สิ่งที่ไม่ควรทำเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต

Digital Citizen Hub ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างดีแทคกับ M Thai เผยแพร่รายงานการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยที่จัดทำโดยเทเลนอร์กรุ๊ป http://www.mthai.com/digitalcitizen/uncategorized/2041.html พบว่า การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพบนสื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่น่ารำคาญใจมากที่สุด ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชอบโพสต์รูปสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแชร์ภาพแมว รวมถึงการบ่น แสดงความไม่พอใจ แม้บางครั้งรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

โลกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็ไม่ต่างจากโลกความเป็นจริง ที่มีทั้ง “คนดี” “คนร้าย” “ตัวจริง” “ตัวปลอม” ปะปนกันไปหมด แต่ที่น่าวิตกกว่าโลกความเป็นจริง คือ เรื่องราวบนโลกสังคมออนไลน์ แพร่กระจายไปได้เร็วมาก แล้วก็หยุดยากเสียด้วย บางคนใช้สื่อสังคมออนไลน์ อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ คาดไม่ถึงว่าจะเกิดผลเสียหายตามมา อย่างกรณีที่มีข่าวลือที่สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และมีการส่งต่อให้เพื่อนๆ หลังจากนั้นไม่นานผู้เผยแพร่ข้อความได้ถูกตำรวจจับกุมข้อหากระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และก็มีตัวอย่างข่าวลักษณะแบบนี้อยู่หลายกรณี จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเป็น “สังคม” ก็ต้องมีกฎระเบียบ มีข้อควรปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นสังคมบน “โลกออนไลน์” หรือ “โลกความเป็นจริง” จึงขอกล่าวถึงข้อควรปฏิบัติและควรระวังในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนี้

  1. พึงตระหนักเสมอว่าการโพสต์ข้อความ หรือแสดงความคิดเห็นให้เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นข้อความที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ดังนั้นผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบ ทั้งด้านสังคม และกฎหมาย
  2. อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป บนสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงข้อมูลทางการเงิน เพราะการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น การระบุ วัน เดือน ปีเกิด จะทำให้มิจฉาชีพทราบถึงอายุ หากเป็นเด็ก หรือวัยรุ่น จะยิ่งเป็นเป้าหมายเพราะล่อลวงได้ง่าย
  3. ไม่ควรโพสต์ข้อความ ที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพรับรู้ความเคลื่อนไหวส่วนตัวของเราตลอด เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้าน หรือเดินทางไปที่ไหน ขับรถอะไร ซึ่งทำให้ผู้ไม่หวังดีวางแผนมาทำร้าย หรือวางแผนขโมยทรัพย์สินเราได้
  4. ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการโพสต์ หรือ เผยแพร่ ส่งต่อ ข้อความ รูปภาพ วีดิโอที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือ โพสต์รูปภาพที่สื่อถึงอบายมุขต่างๆ และไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ถ้อยคำลามก อนาจาร ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม
  5. พึงระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไว้ใจหรือเชื่อใจคน ที่รู้จักผ่านอินเทอร์เน็ต ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ หรือชื่อสถานศึกษา เพราะอาจถูกหลอกลวง หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้
  6. ให้ระมัดระวังการเช็คอิน (Check-in) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้กล้องโทรศัพท์ถ่ายภาพ ระบุพิกัด และเวลา เพราะภาพทุกภาพ การโพสต์ทุกอย่างจะอยู่ในอินเทอร์เน็ต ไม่มีวันถูกลบอย่างแท้จริง

ข้อควรระวังที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของการปฏิบัติในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้เท่าทันภัยคุกคามต่างๆ จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อจะช่วยป้องกันภัยหรือลดความเสียหายลงได้

ที่มา: ITINFO@TLAA. วารสารประกันชีวิต. ปีที่ 33 ฉบับ 139 (กรกฎาคม-กันยายน 2556) : 28-29.

ปัญหาและข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.  การใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตร่วมกับบุคคลอื่น
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันสูงมาก จนทำให้วิถีการทำงาน และการดำเนินชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้คนจำนวนไม่น้อยใช้เวลาในโลกของการออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พอ ๆ กับที่ใช้เวลาทำสิ่งต่าง ๆ บนโลกจริง หรือหลายคนอาจจะมากกว่า อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายเปิดที่ใครๆก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมการใช้งานของผู้ที่จะเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตได้    มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.  ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

2.  และข้อควรระวังในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อควรระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไปผู้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิด หรือก่อให้เกิดอันตรายได้ฉะนั้นเยาวชนไทยควรเรียนรู้ปัญหาและวิธีป้องกันตนเองจากภัยอันตรายเหล่านี้จากผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆบนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสมควรแจ้งใหผู้ปกครองทราบทันที่
3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต  ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง และควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที่
6. ควรคารพต่อข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้

ในด้านข้อเสีย แพทย์พบว่าการเล่นเกมติดต่อกันครั้งละนานๆ มีผลเสียต่อสุขภาพปัญหาที่พบบ่อยคือ อาการล้าของสายตา
กล้ามเนื้อที่แขน คอ ไหล่ และหลัง นอกจากนี้ยังพบอาการ ลมชัก ปวดศีรษะ ประสาทหลอน บางรายมีอาการรุนแรงเข้าขั้นประสาทและกล้ามเนื้อบางส่วนเสื่อมสภาพไปและเชื่อกันว่าการติดเกมเป็นสาเหตุทางอ้อมของโรคอ้วน เด็กบางคน
ที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป จนไม่สนใจเพื่อนๆ และสังคมรอบข้าง ในที่สุดจะกลายเป็นคนขี้อายและตัดขาดจากสังคมปัญหาอีกประการหนึ่งเกิดจากเกมประเภทที่มีการใช้ความรุนแรงเกมประเภท
นี้ทำให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าว เข้ากันกับเพื่อนๆ ไม่ได้ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองจะต้องชี้แน ะให้เด็กรู้
ู้ถึงข้อดีและข้อเสียของการเล่มเกม และแนะนำให้เด็กรู้จักเลือกเกมที่ให้ประโยชน์มากกว่าความสนุกเพียงอย่างเดียว

ปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งในทางธุรกิจ ในการศึกษาหาความรู้และในการบันเทิง ผลกระทบทางด้านบวก อินเตอร์เน็ตเป็นผลดีต่อการศึกษาหาความรู้  ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากห้องสมุด อินเตอร์เน็ตนำการบันเทิงเข้าสู่บ้านเรือนทำให้ไม่เสียเวลาออกไปแสวงหานอกบ้าน สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวกและรวดเร็วระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่่ห่างไกลกัน