ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง
ประวัติการค้นพบ
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

   ขณะสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้เสวยราชย์  และทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชนั้นได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในพ.ศ.๒๓๗๖ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัย ได้ทรงพบศิลาจารึก๒หลัก และแท่นหิน ๑ แท่น ตั้งอยู่ที่เนินปราสาทในพระราชวังเก่าสุโขทัย ต่อมาภายหลังปรากฎว่าเป็นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักหนึ่งศิลาจารึกภาษาขอมของพระมหาธรรมราชาลิไทยหลักหนึ่งและแท่นหินนั้นคือ พระที่นั่งมนังคศิลาบาตรพระองค์ได้โปรดให้นำโบราณวัตถุทั้งสามชิ้นกลับมายังพระนคร และได้ทรงพยายามอ่านศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง  จนทราบว่าจารึกนี้สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๕

  ภายหลังเมื่อได้เสวยสิริราชสมบัติแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศไปตั้งไว้ที่ศาลารายภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่สองนับจากตะวันตก จนถึงปีพ,ศ.2466จึงได้ย้ายมาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณในปีพ.ศ.2468จึงโปรดเกล้าให้ย้ายจารึกมาเก็บไว้ณพระที่นั่งศิวโมกขพิมานพ.ศ.2511จึงได้ย้ายเฉพาะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไปตั้งที่อาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครด้านเหนือชั้นบน ซึ่งเป็นห้องแสดงศิลปะสมัยสุโขทัยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และได้จัดทำศิลาจารึกหลักจำลองขึ้นเก็บรักษาไว้ที่หอวชิราวุธแทน

                                      

ศิลาจารึกหลักที่ ๑(พ่อขุนรามคำแหง)

ลักษณะของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

   ลักษณะของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นหินชนวนสี่เหลี่ยมมียอดแหลมปลายมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร มีข้อความจารึกทั้ง ๔ ด้าน สูง ๕๙ เซนติเมตรกว้าง ๓๕ เซนติเมตร ด้านที่ ๑และ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด

  การบันทึกของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแบ่งออกเป็น 3 ตอน

ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ – ๑๘เป็นเรื่องของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติพระองค์เอง  ตั้งแต่ประสูติจน      

 เสวยราชย์ใช้สรรพนามแทนชื่อของพระองค์ว่ากู

ตอนที่ ๒ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑๙ เล่าเหตุการณ์ต่างๆและขนบปรพเพณีของกรุงสุโขทัยเล่าเรื่องการสร้างพระ

 แท่นมนังคศิลาบาตร สร้างวัดมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัยและการประดิษฐ์อักษรไทยใช้พระนามว่าพ่อขุนรามคำแหง

ตอนที่ ๓ คงจารึกต่อจากตอนที่๒หลายปีเพราะรูปร่างอักษรต่างไปมากกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหงบรรยากาศถูมิสถานบ้านเมือง และขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัย 

 

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 ศิลาจารึกด้านที่ ๑

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

ศิลาจารึกด้านที่ ๒ 

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

ศิลาจารึกด้านที่ ๓

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

ศิลาจารึกด้านที่ ๔ 

การถอดจารึกด้านที่๑ในรูปแบบต่างๆ

      ถอดจารึกแบบตามจารึก

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

   ถอดจารึกแบบตามอักษรไทยปัจจุบัน

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง
 

 ถอดจารึกเขียนแบบปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 การถอดจารึกด้านที่๒ในรูปแบบต่างๆ

    ถอดจารึกแบบตามจารึก

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

ถอดจารึกแบบตามอักษรไทยปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 ถอดจารึกเขียนแบบปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 การถอดจารึกด้านที่๓ในรูปแบบต่างๆ

 ถอดจารึกแบบตามจารึก

     

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

  ถอดจารึกแบบตามอักษรไทยปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 ถอดจารึกเขียนแบบปัจจุบัน

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 การถอดจารึกด้านที่๔ในรูปแบบต่างๆ

 ถอดจารึกแบบตามจารึก

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 ถอดจารึกแบบตามอักษรไทยปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 ถอดจารึกเขียนแบบปัจจุบัน

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ใช้ลักษณะคําประพันธ์ชนิดใดในการแต่ง

 คำศัพท์ที่ปรากฏ

ด้านที่๑       

ไพร่ฝ้าหน้าใส- ไพร่พล
ญญ่าย มาจาก ย่ายย่าย แปลว่า ไปอย่างรวดเร็ว
จะแจ้น มาจาก แจ้นแจ้น คือ ชุลมุน

 เบกพล แปลว่า เบิกพล หรือ แหวกพลอาจเป็นชื่อช้างก็ได้ตีหนัง
ตีหนัง วังช้าง -  คล้องช้าง

ลูท่าง -เป็นการสะดวก

กว่า– ไป พ่อเชื้อ –  พ่อที่ล่วงลับไปแล้ว

เสื้อคำ - เป็นคำที่ใช้คู่กับพ่อเชื้อ

 ช้างขอ – ช้างที่เคยขอ คือช้างที่ฝึกไว้ดีแล้ว

เยียเข้า– ยุ้งฉาง

ผิดแผกแสกว้างกัน– ทะเลาะกัน
แล่งความ – ตัดสินความ
บ่ใคร่พีน – ไม่อยากได้

บ่ใคร่เดือด– ไม่ริษยา

ตวง– จนกระทั่ง

หัวพู่งหัวรบ- ข้าศึกชั้นหัวหน้า
ไพร่ฝ้าหน้าปก – ประชาชนที่มีทุกข์ร้อน

เจ็บท้องข้องใจ– ทะเลาะกัน

บ่ไร้ – ไม่ยาก

คำศัพท์ที่ปรากฏ

ด้านที่๒

ลางขนุน, หมาก – มะพร้าวประเภทหนึ่ง

ตระพัง– สระน้ำ

ตรีบูร– กำแพงสามชั้น

มักโอยทาน– นิยมถวายทานแกผู้ทรงศีล

พนม– ประดิษฐ์เป็นพุ่ม

แล่ปีแล้ญิบล้าน– ปีละสองล้าน(เบี้ย)

เท้า– ถึง

ดม– ระดม

บงคม– ประโคม

เลื้อน– ขับทำนองเสนาะ

มี– อึ่งมี่

ราม– ปานกลาง

นีสไสยสุต- พระภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕

อรัญญิก– วัดในป่า

หลวก– ฉลาดหลักแหลม

ทะเลหลวง– ทุ่งกว้าง

แกล้ง- ตั้งใจ

คำศัพท์ที่ปรากฏ

ด้านที่ ๓      

ปสาน – ตลาด

อัจนะ – สิ่งที่ควรบูชา

สรีดภงส – ทำนบ,คลองส่งน้ำ, ทาง หรือท่อระบายน้ำ

น้ำโคก – แอ่งน้ำลึก

 ขพุง – ชื่อภูเขา

ขพุง แปลว่า สูง
วันเดือนดับ  -วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ
ผี – เทวดา
เดือนโอกแปดวัน – วันขึ้นแปดค่ำ
วันเดือนเต็ม – วันเพ็ญ
เดือนบ้างแปดวัน – วันแรมแปดค่ำ
คัล – เฝ้า
กระพัดลยาง - สายเชือกที่ผูกกูบหรือสับประคับ คล้องไว้กับโคนหางช้างและรัดกับตัวช้าง
รูจาครี ชื่อช้าง
ชเลียง เมืองเชลียง คือ เมืองสวรรคโลกเก่า
กลวง บริเวณ หรือ ท่ามกลาง

คำศัพท์ที่ปรากฏ

ด้านที่๔      

 มาออก – มาเป็นเมืองขึ้น

๑๒๐๗ ศกปีกุน – มหาศักราช ๑๒๐๗ ตรงกับปีระกาถ้าเป็นปีกุน จะต้องตรงกับมหาศักราช ๑๒๐๙

เวียงผา – กำแพงหิน
๑๒๐๕ เป็นมหาศักราช  - ตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖
หา – หาก
แคะ เปรียว - ว่องไว
รอด – ตลอด
สรลวงสองแคว – พิษณุโลก
ลุมบาจาย – เมืองหล่มเก่า
สคา – เมืองแถวแม่น้ำป่าสัก
คนที – บ้านโคน  กำแพงเพชร
พระบาง เมืองนครสวรรค์
แพรก เมืองชัยนาท
สูพรรณภูมิ  - เมืองเก่าแถวสุพรรณบุรี
แพล เมืองแพร่
ม่าน  - เมืองอยู่ระหว่าแพร่กับน่าน
พลัว – อำเภอปัว  จังหวัดน่าน
ชวา  - เมืองหลวงพระบาง

วรรณศิลป์ในศิลาจารึก

          วรรณศิลป์ คือ ศิลปะของการประพันธ์ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่วรรณคดีควรจะมีดังนั้นการศึกษาถึงวรรณศิลป์ของศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ย่อมสามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการเป็นวรรณคดีของศิลาจารึกหลักที่หนึ่งได้

     จากการศึกษาวรรณศิลป์ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่๑ พบความโดนเด่นทางวรรณศิลป์ที่น่าสนใจสองประการ คือการใช้คำหรือวลีที่มีลักษณะเหมือนคำอุทานเสริมบท และ การมีคำสร้อยสลับวรรคซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นหลักฐานที่สนับสนุนความเป็นวรรณคดีของศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่๑ ทั้งยังถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาในเชิงวิวัฒนาการวรรณคดีไทยในระดับต่อไปอีกด้วย

 ก)     การใช้วลีที่มีลักษณะเหมือนคำอุทานเสริมบท

ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งมีการประพันธ์ด้วยคำที่มีโครงสร้างคล้ายคำอุทานเสริมบทซึ่งมักจะมีสี่พยางค์คือ พยางค์ที่ ๑ กับพยางค์ที่ ๓ จะเป็นคำเดียวกันและพยางค์ที่ ๒ กับพยางค์ที่ ๔ของคำจะเป็นคำที่ต่างกันแต่ก็มีความหมายในทำนองเดียวกัน

 ตัวอย่างเช่น

“บ่ฆ่าบ่ตี”

จะสังเกตเห็นว่าคำพยางค์แรกและคำพยางค์ที่ ๓ เป็นคำเดียวกัน คือคำว่า “บ่”

ส่วน“ฆ่า” และ “ตี” ในพยางค์ที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับนั้น มีความหมายไปในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการทำร้ายเพียงแต่ “ฆ่า” เป็นการทำร้ายอย่างรุนแรงกว่า

 “กลางบ้านกลางเมือง”

ตัวอย่างนี้ซ้ำคำว่า“กลาง” ในพยางค์ตำแหน่งที่ ๑ และ ๓ ส่วนคำว่า “บ้าน” และ “เมือง” ในตำแหน่งที่ ๒และ ๔ ก็มีความหมายในกลุ่มเดียวกันคือสถานที่อยู่อาศัยของคน เพียงแต่ “เมือง”มีความหมายที่เป็นสถานที่ที่มีขอบเขตกว้างใหญ่กว่า “บ้าน”นอกจากคำ ๔ พยางค์แล้วลักษณะที่คล้ายกับคำอุทานเสริมบทยังปรากฏให้เห็นได้ในคำ ๖พยางค์ด้วย ดังเช่น

“บ่มีเงือนบ่มีทอง”และ “บ่มีช้างบ่มีม้า”

   ทั้งนี้จากการพิจารณาศิลาจารึกหลักที่หนึ่งลักษณะดังกล่าวจะมีปรากฏในคำ๔ พยางค์มากที่สุด

ลักษณะของคำที่ที่คล้ายกับคำอุทานเสริมบทนี้จะทำให้ร้อยแก้วกึ่งร่ายของศิลาจารึกหลักที่หนึ่งมีความไพเราะสมกับเป็น

วรรณคดีมากยิ่งขึ้นเพราะมีคำที่ก่อให้เกิดความสมดุลทั้งจังหวะ เสียง และความหมายดังที่กล่าวไปข้างต้น

  ข) การมีคำสร้อยสลับวรรค

      คำสร้อยสลับวรรค คือ การที่คำประพันธ์มีคำสร้อยต่อท้ายวรรคในแต่ละวรรคซึ่งมีเพื่อเสริมความหมายให้ชัดเจนขึ้นและใช้ในกรณีคำประพันธ์มีความหมายที่คล้ายและเป็นไปในทางเดียวกัน ดังตัวอย่าง

 “... ได้ตัวเนื้อตัวปลา ...เอามาแก่พ่อ...ได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี...เอามาแก่พ่อ...ไปตีหนังวังช้างได้ ...เอามาแก่พ่อ...ไปท่บ้านท่เมืองได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง ...เอามาเวนแก่พ่อ... ...”

 จากตัวอย่างจะพบว่า “...เอามาแก่พ่อ...” หรือ “...เอามาเวนแก่พ่อ...” เป็นคำสร้อยสลับวรรค โดยที่คำสร้อยนั้นเป็นวลี

“...ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ...”

      จากตัวอย่าง “ก็หลายในเมืองนี้” เป็นคำสร้อยสลับวรรคโดยที่คำสร้อยนั้นเป็นวลีเช่นเดียวกับ คำสร้อย “...เอามาแก่พ่อ...”

 นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ยังมีคำสร้อยสลับวรรคที่เป็นคำพยางค์เดียวด้วย ดังเห็นได้จาก คำว่า “ค้า” ในตัวอย่าง

 “... ใครจักใคร่ค้าช้า ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ...”  

  จากการค้นคว้าเบื้องต้นแล้วคำสร้อยสลับวรรคที่เป็นวลีมีมากกว่าคำสร้อยสลับวรรคแบบที่เป็นคำพยางค์เดียวและถึงแม้คำสร้อยสลับวรรคในศิลาจารึกหลักที่ ๑จะยังไม่คงที่ด้านจำนวนคำและไม่สมบูรณ์ด้านการใช้คำหรือวลีเดียวกันทุกคำสร้อยบ้างแต่คำสร้อยสลับวรรคของศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าศิลาจารึกหลักที่หนึ่งไม่ใช่แค่มีรูปแบบการประพันธ์ร้อยแก้วที่มีสัมผัสในวรรคและระหว่างวรรคมากกว่าร้อยแก้วปกติแต่ยังเป็นร้อยแก้วที่ผู้ประพันธ์ได้สร้างลักษณะพิเศษอย่างคำสร้อยสลับวรรคแทรกไว้ดังนั้นศิลาจารึกหลักที่หนึ่งจึงมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ในระดับที่เหมาะสมกับการได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณคดีไทย

นอกจากนี้ลักษณะของคำสร้อยสลับวรรคที่พบในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ยังพบความคล้ายคลึงกับคำสร้อยสลับวรรคของ “ลิลิตโองการแช่งน้ำ”วรรณคดีไทยสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย

“...อย่ากินเข้าไปเพื่อ จนตาย อย่าอาศัยแก่น้ำ จนตาย นอนเรือนคำรนคา จนตาย  ลืมตาหงายสู่ฟ้าจนตาย ก้มหน้าลงแผ่นดิน จนตาย”

  จากลักษณะของคำสร้อยสลับวรรคของวรรณคดีทั้งสองยุคสมัยจึงสามารถสัณนิษฐานได้ว่า ลักษณะคำสร้อยสลับวรรคของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างลิลิตโองการแช่งน้ำ  เป็นลักษณะที่สืบทอดมาจากวรรณคดีสมัยสุโขทัย อย่างศิลาจารึกหลักที่ ๑ อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นของคำสร้อยสลับวรรคและคำสร้อยโดยทั่วไปนั้นอาจมีความเป็นมาที่ยาวนานกว่าจะเป็นลักษณะของวรรณคดีสมัยสุโขทัยก็เป็นได้หากแต่ในปัจจุบันหลักฐานที่พบจากวรรณคดีสองยุคสมัยนี้สามารถนำไปสู่ข้อสรุปว่าคำสร้อยสลับวรรคมีต้นเค้ามาจากวรรณคดีสมัยสุโขทัย

 คุณค่าของศิลาจารึก

          ศิลาจารึกหลักนี้ได้กล่าวถึงความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้าปรึกษาราชการได้ทุกวัน ยกเว้นวันพระ และเปิดโอกาสให้ราษฎรมาสั่นกระดิ่งเพื่ออุทธรณ์ฎีกาได้ทุกเมื่อ

          

ด้านเศรษฐกิจ 

     ข้อความที่จารึกไว้ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยนั้น มีความมั่นคงมาก นอกจากนี้ยังมีการชลประทาน การเกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ และการค้าขายก็ทำโดยเสรี

          ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้เราได้ทราบถึงประวัติความรุ่งเรืองชองชาติไทยในยุคสุโขทัย และประวัติเรื่องราวอื่นๆ เช่น ประวัติราชวงศ์สุโขทัย ประวัติการรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น ประวัติการค้าโดยเสรี ประวัติการสืบสร้างพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์ลายสือไทย 

          ศิลาจารึกหลักนี้ได้ระบุอาณาเขตของสุโขทัยไว้อย่างชัดแจ้ง กล่าวถึงว่าทิศตะวันออก จดเวียงจันทน์ เวียงคำ ทิศใต้จดศรีธรรมราช และฝั่งทะเล ทิศตะวันตกถึงหงสาวดี ทิศเหนือถึงเมืองแพร่ น่าน พลั่ว มีการกล่าวถึงชื่อเมืองสำคัญต่างๆ หลายเมือง เช่น เชลียง เพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้พรรณนาแหล่งทำมาหากินและและแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวเมืองสุโขทัยไว้

          

ด้านภาษาศาสตร์ 

          ลายสือไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความสมบูรณ์ทั้งสระและพยัญชนะ สามารถเขียนคำภาษาไทยได้ทุกคำ และสามารถเลียนเสียงภาษาต่างประเทศได้ดีกว่าอักษรแบบอื่นๆ เป็นอันมาก มีการใช้อักขรวิธีแบบนำสระและพยัญชนะมาเรียงไว้ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งทำให้ประหยัดทั้งเนื้อที่และเวลาในการเขียน ภาษาเป็นสำนวนง่ายๆ และมีภาษาต่างประเทศบ้าง ประโยคที่เขียนก็ออกเสียงอ่านได้เป็นจังหวะคล้องจองกันคล้ายกับการอ่านร้อยกรองด้านวรรณคดี ศิลาจารึกหลักนี้จัดว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย เพราะมีข้อความไพเราะลึกซึ้งและกินใจ ก่อให้เกิดจินตนาการได้งดงาม

        

ด้านศาสนา 

          ข้อความในศิลาจารึกนี้ มีหลายตอนที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้รับการอุปถัมภ์เชิดชูอย่างดียิ่ง ประชาชนชาวไทยได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสูงส่ง มีการสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุไว้เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาในพระศาสนา จึงมีศิลปะงดงามยิ่ง แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถจะสร้างให้งามทัดเทียมได้ด้านจารีตประเพณี ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้ทราบว่า สมัยสุโขทัยนั้นมีหลักจารีตประเพณีหลายประการที่ประชาชนนับถือและปฏิบัติกันอยู่ มีทั้งประเพณีทางพระพุทธศาสนาและประเพณีอื่น ๆ เช่น ประเพณีรักษาศีลเมื่อเข้าพรรษา ประเพณีฟังธรรมในวันพระ ประเพณีการทอดกฐิน ประเพณีการเผาเทียนเล่นไฟ เป็นต้น

 

           ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ เป็นเอกสารที่สำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติไทย เป็นมรดกอันล้ำค่าและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง มีสาระประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองนานัปการ ควรพิทักษ์รักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดกาล

           และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (องค์การยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม 2546 ที่เมือง Gdansk ประเทศโปแลนด์ โดยได้พิจารณาใบสมัครจำนวน 43 รายการ จาก 27 ประเทศทั่วโลก ผลการประชุมมีมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง พร้อมกับอีก 22 รายการ จาก 20 ประเทศ ทั้งนี้ โครงการมรดกความทรงจำของโลกเป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกความทรงจำที่เป็นเอกสาร วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่นๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย แต่จะต้องมีความสำคัญในระดับนานาชาติ และจะต้องมีการเก็บรักษาในความทรงจำในระดับชาติและระดับภูมิภาคอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อองค์การยูเนสโกได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดกมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรมที่จะต้องอนุรักษ์ ให้อยู่ในสภาพที่ดี และเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชนอนุชนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวาง เพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป 

           นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างยิ่งที่นอกเหนือจากเป็นสถาบันการศึกษาภายใต้พระนาม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ผู้มีคุณูปการยิ่งใหญ่แก่ชาติไทยแล้ว ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อันเป็น ตราประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้รับการยกย่องไปทั่วโลกว่าเป็น มรดกความทรงจำของโลก

 

สุดท้ายนี้ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ สุวิชาโน ภว โหติ

 

แหล่งอ้างอิง: 

Ac 127 inภาษาไทย. “ คำศัพท์ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง<<AC127”.AC127. 14กันยายน2551 .Ac 127.14มกราคม2554. http://ac127.wordpress.com/2008/09/14 ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร,กลุ่มงาน.. “ ศิลาจารึก”.จังหวัดสุโขทัย.มปป.กลุ่มงาน.ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานจังหวัดสุ สุโขทัย.14มกราคม2554., <http: //www.sukhothai.go.th/history/hist_08.html> คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน.ประวัติวรรณคดีไทย เล่ม ๒.กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ,2550.294หน้า ไดอารี่. “ความเป็นวรรณคดีของศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ”. Independent study @ AlternativeUniversity.18กรกฏาคม2551. <http: //virtuoso.diaryis.c om > มหาวิทยาลัยรามคำแหง.“จังหวัดสุโขทัย”.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.มปป.สารนิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. .14มกราคม2554.< http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/> ศึกษาธิการ,กระทรวง,.วรรณคดีวิจักษ์.15000.6.สกสค.ลาดพร้าว:สกสค.2551.139.

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึกเป็นคำประพันธ์ประเภทใด

แต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วแต่บางตอนมีสัมผัส เรื่องย่อ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ๑๐ เซนติเมตร มีคำจารึก ๔ ด้าน กล่าวคือ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีลักษณะรูปทรงอย่างไร

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ตั้งอยู่ที่ใด

ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

ศิลาจารึกหลักที่ 1 คืออะไร

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จารึกหลักนี้ นักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าข้อความในตอนต้นๆ ของศิลาจารึกเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกขึ้น แต่ตอนท้ายๆ มาสร้างขึ้นในสมัยหลัง