สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด

ประเภทของยาเสพติดจำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท

  • สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด

    ๑. ประเภทกดประสาท

    ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท
    เครื่องดื่มมึนเมา ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น

    อาการ มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
    อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย


  • ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน

    อาการ มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับส
    นหวาดระแวงบางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่งหรือทำในสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ
    เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น


  • ๓. ประเภทหลอนประสาท

    ได้แก่ แอลเอสดี และเห็ดขี้ควาย เป็นต้น

    อาการ ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว
    ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว
    ควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต

  • ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน

    อาการผู้เสพติดมักมีอาการหวาดระแวงความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา
    หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

    สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด


    ประเภทของยาเสพติด
    ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 

    ๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิดซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น

     

    สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด

                  ฝิ่น                                     กระท่อม

    ๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น

    1.           ยาบ้า                                 เฮโรอีน

      ๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ 

      ๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
      ๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
      ๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่

      ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

      ๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย 

      ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

      ๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น 

      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด
      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด
      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด

                         มอร์ฟีน                                       ยาอี                                       กัญชา

      ๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

      ๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
      ๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
      ๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
      ๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด
      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด
      สารเสพติดประเภท ออกฤทธิ์ กดประสาท จะก่อให้เกิดอาการ แบบ ใด

                       สารระเหย                                 โคเคน                                เห็ดขี้ควาย


      ๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลกซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ

      ๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
      ๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
      ๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
      ๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
      ๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
      ๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
      ๔.๗ ประเภทใบกระท่อม
      ๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
      ๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่ ที่มา :  http://student.nu.ac.th/justsaynoonly/type.html

                http://uttaradit.police.go.th/ya001.html

ข้อใดเป็นฤทธิ์ของสารเสพติดประเภทออกฤทธิ์กดประสาท

ออกฤทธิ์กดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟิ่น เฮโรอีน เซโคบาร์ทิบาท (บาร์บิทูเรต) เหล้าแห้ง หรือโซโคบาล ทำให้ประสาทมึนชา สมอง อารมณ์ จิตใจ เฉื่อยชา ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคเคน พวกยาม้า ยาขยัน กระตุ้นเร่งประสาททำให้เกิดนิ่ว ตื่นตัว กระวนกระวาย ประสาทไหวตัวอยู่เสมอ

สารเสพติดประเภทกดประสาทได้แก่อะไรบ้าง

๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท ๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน ๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย

ผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเสพติดมีอะไรบ้าง

โทษของยาเสพติด.
ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก.
สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด.
พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ.

สารชนิดใดเป็นสารกระตุ้นของระบบประสาทส่วนกลาง

แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ C9H13N เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (CNS stimulants) เป็นสารถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เอเดเลียโน(Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulphate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นัก ...