กินอะไรช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาว

กินอะไรช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาว

BeauMonde

1 พฤศจิกายน 2565 ( 16:56 )

     มีอาหารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดได้ตามธรรมชาติ หากเรามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ นอกจากจะเป็นภาวะที่ต้องระวังและต้องพบแพทย์แล้ว เรายังควรจะต้องกินอาหารที่ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดด้วย เพราะการทำให้เกล็ดเลือดคงที่ จะสามารถช่วยป้องกันอาหารเลือดไหลง่าย เลือดหยุดไหลได้ช้า และช่วยทำให้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น

เกล็ดเลือดต่ำคืออะไร

     เกล็ดเลือดเป็นเซลล์ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เมื่อมีความเสียหายต่อเยื่อบุหลอดเลือด เกล็ดเลือดจะรวมตัวกันและเกาะติดกันเพื่อพยายามอุดความเสียหาย โดยปกติในร่างกายเราจะมีเกล็ดเลือดประมาณ 150,000 - 400,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่หากเรามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ นั่นหมายถึงเราจะมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร

     รูปร่างของเกล็ดเลือดนั้นเปลี่ยนไปได้อย่างน่าทึ่ง ในช่วงที่เกล็ดเลือดไม่ต้องทำงาน จะมีรูปร่างเหมือนแผ่นขนาดเล็ก แต่เมื่อถูกกระตุ้นโดยสัญญาณที่ปล่อยออกมาจากหลอดเลือดที่เสียหาย พวกมันจะเปลี่ยนรูปร่างให้เหนียวมากขึ้นจนสามารถอุดเลือดออกได้ทุกที่

     ในบางครั้งเมื่อร่างกายเกิดสภาวะบางอย่าง จำนวนเกล็ดเลือดก็อาจลดลงอย่างมาก ซึ่งจะเข้าสู่ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) โดยอาจเกิดจากการมีเลือดออกบริเวณต่าง ๆ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ และแม้แต่บริเวณสมอง จำนวนเกล็ดเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นจากไวรัส  เช่น ไข้เลือดออก ภาวะไขกระดูกบางอย่าง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยาเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง ยาบางชนิด และแม้กระทั่งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใช้วิธีธรรมชาติเพื่อเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด

5 อาหารเพิ่มเกล็ดเลือด 

1. นม

     เราทราบดีว่านมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและโปรตีน และมีความสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกายของเรา แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือนมมีวิตามินเคซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นในกลไกการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าการบริโภคนมเป็นประจำ อาจช่วยในการเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด ดังนั้นหากเรากำลังมองหาวิธีเพิ่มเกล็ดเลือดอย่างเป็นธรรมชาติ ก็ควรดื่มนมเป็นประจำ

2. ผักใบเขียว

     ผักใบเขียวเป็นแหล่งของวิตามินเค ซึ่งมีความจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด และก็ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดได้ในระดับหนึ่งด้วย ซึ่งผักใบเขียวที่แนะนำ เช่น ผักชีฝรั่ง โหระพา ผักโขม และขึ้นฉ่าย รวมถึงผักอื่น ๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง และกะหล่ำปลี ก็มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดด้วยเช่นกัน

3. ทับทิม

     เมล็ดทับทิมเต็มไปด้วยธาตุเหล็กและสามารถช่วยบำรุงเม็ดเลือดแดงได้เป็นอย่างดี และทับทิมก็ถูกจัดให้เป็นผลไม้ที่ควรต้องบริโภคเป็นประจำหากต้องเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากการติดเชื้อไวรัส ให้ลองรับประทานทับทิมสัก 1 ลูกทุกวัน และไม่เพียงแค่นั้นทับทิมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีจำนวนมาก ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ฟักทอง

     ฟักทองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากมายจนมหัศจรรย์ ซึ่งคุณสมบัติประการหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด เนื่องจากมีวิตามินเอซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดที่เกิดจากไขกระดูก และนอกจากนี้อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเออื่น ๆ เช่น แครอท มันเทศ และคะน้าก็มีประโยชน์เช่นกัน หากเรากำลังอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์และต้องการเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด เราสามารถเพิ่มการบริโภคอาหารเหล่านี้ได้ค่ะ

5. ต้นอ่อนข้าวสาลี

     ต้นข้าวสาลีมีคลอโรฟิลล์ในระดับสูงซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือดของเรา และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด รวมถึงยังมีประโยชน์เพิ่มเติมในด้านการช่วยเพิ่มปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว น้ำวีทกราสหรือน้ำสกัดต้นอ่อนข้าวสาลีที่ทำสดใหม่มีประโยชน์อย่างยิ่งหากเรากำลังมองหาวิธีเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดในช่วงระหว่างที่ทำเคมีบำบัด

อ้างอิง 

  • สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย/เกล็ดเลือดต่ำเกิดจากอะไร
  • โรงพยาบาลพญาไท/โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) ในเด็ก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความที่คุณอาจสนใจ

  • 6 อาหารบำรุงเลือด สำหรับคนโลหิตจาง แก้หน้ามืด เวียนหัว เป็นลมง่าย
  • 8 อาหารบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง เพิ่มฮีโมโกลบิน

การใส่ใจรับประทานอาหารบำรุงเลือดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยป้องกันโลหิตจาง ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี บำรุงเลือดให้มีความสมบูรณ์ เพราะหากโลหิตจางรุนแรงอาจส่งผลกับการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ จึงไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด 

ระบบเลือดในร่างกาย

ร่างกายผู้ใหญ่ประกอบไปด้วยเลือดประมาณ 1 ใน 12 ส่วนของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่น้ำหนัก 60 กิโลกรัมจะมีเลือดประมาณ 5 ลิตร ซึ่งในเลือดประกอบไปด้วยพลาสมา เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด โดยร่างกายมีธาตุเหล็กประมาณ 40 – 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งธาตุเหล็กจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงในรูปของฮีโมโกลบินและเก็บสะสมอยู่ที่ตับและม้าม เม็ดเลือดแดงถูกสร้างที่ไขกระดูกและออกมาอยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปยังปอดและเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน หลังจากนั้นเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายและธาตุเหล็กจะถูกปล่อยออกมาและนำกลับไปใช้ใหม่ในการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง ซึ่งสารอาหารสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินบี 12 


ธาตุเหล็กกับภาวะโลหิตจาง

หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ การได้รับธาตุเหล็กน้อย เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เช่น คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือรับประทานผักที่มีสารต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งความต้องการธาตุเหล็กในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ สรีรวิทยา การสูญเสียทางประจำเดือน และการเจริญเติบโต ดังนั้นปริมาณเหล็กที่ร่างกายควรได้รับ ผู้ใหญ่ชาย 1.04 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่หญิง 9.4 – 24.7 มิลลิกรัมต่อวัน


แหล่งอาหารและการดูดซึมธาตุเหล็ก

แหล่งอาหารของธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารประกอบไปด้วย 2 รูปแบบ คือ 

  1. สารประกอบฮีม (Heme Iron)ธาตุเหล็กในรูปฮีมร่างกายสามารถดูดซึมได้โดยตรงและสามารถถูกดูดซึมไปใช้ได้สูงกว่าร้อยละ 20 – 30 มีอยู่ในอาหาร เช่น เลือด เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตว์ ไก่ ปลา อาหารทะเล
  2. สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (Non – Heme Iron) ธาตุเหล็กในรูปที่ไม่ใช่ฮีม การดูดซึมจะขึ้นกับปัจจัยส่งเสริมหรือขัดขวางการดูดซึมที่มีในอาหารด้วยกันและถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อยเพียงร้อยละ 3 – 5 มีอยู่ในอาหาร เช่น พืชผัก ข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่แดง นม

กินอะไรช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาว

วางแผนการกินรับธาตุเหล็ก

แบบแผนการบริโภคอาหารของคนไทยโดยส่วนใหญ่จะรับประทานข้าวและผักเป็นส่วนใหญ่ 

  • ถ้าอาหารมีเนื้อสัตว์น้อยกว่า 30 กรัมต่อวัน หรือวิตามินซีน้อยกว่า 25 มิลลิกรัมต่อวัน ธาตุเหล็กในอาหารจะถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อย คือเพียงร้อยละ 3 – 10 
  • ถ้าอาหารมีเนื้อสัตว์ประมาณ 30 – 90 กรัมต่อวัน หรือวิตามินซี 25 – 75 มิลลิกรัมต่อวัน ธาตุเหล็กในอาหารจะถูกดูดซึมไปใช้ได้ปานกลาง คือร้อยละ 10 – 12 
  • ถ้าอาหารมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบมากกว่า 90 กรัมต่อวัน หรือวิตามินซีมากกว่า 75 มิลลิกรัมต่อวัน ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมไปใช้ได้ดี คือสูงกว่าร้อยละ 15 

เพราะวิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก จึงมักแนะนำให้กินอาหารที่มีธาตุเหล็กพร้อมน้ำส้ม น้ำมะนาว หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว


เลือกอาหารอุดมธาตุเหล็ก

  1. รับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปองค์ประกอบของฮีม ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ ปลา กุ้ง หอย เป็นต้น
  2. รับประทานเนื้อสัตว์วันละ 6 – 12 ช้อนกินข้าว เนื่องจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกจากจะมีเหล็กสูงแล้วยังมีผลทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารอื่นดีขึ้น
  3. รับประทานผลไม้วันละ 3 – 5 ส่วน โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารได้มากขึ้น
  4. รับประทานผักผลไม้สด เพราะความร้อนในการประกอบอาหารจะทำลายวิตามินซีได้
  5. ไม่ควรดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองพร้อมมื้ออาหาร หรือพร้อมยาเสริมธาตุเหล็ก เพราะแคลเซียมในนมและไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กจากยาลดลง


ข้อมูล : คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


เม็ดเลือดขาวต่ำควรกินอาหารประเภทไหน

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Neutropenia) 1. การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่สะอาด ไม่มีเชื้อโรค (Low microbial diet) อาหารที่ต้องห้ามสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ นม หรือ ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการ sterilized หรือ ที่ไม่ใช่นม UHT.

อาหารประเภทไหนช่วยสร้างเม็ดเลือดขาว

อาหารที่ช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวและที-เซลล์ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์และสารพฤกษเคมี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาวและเกรปฟรุต มีวิตามินซี ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

วิตามินอะไรเพิ่มเม็ดเลือดขาว

VITAMIN C : ช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาว เสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรีย

ทำไงให้เม็ดเลือดขาวเยอะ

15 อาหารเพิ่มเม็ดเลือดขาว เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ไม่ติดเชื้อ....
2. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ... .
4. พริกหยวกสีแดง ... .
6. ปลาทะเล ... .
8. ชาเขียว ... .
10. เนื้อสัตว์ ... .
12. เต้าหู้ไข่ ... .
14. นมไขมันต่ำ.