้ำหนัก แตกปลาย เสียวฟันได้ง่าย มีรอยแตกที่มุมปาก เป็นหวัดติดเชื้อง่ายคอและทอนชิลอักเสบบ่อย ๆ

          นอกจากนี้ ดร.วิลเลียม โฮวาร์ด เฮย์ (William Howard Hay) แพทย์ชาวอเมริกัน ยังกล่าวไว้ในหนังสือ A New Health Era ว่า โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นั้น เป็นผลมาจากภาวะกรดเกินในร่างกาย จนทำให้มีสารพิษสะสม (Autotoxication)

          ภาวะกรดเกินมีผลต่อการทำงานของร่างกายแทบทุกส่วน เป็นผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ดังนี้

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 1. ระบบย่อยอาหาร มีอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ กรดไหลย้อน กรดเกินในกระเพาะ

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 2. ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจ เพราะเมื่อร่างกายมีภาวะความเป็นกรดสูง ทำให้ต้องเร่งสร้างผนังหลอดเลือดให้หนาขึ้นด้วยไขมันเพื่อป้องกันการรั่วซึม เป็นเหตุให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 3. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากเชื้อโรคตัวร้ายจะเจริญได้ดีในภาวะที่เป็นกรดสูง เมื่อมีภาวะความเป็นกรดสูง จึงทำให้เป็นหวัด ติดเชื้อได้ง่าย

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 4. ระบบทางเดินหายใจ สภาวะเป็นกรดทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายติดขัด เมื่อเซลล์ต่าง ๆ ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย จึงเป็นไข้ หลอดลมอักเสบ และโรคหืดได้

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 5. ระบบกระดูก เนื่องจากร่างกายต้องดึงแคลเซียม และแมกนีเซียมจากกระดูกไปเพื่อลดระดับความเป็นกรดในเลือด ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ฟันโยกและผุง่าย เป็นสาเหตุหลักของโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) และโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งเกิดจกการสะสมของกรดในข้อต่อต่าง ๆ ทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลาย

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 6. ผิวหนัง ติดเชื้อได้ง่าย ภูมิต้านทานการติดเชื้อลดลง ผิวหนังถลอกและเป็นแผลได้ง่าย

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 7. ระบบประสาท อ่อนแอ เป็นผลให้ความคิด ความจำ และอารมณ์ผิดปกติ

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 8. ไต เนื่องจากไตมีหน้าที่รักษาสมดุลความเป็นกรดในร่างกาย หากร่างกายมีภาวะกรดเกิน ไตจะดึงแร่ธาตุจากกระดูกมาทิ้งลงในเลือด ถ้าปล่อยไว้นานวันเข้า แร่ธาตุเหล่านี้ไปพอกพูนที่ไต อาจทำให้เป็นนิ่วในไตได้

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 9. กล้ามเนื้อ ขาดความยืดหยุ่น เพราะกรดจะไปขัดขวางการเปลี่ยนกลูโคสและออกซิเจนเป็นพลังงานทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นน้อยลง

เมื่อด่างเกินแล้วเป็นอย่างไร

          อาจมีอาการเวียนศีรษะ มึนศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก มือสั่นกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาหรือปวดเสียวบริเวณใบหน้า มือ เท้า ความคิดสับสน (Confusion) ซึ่งเป็นอาการทางระบบประสาท จนอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

Did you Know?

          การกินยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมและคาร์บอเนตมากเกินไป อาจเป็นเหตุให้ระดับแคลเซียมและกรดในร่างกายไม่สมดุลจนมีผลเสียต่อไต นอกจากนี้ยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมอาจทำให้ร่างกายหลั่งกรดออกมามากขึ้น แม้ว่าจะช่วยลดกรดได้ในช่วงแรกหลังกินยาก็ตาม ผู้ป่วยเป็นโรคไตควรระวัง เพราะสารอะลูมินัมจากยาลดกรด อาจสะสมจนเป็นพิษต่อร่างกาย

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก

เมื่อกรดเกินแล้วต้องทำอย่างไร

          เพื่อปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต แนะนำให้กินอาหารที่เป็นกรดให้น้อยลง และกินอาหารที่จะไปสร้างภาวะด่างให้ร่างกายเพิ่มขึ้น

          อาหารที่ช่วยเพิ่มความเป็นด่าง ได้แก่

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 ข้าวไม่ขัดสีจำพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 เนื้อปลา อาหารทะเล

          

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นต้นว่า อัลมอนด์ แฟลกซ์ซีด เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ลูกเดือย ลูกบัว ข้าวฟ่าง งาดำ งาขาว ข้าวโอ๊ต หัวมัน เช่น มันไข่ มันเลือด

           

ค่า pH ของเลือดจะเป็นอย่างไรหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
 ผักและผลไม้ คุณสุพิศแนะนำให้กินผักใบเขียว ผักบุ้ง ปวยเล้ง ขึ้นฉ่าย ฟักทอง กระเทียม มะเขือเทศ ข้าวโพด สาหร่าย แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง พืชตระกูลกะหล่ำ บรอกโคลี เยื่อไผ่ อะโวคาโด แอปเปิล แตงโม กล้วย ลูกแพร์ องุ่นม่วง

          นอกจากนี้ยังแนะนำให้กินผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิดที่หลังจากผ่านกระบวนการย่อยแล้ว ส่วนที่เหลือจะมีความเป็นด่าง เช่น เลมอน มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี

          อีกทั้งยังควรกินแร่ธาตุแคลเซียม โซเดียม แนะแมกนีเซียมเสริม เพื่อทดแทนปราณแร่ธาตุที่สูญเสียไปจากการรักษาสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย

          แหล่งแมกนีเซียมในธรรมชาติ

          พบในอาหารจำพวกผักใบเขียว เช่น ผักโขม ถั่วและธัญพืช โดยเฉพาะเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งา ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ถั่วเหลือง ถั่วแดง ข้าวไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต อะโวคาโด กล้วย

          แหล่งแคลเซียมในธรรมชาติ

          พบในผักใบเขียวจำพวกผักกวางตุ้งไต้หวัน คะน้า ผักกะหล่ำ (เขียว, ม่วง) บรอกโคลี ถั่วแขก กระเจี๊ยบเขียว เต้าหู้ เมล็ดอัลมอนด์ งา ปลากระป๋องต่าง ๆ เช่น ปลาซาร์ดีนในน้ำมัน ปลาแซลมอน

          แหล่งโซเดียมในธรรมชาติ

          พบได้ในเกลือ ผงฟู อาหารทะเล โดยเฉพาะปูทะเล ซอสถั่วเหลือง ในผลไม้ เช่น ลูกมะกอก แตงโม แคนตาลูป ลูกพลัม เสาวรส องุ่น กล้วย มะเฟือง และในผัก คือ มะเขือยาว ผักโขม พืชตระกูลพริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ

          ที่สำคัญ อย่าลืมออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้หมุนเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยเสริมภูมิต้านทานที่เสียไปจากภาวะกรดเกิน ต้านการติดเชื้อ ช่วยคงน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน รักษารูปร่าง และยังช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอักเสบอีกด้วย

          นิตยสาร นิวยอร์กไทมส์ แนะนำว่า ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ผู้มีปัญหากรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรง เช่น วิ่งเต็มที่อย่างต่อเนื่องหรือการออกกำลังกายที่ต้องนอนราบกับพื้น

        ขอแนะนำว่า รำกระบองดีที่สุดค่ะ เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรง และช่วยให้โกรทฮอร์โมนหลั่ง แถมยังได้บริหารกระดูกสันหลังและฝึกสมาธิไปในตัว จึงช่วยคืนสมดุลสู่ร่างกาย

          สุดท้าย ควรดูแลอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ หมั่นคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้ภาวะกรดเกินดีขึ้นได้ค่ะ

เมื่อด่างเกินแล้วควรทำอย่างไร

          ควรรักษาที่ต้นเหตุและโรคที่เป็น ถ้าเป็นที่ระบบทางเดินหายใจ ควรนั่งพักสักครู่ หายใจลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อควบคุมระดับออกซิเจนในร่างกาย และควรไปพบแพทย์

          เมื่อใช้วิธีปรับสมดุลกรด-ด่างตามธรรมชาติเช่นนี้แล้ว ร่างกายก็จะสดใสแข็งแรง โรคร้ายก็ไม่รุกรานเลยค่ะ