ที่ว่าการอําเภอศรีราชา ปิดกี่โมง

ทะเบียนทั่วไป

ทะเบียนครอบครัว

ทะเบียนการสมรส

ทะเบียนการหย่า

ทะเบียนการรับรองบุตร

ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม

ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม

ทะเบียนฐานะของภริยา

ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

ทะเบียนพินัยกรรม

ทะเบียนพินัยกรรม

ทะเบียนชื่อบุคคล

การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง

การจดทะเบียนชื่อสกุล

การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

ทะเบียนศาลเจ้า

ทะเบียนศาลเจ้า

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

ทะเบียนนิติกรรม

ทะเบียนนิติกรรม

ทะเบียนเกาะ

ทะเบียนเกาะ

ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการสมรส

การสมรส
  • ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส
  • ต้องแสดงความยินยอม และได้รับความยินยอมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
  • ต้องได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
เงื่อนไขแห่งกฎหมาย
  • ชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
  • ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตฯ
  • ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตฯ จะทำการสมรสกันไม่ได้
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
  • หญิงที่สามีตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลง ด้วยประการอื่น ต้องผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้ว
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • ใบรับรองแพทย์ ว่ามิได้มีครรภ์
    • มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
ความยินยอมทำได้ 3 วิธี
  • ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส
  • ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
  • ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย คู่สมรสจะต้องร้องขอจดทะเบียนตามแบบ คร.1 ต่อนายทะเบียน
  • ณ สำนักทะเบียน
  • นอกสำนักทะเบียน
  • ณ สถานที่ที่ รมว.มท.กำหนด (ที่ชุมชุน)
  • ณ ท้องที่ห่างไกล (ผวจ. อนุมัติ)
  • ต่อกำนันท้องที่ห่างไกล (รมว.มท.อนุมัติ ผวจ.ประกาศ)
  • การแสดงวาจา หรือกริยาต่อหน้าพยาน กรณีพิเศษที่ตกอยู่ในภัยอันตรายใกล้ความตาย (โรคภัย, ภาวะสงคราม)
  • ณ สำนักทะเบียนสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • ชายและหญิงมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย
    • ชายหรือหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสัญชาติไทย
    • คู่สมรสประสงค์จะทำการสมรสตามกฎหมายไทย
    • ต้องจดทะเบียน ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศ
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13
  • ตรวจสอบคำร้อง (คร.1) และหลักฐานบัตรฯ สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ตรวจสอบคุณสมบัติ เงื่อนไขแห่งการสมรส ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5
กรณีผู้เยาว์ต้องมีหลักฐานของผู้ให้ความยินยอม
  • ลงรายการในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)ให้ครบถ้วน (เรื่องอื่นหากประสงค์จะให้บันทึก เช่น ทรัพย์สิน)
  • ให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) พยาน ลงลายมือชื่อใน คร. 2
  • เมื่อเห็นถูกต้อง นายทะเบียนลงลายมือชื่อใน คร.2 และ คร.3
  • มอบ คร.3 ให้คู่สมรสฝ่ายละฉบับ กล่าวอำนวยพรและแนะนำวิธีปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาพอสมควร
กรณีการสมรสระหว่างผู้มีสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว โดยถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท 0310.2/ว 1170 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
  • บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย
    • ตรวจสอบคำร้องขอ
    • สอบสวนปากคำผู้ร้อง เมื่อจดทะเบียนแล้วจะไปอยู่ที่ไหน
    • ให้ตรวจสอบหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต
  • ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายไทยหรือไม่ ผู้ร้องประกอบอาชีพ และมีรายได้เท่าใด ภาวะทางการสมรสของผู้ร้อง เป็นโสด หรือสมรสแล้ว ระบุชื่อบุคคลที่ทางราชการติดต่อได้ 2 คน
การสิ้นสุดของการสมรสด้วยเหตุ 3 ประการ
  • ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
  • ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
  • ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการหย่า

การหย่ามี 2 วิธี

วิธีที่1 การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือการที่สามี ภรรยาตกลงที่จะทำการหย่าต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาการหย่า) และมีพยานลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คนและร้องขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดง นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนหย่าให้ การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 แนวทาง คือ

  • การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
  • การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

วิธีที่2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เป็นกรณีที่สามีภรรยาไม่สามารถตกลงกันได้ จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับรองบุตร

บิดา มารดาของเด็กเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะมีผลแต่วันที่สมรสบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งจะมีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

การจดทะเบียนรับรองบุตร มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน

  • บิดายื่นคำร้อง (คร.1) ต่อนายทะเบียน
  • นำมารดาเด็กและเด็กมาแสดงตนว่ายินยอมหรือไม่
  • หากมารดาเด็กและเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่มาให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน นับแต่วันแจ้ง ให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาอยู่ต่างประเทศ ขยายเวลาเป็น 180 วัน
  • กรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ อาจให้ความยินยอม ต้องมีคำพิพากษาของศาล

วิธีที่ 2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ว่าในกรณีที่มีผู้ร้องขอนายทะเบียน จะออกไป จดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนก็ได้ โดยเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 20 บาท และให้ผู้ขอจดจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควร

วิธีที่ 3 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดการจดทะเบียนวิธีนี้ไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ให้นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 1 บาท ป.พ.พ มาตรา 1559 บัญญัติว่า “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้”การพิจารณาการให้ความยินยอมของเด็ก

ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ (พจนานุกรมฯ พ.ศ.2542)
ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หมายถึง เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติสามัญ
ฉะนั้น นายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็กเกี่ยวกับรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ตามข้อเท็จจริงแต่ละราย มิต้องคำนึงถึงอายุทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นกฎหมายแม่บทที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วน พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ และพ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดเงื่อนไข และวิธีการรับเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และเป็นการป้องกัน การค้าเด็กในรูปการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม

มีวิธีปฏิบัติ 2 กรณี คือ

1.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้อง (ค.ร. 13) ต่อนายทะเบียนนายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร. 14 เมื่อผู้ร้องได้ให้ถ้อยคำว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายนายทะเบียนสำเนา ค.ร. 14 โดยใช้แบบ ค.ร. 15 ส่งนายทะเบียนกลาง

2.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นคำร้องตามแบบ บ.ธ.1 ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สำหรับในเขตกทม. ต่างจังหวัดยื่นแบบ น.ธ.1 ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ ที่ทำการพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม. 20)อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม.23 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดู และตรวจเยี่ยมผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2533 ม.19 วรรค 2)เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดูอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้อง(ค.ร. 13) ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ นายทะเบียนตรวจสอบ

คุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย

ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย (ม.1598/20)นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร.14 และสำเนาโดยใช้แบบ ค.ร.15 ส่งนายทะเบียนกลาง

กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงนามแสดงความยินยอมขณะที่ยื่นเรื่องราวตามแบบ บ.ธ.5 แล้ว บิดามารดาหรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความยินยอมและลงนามในคำร้อง (ค.ร.13) อีก (น.ส.ที่ มท.0402/ว ลว.12 ธค. 29 ข้อ2)

ผลที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรมมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครอง ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและถือว่าบุตรบุญธรรม เป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่จดทะเบียนบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม

ทำได้ 2 วิธี คือ

  • จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
  • โดยคำพิพากษาของศาล

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
  • บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ของบุตรบุญธรรมก่อนหรือได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรมก่อน หรือได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม ม. 1598/31

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะของภริยา

เป็นผลสืบเนื่องจากกฎหมายสมัยก่อน (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) มิได้บังคับให้สามีภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน และชายอาจมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคน ต่อมามีการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัวชายหญิงจะเป็นสามีภรรยากัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน ม.๑๔๕๗ และกำหนดให้ชายมีภรรยา หรือหญิงมีสามีได้เพียงคนเดียว ม.๑๔๕๒

หลักเกณฑ์การบันทึกฐานะของภรรยา มีดังนี้

  • ต้องเป็นสามีภรรยา และสมรสก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ คือ ก่อน 1 ต.ค. 2478
  • บันทึกได้ 2 ฐานะเท่านั้นคือ เอกภริยา บันทึกได้เพียงคนเดียว และอนุภริยา บันทึกได้หลายคน
  • รับบันทึกเฉพาะสามีภรรยาที่มาร้องขอให้บันทึก ภรรยาอื่นที่ไม่ได้ร้องขอจะไม่บันทึก

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

การใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศ ตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งได้กระทำการใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวและนำหลักฐาน มาบันทึก ให้ปรากฏในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ ตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้เป็นกิจการอันเกี่ยวด้วยฐานะแห่งครอบครัวกิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศ ตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี ที่เป็นคนสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคน สัญชาติไทยต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง ถูกต้องมาแสดงต่อนายทะเบียน

ทะเบียนพินัยกรรม

“คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย” โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ มี ๕ แบบ คือ แบบธรรมดา/ แบบเขียนเองทั้งฉบับ/ แบบเอกสารฝ่ายเมือง/ แบบเอกสารลับ/ และแบบทำด้วยวาจา ในส่วนของปกครอง ทำ 3 แบบ คือ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ และแบบทำด้วยวาจา

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ยื่นคำร้อง ยื่นคำร้อง พ.ก. 1
ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
  • พยานอย่างน้อย 2 คน
ตรวจสอบคุณสมบัติ
  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ในกรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่
  • แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย

ทะเบียนพินัยกรรมเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่สำคัญดังนี้
ป.พ.พ. บรรพ ๖ มรดก,กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา ๑๖๗๒ แห่ง ป.พ.พ. และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๓ระเบียบการทำพินัยกรรม การตัดทายาทโดยธรรมให้รับมรดก การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกและการสละมรดก พ.ศ. ๒๔๘๙

ทะเบียนชื่อบุคคล - การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง

หลักเกณฑ์
  • ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือเชื้อพระวงศ์
  • ต้องไม่เป็นคำหยาบคาย
  • ต้องไม่มีความหมายไปในทางทุจริต
  • สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้
เอกสาร / หลักฐาน
  • ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอทะเบียนชื่อบุคคลต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอ ตรวจสอบทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยน
  • สำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง ให้เป็นหลักฐาน
  • สำหรับบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
  • ผเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน
  • หลังจากได้รับหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือไปขอแก้ไขรายชื่อในทะเบียนบ้าน บัตรประจำประชาชน และเอกสารสำคัญต่างที่ยังใช้ชื่อเดิมอยู่ เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ในกรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่
  • แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย

ทะเบียนชื่อบุคคล - การจดทะเบียนชื่อสกุล

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ
  • ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
  • ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
  • ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  • มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
  • ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
  • ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล
เอกสารที่ใช้
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคน ต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
  • นายทะเบียนท้องที่ส่งเรื่องราวการขอจดทะเบียนชื่อสกุลไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง
  • นายทะเบียนกลางพิจารณาแล้วแจ้งผลกลับไปจังหวัด เพื่อแจ้งนายทะเบียนท้องที่แจ้งให้ผู้ขอทราบ
  • กรณีที่นายทะเบียนกลางอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
  • เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

ทะเบียนชื่อบุคคล - การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารที่ใช้สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
เอกสารที่ใช้สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาต และออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่ เจ้าของชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล
  • ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
  • นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
  • ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

ทะเบียนศาลเจ้า

ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ หรือที่ดินซึ่งเอกชนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของศาลเจ้า ศาลเจ้านั้นจะอยู่ในการกำกับ ดูแลโดยราชการและมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากราชการ เป็นผู้บริหารกิจการศาลเจ้า

การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้ว หรือ ที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนต้องปฏิบัติผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์ อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้

หลักฐาน
  • คำร้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้อุทิศที่ดิน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • รายละเอียดที่ดินซึ่งจะอุทิศให้พร้อมโฉนดที่ดิน หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้
  • รับเรื่องราวของผู้ประสงค์อุทิศที่ดิน
  • ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารทั้งหมด
  • สอบสวนผู้ประสงค์อุทิศที่ดินตามแบบ ปค.14 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะอุทิศให้และเจตนารมย์ ของผู้อุทิศให้
  • เมื่อเห็นว่าถูกต้องรวบรวมหลักฐานและเอกสารทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติและรับมอบที่ดิน
  • แจ้งผู้มอบที่ดินทราบเมื่อจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุมัติและรับมอบการอุทิศที่ดินนั้นแล้ว โดยให้ ออกโฉนดที่ดินไว้ในนาม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ศาลเจ้า .................

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

สัตว์พาหนะ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำ หรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ ตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะพุทธศักราช ๒๔๘๒

สัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ ต้องทำ ตั๋วรูปพรรณ
  • ช้าง มีอายุย่างเข้าปีที่แปด
  • ม้า โคตัวผู้ กระบือ ล่อ ลา มีอายุย่างเข้าปีที่หก
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่ใช้ขับขี่ ลากเข็น หรือใช้งานแล้ว
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
  • โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่ในกรณีรับมรดก

สัตว์ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องทำตั๋วรูปพรรณข้างต้น เจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้ เมื่อเจ้าของสัตว์ มีสัตว์เกิดใหม่หรือนำมาจากต่างท้องที่ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือได้เป็นเจ้าของสัตว์ โดยประการอื่น ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลงบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) ไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อสัตว์อยู่ในเกณฑ์ทำตั๋วรูปพรรณ ก็ใช้บัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) เป็นหลักฐาน ประกอบในการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อไป

พื้นฐานทางกฎหมายและระเบียบ
  • พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • ระเบียบการสัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลว.๖ มค. ๒๔๘๓ เรื่องแต่งตั้งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอเป็นนายทะเบียนตาม ม.๔ แห่ง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒)
การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
  • เจ้าของสัตว์ หรือตัวแทน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน หรือพยานในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านไปด้วยไม่ได้นำสัตว์นั้นไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องที่
  • นายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้อง และเจ้าของหรือตัวแทนได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การย้ายสัตว์พาหนะ
  • เจ้าของ หรือตัวแทน นำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ที่ย้ายไป
  • ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม แล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
  • การย้ายสัตว์พาหนะไปยังท้องที่ใหม่เพื่อการเช่า เช่าชื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราวได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การจดทะเบียนโอนสัตว์พาหนะ
  • ผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทน นำสัตว์พาหนะและตั๋วรูปพรรณไปยังนายทะเบียน
  • นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้อง
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • นายทะเบียนจดทะเบียน และสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอนกรรมสิทธิ์ให้
  • หากเป็นสัตว์ต่างท้องที่ ให้นายทะเบียนรับสัตว์นั้นขึ้นทะเบียนก่อน

ทะเบียนนิติกรรม

“การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่การทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังหาริมทรัพย์บางประเภท คือ

  • เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6–20 ตัน
  • เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5–20 ตัน
  • แพและสัตว์พาหนะ

ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบดำเนินการโดยเฉพาะ ได้แก่ การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ และจำนอง ให้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (อำเภอ)

กฎหมายและระเบียบ

  • ป.พ.พ. บรรพ ๓ และ บรรพ ๔
  • พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
  • พ.ร.บ. เรือสยาม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ม.๑๒๒)
  • พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำสยาม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๘๑
  • พ.ร.บ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอำเภอ พ.ศ. ๒๕๐๓
  • ระเบียบการทำและการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
  • ตาม พ.ร.บ.เรือสยาม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้กำหนดขนาดของเรือที่ต้องจดทะเบียน และทำนิติกรรมต่อกรมเจ้าท่าไว้สูงกว่า ม.๔๕๖ แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งยังคงต้องจดทะเบียน

การทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ

  • เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 20 ตัน
  • เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 50 ตัน
  • เรือกลขนาดตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 10 ตัน รวมทั้งเรือกลบางชนิด แม้จะมีขนาดเกินกว่า 10 ตัน แต่มิได้มีไว้
    • เพื่อการค้าในน่านน้ำหรือการประมง
    • การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน และให้
    • เรือและแพ ให้จดข้อความในสัญญาลงทะเบียนนิติกรรม แล้วบันทึกในต้นขั้วสัญญา และตั๋วสัญญา (แบบ ปค.34) แล้วให้นายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

การจำนอง

เรือและสัตว์พาหนะ หากจดทะเบียนไว้แล้วก็จำนองได้โดยทำตามแบบ ปค.34 และทะเบียนสัตว์พาหนะ

ทะเบียนเกาะ

“ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด และมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป...”

กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสภาพเกาะมีลักษณะ 3 ประการ

  • เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
  • ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  • เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไปตาม ม.๑๓๐๙ แห่ง ป.พ.พ. บรรพ ๔ ได้บัญญัติไว้ว่า “เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของ ประเทศก็ดี และท้องน้ำที่ตื้นเขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” ผลที่ตามมา คือ
    • จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
    • จะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ และ
    • จะยึดทรัพย์ของแผ่นดินไม่ได้

กฎหมายและระเบียบ

  • ป.พ.พ. บรรพ ๑ ทรัพย์สิน
  • ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ (ม.๑ และ ม.๘)
  • พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.๑๒๒)
  • พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๗๘ (ม.๔ และ ม.๕)
  • คำสั่งให้ทบวงการเมืองอื่นมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  • หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๗๓๐๗/๒๔๙๘ ลว. ๒๗ ส.ค. ๒๔๙๘ เรื่องการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528หลักการของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินกิจการ สุสานและฌาปนสถานบางแห่งมีลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจ ของประเทศ การสาธารณสุขหรืออานามัยของประชาชนเพิ่มขึ้นจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2481 และประกาศใช้ฉบับนี้มีผลบังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2528 มีทั้งสิ้น 30 มาตรา

แบ่งสุสานและฌาปนสถานแบ่งเป็น 2 ประเภท
  • สุสานและฌาปนสถานาสาธารณะ เป็นสถานที่สำหรับเก็บ ฝัง เผา สำหรับประชาชนทั่วไป
  • สุสานและฌาปนสถานเอกชน เป็นสถานที่ เก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับตระกูลหรือครอบครัวทั้ง 2 ประเภทต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งหมายถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผอ.เขต หรือผู้ช่วย ผอ.เขต ซึ่งผู้ว่าฯมอบหมาย สำหรับในเขต กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือ ปลัดฯประจำกิ่งอ. ซึ่ง ผวจ.มอบหมายสำหรับเขตจังหวัด ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล นายกเทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ซึ่งนายกฯ มอบหมายในเขตเทศบาล ปลัดเมืองพัทยา หรือพนักงานเมืองพัทยา ซึ่งปลัดเมืองพัทยามอบหมายในเขตเมืองพัทยา
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
  • กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การขออนุญาต การขอต่ออายุในอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
    • จัดตั้ง ไม่เกิน 1,000.00 บาท
    • ดำเนินการ ไม่เกิน 500 บาท
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
  • อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
  • ไม่มีความประพฤติบกพร่องทางศีลธรรม
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
  • ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนคนไร้สามารถ
  • ไม่เคยจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
แบบพิมพ์ มี 7 แบบ
  • สฌ 1 คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสุสาน และฌปนสถาน
  • สฌ 2 ใบอนุญาติจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับบุคคล)
  • สฌ 2/1 ใบอนุญาตจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับนิติบุคคล)
  • สฌ 3 คำขอรับใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 4 ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 6 คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
การล้างป่าช้า มีผู้ประสงค์จะทำการล้างป่าช้า ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 4 พ.ศ. 2545) ข้อ 69 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใด ให้แจ้งของอนุญาตต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น โดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้วบันทึกการอนุญาตได้”และเมื่อจะทำการเผาก็ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุสานฯ
บทลงโทษ

1.ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดจัดตั้งสุสานฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) มาตรา 7 วรรคหนึ่ง(เมื่อได้จัดตั้งสุสานฯ แล้วห้ามมิให้ดำเนินการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือ มาตรา 10 (ห้ามมิให้ผู้ใด เก็บ ฝัง หรือเผาศพในสถานที่อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือผู้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสุสานฯ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษไม่เกิน สองพันบาท

2.ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เข้าไปในบริเวณสุสานฯ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

กลับไปหน้าก่อน

อําเภอศรีราชา เปิดกี่โมง

วันจันทร์-วันศุกร์เปิดทำการเวลา 08.30-16.30 น. วันเสาร์เปิดทำการเวลา 08.30 -16.30 น. ทั้งนี้การติดต่อทำบัตรประชาชนในวันเสาร์ให้โทรสอบถามกับทาง ที่ว่าการอำเภอศรีราชา อีกครั้งนึงก่อนเข้าไปติดต่อครับว่าส่วนงานที่เราจะไปติดต่อเปิดไหมเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาครับ

ที่ว่าการอําเภอเปิดปิดกี่โมง

เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 16.30 น. (หยุดพักช่วงเวลา 12.00 น. - 13.00 น.) 1. แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ 2. คัด หรือคัดและรับรองสำเนารายการเอกสารทางทะเบียนราษฎร 3. แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร

อําเภอยิ้ม ทำอะไรได้บ้าง

- บริการทำบัตรประชาชน - งานทะเบียนทั่วไป เช่น จดทะเบียนสมรส ,ทะเบียนหย่า ,เปลี่ยนชื่อนามสกุล - งานทะเบียนราษฎร์ เช่น แจ้งย้าย,แจ้งเกิด ,แจ้งตาย,ทะเบียนบ้าน เป็นต้น

อําเภอศรีราชามีตําบลอะไรบ้าง

การปกครองส่วนภูมิภาค.