วิธีการใดจะ เกิด ประโยชน์ ในการประเมินคุณค่าของข้อมูล 1 คะแนน

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆมาศึกษาวิเคราะห์ตีความเรื่องราว และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้นๆหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

๑. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดีหลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญคือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดีนอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ

๒. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ) จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของหลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไรมีความจริงแค่ไหนและแต่งเติมเพียงใด

๓. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัยที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) , ศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) ศิลาจารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ ๔ (จารึกวัดป่ามะม่วง) ,  ศิลาจารึกหลักที่ ๘ (จารึกวัดพระมหาธาตุ) , จารึกหลักที่ ๒๔ (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) , จารึกหลักที่ ๓๕ (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) , จารึกหลักที่ ๖๒ (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตามการค้นพบ ก่อน – หลัง

๔. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่

๔.๑ พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ

๔.๒ พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น ๓ รัชกาล คือ            

๔.๒.๑ ฉบับรัชกาลที่ ๑ มี ๔ สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม

๔.๒.๒ ฉบับรัชกาลที่ ๓ มี ๑ สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

๔.๒.๓ ฉบับรัชกาลที่ ๔ มี ๔ สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา

๔.๓ พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก

๕. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติเข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยาหลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึกจดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชาจดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูตบันทึกของมิชชันนารีเช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัดทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น.)

หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งเป็น ๒ ประเภท

๑. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายในหมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลางหรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมดซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและควรตรวจสอบดังนี้

๑.๑ ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น

๑.๒ จุดมุ่งหมายของผู้บันทึกบางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น

๑.๓ ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง

๑.๔ คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนสภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาดหรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น

๑.๕ ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่

๑.๖ วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

๒. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอกเป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือของปลอมไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้นผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมดเพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริงๆจึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของ