จุดมุ่งหมายเริ่มแรกของการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 คือข้อใด *

พัฒนาการไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปประเทศ (พ.ศ. 2394-2475)

ด้านการเมืองการปกครอง

 สมัยรัชกาลที่ 4

    สาเหตุของการปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4

       1. ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช

        2. เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อรักษาเอกราชชาติให้พ้นจากการครอบครองของประเทศตะวันตกที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามา

    การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4

       1. ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ ๔ เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร

       2. ปรับปรุงกฎหมาย

       3. โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ชื่อว่า “โรงอักษรพิมพการ”  ใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่าง เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา”

      4. ให้ราษฎรมีโอกาสถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก โดยสามารถร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ได้โดยตรง พระองค์เสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกน (วันก่อนวันพระ 1 วัน) ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์  เดือนละ 4 ครั้ง และโปรดเกล้าให้ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้น

        5. ทรงปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนจากการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เป็น ศาลกงสุล

        6. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยทรงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับขุนนาง ข้าราชการด้วย

        7. ทรงริเริ่มการจัดกองทหารแบบตะวันตก

สมัยรัชกาลที่ ๕

สาเหตุของการปรับปรุงการปกครอง

       1. ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก

         2. การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีอำนาจอย่างแท้จริง

การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

         1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สมาชิกสภาประกอบด้วยข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์เกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ

เห็นต่างๆ และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการตามแต่จะมีพระบัญชา  ปัจจุบันคือ องคมนตรี

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5

      มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิกจตุสดมภ์และการใช้การบริหารงานแบบกระทรวงตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงานต่างๆ คล้ายกันมารวมเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม ต่อมาเปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง  ดังนี้

         1. กระทรวงมหาดไทย -บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ รวมทั้งเมืองประเทศราชทางเหนือ

        2. กระทรวงกลาโหม –บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ รวมทั้งเมืองประเทศราชทางใต้

        3. กระทรวงการต่างประเทศ – จัดการเรื่องการต่างประเทศ

        4. กระทรวงวัง – จัดการเรื่องเกี่ยวกับราชสำนัก  พระราชพิธีต่างๆ  พิจารณาคดีแทนพระมหากษัตริย์

         5. กระทรวงเมือง – จัดการความปลอดภัยในพระนคร  ดูแลรักษาบัญชีคนดูแลเกี่ยวกับคุก ดูแลกิจการตำรวจ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นนครบาล)

         6.กระทรวงเกษตราธิการ – การเพาะปลูก การป่าไมใ เหมืองแร่ การค้าขาย การขุดคลอง โฉนดที่ดิน (เพิ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๕)

         7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ – จัดการเรื่องภาษีอาการ รายรับ-รายจ่าย รายขจ่ายของแผ่นดิน  รักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน

          8. กระทรวงยุทธนาธิการ- ดูแลจัดการเรื่องการทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ  (ต่อมายุบรวมกับกระทรวงกลาโหมและให้ทำหน้าที่การทหารทั่วประเทศเพียงอย่างเดียว)

          9. กระทรวงธรรมการ – จัดการเกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์

        10. กระทรวงโยธาธิการ – จัดการเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนการไปรษณีย์โทรเลขและการรถไฟ

        11. กระทรวงยุติธรรม  - การพิจารณาพิพากษาคดี รวมการพิพากษาพิจารณาคดีทุกกระทรวงไว้ด้วยกัน

        12. กระทรวงมุรธาธิการ  - ดูแลรักษาพระราชลัญจกร ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ต่อมายุบรวมกับกระทรวงวัง เพื่อความเหมาะสม และรัดกุมมากขึ้น

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคสมัยรัชกาลที่ 5

         1. ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช

         2. จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็น มณฑล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี

             มณฑล – มีข้าหลวงเทศาภิบาล  เป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น....................

             เมือง  - มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็น........................

             อำเภอ  - มี.................เป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็น..............................

             ตำบล  - มี.................เป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็น..............................

             หมู่บ้าน - มี................เป็นผู้ดูแล

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5

          1. ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎร ในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โดยโปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอิน จังหวัดนครศรีอยุธยา แทนการเลือกตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาในพ.ศ. 2440  ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร

          2. โปรดเกล้าให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกที่ตำบลท่าฉลอม  จังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ทำหน้าที่บริหารงาน  สุขาภิบาล  มีรายได้จากภาษีโรงเรือนในท้องถิ่น

YouTube Video

สมัยรัชกาลที่ 6

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6

           การจัดตั้งดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดฯให้สร้างนครจำลองขึ้น นามว่า “ดุสิตธานี” เดิมตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ภายในดุสิตธานีมีสิงสมมติ แบบจำลองต่างๆ เช่น ที่ทำการรัฐบาล  วัดวาอาราม  อาคารบ้านเรือน  ถนน  สาธารณูปโภค  สถานที่ราชการ ฯลฯ      โปรดฯให้มีการบริหารงานโดยการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง

 การปรับปรุงการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 6

          1. โปรดให้จัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธิการ (รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไป) กระทรวงทหารเรือ  กระทรวงพาณิชย์

          2. ทรงยกเลิกกระทรวงนครบาล  รวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย

          3. ทรงให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการ  เป็นกระทรวงคมนาคม

 การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 6

        1.ปรับปรุงเขตการปกครองของเขตมณฑล  บางมณฑล

        2. โปรดฯให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆมณฑล  รวมกันเป็นภาค  แต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา  ทำหน้าที่ตรวจตรา  ควบคุมดูแลการบริหารงานของสมุหเทศาภิบาลในภาคนั้นๆ

        3. เปลี่ยนคำว่าจังหวัด เป็นเมือง

การขยายกิจการทหารของรัชกาลที่ 6

          ทรงจัดตั้งกระทรวงทหารเรือ กองบิน และสร้างสนามบินขึ้นเป็นครั้งแรก

YouTube Video

พัฒนาการไทยด้านการปฏิรูปกฎหมายและการศาล  

สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปประเทศ (ร.4-ร.6)

สมัยรัชกาลที่ 4

         ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ  เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง  เช่น  กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  สินสมรส  ฯลฯ  ในสมัยรัชกาลที่ การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสำคัญ  มีในสมัยรัชกาลที่  5  โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  (พระบิดาแห่งกฎหมาย)  เป็นกำลังสำคัญ                 ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล ในรัชกาลที่ 4  มีดังนี้                                                               - ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย                                                                                              - ตรากฎหมายขึ้นตามแบบอารยประเทศ  ฉบับใหม่ และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา                                                                                                                                        - จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น

สมัยรัชกาลที่ 5

       รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ปฏิรูปกฎหมาย โดยจ้างนักกฎหมายชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นมาช่วย และโปรดเกล้าให้รวบรวมการพิจารณษคดี ซึ่งเมื่อก่อนกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ มาไว้ในกระทรวงยุติธรรม    

                                ในปี พ.ศ. 2440  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์              (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  ได้ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากหมายขึ้น มีการตรวจชำระกฎหมายให้ทันสมัย ภายหลังได้รับการยกย่องเป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย" และทรงเป็นต้นราชสกุล "รพีพัฒน์"

  สมัยรัชกาลที่ 6

ในสมัยรัชกาลที่  6  โปรดให้ปฏิรูปเพิ่มเติมดังนี้                                                                                - ตั้งกรมร่างกฎหมาย                                                                                                          - ร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                                                                                              - ทรงดำเนินการเพื่อหาทางแก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  เช่น  การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่  1

พัฒนาการไทยด้านสังคมและวัฒนธรรม  

สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปประเทศ (ร.4-ร.6)

สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 4

          1. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4
          เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียม ตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตก อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย ดังนี้

          * อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เพื่อให้บรรดาไพร่ที่มีอยู่ใช้แรงงานของตนไปทำงานส่วนตัวได้
          * ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาไปเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี ถ้าจะต้องถูกบังคับในเรื่องดังกล่าว
          * ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้ โดยบิดามารดาจะบังคับมิได้
          * อนุญาตให้บรรดาเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่น หรือไปแต่งงานใหม่ได้
          * โปรดเกล้าฯ ให้สตรีในคณะผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่สตรีในราชสำนักเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
          * ใน พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯ ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ สตรีชาวอังกฤษเข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา โดยตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพราะทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประเทศชาติต่อไปในอนาคต

          * ทรง จัดส่งข้าราชการไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศเพื่อจะได้นำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยดังเช่น ทรงส่งหวาด บุนนาค บุตรพระอภัยสงครามไปฝึกหัดวิชาทหารเรือ ส่งเนตร บุตรพระยาสมุทบุรารักษ์ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงค์โปร์ และส่งพร บุนนาค ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

          2. การปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 (ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย)
          ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 แล้ว การติดต่อกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตกได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก แต่บางครั้งก็มีการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไป

          การส่งเสริมด้านศิลปะ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทยก็เพิ่มพูนมากขึ้นไปด้วย

รัชกาล ที่ 4 ทรงซื้อและโปรดเกล้าฯ ให้

          - ทำการต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกหลายลำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือจักรสำหรับเป็นเรือพระที่นั่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรับเรือพายพระที่นั่งอันงดงามมาจากรัชกาลก่อนๆ นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง โดยพระราชทานนามว่า อนันตนาคราชที่หัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งยังคงรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

          - ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างตึกขึ้นใหม่หลายอาคาร ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่งในพระบรมมหาราชวัง ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ 5 วัดในกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมอีก 20 วัด นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในต่างจังหวัดอีกด้วย เช่น ที่เพชรบุรีทรงสร้างวัดแบบไทย แต่พระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกลับสร้างเป็นแบบฝรั่งและมีหอดูดาว ในกรุงเทพฯ ก็ทรงสร้างวังตามแบบศิลปะตะวันตก เช่น วังสราญรมย์ เป็นต้น

          - โปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นครอบพระเจดีย์โบราณที่พระองค์เสด็จ ธุดงค์ไปพบเข้าที่นครปฐมเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ แต่การบูรณะก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ไม่ประสบผลสำเร็จในรัชกาลนี้ แต่เพิ่งมาประสบผลสำเร็จในรัชกาลที่ 5

          3. การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ มีดังนี้

          * ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี   รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้

          - ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งไม่เคย ปรากฏมาในรัชกาลก่อนๆ      

          - อนุญาตให้ชาวต่างประเทศสามารถแสดงความเคารพต่อพระองค์ได้ตามธรรมเนียมประเพณีนิยมของเขา เช่น ให้ชาวตะวันตกยืนตรงถวายคำนับได้ สำหรับคนไทยนั้นยังคงโปรดเกล้าฯ ให้หมอบกราบตอนเข้าเฝ้าต่อไปตามประเพณีนิยมเดิมของไทย

          - ทรงออกประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อในเวลามาเข้าเฝ้าทุกคน ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาวต่างประเทศดูถูกข้าราชการไทยที่ไม่สวมเสื้อว่าเป็นคน ป่าเถื่อนดังแต่ก่อน
         
- * การเรียกพระนามพระมหากษัตริย์ตามแบบยุโรป รัชกาลที่ 4 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงวางระเบียบการเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินให้แน่นอนตามประเพณีนิยมของยุโรป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณ พระนามพระเจ้าแผ่นดินที่จารึกในพระสุพรรณบัฏของรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีเหมือนกันทุกพระองค์ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระนามตามพระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ โดยให้จารึกพระสุพรรณบัฏเมื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยตั้งต้นว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏอันเป็นพระนามเดิมของพระองค์และลงท้ายว่า พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งคำว่า จอมก็มีความหมายมาจากคำว่า มงกุฏเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ราษฏรเรียกพระนามซ้ำกันแต่ก่อน ประเพณีการเรียกพระนามพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์อย่างแน่นอนลงไปเป็นการเฉพาะพระองค์เช่นนี้ ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดปฏิบัติมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
          * การเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามประเพณีเดิม พระมหากษัตริย์จะประทับเป็นองค์ประธาน และให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นผู้ถือน้ำ และสาบานตนว่า จะซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม คือ ให้พระมหากษัตริย์เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และกระทำสัตย์ด้วยว่าจะทรงซื่อสัตย์ต่อราษฏรของพระองค์

          -* การจัดให้มีธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแบบอย่างการใช้ธงประจำชาติจากสถานกงสุลและเรือพาณิชย์ของชาติต่างๆ ในประเทศไทย พระองค์จึงทรงเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีธงประจำชาติและธงอื่นๆ ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำธงสีแดงที่เคยใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาใช้ โดยใช้พื้นธงเป็นสีแดงล้วนและมีช้างเผือกยืนอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงประจำองค์พระมหากษัตริย์และธงประจำกองทัพขึ้นด้วย

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5

          การปฏิรูปทางด้านสังคม

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงริเริ่มเอาไว้

          การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา

          1. การเลิกทาส
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน ดังนี้

ใน พ.ศ. 2417 ได้มีการประกาศให้ผู้มีทาสทำการสำรวจจำนวนทาสในครอบครองของตน ซึ่งจะเข้ามาอยู่ในข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่เลี่ยกันนั้น เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อการตระเตรียมการโดยให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้า และทรงใช้วิธีดำเนินการเป็นขั้นตอน(ร่วม 31 ปี) อาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของบรรดาเจ้าของทาส และผู้ที่ตกเป็นทาส

          2. การยกเลิกระบบไพร่
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระบรมราโชบายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับการเลิกทาส ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการอาจได้รับจากระบบไพร่ การใช้เวลาที่พอสมควรช่วยให้พระบรมราโชบายในการเลิกระบบไพร่ของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยลำดับสุดท้ายเป็นการตรา พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124″ โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุครบ 18 ปี เข้ารับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว เป็นการปลดปล่อยคนไทยให้เป็นอิสระแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง หลังจากที่ต้องเป็นคนในสังกัดมูลนายมาหลายศตวรรษ ทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

YouTube Video

          3. การปฏิรูปการศึกษา

          สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา การที่รัชกาลที่ 5 มีดังนี้

          * การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
          * การได้รับอิทธิพลทางด้านสติปัญญา และความคิดตามแบบตะวันตกจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่มาเมืองไทยเพื่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนา

          * การเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเอเซียและยุโรป ทำให้พระองค์ได้รับแนวความคิดในการจัดการศึกษาแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย
          * ทรงมีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่พ้นจากการเป็นทาสนำไปใช้ในการยังชีพ
          * ความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามแบบแผนใหม่เข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้วิทยาการแบบตะวันตก โดยเฉพาะในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการของทางราชการ

          รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเริ่มปฏิรูปการศึกษา เริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อน

          1.  ทรงจัดตั้ง โรงเรียนหลวงใน พ.ศ.2414 มีสถานที่เล่าเรียนจัดไว้เฉพาะ มีฆราวาสเป็นครูและทำการสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมีทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียนแผนโบราณมาก่อน และรับนักเรียนไว้เฉพาะเพื่อจะได้ฝึกหัดเล่าเรียน จะได้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลขและขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน และในปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นอีก เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้แก่เจ้านายสำหรับใช้ประโยชน์ในการเจรจากับชาวต่าง ประเทศและผู้แทนของชาติมหาอำนาจตะวันตก

          2. ใน พ.ศ.2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กขึ้น เรียกว่า โรงเรียนนายทหารมหาดเล็กหรือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในขั้นแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ฝึกวิชาทหาร แต่เนื่องจากมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนี้มากขึ้น จึงทรงขยายโรงเรียนให้กว้างขวางออกไปและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพลเรือนพร้อมกับเปลี่ยนแปลงให้มุ่งฝึกสอนนักเรียนเพื่อการรับราชการพลเรือนเป็น สำคัญ ส่วนนักเรียนมหาดเล็กที่มีความประสงค์จะรับราชการพลเรือนเป็นนั้น เมื่อเรียนสำเร็จวิชาความรู้เบื้องต้นแล้วก็ให้แยกไปฝึกหัดวิชาทหารต่อไป

          2. ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นที่ วัดมหรรณพารามเมื่อได้ผลแล้วก็ได้ขยายการตั้งโรงเรียนหลวงตามวัดต่างๆ ให้ขยายออกไปตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการจัดการศึกษาของราษฏรนี้ วัดกับรัฐบาลได้ร่วมมือกันจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด

          3. พ.ศ.2430 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมศึกษาธิการขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น ควบคุมดูแลทางด้านการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียน ดูแลเรื่องแบบเรียนหลวงและการสอบไล่ เป็นต้น โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดูแลกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมธรรมการขึ้นทำหน้าที่ด้านการศึกษาและพระศาสนาโดยเฉพาะ กรมธรรมการมีหน่วยงานที่สำคัญ คือ กรมธรรมการสังฆารี ,กรมศึกษาธิการ, กรมพยาบาล ,กรมแผนที่ และพิพิธภัณฑสถาน โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบการศึกษาของชาติ และได้มีประกาศใช้แผนการศึกษาของชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

           การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้งการศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์หรือโรงเรียนราษฏร์ในความหมายปัจจุบัน ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษานอกจากรัฐบาลและวัดแล้ว ยังมีพวกบรรดามิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วนทำให้การศึกษาของ ไทยเจริญก้าวหน้าตามแบบตะวันตก เช่น ศาสตราจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาตามแบบตะวันตกด้วยการตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษขึ้น ใน พ.ศ.2422 นายแพทย์ จี.บี.แมคฟาร์แลนด์ บุตรชายเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาแพทย์แผนใหม่ นางแฮเรียต เอช.เฮาส์ เป็นผู้ริเริ่มการตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับสตรีแห่งแรกของไทย เป็นต้น

          4. ตั้งโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณียโทรเลข โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฏหมาย โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน โรงเรียนเกษตร โรงเรียนราชแพทยลัย เป็นต้น

          5. ทรงวางแผนให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดขอบการจัดการศึกษาเบื้องต้น (ระดับประถมศึกษา) ให้กับทวยราษฏร์ทั่วราชอาณาจักร ส่วนกระทรวงธรรมการรับผิดชอบการจัดการศึกษาในชั้นที่สูงกว่า

          6. ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็นสมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

          7. ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้ที่มีสติปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่แข่งขันไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ ปีละ 2 คน เพื่อนำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบชิงทุนเล่าเรียนนี้ทรงเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความ สามารถโดยไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิ์เข้าสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเท่าเทียมกัน

          การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบุคคลทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

          4 การปรับปรุงด้านสาธารณสุขและการแพทย์ การพัฒนาด้านสาธารณสุขได้เริ่มมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการแพทย์แผนใหม่เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการแพทย์ไทย คนไทยเริ่มรู้จักวิธีการปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษ การผ่าตัดแบบตะวันตก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ นอกจากนี้ พวกมิชชันนารียังจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น นับเป็นการปูพื้นฐานการแพทย์สมัยใหม่ให้แก่การแพทย์ไทยในสมัยต่อมา

          ใน พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะกรรมการดำเนินงานจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น โดยก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่รัฐบาลก่อตั้งขึ้นใน กรุงเทพฯ และได้จัดให้มีการสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบันขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งนี้ โดยคณะมิชชันนารีอเมริกันได้ให้ความช่วยเหลือทั้งในการด้านสอน และการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ และได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยนายแพทย์ แมคฟาร์แลนด์ เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง เพื่อเปิดหลักสูตรฝึกอบรมนักเรียนแพทย์แผนใหม่จนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุก วันนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ

สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6

การปฏิรูปด้านสังคมและการศึกษา

          สืบเนื่องมาจาก สังคมไทยได้มีการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นใน พ.ศ.2454 รัชกาลที่ 6 จึงทรงมีพระบรมราโชบายให้ผู้ปกครองส่งเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุย่างเข้า 8 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน นอกจากนี้ยังแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 ประเภท คือ

          * การศึกษาขั้นต้น (มูลศึกษา) เป็นหน้าที่ของราษฏรทุกคนทั้งหญิงและชายจะต้องเรียนรู้ ดังนั้นควรมีสถานที่เรียนทุกตำบลเพื่อให้เพียงพอแก่จำนวนเด็ก
          * การศึกษาขั้นสูงขั้นไป ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจัดให้ราษฎรได้เลือกเรียนตามกำลังทรัพย์และสติปัญญา ซึ่งจะมีโรงเรียนตั้งไว้ในที่ชุมนุมชนเป็นแห่งๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น

             ใน พ.ศ.2456 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อหาเลี้ยงชีพในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านหัตถกรรมและพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นเสมียน รวมทั้งส่งเสริมให้ราษฏรแสวงหาวิชาความรู้ในด้านนี้อย่างเต็มที่ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการศึกษาฉบับใหม่

             ในพ.ศ.2458 กระทรวงธรรมการได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้ทันสมัย และประกาศใช้ในปีเดียวกันนี้เอง ต่อมาภายหลังรัฐบาลได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น

            ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะได้พยายามปรับ ปรุงการศึกษา โดยจัดทำโครงการศึกษาของชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่บิดามารดาและผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากก็ยังไม่สนใจที่จะส่งเด็กใน อุปถัมภ์ของตนเข้าเรียน หรือถ้าเรียนก็เรียนเพียงครึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มหลักสูตรที่กำหนดไว้ เนื่องจากประชาชนยังไม่ตระหนักในประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาที่จะมี ต่ออาชีพอื่นๆ ต่อมาใน พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะออกพระราชบัญญัติบังคับการศึกษาแก่ราษฏร เพื่อให้การศึกษาระดับประถมศึกษาเจริญกว้างขวาง เป็นการยกระดับคนทั้งประเทศให้มีความรู้อย่างทั่วถึงกัน

             รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นและประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2464 โดยกำหนดให้เด็กชายหญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7-14 ปี ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และถ้ายังอ่านเขียนไม่ได้ก็ต้องเรียนต่อไปจนกว่าจะอ่านออกเขียนได้

               พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ส่งผลให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ไม่แตกต่างกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย สร้างความผสมผสานกลมกลืนในหมู่ชาวจีน ชาวไทยอิสลาม รวมทั้งประชาชนในมณฑลต่างๆ ที่มีภาษาถิ่นแตกต่างไปจากภาคกลาง ให้เกิดการรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยใช้หลักสูตรและหนังสือแบบเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้ เรียนเหมือนกันหมดทั่วระราชอาณาจักร ยกเว้นแต่หนังสือภาษาจีนหรือภาษาอิสลาม กระทรวงศึกษาธิการจะอนุญาตให้สอนเป็นบางโรงเรียนตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร

การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 6

          ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงเชื่อว่าขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ตลอดจนวัฒนธรรมในการแต่งกายเป็นเครื่องแสดงความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ทางหนึ่ง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ และระเบียบประเพณีในสังคมที่สำคัญๆ ดังนี้

          * การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ  ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2453 ครั้งที่ 2 ในปี 2454 ครั้งหลังนี้เรียกว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเป็นงานฉลองที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดอย่างมโหฬาร มีการแสดงโขนหลวงและละคร ณ โรงละครสวนมิสกวัน นับเป็นครั้งแรกที่มีผู้แทนประมุขและผู้แทนของประเทศต่างๆ มาร่วมถวายความยินดีในพระราชพิธีในครั้งนี้
          * การประดิษฐ์ธงชาติใหม่
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงธงชาติใหม่ให้เหมาะสม 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี 2459 ครั้งที่ 2 ในปี 2460 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กองทหารอาสาไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธ มิตรในยุโรป เพื่อให้กองทัพไทยมีธงประจำชาติอย่างสมศักดิ์ศรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงขึ้นใหม่มี 3 สี ตามแบบที่อารยประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ในขณะนั้น และพระราชทานนามธงชาติสามสีห้าริ้วนี้ว่า ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นธงสำหรับชาติไทยมาจนทุกวันนี้

          * การกำหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดคำนำหน้าเด็กตามเพศว่า เด็กชายและเด็กหญิง ส่วนสตรีที่ยังเป็นโสด ให้ใช้คำนำหน้าว่า นางสาว และผู้ที่สมรสแล้วให้ใช้คำว่า นาง ตามแบบสากลนิยม

          4. การตราพระราชบัญญัตินามสกุล
          รัชกาลที่ 6 ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ในปี 2456 โดยทรงใช้เหตุผลว่านามสกุลเป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรี และแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล นอกจากนี้ นามสกุลยังก่อให้เกิดความเป็นหมู่คณะ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีระหว่างเครือญาติ ตั้งแต่คนชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ เป็นสิ่งกระตุ้นให้คนไทยรักความเป็นไทยและภูมิใจที่จะเกิดมาเป็นคนไทย มีบรรพบุรุษที่เป็นคนไทยและให้รักศักดิ์ศรีของความเป็นไทยตลอดไป

          5. การใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก
          เนื่องจากรัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ซึ่งเคยใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
5 ค่อนข้างยุ่งยากในการนับเวลาย้อนหลัง ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พุทธศักราชหรือ พ.ศ. แทน ร.ศ. เพราะเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ และให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2456 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับประเทศทางตะวันตกที่ใช้ศักราชทางศาสนาคริสต์ ที่คนส่วนใหญ่นับถือให้เรียกว่า คริสตศักราช หรือ ค.ศ.

          6. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งกาย
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทความไปลงหนังสือพิมพ์ โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุพระองค์ทรงแนะนำให้สตรีทุกๆ ภาคไว้ผมยาวและนุ่งซิ่น ซึ่งสตรีไทยในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ก็ทำตามพระราชประสงค์ ต่อมานิยมไปแต่งแบบฝรั่ง ซึ่งเราเรียกว่า แบบสากล

          7. การเปลี่ยนแปลงวิธีการนับเวลา
          แต่เดิมเรานับเวลาตอนกลางวันเป็นโมง และตอนกลางคืนเป็นทุ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการนับเวลาของประเทศอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อกับต่างประเทศและเพื่อให้เป็นไปตามสากลนิยม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการใหม่ ให้ถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นวันใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีเรียกระยะเวลา ทุ่มในตอนกลางคืน โมงในตอนกลางวัน เป็น นาฬิกาโดยให้ถือเวลาที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นมาตรฐานในการนับเวลาดังเช่นนานาประเทศปฏิบัติ

          8. การส่งเสริมด้านศิลปะและวรรณกรรม
          รัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก ทรงเป็นกวีที่มีความสามารถพระองค์หนึ่ง ทรงแปลวรรณกรรมตะวันตกเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง เช่น เวนิชวานิช แปลจากเรื่อง The Merchant of venice   ของ    วิลเลี่ยม เชคสเปียร์  กุศโลบาย แปลจากเรื่อง A Royal Family ของโรเบิร์ต มาร์แขล (Robert Marshall) หมอจำเป็น แปลจาก เรื่อง Le Medicin Malgre Lui ของโมลิเออร์(Moliere) เป็นต้น

          นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมประเภทต่างๆ อีกหลายเรื่อง อาทิ

                 1. ประเภทบทละคร ได้แก่ หัวใจนักรบ, สาวิตรี, ศกุนตลา, มัทนะพาธา, พระร่วง, ท้าวแสนปม    ปล่อยแก่ และหนามยอกหนามบ่ง

              2. ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น เที่ยวเมืองพระร่วง ประเทศไอยคุปต์  สงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ เป็นต้น

              3. ประเภทปาฐกถาและบทความเช่น ปลุกใจเสือป่า เทศนาเสือป่า ยิวแห่งบูรพาทิศ โคลนติดล้อ   เมืองไทยจงตื่นเถิด เป็นต้น ประเภทร้อยกรองทั่วไป เช่น พระนลคำหลวง ลิลิตพายัพ            ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นต้น

             4. ประเภทสารคดี เช่น บ่อเกิดรามเกียรติ์ ปกิณกะคดี เป็นต้น และที่สำคัญพระองค์ทรงริเริ่มการแสดงละครพูดไทยแบบฝรั่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก

          นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงริเริ่มให้ใช้เงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงพระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ให้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อ ใช้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวิทยาการให้กับประชาชนชาวไทยมาจนทุกวันนี้

สาเหตุสำคัญทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่คือข้อใด

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1) เกิดจากภยันตรายที่มาจากการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ถ้าคนไทยไม่มีการปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ อาจเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศไทยได้ 2) การปกครองในระบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้ามีการปฏิรูป ...

การปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการลักษณะใด

การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education) มีโครงการศึกษาชาติ มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาทีเรียน มีการเรียนการสอบไล่ และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย

การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

เป็นการปฏิรูปการศึกษาไทยครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นตามวัดในมณฑลต่าง ๆ และให้โรงเรียนต่าง ๆ ขึ้นกับกรมศึกษาธิการทั้งหมด ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมาการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน

สิ่งที่เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาล 5 ทั้งหมดคือข้อใด

ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่ เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก สำเร็จออกมา ๓๙ เล่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ใช้รัตนโกสินทร์ศก (.ศ.) เป็นศักราชในราชการ ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด