ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

ประเพณีการทำขวัญข้าว

เขียนโดย นายพีรพัฒน์ แสมรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร ED 05 คณะครุศาสตร์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ประเพณีเรียกขวัญข้าว เป็นประเพณีที่เชื่อกันว่ามีเทพเจ้าเป็นเจ้าของมีอำนาจในการดลบันดาลให้ผู้ปลูกได้ผลผลิตมากหรือน้อย คือ” เจ้าแม่โพสพ ” ตามความเชื่อว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ และจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น เกี่ยวข้าว อีกทั้งเพื่อเป็นการขอบคุณและเอาใจแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา และเพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริมงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น ปกติจะทำกันในวันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็นวันขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าวของบางจังหวัด อาจมีประเพณีทำขวัญข้าว อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ข้าวตั้งท้อง และช่วงข้าวพร้อมเกี่ยว โดยในแต่ละช่วงจะมีเครื่องเซ่นไม่เหมือนกัน เครื่องเซ่นของการทำขวัญข้าวตอนตั้งท้อง ด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน พอข้าวตั้งท้อง จึงเชื่อว่าจะอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง สิ่งที่ขาดไม่ได้ในเครื่องเซ่นช่วงดังกล่าวจึงเป็นของรสเปรี้ยว อ้อย น้ำมะพร้าว นอกเหนือจากหมาก พลู ธงกระดาษสีต่างๆ ผ้าแดง ผ้าขาว ใส่ลงในชะลอมเล็ก ๆ มีเส้นด้ายสีแดงและสีขาวเพื่อผูกเครื่องเซ่นเข้ากับต้นข้าว ดอกไม้ และด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงต้องมีน้ำอบ น้ำหอมด้วย โดยคนที่ทำพิธีมักจะเป็นผู้หญิงเจ้าของที่นา

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

คุณแม่วารุณี ศรีชุมแสง ทำพิธีการเรียกขวัญข้าว

    บทความในเดือนนี้จะพาทุกคนไปพบกับคุณแม่วารุณี ศรีชุมแสง หรือคุณแม่เรียง คุณแม่มีอาชีพเป็นเกษตรกรมากว่า30ปีมาแล้ว มีประเพณีที่คุณแม่ปฏิบัติสืบสานควบคู่การทำนามาโดยตลอดคือ ประเพณี เรียกขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

คุณแม่วารุณี ศรีชุมแสง
ผู้ให้สัมภาษณ์ เรื่อง ประเพณีการทำขวัญข้าว

   เมื่อถามถึงประเพณีของการทำขวัญข้าวนั้นว่าทำเพื่ออะไร คุณแม่เล่าให้ฟังว่า ที่เราทำขวัญข้าวนั้นเพราะทำให้เกิดสิริมงคล เพื่อความสบายใจ ทำแล้วได้ข้าวเยอะผลผลิตดี ต้นข้าวสมบูรณ์แข็งแรง แล้วก็เป็นการสืบสานประเพณีที่ปู่ ย่า ตายาย พาทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ช่วงเวลาในการทำขวัญข้าว

กลางเดือน 10 ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน หรือช่วงข้าวกำลังตั้งท้อง ของทุกปี

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

ประเพณีการเรียกขวัญข้าว

เครื่องสังเวย

– กล้วย อ้อย ถั่ว งา ส้ม มะพร้าว- หมาก พลู- เงิน ทอง – แป้ง หวี กระจก เข็มขัดเงิน

หรือตามแต่เจ้าของนาอยากใช้โดยอ้างอิงจากอาการของคนที่ตั้งครรภ์

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

เครื่องสังเวยในพิธีการเรียกขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร
ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

เครื่องสังเวยในพิธีการเรียกขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

คุณแม่วารุณี ศรีชุมแสงกำลังทำพิธีเรียกขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญข้าว จังหวัดอะไร

เอกสารอ้างอิง

https://sites.google.com/site/thekhnoloyisansnthes1/wathnthrrm-thxng-thin/prapheni-su-khway-khaw

ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณแม่ วารุณี ศรีชุมแสง

ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นของจังหวัดใด

ประเพณีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวตําบลเขาพระ อําเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เนื่องจากภูมิประเทศของตําบลเขาพระพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแบน มีอาณาเขตติดกับแนว เทือกเขาใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การเพาะปลูกทํา นาเป็นอย่างยิ่ง ชาวตําบลเขาพระตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ...

ประเพณีทำขวัญข้าวทำอะไรบ้าง

1. เริ่มด้วยเลือกข้าวเลียง 3 เลียง ( คือข้าวที่เก็บมาเป็นรวง ๆ ผูกมัดไว้เป็นกำ ๆ ) นำมาชุมหัวกันกลางวงลอมข้าว 2. นำบายศรีตั้งบนข้าว 3 เลียง 3. ผู้ทำขวัญข้าวว่าบททำขวัญข้าว เมื่อกล่าวจบนำด้ายแดง ด้ายดำ ด้ายขาว ผูกรอบคอข้าว 3 เลียง เป็นอันว่าเสร็จพิธี ข้าวสามเลียงถือเป็นมงคล นิยมเก็บไว้ทำพันธุ์

ประเพณีทําขวัญข้าว วันไหน

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ และจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น เกี่ยวข้าว อีกทั้งเพื่อเป็นการขอบคุณและเอาใจแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา และเพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริมงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น ปกติจะทำกันในวันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็นวันขวัญข้าว

ประเพณีสู่ขวัญข้าวคืออะไร

การสู่ขวัญข้าวเป็นการบูชาแม่โพสพผู้บันดาลให้ข้าวกล้าแก่คนทั้งหลาย การทำขวัญข้าวเริ่มกันว่าจะให้ผลิตผลดี กินไม่เปลืองมั่งมูลพูนสุข อีกอย่างหนึ่งการทำขวัญข้าวเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีของประชาชนที่มีต่อเทพยาดาฟ้าดิน การทำขวัญข้าวหรือประเพณีฮ้องขวัญข้าวจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาต่อไป การทำขวัญข้าวและการเลี้ยงผีโต้ผีนา