ห้องสมุดประเภทใดมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

  1.   วัตถุประสงค์ของห้องสมุดทั่วไป
    1.1  เพื่อการศึกษา (Education)  ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการการศึกษาด้วยตนเอง บริการได้ทุกเพศ  ทุกวัย  ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือพื้นความรู้  เป็นตลาดวิชา
    1.2  เพื่อความรู้  (Information)  ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ให้ความรู้  และข้อเท็จจริงของข่าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทันต่อเหตุการณ์
    1.3  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  (Research)  ห้องสมุดเป็นแหล่งช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจในวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง  สามารถค้นหาข้อมูลทางวิชาการใหม่ ๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไป
    1.4   เพื่อความจรรโลงใจ  (Inspiration)  วัสดุอุปกรณ์หนังสือในห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้บริการ เกิดความสุขใจ เกิดความซาบซึ้งและประทับใจวรรณกรรมสาขาต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนขึ้น และนำข้อคิด คำคม  คติสอนใจต่าง ๆ ในวรรณกรรมนั้น ๆ มาปฏิบัติในทางที่ดี
    1.5  เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) มีการจัดบรรยากาศภายในห้องสมุดให้สวยงาม  เพื่อเป็นแหล่งพักใจให้คลายกังวล  มีหนังสือประเภทบันเทิงคดี  สารคดีท่องเที่ยว  เป็นต้น
  1.   วัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
    2.1  เป็นศูนย์กลางการอ่าน  เพื่อเปิดโอกาสเชิญชวนให้สนใจและรักการอ่าน
    2.2  เป็นศูนย์กลางการค้นคว้า  ชักจูงให้เข้าใจในการใช้หนังสือ  และวิธีการค้นคว้าจากหนังสือ  ซีดี  ตลอดจนการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
    2.3  เป็นศูนย์กลางฝึกวิจารณญาณในการอ่าน  และขยายขอบเขตของการอ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  แนะนำการอ่านให้กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย และสม่ำเสมอจนสามารถวินิจฉัยหนังสือหรือมีวิจารณญาณ ในการอ่านมากขึ้นตามลำดับ
    2.4  เป็นศูนย์กลางแนะแนวการอ่าน  เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถเลือกอ่านได้ตรงตามความต้องการ  เพื่อการศึกษาค้นคว้า  เพื่อแก้ปัญหา  และเพื่อความบันเทิง
    2.5  เป็นศูนย์กลางวัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ  เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ของครูให้เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าไปจนตลอดชีวิต

ประเภทของห้องสมุด

ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1.  ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียน  เพื่อให้ผู้เรียน  ครูผู้สอน  และบุคลากรในโรงเรียนนั้น ๆ ได้ศึกษาค้นคว้า
  2.   ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  ( Collage University and  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้น และดำเนินการโดยวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น  หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หอสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ฯลฯ
  3.   ห้องสมุดเฉพาะ (Special  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน สถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รวบรวมหนังสือ  และวัสดุการศึกษาเฉพาะในบางสาขาวิชา บางเรื่อง เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ฯลฯ
  4.   ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านหนังสือและวัสดุการศึกษาต่าง ๆ แก่ประชาชนทุกเพศ  ทุกวัย  และทุกระดับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าบำรุง
  5.   หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ ห้องสมุดที่ประเทศเป็นผู้จัด  เป็นห้องสมุดที่มี หน้าที่เก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศตามกฎหมา

ห้องสมุด เป็นศูนย์บริการสารสนเทศที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และรู้จักกันดี มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้บริการ และสิ่งที่ให้บริการ ณ
ที่นั้น ๆ เช่น หอสมุด สำนักหอสมุด สถาบันวิทยบริการ เป็นต้น

ความหมายของห้องสมุด

คำว่า “ห้องสมุด”  บัญญัติมาจากคำว่า  Library   มาจากภาษาละตินว่า Liberia  หมายถึง ที่เก็บหนังสือ โดยมีรากศัพท์เดิมว่า  “Liber”  ซึ่งหมายความว่า  หนังสือ
ห้องสมุด  หมายถึง สถานที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอาไว้ในรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยมีการคัดเลือก จัดหาให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจขอผู้ใช้ มีการจัดที่เป็นระบบโดยมีบรรณารักษ์วิชาชีพ ซึ่งมีความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินการจัดให้อย่างมีระบบ

ความสำคัญของห้องสมุด

ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ผู้ที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าให้เป็นผู้รอบรู้ในวิทยาการเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และทันสมัยต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดเป็นอย่างยิ่ง ห้องสมุดเป็นปัจจัยสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงความมีมาตรฐานด้านการศึกษา ของการศึกษาแห่งนั้น ๆ จึงพอสรุปความสำคัญของห้องสมุดได้ ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการได้ทุกสาขาวิชา
2. ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเลือกศึกษาค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล เป็นแหล่งภูมิปัญญาของสังคม อาจเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้รอบรู้เข้าใจยิ่งขึ้นในเนื้อหาวิชา หรือเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ หรือเลือกอ่านสิ่งที่ตนเองสนใจ  โรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษกล่าวไว้ว่า “การอ่านทำให้เป็นคนเต็มคน”
3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ คนเรานั้นหากมีเวลาว่างก็ควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้คุ้มค่าเวลา การใช้เวลาว่างของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น บางคนชอบนั่งเฉย ๆ ชมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว บางคนชอบดูหนัง บางคนชอบฟังเพลง บางคนชอบคุย อีกหลายคนชอบเล่นเกม แต่การใช้เวลาว่างที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่ง คือการอ่านหนังสือ หยิบหนังสือดี ๆ สักเล่มให้กับชีวิตอ่านแล้ว ทำให้ปัญญางอกงามเกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
4. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพราะผู้ใช้ห้องสมุดเป็นประจำจะเป็นผู้ที่รู้ข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและนอกประเทศ
5. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า และใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งบริการข้อมูล ข่าวสาร จัดให้มีบริการช่วยการค้นคว้าและเสนอแนะการอ่าน ผู้ใช้จึงสามารถขยายขอบเขตการอ่าน การศึกษาค้นคว้าให้กว้างขวางออกไปได้มากขึ้น
6. ห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม  ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องรับรู้กฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อส่วนรวม จึงเป็นการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยในตังบุคคลเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของห้องสมุด

ห้องสมุดเป็นแหล่งที่จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวบุคคลและสังคมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ด้านการเรียนการสอน
2. ด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
3. ด้านศิลปวัฒนธรรม (สะสมความคิด วัฒนธรรม มรดกของชาติ)
4. ด้านการดำรงชีวิต
5. ด้านเศรษฐกิจ  (ช่วยประหยัดในการหาความรู้ สร้างอาชีพให้คน)
6. ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

  1.   วัตถุประสงค์ของห้องสมุดทั่วไป
    1.1  เพื่อการศึกษา (Education)  ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการการศึกษาด้วยตนเอง บริการได้ทุกเพศ  ทุกวัย  ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือพื้นความรู้  เป็นตลาดวิชา
    1.2  เพื่อความรู้  (Information)  ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ให้ความรู้  และข้อเท็จจริงของข่าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทันต่อเหตุการณ์
    1.3  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  (Research)  ห้องสมุดเป็นแหล่งช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจในวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง  สามารถค้นหาข้อมูลทางวิชาการใหม่ ๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไป
    1.4   เพื่อความจรรโลงใจ  (Inspiration)  วัสดุอุปกรณ์หนังสือในห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้บริการ เกิดความสุขใจ เกิดความซาบซึ้งและประทับใจวรรณกรรมสาขาต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนขึ้น และนำข้อคิด คำคม  คติสอนใจต่าง ๆ ในวรรณกรรมนั้น ๆ มาปฏิบัติในทางที่ดี
    1.5  เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) มีการจัดบรรยากาศภายในห้องสมุดให้สวยงาม  เพื่อเป็นแหล่งพักใจให้คลายกังวล  มีหนังสือประเภทบันเทิงคดี  สารคดีท่องเที่ยว  เป็นต้น
  1.   วัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
    2.1  เป็นศูนย์กลางการอ่าน  เพื่อเปิดโอกาสเชิญชวนให้สนใจและรักการอ่าน
    2.2  เป็นศูนย์กลางการค้นคว้า  ชักจูงให้เข้าใจในการใช้หนังสือ  และวิธีการค้นคว้าจากหนังสือ  ซีดี  ตลอดจนการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
    2.3  เป็นศูนย์กลางฝึกวิจารณญาณในการอ่าน  และขยายขอบเขตของการอ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  แนะนำการอ่านให้กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย และสม่ำเสมอจนสามารถวินิจฉัยหนังสือหรือมีวิจารณญาณ ในการอ่านมากขึ้นตามลำดับ
    2.4  เป็นศูนย์กลางแนะแนวการอ่าน  เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถเลือกอ่านได้ตรงตามความต้องการ  เพื่อการศึกษาค้นคว้า  เพื่อแก้ปัญหา  และเพื่อความบันเทิง
    2.5  เป็นศูนย์กลางวัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ  เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ของครูให้เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น  สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าไปจนตลอดชีวิต

ประเภทของห้องสมุด

ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1.  ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Library)  คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียน  เพื่อให้ผู้เรียน  ครูผู้สอน  และบุคลากรในโรงเรียนนั้น ๆ ได้ศึกษาค้นคว้า
  2.   ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  ( Collage University and  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้น และดำเนินการโดยวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น  หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หอสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ฯลฯ
  3.   ห้องสมุดเฉพาะ (Special  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน สถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รวบรวมหนังสือ  และวัสดุการศึกษาเฉพาะในบางสาขาวิชา บางเรื่อง เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ฯลฯ
  4.   ห้องสมุดประชาชน  (Public  Library)  คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านหนังสือและวัสดุการศึกษาต่าง ๆ แก่ประชาชนทุกเพศ  ทุกวัย  และทุกระดับการศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าบำรุง
  5.   หอสมุดแห่งชาติ  (National  Library)  คือ ห้องสมุดที่ประเทศเป็นผู้จัด  เป็นห้องสมุดที่มี หน้าที่เก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศตามกฎหมาย

องค์ประกอบของห้องสมุด

ในการที่จะดำเนินงานห้องสมุดให้ประสพความสำเร็จนั้น ห้องสมุดต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. ผู้บริหาร

ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดให้ผู้มีอำนาจพิจารณาให้การสนับสนุนทั้งในด้านการเงิน กำลังคนและกำลังใจการให้การสนับสนุนจะทำให้การดำเนินงานห้องสมุดบรรลุตามวัตถุประสงค์

  1. อาคารสถานที่

ห้องสมุดต้องมีสถานที่พอเพียงในการเก็บหนังสือและโสตทัศน์วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการแก่ผู้ใช้ สถานที่ห้องสมุดนั้นอาจเป็นอาคารส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร

  1.   ครุภัณฑ์

ครุภัณฑ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องสมุดในการที่จะใช้เป็นที่เก็บหนังสือ สิ่งพิมพ์วัสดุต่าง ๆ และยังเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้

  1. วัสดุสารสนเทศ

ห้องสมุดจำเป็นจะต้องมีหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  และโสตทัศน์วัสดุเพื่อสนองความต้องการแก่ผู้ใช้วัสดุสารสนเทศของห้องสมุดโดยทั่ว ๆ ไป จัดแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ  วัสดุตีพิมพ์  วัสดุไม่ตีพิมพ์ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์

  1. บุคลากร

ห้องสมุดจะต้องมีบรรณารักษ์ซึ่งมีพื้นความรู้ในวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นบรรณารักษ์และบุคลากรอื่น ๆ ร่วมดำเนินงานห้องสมุด

  1. เงินอุดหนุน

เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดหาวัสดุสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อดำเนินงานห้องสมุดบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ห้องสมุดในสมัยโบราณ

ห้องสมุดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และที่ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก สันนิษฐานกันว่า  เห็นจะได้แก่ห้องสมุดตามวัด  และพระราชวัง เพราะวัดเป็นที่ชุมนุมของนักบวชซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องศาสนา  พระราชวังเป็นที่ซึ่งมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตรับราชการ หรืออยู่ในพระราชูปถัมภ์

ห้องสมุดเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่นักโบราณคดีได้ค้นพบ   คือ  ห้องสมุดของพระเจ้าซาร์กอนแห่งอาณาจักรอัสซีเรีย  (Sargon of Assyria) ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนพุทธกาล เป็นที่รวบรวมหนังสือความรู้ต่างๆ ในรูปของแท่งดินเหนียวสลักตัวอักษรรูปลิ่ม มีทั้งแท่งดินดิบ  และแท่งดินเผา ห้องสมุดนี้ทำให้นักโบราณคดี  และนักภาษาโบราณสามารถเรียนรู้อารยธรรมของอาณาจักรโบราณในลุ่มแม่น้ำไทกริส   และยูเฟรติสในตะวันออกกลางได้มาก ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสืออยู่ประมาณ๒๒,๐๐๐ แท่ง เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าอัสสุรบานิปาล พระราชนัดดา ของพระเจ้าซาร์กอนที่ ๒ มีหนังสือเพิ่มเติมมากขึ้น

มีการจัดหมู่หนังสือ  และลงบัญชีไว้เรียบร้อยส่วนมากเป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์  ศาสนา วรรณคดีหลักภาษา วิทยาศาสตร์ เท่าที่รู้จักกันในสมัยนั้น และเศรษฐกิจ

มีหลักฐานปรากฏในอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยโบราณต่อมาว่า มีห้องสมุดสำคัญๆหลายแห่ง เช่น ในอียิปต์สมัยโบราณ มีห้องสมุดเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandria) และห้องสมุด ที่เมืองเพอร์กามุม (Pergamum) สมัยกรีกโบราณมีห้องสมุดส่วนตัว ของอาริสโตเติล (Aristotle) ในยุโรปตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐  มีห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันคือ  หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส  และหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ เป็นต้น

ในซีกโลกตะวันออก  อาณาจักรโบราณเช่น จีน และอินเดีย ซึ่งมีความก้าวหน้าทางวิชาความรู้และหนังสือ  ก็มีการสะสมหนังสือด้วยเหมือนกัน ชาวจีนโบราณรู้จักวิธีทำกระดาษสำหรับเขียนหนังสือ รู้วิธี

พิมพ์หนังสือด้วยแผ่นไม้ และแกะตัวพิมพ์ มีการบันทึกความรู้ ทำนองสารานุกรม จดบันทึกพงศาวดารเรื่องราวในอดีตมีการแต่งวรรณคดี  ชาวเกาหลีโบราณรู้จักวิธีพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์โลหะและมีหน่วยราชการ  “ว่าด้วยหนังสือ” ชาวอินเดีย มีตำราว่าด้วยเทววิทยา ศาสนา วรรณศิลป์ และศิลปกรรมมาช้านาน อย่างไรก็ดี ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดหรือคลังหนังสือของประเทศทั้งสองในสมัยโบราณ คงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบกันต่อไป

ประวัติของห้องสมุดในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัย ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทยซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้คือ พ่อขุนรามคำแหง เก็บรักษาไว้ที่หอไตร
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการเขียนหนังสือด้วยมือลงสมุดข่อย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรวบรวมจัดเก็บไว้ที่หอหนังสือหลวงภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ถูกพม่าเผาพระราชวัง วัด บ้านเรือนประชาชนเสียหายมาก หนังสือก็ถูกเผาไปมากเช่นกัน
สมัยกรุงธนบุรี  พระเจ้ากรุงธนบุรีได้จัดตั้งหอหลวงขึ้นสำหรับเก็บรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกในส่วนที่เหลือและได้ขอยืมมาจากเมืองนครศรีธรรมราชเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ได้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใช้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกและหนังสืออื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือทางศาสนาและวรรณคดี กฎหมาย ตำราแพทย์และพงศาวดารซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ
รัชกาลที่ 3 เมื่อปีพ.ศ.2332  โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม  และพระราชทานนามใหม่ว่า
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส”  ซึ่งปัจจุบันคือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร  และโปรดเกล้าฯให้สร้างศาลาราย 70 ศาลา ขึ้นเพื่อจารึกเรื่องชาดก รวบรวมตำรายาและการแพทย์แผนไทย ตำราอาชีพต่าง ๆ ซึ่งจะจารึกไว้บนแผ่นศิลาเป็นร้อยกรองประเภทโคลง  และข้อความสั้น ๆ โดยสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งมีประวัติของสาวกคนสำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น พระสารีบุตร พระมหากัสสป ส่วนเรื่องทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจะเขียนเป็นร้อยแก้ว เช่น เรื่องเกี่ยวกับประเพณีกวนข้าวทิพย์ มหาสงกรานต์ ขบวนแห่พยุหยาตรา วรรณคดีร้อยแก้วเรื่องนารายณ์สิบปาง และรามเกียรติ์ เขียนและวาดภาพไว้ตามฝาผนังและในพระวิหาร เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน จึงนับได้ว่าวัดพระเชตุพนฯ แห่งนี้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย
รัชกาลที่ 5 ได้สร้างหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสนองคุณพระชนกนาถ ซึ่งต่อมาภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสังคหะเข้าด้วยกัน และให้ใช้ชื่อว่า “หอพระสมุดสำหรับพระนคร” ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง และภายหลังรัชกาลที่ 6

ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกถาวรหน้าวัดมหาธาตุฯ ด้านสนามหลวง เพื่อใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือประเภทต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพระพุทธศาสนา หนังสือไทย และหนังสือต่างประเทศ หนังสือเก่ามีคุณค่าหายากเช่น ไตรภูมิพระร่วง พระราชกฤษฎีกา และตำนานเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาหลายเรื่อง จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ต้นร่างพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก 6 เรื่อง คือ ปลุกใจเสือป่า แบบสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ การราชาภิเษกพระราม บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ พระนลคำหลวง และโองการแช่งน้ำ
ส่วนหนังสือต่างประเทศที่ซื้อไว้ในหอพระสมุดนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่ชาวต่างประเทศเขียนไว้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
หอพระสมุดวชิรญาณมีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่รวบรวมหนังสือไทยที่เป็นต้นฉบับตัวเขียนด้วยมือไว้ได้มากที่สุดในขณะนั้น ซึ่งบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองไทยที่มีทาแต่เดิม และแต่งขึ้นใหม่ให้แพร่หลาย และคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี พ.ศ. 2539  ห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคารสร้อยฟ้า  ขนาด  1  ห้องเรียน  ขณะนั้นยังมีหนังสือจำนวนน้อยในห้องสมุด  หนังสือชุดแรกที่ห้องสมุดได้รับ  เป็นหนังสือ Encycropedia   จำนวน  1  ชุด      จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายห้องสมุดไปอยู่ชั้นล่าง อาคารแคทรียา จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นห้อง Study  ของนักเรียนหอพักชาย โดยมีนางสุณิสา   พรหมภัฒน์ เป็นหัวหน้างานห้องสมุด  และนางฉวีวรรณ  โมฬี  เป็นบรรณารักษ์  ภายใต้การบริหารของผู้อำนวยการเมษ  ตันยรักษ์
ประมาณปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายห้องสมุดเพิ่มอีก 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องสมุดทวีปัญญา  ซึ่งให้บริการหนังสือหมวดต่างๆ  และห้องสมุด E-Library  ให้บริการวารสารและอินเตอร์เน็ต  เพื่อรองรับโรงเรียนในฝัน  และได้เริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดครั้งแรก โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม  Alice  For  Window  พร้อมจัดทำบาร์โค้ดหนังสือการสืบค้นข้อมูลหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์  ภายใต้การบริหารของผู้อำนวยการสดศรี  ตันสุธัญลักษณ์ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้อำนวยการสดศรี  ตันสุธัญลักษณ์  ที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด  จึงสร้างห้องสมุดโรงเรียนใหม่ขึ้นกลางน้ำ เป็นอาคาร  2  ชั้น ด้วยงบประมาณกว่า 7,000,000 บาท  เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2554  และย้ายเข้ามาใช้ให้บริการเมื่อ ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2554  ปัจจุบันห้องสมุดเปลี่ยนมาใช้ โปรแกรม Library 2001

เกียรติประวัติห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต

           – รับเกียรติบัตรครูดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปี 2548 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

               – รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น  ปี 2548 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต

                – รับเกียรติบัตรครูยอดนักอ่าน  ปี 2548 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภูเก็ต

                – รับเกียรติบัตรนักเรียนยอดนักอ่าน  ปี 2548 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภูเก็ต

                – รางวัลโรงเรียนรักการอ่าน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                – รับรางวัลชมเชย ห้องสมุดดีเด่น  ปี  2552  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภูเก็ต

                – รับรางวัลกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ปี 2553 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภูเก็ต

ลักษณะของห้องสมุดสมัยใหม่

ห้องสมุดในยุคก่อน ๆ มุ่งที่จะจัดเก็บหนังสือเอาไว้อย่างเข้มงวดมีการล่ามโซ่หนังสือเอาไว้บนที่อ่านอย่างแข็งแรงเพื่อป้องกันมิให้หนังสือหาย เพราะหนังสือมีน้อย จัดทำขึ้นยาก ผู้เขียนเป็นและอ่านออกก็มีไม่มาก จึงมีทั้งคุณค่า หายาก และราคาแพง การใช้ห้องสมุดจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบางกลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากห้องสมุดในปัจจุบัน ลักษณะของห้องสมุดยุคใหม่จึงมีลักษณะดังนี้
1. มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของห้องสมุดทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และ ด้านการบริการผู้ใช้
2. มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้านต่าง ๆของห้องสมุด ได้แก่ งานจัดหา งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  งานบริการยืม – คืน งานสืบค้นข้อมูล และ งานด้านวารสาร
3. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย
4. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ  การค้นหา และ การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
5.   มีการให้บริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดอ่านข้อมูลพร้อมๆ กัน ได้ในเวลาเดียวกัน ต่างสถานที่กัน โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6. ผู้ใช้สามารถที่จะใช้ข้อมูลได้โดยตรง เป็นเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุด เนื่องจากสามารถเปิดอ่านได้โดย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ลักษณะของห้องสมุดที่ดี

ห้องสมุดที่ดีนั้นควรมีการจัดบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ผู้ใช้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและสามารถใช้ห้องสมุดในการเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ดังนั้นห้องสมุดที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  1. จัดขึ้นเพื่อใช้วัสดุต่าง ๆ ในห้องสมุดไม่ใช่มีไว้เพื่อเก็บไว้ดูสวยงาม
  2. มีบรรณารักษ์ที่มีความรู้ไว้บริหารงาน
  3. มีชั้นเปิดเป็นที่เก็บหนังสือเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้อย่างสะดวก
  4. มีอาคาร สถานที่ที่ถูกสุขลักษณะ การถ่ายเทอากาศดี แสงสว่างเพียงพอและอยู่ในบริเวณที่สงบ
  5. วัสดุต่าง ๆ ในห้องสมุดมีการจัดการไว้เป็นหมวดหมู่
  6. มีการให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างกว้างขวางทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล
  7. มีงบประมาณสำหรับการดำเนินงานอย่างแน่นอน
  8. พยายามขยายกิจการและการให้บริการสู่สังคมหรือประชาชนให้มากที่สุด
  9. มีจุดมุ่งหมายในอันที่จะส่งเสริมความเจริญของสังคมทุกวิถีทาง

ลักษณะงานของห้องสมุด

งานห้องสมุด เป็นงานบริการทางวิชาการ  แบ่งเป็น 5 งาน คือ

  1. งานบริหาร

เป็นงานที่ต้องนำเอาหลักการบริหารงานทั่วไปมาใช้  เพื่อดำเนินงานห้องสมุดให้บรรลุเป้าหมาย  งานบริหารได้แก่

1.1  งานวางนโยบาย  ตั้งวัตถุประสงค์ของห้องสมุดและวางแผนงานตลอดทั้งปี
1.2  การจัดแผนกงานหรือวางรูปงาน เช่นจะมีแผนกอะไรบ้าง  มีขอบเขตงานแค่ไหน
1.3  การจัดคนเข้าทำงาน เมื่อจัดแผนกของงานแล้วก็จัดคนเข้าทำงานให้ถูกต้องพอเหมาะ                    กับขอบข่ายของงาน  รวมไปถึงการจัดนักเรียนช่วยงานด้วย
1.4  จัดสถานที่ครุภัณฑ์ ให้เหมาะสมกับงาน จำนวนคน วางไว้ในที่ ๆ สมควร สะดวก  และคล่องตัวในการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้รวมทั้งการรักษาวัสดุทุกชนิดด้วย
1.5   การติดตามและประเมินผลงานที่ได้ทำมา  จะได้ทราบข้อขัดข้องและปัญหา เพื่อหาทางแก้ไข
1.6  งานธุรการ เช่น การสั่งซื้อหนังสือ โต้ตอบหนังสือ และการติดต่อประสานงาน เพื่อประโยชน์ของห้องสมุด
1.7  งานประชาสัมพันธ์  การจัดกิจกรรมของห้องสมุดทุกอย่าง  การทำสถิติทุกประเภท และทำรายงานเพื่อให้งานห้องสมุด เป็นที่รู้จักของทุกคนในโรงเรียน
1.8  การเงิน
1.9  การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน  สำหรับผู้ทำงานจะได้ยึดถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน คู่มือห้องสมุด สำหรับผู้ใช้ได้ทราบความเคลื่อนไหว และข้อปฏิบัติตัวในห้องสมุด

  1. งานเทคนิค

เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก   แก่ผู้ใช้ในการค้นคว้าวัสดุสารสนเทศจากห้องสมุด  โดยใช้ความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์โดยตรง  ได้แก่
2.1  การเลือก จัดซื้อ จัดหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ  ตลอดจนทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เข้าห้องสมุด
2.2   การจัดหมู่ แยกประเภท สิ่งต่าง ๆ ในข้อ 2.1 เพื่อสะดวกในการใช้
2.3  การลงทะเบียนหนังสือและวัสดุสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่จำเป็นในการให้บริการ  รวมทั้งจัดทำดรรชนีวารสาร กฤตภาค และอื่น ๆ
2.4  การจัดเตรียม เพื่อให้ผู้ใช้ได้ยืมใช้
2.5  จัดทำบัตรรายการทุกชนิด
2.6  การซ่อมหนังสือ  การเย็บเล่มวารสาร  การระวังรักษาหนังสือ ตลอดจนวัสดุทุกชนิดในห้องสมุด
2.7  การสำรวจหนังสือ  ส่วนมากจะทำปีละครั้ง  เพื่อจะได้ทราบจำนวนหนังสือที่ แน่นอนทุกปี

  1. งานบริการ

เป็นงานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน  การค้นคว้าหาความรู้   และการส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง  มีดังต่อไปนี้
3.1  บริการให้อ่าน  เป็นบริการที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง  หมายถึงงานบริการที่ให้ผู้ใช้เข้ามา                      อ่านหนังสือได้โดยเสรี  ห้องสมุดจึงจัดหนังสือแบบชั้นเปิด  เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเลือกและหยิบหนังสืออ่านได้   ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3.2  บริการให้ยืม
3.3  บริการหนังสือจอง
3.4  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
3.5  บริการแนะแนวการอ่าน
3.6  บริการจัดทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
3.7  บริการอื่น ๆ เช่น ช่วยครูในเรื่องการสอน การสอนวิชาที่เกี่ยวกับห้องสมุด  และการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
3.8  บริการข่าวสารทันสมัย
3.9  บริการจัดทำหนังสือ คู่มือการใช้ห้องสมุด
3.10 บริการรวบรวมบรรณานุกรม คือการรวบรวมรายชื่อหนังสือสิ่งพิมพ์หรือวัสดุอื่น ๆ ที่น่าสนใจในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้า วิจัยของผู้ใช้ห้องสมุด

  1. งานสนับสนุนการเรียนการสอน

ห้องสมุดมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเรียนการสอน   โดยมุ่งให้นักเรียนรู้จักหาวิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นคว้าแสวงหาความรู้  ร่วมมือกับครูผู้สอน ดำเนินการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการในวิชาต่าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  งานสนับสนุนการเรียนการสอนของห้องสมุดในโรงเรียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
4.1  การใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน
4.2  การสอนวิธีศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

  1. งานกิจกรรมนักเรียนและงานสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด
              กิจกรรมและรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                 5.1  กิจกรรมนักเรียนเป็นกิจกรรมที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักเรียนให้มีความรู้นอกเหนือจากที่หลักสูตรกำหนดเนื้อหาวิชาไว้
    5.2  วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  เป็นรายวิชาที่สอนเกี่ยวกับห้องสมุด เป็นวิชาสาระเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย
    5.3  กิจกรรมห้องสมุด  เป็นคาบสอนเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านการใช้ห้องสมุด เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ดาวโหลดไฟล์งาน

หน่วยที่ 1 .pdf

หน่วยที่ 1 .docx