ประเพณีใดที่ได้รับการสืบทอดมาจากอาณาจักรสุโขทัย

ภูมิปัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับประเพณีลอยกระทงในไทย :

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟจังหวัดสุโขทัย

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดต่อมาแต่โบราณกาลนับพันปีล่วงแล้ว   แต่เริ่มปรากฏหลักฐานทั้งการจดบันทึกและหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่ามีประเพณี
ลอยกระทง ลอยโคม เผาเทียน เล่นไฟ ซึ่งเป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงเกิดขึ้นแล้วในสมัยสุโขทัย

การริเริ่มฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ” จังหวัดสุโขทัยนั้นเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ และทำสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๒) ระยะเวลา ๔๒ ปี โดยใช้สถานที่ คือ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อันเป็นแหล่งโบราณสถานที่เคยจัดกิจกรรมนี้มาเมื่อเจ็ดร้อยปีที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการจัดงานคือ จังหวัดสุโขทัย (ผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุโขทัย ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวสุโขทัย) ส่วนประกอบรายละเอียดของกิจกรรม อาจเปลี่ยนแปลงบ้างตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เฉลิมฉลองการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดงาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับพิจารณาจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก งานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก เป็นเสน่ห์เชิญชวนให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศหลั่งไหลมาเที่ยวชมความงามแสงไฟจากตะคันนับล้านดวงพร่างพรายวิบไหวทั่วงาน ตลอดจนการเล่นไฟ พลุ ตะไลไฟพะเนียงยังคงงดงามตระการตายิ่งนัก ทั้งนี้ ในทุก ๆ ปีจะมีการละเล่นพื้นบ้าน การละเล่นแบบโบราณที่ดึงดูดให้ผู้คนหลั่งไหลมาชมงานมากมาย อย่างไรก็ตาม ลอยกระทงสุโขทัยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนของงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ตามอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวสุโขทัยดังปรากฏใจความในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๘ – ๒๓ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

การจัดงานลอยกระทงทุก ๆ ปีของชาวสุโขทัย จัดขึ้นโดยมีจุดหมายจะพยายามฟื้นฟูบรรยากาศในคืนเพ็ญเดือนสิบสองเฉกเช่นเมื่อสมัยกรุงสุโขทัย ๗๐๐ ปีล่วงมาแล้ว การลอยกระทงของจังหวัดสุโขทัย
มีอัตลักษณ์ของประเพณีที่งดงาม เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดดเด่นต่างจากท้องถิ่นอื่น ๆ ดังจะได้กล่าวภาพรวมของงานโดยสังเขปดังนี้

๑. วัน/เวลาที่ใช้ลอยกระทง  

ระยะเวลาในการจัดงานลอยกระทงในแต่ละปี แล้วแต่ทางจังหวัดสุโขทัยจะกำหนด อาจเป็น ๓ วัน๕ วัน ๗ วัน ๙ วัน หรือ ๑๐ วัน นับว่าจำนวนวันในการจัดงานมากที่สุด จัดในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คือ ๑๐ วัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะจัดงานจำนวนวันเป็นเลขคี่

๒. กิจกรรมประเพณีในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย    

การจัดกิจกรรมงานลอยกระทง จังหวัดสุโขทัย ในทุก ๆ ปียังคงยึดหลักสืบสาน ฟื้นฟูประเพณีวิถีชีวิตของบรรพชนชาวสุโขทัยในอดีต การปฏิบัติตนของชาวพุทธ การทำบุญ ลานเทศน์ลานธรรม ตลาดปสานตลาดการค้าโบราณสมัยสุโขทัย การแสดงแสงเสียง การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรี กีฬาพื้นบ้าน การประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงใหญ่ – เล็ก การประกวดโคมชักโคมแขวน หรือการละเล่นไทยอื่น ๆ
ดังจะกล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้  

๒.๑ พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข เป็นพิธีตักบาตรรับอรุณ บริเวณอุโบสถวัดตระพังเงิน ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ ๙ รูป พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำ
พุทธมนต์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พ่อค้า ประชาชนร่วมงานบุญพิธี ตั้งแต่เวลา ๐๕.๓๐ – ๐๗.๐๐ น. พิธีนี้จะมีทุก ๆ วันที่จัดงานลอยกระทง  

๒.๒ พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าสุโขทัยทุกพระองค์ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยวันแรกของงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ทุก ๆ ปี จะมีพิธีเปิดงาน
เพื่อบวงสรวงบูรพกษัตริย์ เริ่มพิธี ๐๗.๓๐ น. ประธานในพิธีถวายพนมหมาก พนมดอกไม้ สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง พราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและบูรพกษัตริย์ จุดธูปให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ปักเครื่องบวงสรวง เสร็จพิธีพราหมณ์ จึงรำบวงสรวง ระบำสุโขทัย สวดสรภัญญะสดุดีบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า จึงเสร็จพิธีบวงสรวง ทั้งนี้ รำบวงสรวงเป็นการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ส่วนระบำสุโขทัย จำนวน ๒๐๐ – ๗๐๐ คน เป็นการแสดงของโรงเรียนอุดมดรุณีและการสวดสรภัญญะเป็นของนักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จำนวน ๒๐๐ – ๗๐๐ คน (จำนวนคนมากน้อยแล้วแต่จังหวัดจะเห็นเหมาะสม)

๒.๓ ขบวนแห่ในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งกิจกรรมหลักของงานทุก ๆ ปี จะต้องมีขบวนที่สวยงามยิ่งใหญ่ สะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเป็นขบวนแห่ไพร่ฟ้าหน้าใสสนุกครื้นเครงมาจากทั้งสี่ปากประตูหลวงของเมืองสุโขทัย ได้แก่ ประตูกำแพงหัก(ทิศตะวันออก) ประตูนะโม (ทิศใต้) ประตูศาลหลวง (ทิศเหนือ) ประตูอ้อ (ทิศตะวันตก) ขบวนทั้งสี่ต่างเคลื่อนเข้าสู่จุดหมายคือกลางเมืองสุโขทัย สนุกครึกครื้นด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ทุกคนมีความสุขสนุกสนาน การแสดงในขบวนอาจปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี แต่ยังคงมีความหมายเกี่ยวข้องกับ
ชาวสุโขทัยในอดีต เช่น ขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ ขบวนเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ขบวนช้างขบวนม้า ขบวนไพร่ฟ้าหน้าใส (อิ่มเอิบร้องรำทำเพลงอย่างมีความสุข) ขบวนศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขบวนจำลองการกรานกฐิน ประกอบด้วย โคมชัก โคมแขวน พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ หมอนนั่งหมอนนอนเป็นต้นสำหรับขบวนแห่นางนพมาศ จะเป็นขบวนแห่กระทงขนาดใหญ่ของทั้ง ๙ อำเภอในจังหวัดสุโขทัย หญิงสาวแต่งกายงามเป็นนางนพมาศนั่งมากับกระทงนั้น ซึ่งนางนพมาศเชื่อว่าคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ผู้ประดิษฐ์กระทงถวายพระร่วงเจ้าในอดีต

พนมเบี้ย คือ การนำวัตถุดิน หรือโครงไม้ไผ่ ผูกหรือปั้นเป็นพุ่มทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม นำขี้ผึ้งหุงมาติดทับโครงไม้แล้วเอาหอยเบี้ยมาติด เรียกกันสมัยนั้นว่า พนมเบี้ย (ปัจจุบันใช้วัสดุประเภทโฟมตัดเกลาให้เป็นรูปดอกบัว และติดด้วยเงิน อาจเป็นเงินเหรียญ หรือเงินกระดาษที่พับ ตกแต่งสวยงาม

พนมหมากคือ เครื่องหมากพลูสำหรับขบเคี้ยวตามประเพณีนิยมที่คนสมัยโบราณกินหมาก ประกอบด้วย หมาก พลู ปูนแดง เปลือกไม้ ยาเส้น แต่คนไทยเรียกรวมกัน หมาก หรือกินหมาก หมากพลูจัดเป็นเครื่องไทยธรรมตามประเพณีนิยมในหมู่พุทธศาสนิกชนมาแต่โบราณกาล การทำหมากพลูถวายพระสงฆ์ ผู้ทำจะต้องตกแต่งให้สวยงาม เช่น ผ่าหมากดิบสดออกเป็นซีก ๆ เจียนหมากให้สะดวกแก่การกิน ใบพลูสดก็จะเจียนให้เป็นเสี้ยว ป้ายปูนแดงพอสมควร จีบจับม้วนเป็นกรวยยาว ปลายแหลม พันด้วยใยสำลีบาง ๆกันพลูจะคลายตัว ยาเส้นจะแบ่งเป็นปั้นเล็ก ๆ ขนาดพอคำ ห่อด้วยใบตองสด จัดวางลงในพานตามแนวคิดที่จะประดิษฐ์ตกแต่งให้สวยงาม จึงเป็นพานพุ่ม เรียกว่า “พนมหมาก”

พนมดอกไม้ คือ พานพุ่มดอกไม้สดที่นำดอกไม้มาจัดขึ้นเป็นพุ่มยอดแหลมคล้ายดอกบัว จัดวางบนพานปากกลม สมัยก่อนใช้ดินเหนียวปั้นเป็นพุ่มดอกบัว นำดอกไม้เสียบประดับตกแต่ง ปัจจุบันใช้โฟมตัดแต่งเป็นรูปพุ่มดอกบัว เสียบตกแต่งด้วยดอกไม้ เช่น ดอกรัก ดอกมะลิ ดอกบานไม่รู้โรย ฯลฯ ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้คนจะคิดประดิษฐ์ด้วยวัสดุ หรือดอกไม้ชนิดใดให้สวยงาม

กระทง มีกระทงหลายขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก รูปแบบกระทงจัดทำเป็นรูปดอกบัวหลวง

โคมชัก โคมแขวน มักประดิษฐ์จากวัสดุอุปกรณ์หลากหลาย ทั่วไปแล้วนิยมใช้เมล็ดพืช เช่นเมล็ดถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา เมล็ดข้าวเปลือก ข้าวสาร ฯลฯ นำมาตกแต่งบนโครงโคมให้สวยงาม
เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลอยกระทง หรือความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าการชักโคมหรือลอยโคมก็เพื่อบูชาพระธาตุจุฬามณีในสรวงสวรรค์

๒.๔ ข้าวขวัญวันเล่นไฟ จะจัดขึ้นในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ก่อนวันลอยกระทง ๑ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นการรับประทานอาหารร่วมกันของผู้มาร่วมงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ในช่วงเวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ณ บริเวณหน้าวัดมหาธาตุ อาหารที่จัดทำเป็นอาหารพื้นบ้านของสุโขทัย ระหว่างรับประทานอาหาร มีการบรรยายสลับการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดสุโขทัย รายการอาหารข้าวขวัญวันเล่นไฟที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการตั้งชื่ออาหารให้เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัยทั้งหมด โดยอาจารย์ทองเจือ สืบชมภู ปราชญ์และศิลปินพื้นบ้าน ดังนี้ พระร่วงเลียบเมือง (แกงมัสมั่นหมู) นางเสืองออกศึก (ข้าวเหนียวข้าวหลาม) จารึกหลักศิลา (ไก่ทอด) มัจฉาชมตระพัง (ปลาทอด) ระฆังกลางจันทร์นวล (ไข่วงเดือน) ตะกวนเมื่อแล้ง (เนื้อฝอย) งามดั่งแกล้งอรัญญิก (น้ำพริก ผักสด หรือผลไม้) การจัดประเพณีข้าวขวัญวันเล่นไฟ เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ และจัดต่อมาเป็นประเพณีทุก ๆ ปี มีการจำหน่ายบัตรที่นั่งรับประทานอาหารที่นั่งบนเสื่อ เสร็จจากรับประทานอาหาร แขกที่มาร่วมงานจะเข้าชมการแสดงแสง – เสียง เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัย การสร้างบ้านแปลงเมือง ประเพณีข้าวขวัญวันเล่นไฟ เป็นการสร้างความรักสามัคคี
เป็นธรรมเนียมการต้อนรับแขก

๒.๕ การแสดงแสงเสียง เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งคู่กับประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย แม้จะไม่เกิดพร้อมกับการฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงในปีแรก คือปี พ.ศ. ๒๕๒๐ แต่การแสดงแสงเสียง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งเป็นปีสำคัญคือ ครบเจ็ดร้อยปีลายสือไทย การแสดงแสงเสียงเป็นรูปแบบการแสดงนาฏกรรมที่มีการนำเอาเทคโนโลยี แสง สี เสียง มาประยุกต์เพื่อใช้ในการแสดงประกอบ ในสถานที่สำคัญ ๆ กลางแจ้ง เช่น โบราณสถาน อนุสาวรีย์ ลานกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นการแสดงในเวลากลางคืน จัดการแสดงประกอบคำบรรยายเล่าเรื่อง

๒.๖ การเผาเทียน คำว่า “เผาเทียน เล่นไฟ” ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๘ – ๒๓ ใจความสรุปได้ว่า เมื่อชาวเมืองสุโขทัยไปทำพิธีกรานกฐินตามวัด
ต่าง ๆ ในอรัญญิก ขบวนแห่สนุกสนานเพลิดเพลินก็พากันเดินกลับเข้ามาในเมืองสุโขทัย ด้วยจำนวนคนที่มากมายต้องเบียดเสียดเยียดยัดกันเข้ามาทั้งสี่ปากประตูเมืองสุโขทัย เพื่อมาดูการเผาเทียน การเล่นไฟ
การเผาเทียน เล่นไฟ คงเป็นพิธีกรรมเฉลิมฉลองไหว้พระในศาสนสถานสำคัญในเมืองสุโขทัย “เผาเทียน” หมายถึง การจุดเทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วน “เล่นไฟ” หมายถึง การจุดดอกไม้ไฟ การเผาเทียนเพื่อบูชา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่ควรบูชา เมื่อสมัยก่อนใช้ “ตะคัน” เป็นที่ใส่ไขสัตว์หรือที่เรียกว่า น้ำมันเปรียง ต่อมาภายหลังจึงเรียกการจุดไฟเพื่อบูชาเช่นนี้ว่า การจองเปรียง จองก็คือ การจุดน้ำมันเปรียงให้เกิดแสงสว่าง
แต่สมัยสุโขทัยเรียกว่า เผาเทียน เผาเพื่อให้เกิดเปลวไฟ เป็นแสงสว่างบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพยดานั่นเอง

๒.๗ การเล่นไฟ มีสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ สามารถสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากจีนที่รู้จักนำดินระเบิดหรือดินปืน ทำให้ระเบิด
เกิดเสียงดังและประกายไฟ ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ดํบงคํกลอยด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน
เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เทียรย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก...” คำว่า ดํ เป็นภาษาเขมรแปลว่า ตี / บงคํ แปลว่า บังคม ไหว้ / กลอย แปลว่า ร่วมอ่านข้อความในจารึกแล้วจะเห็นภาพความคึกคักสนุกสนานด้วยเสียงประโคมดนตรีปี่พาทย์ มีการเผาเทียน คือการจุดเทียนเพื่อบวงสรวงพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

๒.๘ การแสดงและการละเล่นในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ การจัดกิจกรรมการแสดงและการละเล่นในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จะมีจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย เช่น การฝึกเรียน เขียนอ่านลายสือไทตามศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การแสดงเป็นหลัก คือ การแสดงโขนของวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย การแสดงหมากรุกคน การแสดงตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ การแสดงดนตรี มีทั้งดนตรีไทยและดนตรีลูกทุ่งสำหรับการละเล่น เป็นการละเล่นพื้นบ้านและการละเล่นโบราณ ได้แก่การแสดงกระบี่กระบอง การสาธิตมวยคาดเชือก สาธิตการละเล่นเด็กไทยสมัยโบราณ เดินกะลา ขี่ม้า
ก้านกล้วย มอญซ่อนผ้า อ้ายโย่ง เป็นต้น นอกจากนี้ในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัยยังมีตลาดโบราณ หรือตลาดปสาน การซื้อขายเลียนแบบตลาดโบราณ มีการแลกเบี้ยเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและสินค้าโอทอปในท้องถิ่นในราคาเป็นธรรม ให้ผู้เข้าชมงานได้เลือกจับจ่ายใช้สอยได้อย่างมีความสุข

โดยสรุปแล้วงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เริ่มจัดฟื้นฟูประเพณีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงปัจจุบัน โดยมีกิจกรรมเอกลักษณ์และรูปแบบวิธีการจัดงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟในทุก ๆ ปีจะแตกต่างกันที่รายละเอียดการจัดกิจกรรมที่เป็นไปตามยุคสมัย ตลอดจนบริบททางสังคมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเพณีของจังหวัดสุโขทัยนี้ ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยมีคุณค่าที่สำคัญดังนี้

(ก) คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้พบปะสังสรรค์ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ร่วมกันหาวัสดุ แนะนำมาประดิษฐ์กระทงร่วมกัน ผู้ใหญ่ในครอบครัวถือโอกาสแนะนำสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักวิธีการและความหมายของประเพณีลอยกระทงที่ถูกต้อง หรือในบางท้องถิ่นจะลอยกระทงเพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษอีกด้วย

(ข) คุณค่าต่อชุมชน ทำให้คนในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคีและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน เช่น เพิ่มการประดิษฐ์กระทงร่วมกัน จัดงานพิธีต่าง ๆ ระหว่างชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและ
สืบทอดศิลปกรรมด้านงานช่างฝีมือ ตลอดจนประชาชนได้พบปะสังสรรค์แล้วทำกิจกรรมร่วมกัน อันเป็นการช่วยสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมชน ทั้งยังเป็นโอกาสสนุกสนานรื่นเริงตามโอกาสอันสมควร รวมถึงสามารถก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ชุมชน

(ค) คุณค่าต่อสังคม ทำให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แม่น้ำลำคลอง บางแห่งอาจทำการขุดลอกเก็บขยะในแม่น้ำลำคลอง ปรับปรุงและตกแต่งพื้นที่ริมน้ำให้สะอาดสวยงามและไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลในแม่น้ำ นำไปสู่การรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางประเพณีของสังคมไทย

(ง) คุณค่าต่อศาสนา ถือเป็นการช่วยการรักษาและทำนุบำรุงพุทธศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการไปทำบุญตักบาตร ในบางท้องถิ่นจะมีขั้นตอนกิจกรรมและพิธีการจัดงานในประเพณีลอยกระทงที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนาด้วย

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ด้รับการประกาศเป็นรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย. (๒๕๖๐). แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

(แบบ มภ. ๒). เอกสารอัดสำเนา.

ประเพณีใดบ้างในสมัยปัจจุบันที่เป็นมรดกมาจากอาณาจักรสุโขทัย

มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลก ทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

ประเพณีไทยตามข้อใดที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทง เนื่องจากมีการจัดงานประเพณีสือทอดติดต่อกันมาหลายสิบปี จนกลายเป็นประเพณีระดับประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ “งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย

ประเพณีในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

OTOP Village Sukhothai.
งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่จัดงาน: มกราคม ... .
งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด วันที่จัดงาน: กุมภาพันธ์ ... .
ประเพณีแห่ช้าง บวชนาค หาดเสี้ยว วันที่จัดงาน: เมษายน ... .
งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลเมืองสวรรคโลก ... .
งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง ... .
งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน ... .
งานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ... .
งานวันพิชิตยอดเขาหลวง.

สุโขทัยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากนครศรีธรรมราชในด้านใด

สำหรับพุทธศาสนา สุโขทัยได้รับอิทธิพลนิกายหินยานจากนครศรีธรรมราช แล้วแพร่เข้าไปอาณาจักรล้านนา พ่อขุนรามคำแหงทรงทำบุญถวายทานและนำประชาชนทำพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนนะและวันสำคัญๆ นอกจากนี้ยังรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์ เข้ามาในราชอาณาจักรทำให้สุโขทัยมีวัดวาอาราม พระพุทธศิลป์ เป็นแบบฉบับทางศิลปกรรมที่เรียกว่า ...