หลักการ ในข้อใด ควร ปฏิบัติ ในการตัดสิน ประเมินคุณค่างานเขียน

หลักการ ในข้อใด ควร ปฏิบัติ ในการตัดสิน ประเมินคุณค่างานเขียน

เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่เป็นนักอ่านน่าจะพอคุ้นหน้าคุ้นตากับเรื่องสั้นกันมาบ้าง แต่เรื่องสั้นที่ดีเป็นแบบไหน เรามีหลักเกณฑ์อะไรไว้ชี้วัดว่าเรื่องนี้ดี เรื่องนี้เฉย ๆ วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปสวมวิญญาณนักอ่านขั้นแอดวานซ์กับแนวทางการประเมินคุณค่าเรื่องสั้นที่เรานำมาฝากทุกคนนั่นเอง สำหรับใครที่อยากดูวิดีโอเรื่องนี้ คลิกดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee หรือคลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

หลักการ ในข้อใด ควร ปฏิบัติ ในการตัดสิน ประเมินคุณค่างานเขียน

ทำไมต้อง 'ประเมินคุณค่า' งานเขียน

งานเขียนต่าง ๆ นอกจากจะมอบความสนุกเพลิดเพลิน และความบันเทิงให้กับเราแล้ว งานเขียนยังมีคุณค่าด้านอื่น ๆ อีกมากไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หรือคุณค่าด้านสังคม การประเมินคุณค่างานเขียนจึงเป็นการตัดสินว่างานเขียนนั้นมีคุณค่ามากน้อยอย่างไร โดยผู้อ่านต้องวิเคราะห์ ตีความเนื้อหาของงานเขียน รวมทั้งบริบทสังคมและภูมิหลังของผู้แต่ง เพื่อแยกแยะรายละเอียดของเรื่องที่อ่านว่าดีหรือไม่ดี มีคุณค่าด้านใดบ้าง หรือน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดในที่นี้เราจะแบ่งการประเมินคุณค่างานเขียนออกเป็น 2 หัวข้อหลัก นั่นก็คือ 

  1. การประเมินคุณค่าเรื่องสั้น
  2. การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์

โดยวันนี้เราจะมาเรียนรู้แนวทางการประเมินคุณค่าเรื่องสั้นกันก่อน

แทรกรูปเป็นเด็กอ่านหนังสือก็ได้จ้า คิดภาพประกอบไม่ออกเลยเหมือนกัน

เรื่องสั้น คืออะไร

เรื่องสั้น คือ เรื่องแต่งร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี คล้ายนวนิยายแต่สั้นกว่า มีเหตุการณ์ไม่ซับซ้อน และมีตัวละครในเรื่องน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งท้ายให้คิด

องค์ประกอบของเรื่องสั้นและหลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

ถึงจะอ่านกันเพลินขนาดไหนแต่รู้ไหมว่าเรื่องสั้นก็มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่หลายข้อเหมือนกัน องค์ประกอบที่สำคัญของเรื่องสั้นที่เราใช้เป็นหลักในการประเมินคุณค่าของเรื่องสั้นมีอยู่ 8 ข้อ ดังนี้

หลักการ ในข้อใด ควร ปฏิบัติ ในการตัดสิน ประเมินคุณค่างานเขียน

1. เรื่องย่อ

คือสรุปเนื้อหาและประเด็นทั้งหมดของงานเขียนเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการศึกษาเรื่อง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้ภายในเวลาสั้น ๆ 

2. แก่นเรื่อง

เป็นส่วนสำคัญที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน มักสรุปเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ ให้กระชับ โดยการพิจารณาแก่นเรื่องต้องดูว่ามีความสมจริงต่อสภาพสังคมและมนุษย์เพียงใด ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในมนุษย์และสังคมมากขึ้นอย่างไร

3. การเปิดเรื่อง

คือเหตุการณ์เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่อง อาจเป็นการแนะนำตัวละครหลักและตัวละครรอง เนื่องจากเป็นฉากแรกที่จะปรากฏต่อสายตาผู้อ่าน การเปิดเรื่องจึงต้องดึงดูดความสนใจและกระตุ้นความรู้สึกของผู้อ่านให้อยากติดตามเรื่องไปจนจบ

4. ปมปัญหา

คือการสร้างปมความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในเรื่องซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของตัวละครในเรื่อง โดยปมปัญหานั้นต้องมีเหตุผล สมจริง และน่าเชื่อถือ

5. จุดวิกฤต (Crisis) 

จุดวิกฤตหรือที่เราคุ้นหูกันว่า จุดหักเหของเรื่อง คือจุดที่เหตุการณ์ในเรื่องดำเนินไปจนถึงทางตัน โดยตัวละครจะต้องตัดสินใจทำสิ่งใดบางอย่างเพื่อให้เรื่องดำเนินไปต่อ

6. จุดคลี่คลาย

คือจุดที่เนื้อหาคลี่คลายลงหลังจากที่ตัวละครได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้เรื่องดำเนินไปในทางใด โดยจุดคลี่คลายมักอยู่ในตอนท้ายเรื่อง

7. การปิดเรื่อง

การสรุปประเด็นสาระสำคัญของเรื่องทิ้งท้ายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องตรงตามความต้องการของผู้เขียน โดยเรื่องสั้นส่วนใหญ่มักปิดเรื่องอย่างพลิกความคาดหมาย หรือจบปลายเปิด ซึ่งเป็นการจบแบบทิ้งท้ายให้ผู้อ่านไปคิดต่อเอง

8. การดำเนินเรื่อง

คือวิธีการที่ผู้แต่งใช้เพื่อเล่าเหตุการณ์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

8.1 การดำเนินเรื่องตามเข็มนาฬิกา คือการดำเนินเรื่องตามลำดับเวลาหรือตามลำดับเหตุการณ์

8.2 การดำเนินเรื่องทวนเข็มนาฬิกา คือการเล่าเหตุการณ์ในปัจจุบันแล้วเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีต

8.3 การดำเนินเรื่องราวแบบสลับไปมา คือการดำเนินเรื่องที่ใช้วิธีการทั้งสองแบบที่กล่าวไปข้างต้นมาเล่าสลับกันไปมา

นอกจากองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาทั้งหมด “การสร้างฉากและตัวละคร” ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินเรื่องมีความน่าสนใจ

โดยการพิจารณาตัวละครในเรื่องผู้อ่านต้องดูว่าตัวละครเป็นตัวละครประเภทใด มีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยสมจริงตามเนื้อเรื่องหรือไม่ ส่วนการสร้างฉากนั้น เราต้องพิจารณาว่าการจัดวางองค์ประกอบของสถานที่มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในเรื่องหรือไม่

และเพื่อช่วยให้เพื่อน ๆ ประเมินคุณค่าเรื่องสั้นได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

เพื่อน ๆ สามารถแยกประเด็นการศึกษาคุณค่าของเรื่องได้เป็น 2 กรณีหลัก ได้แก่

  1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เช่น กลวิธีการใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหาร รวมทั้งรสวรรณคดี 
  2. คุณค่าด้านสังคม เช่น การศึกษาสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งแนวคิดหลักที่ปรากฎภายในเรื่อง

หลักการ ในข้อใด ควร ปฏิบัติ ในการตัดสิน ประเมินคุณค่างานเขียน

อาจจะดูซับซ้อนแต่ถ้าเพื่อน ๆ ลองนำไปใช้จริงเรารับรองว่าไม่ยากแน่นอน อ่านเรื่องสั้นครั้งต่อไปลองใช้เกณฑ์เหล่านี้ประเมินเรื่องสั้นในมือดูก็น่าสนุกไม่น้อยเลยนะ ! ส่วนใครที่อยากเรียนออนไลน์วิชาภาษาไทยเพิ่มเติม อ่านบทความอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง และภาษาถิ่นและคำซ้อนได้นะ