การก่อตั้งพระพุทธศาสนาเริ่มจากการประกาศหลักธรรมใด

การก่อตั้งพระพุทธศาสนาเริ่มจากการประกาศหลักธรรมใด

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
National Office of Buddhism

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติสำนักงานฯ
    • อำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
    • โครงสร้างองค์กร
    • ผู้บริหาร
      • ทำเนียบผู้บริหาร ผอ.พศ.
      • ผู้บริหารส่วนกลาง
      • ผู้บริหารส่วนภูมิภาค
      • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (DCIO)
    • แผนปฏิบัติราชการ
      • แผนยุทธศาสตร์
      • คำรับรองการปฏิบัติราชการ
      • รายงานผลการปฏิบัติราชการ
      • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนแม่บท IT พศ.
    • รายงานผลการปฏิบัติราชการ
      • รายงานประจำปี
      • รายงานการเงินประจำปี
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • คำสั่ง / ประกาศ
    • ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศราคากลาง
    • ข่าวรับสมัครงาน
    • ข่าวบุคลากร
    • ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์
    • ปฏิทินกิจกรรม
  • องค์ความรู้
    • พุทธประวัติ
    • วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
    • ฟังธรรมกับ พศ.
      • วัดญาณเวศกวัน
      • ท่าน ว.วชิรเมธี
    • พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
    • พระไตรปิฎกฉบับเสียงอ่าน
    • คติธรรมสมเด็จพระสังฆราช
    • บทความ
  • บริการสำนักพุทธ
    • ข้อมูลบริการของหน่วยงาน
      • รายงานการจัดกิจกรรมพุทธมณฑล
      • ระยะเวลาปฏิบัติราชการ
      • ศปท.พศ.
        • ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
        • แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
        • มาตรการป้องกันการทุจริต
        • การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
    • มติเดินทางไปต่างประเทศ
    • คู่มือสำหรับประชาชน
    • มติมหาเถรสมาคม
    • แถลงการณ์คณะสงฆ์
    • คู่มือ / แบบฟอร์มต่าง ๆ
      • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • งานบริหารทรัพยากรบุคคล
      • งานทะเบียนและสัญญา
      • งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
    • ติดต่องานเกี่ยวกับวัด
    • บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
      • ขอหนังสือนำวีซ่า
    • E-Book
      • หนังสือธรรมะ
      • ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
    • ONAB RUN 2022
    • สั่งจองของที่ระลึก งาน 20 ปี
  • ข้อมูลสารสนเทศ
    • ทะเบียนวัด
      • ทะเบียนวัดไทย
      • ทะเบียนวัดไทยในต่างประเทศ
      • ทะเบียนวัดร้าง
      • สรุปจำนวนวัด
    • พระภิกษุ-สามเณร
      • พระภิกษุที่ได้รับการแต่งตั้ง/สถาปนาสมณศักดิ์
      • พระจริยานิเทศก์
      • ครูสอนพระปริยัติธรรม
        • แผนกธรรม
        • แผนกบาลี
      • พระปริยัตินิเทศน์
      • พระธรรมทูต
        • ในประเทศ
        • ต่างประเทศ
      • พระวินยาธิการ
    • สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ
    • พระราชกำหนด
    • พระราชกฤษฎีกา
    • กฎกระทรวง
    • กฎ
    • ระเบียบ
    • ข้อบังคับ
    • คำสั่ง / ประกาศ
  • ITA
  • ติดต่อเรา
    • ลิงก์หน่วยงาน
      • ส่วนกลาง
      • ส่วนภูมิภาค
    • เบอร์โทรศัพท์/อีเมล
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
      • Onab Mail
      • E-Office
      • ระบบทะเบียนวัดและพระ
      • ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล

การก่อตั้งพระพุทธศาสนาเริ่มจากการประกาศหลักธรรมใด

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
National Office of Buddhism

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ เลขที่ 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ (เบอร์กลาง) 02 441 7999
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2565 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

จำนวนการเข้าชม : 13,225,214

» News for Chularat » วันอาสาฬหบูชา 2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม โดยวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก 

การก่อตั้งพระพุทธศาสนาเริ่มจากการประกาศหลักธรรมใด

การก่อตั้งพระพุทธศาสนาเริ่มจากการประกาศหลักธรรมใด

         วันอาสาฬหบูชา 2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม โดยวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก  

             สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2560 วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้นวันนี้เรามีประวัติวันอาสาฬหบูชามาฝากกันค่ะ

          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬหที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
         วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

          ทั้งนี้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร"แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค

           การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

                   ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลัก ปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

                  1. สัมมาทิฏฐิเห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

            2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

             3. สัมมาวาจาเจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

            4. สัมมากัมมันตะกระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

            5. สัมมาอาชีวะอาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

            6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

            7. สัมมาสติระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

            8. สัมมาสมาธิตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

                1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

                2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

                3. นิโรธได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

            4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  
   - dhammathai.org
   - คลังปัญญาไทย