ยุทธศาสตร์แรกที่ผู้นำคนไทยปฏิบัติก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคือเรื่องใด

ประวัติและตราสัญลักษณ์

ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์

  • ยุทธศาสตร์แรกที่ผู้นำคนไทยปฏิบัติก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคือเรื่องใด
    จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 -18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมืองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893 นั้นได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวรณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" 

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

  • ยุทธศาสตร์แรกที่ผู้นำคนไทยปฏิบัติก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคือเรื่องใด

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")


สยามรัฐออนไลน์ 21 เมษายน 2564 07:56 น. วัฒนธรรม 67149

บทความ: "สถาปนากรุง" เรียบเรียง วัฒนรักษ์ [email protected] 21 เมษายน เป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การกำหนดเอาวันที่ 21 เมษายน เป็นหมุดหมายนั้น เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา ซึ่งได้จารึกติดอยู่ที่เสาหลักเมืองว่า “วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 เวลาย่ำรุ่ง 54 นาที” ซึ่งใน พ.ศ. 2564 ราชธานีแห่งนี้ก็จะมีอายุครบ 239 ปี หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตามสาระที่ปรากฏในแบบเรียนชาติไทยของเราเคย “สถาปนา” คือ ยกย่อง ก่อตั้ง หรือตั้งเมืองสำคัญขึ้นเป็นเมืองหลวงของรัฐมาทุกยุคทุกสมัย นับแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี มาจนถึงรัตนโกสินทร์ และเมื่อมองลึกเข้าไปถึงการถือกำเนิดของเมือง รัฐ หรืออาณาจักรหลายๆ แห่งในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าการตั้งถิ่นฐานขึ้นเป็นบ้านเป็นเมืองนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ ผู้คนดั้งเดิมในท้องถิ่น จนทำให้เกิดขื่อบ้านนามเมืองกำหนดขึ้นมาให้เป็นที่รับรู้ร่วมกัน อีกทั้งยังมักจะสร้างตำนานขึ้นมาอธิบายความเป็นมาของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่รายล้อมสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่สถาปนาขึ้นมาด้วย ปัจจัยพื้นฐานของการที่ผู้นำแต่ละสังคมต่างมีความคิดเห็นตรงกันก่อนที่จะลงหลักปักฐานขึ้นเป็นบ้านเป็นเมืองเมื่อครั้งอดีตนั้น ก็คงไม่พ้นการพิจารณาถึงเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ถัดมาก็เป็นเรื่องความสะดวกในการคมนาคม ตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย สุดท้ายก็ต้องมีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ในการที่จะป้องกันบ้านเมืองของตัวเองจากการรุกรานได้ด้วย มาถึง ณ จุดนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะพอเห็นพัฒนาการบ้านเมืองก่อนที่จะสามารถสถาปนาตนเองขึ้นมาให้ปรากฏโดดเด่นได้ว่า ต่างล้วนต้องมีเวลาในการก่อร่างสร้างตัวให้เข้มแข็ง ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะออกมาประกาศตนเองขึ้นมาเป็นเมือง เป็นรัฐ หรือเป็นอาณาจักรได้ในช่วงเวลาแค่ข้ามวัน ข้ามเดือน หรือข้ามปี คราวนี้มาไล่ดูวันและเหตุในการสถาปนากรุงในแต่ละยุคสมัยกัน โดยของเริ่มตั้งแต่อาณาจักรที่มีอายุโดยรวมยาวในราว 215 ปี คือ สุโขทัย (ราว พ.ศ. 1792 – 2006 อายุราว 215 ปี) เมื่อครั้งอดีตก่อนที่จะเป็นรัฐบนที่ราบลุ่มแม่น้ำยมที่สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ก็มีฐานะเป็นดังสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1782 เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ ก็ได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย จนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ มาถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนที่จะค่อยๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด ส่วนอยุธยานั้น เรามักจะได้ยินได้ฟังนิทานเรื่อง พระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่าแล้วก็มาสร้างกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคิดๆ ไปแล้วราวกับว่าอาณาจักรแห่งนี้เกิดขึ้นง่ายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่บริเวณที่สถาปนากรุงขึ้นนั้น รายล้อมไปด้วยเมืองที่มีอำนาจไม่ได้ยิ่งหย่อนกัน ไม่ว่าจะเป็นอโยธยาศรีรามเทพนคร สุพรรณภูมิ หรือละโว้ แล้วก็มีน้อยคนนักที่จะอธิบายเหมือนกับที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า “…สิ่งที่น่าสังเกตในทางภูมิวัฒนธรรมเกี่ยวกับพัฒนาการของอยุธยา…ก็คือเป็นเรื่องของการขยายตัวและเติบโตของบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสำคัญ ในสมัยอโยธยาบ้านเมืองเติบโตและเติบโตอยู่เฉพาะลุ่มน้ำป่าสักอันอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่เมื่อเกิดเป็นพระนครศรีอยุธยาแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานั้น พัฒนาการของบ้านเมืองดูเหมือนเกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกเป็นส่วนใหญ่…” โดยที่ “อโยธยา” ในคำอธิบายของท่านนี้ไม่ใช่กรุงศรีอยุธยา แต่เป็นบ้านเป็นเมืองที่มีมาก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือที่ใครต่อใครมักจะเรียกกันว่า พระเจ้าอู่ทอง จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ.1893 หรือ 1894 แล้วแต่วิธีการนับปฏิทินว่าจะเป็นแบบไทยในสมัยนั้นหรือแบบตะวันตก และอันที่จริงแล้วท่านก็ได้ระบุลงไปชัดๆ ด้วยว่าอโยธยาก็คือ “ละโว้” หรือ “ลพบุรี” หากจะสรุปว่าความเป็นอยุธยาก็คือ การที่อโยธยาหรือลพบุรีมาผสมผสานเข้ากับพวกเสียมหรือสุพรรณบุรี ที่ในเอกสารเก่าเรียกว่าสุพรรณภูมิ ก็คงไม่ผิดนัก แล้วมีพัฒนาการถึงขั้นจัดการเครือข่ายทางการคมนาคมต่างๆ จนในที่สุดอยุธยาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี ดังที่ได้เรียนรู้กันมา หลังการกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310 พระเจ้าตาก (สิน) พร้อมสมัครพรรคพวกได้รวบรวมผู้คนเพื่อขับไล่ข้าศึก ทำการสู้รบจนสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 หรือเพียง 7 เดือน หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา หนังสือเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กล่าวถึงการตั้งราชธานีในลักษณะตำนานว่า เมื่อพระเจ้าตากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศแล้ว ทรงมีพระประสงค์ที่จะปฏิสังขรณ์พระนครเพื่อตั้งเป็นเอกราชดังเดิม หลังจากทรงตรวจตราดูสภาพกรุงศรีอยุธยา เห็นว่าถูกเผาทำลายไปเป็นอันมาก ที่ยังดีอยู่ก็มีน้อย แล้วในคืนหนึ่งขณะที่ประทับแรม ณ พระที่นั่งทรงปืนภายในกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงพระสุบินนิมิตไปว่าพระมหากษัตริย์แต่ก่อนมาขับไล่ไม่ให้อยู่ รุ่งเช้าจึงตรัสเล่าให้ขุนนางทั้งปวงฟัง แล้วตรัสว่าเราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะรกร้างเป็นป่า จะมาช่วยปฏิสังขรณ์ ทำนุบำรุง ให้ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิมยังหวงแหนอยู่ เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด จากนั้นพระองค์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง และพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 28 ธ.ค. 2311 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ที่ 8 หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ขุนนาง ไพร่ฟ้าราษฎรนิยมเรียกพระองค์ท่านว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน” แต่กรุงธนบุรีก็มีอายุได้เพียง 15 ปี เมื่อมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแทน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ดังที่เล่าให้ฟังกันมาแล้วตั้งแต่ต้น

ใครคือผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี * 1 คะแนน

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและมีพระมหากษัตริย์ปกครองติดต่อกันกี่พระองค์เป็นเวลากี่ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ...

สงครามครั้งแรกที่กรุงศรีอยุธยายกทัพไปปราบหลังจากสถาปนาราชธานีใหม่คือชาติใด

เริ่มตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของราชวงศ์ตองอู หรือเรียกว่า "สงครามช้างเผือก"สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์ ...

ปัจจัยสำคัญในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีอะไรบ้าง

1.3 ปัจจัยที่เอื้อต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา 1. ลักษณะทางกายภาพ มีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย 2. ทำเลที่ตั้ง เป็นศูนย์กลางการค้าที่เชื่อมระหว่างตะวันตกและตะวันออก 3. การรับอารยธรรมเดิม 4. พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและมีพระมหากษัตริย์ปกครองติดต่อกันกี่พระองค์เป็นเวลากี่ปี สงครามครั้งแรกที่กรุงศรีอยุธยายกทัพไปปราบหลังจากสถาปนาราชธานีใหม่คือชาติใด ปัจจัยสำคัญในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีอะไรบ้าง อาณาจักรอยุธยาเจริญรุ่งเรืองยาวนานกว่า 417 ปีเพราะปัจจัยสําคัญหลายประการเช่น อาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้นเมื่อใด สรุปการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ม.2 สรุป ผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยาคือใคร ปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นผลสําเร็จ ได้แก่ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีกี่ปี