โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

 โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

   โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ หมายถึง สุภาษิตที่จำแนกเนื้อความเป็น     ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘ ข้อ   เดิมนั้นเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กวีในราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นภาษาไทย

  โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๘ บท ซึ่งมีบทนำ ๑ บท  เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และบทสรุป ๑ บท

  โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำ และโปรดให้ คุณหญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ นำโคลงไปปักเป็นตัวอักษรใส่กรอบกระจก ประดับบนพระที่นั่งทรงธรรมในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ จุลศักราช ๑๒๔๖

  ภายหลังได้รวบรวมพิมพ์ไว้ ในหนังสือประชุมโคลงสุภาษิต ในรัชกาล ที่ ๕ ในงาน  ศตมวารพระศพสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖

  โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อ ต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน    ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติ และมีความปลอดโปร่งในชีวิต

     สาระสำคัญของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

  ๑.สามสิ่งควรรัก ได้แก่ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่

  ๒. สามสิ่งควรชม ได้แก่ อำนาจปัญญา เกียรติยศ และมีมารยาทดี

  ๓. สามสิ่งควรเกลียด ได้แก่ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ และอกตัญญู

  ๔. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน ได้แก่ ชั่วเลวทราม มารยา และฤษยา

  ๕. สามสิ่งควรเคารพ ได้แก่ ศาสนา ยุติธรรม และสละประโยชน์ตนเอง

  ๖. สามสิ่งควรยินดี ได้แก่ การเป็นผู้มีความงาม มีความสัตย์ซื่อ และความอิสระเสรี

  ๗. สามสิ่งควรปรารถนา ได้แก่ ความสุขสบาย การมีมิตรสหายที่ดี และมีความสบายใจ

  ๘. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ ได้แก่ ความเชื่อถือ ความสงบ และจิตใจที่ไม่ขุ่นหมอง

  ๙. สามสิ่งควรนับถือ ได้แก่ การเป็นผู้มีปัญญา มีความฉลาด และมีความมั่นคงไม่โลเล

  ๑๐. สามสิ่งควรจะชอบ ได้แก่ ความมีใจอารีสุจริต ใจดีไม่เคืองขุ่น และ      มีความสนุกเบิกบาน

  ๑๑. สามสิ่งควรสงสัย ได้แก่ คำยกยอ พวกปากไม่ตรงกับใจ และ พวกใจโลเลพูดกลับคำไปมา 
  
๑๒. สามสิ่งควรละ ได้แก่ ความเกียจคร้าน การพูดจาไม่น่าเชื่อถือ และการใช้คำเสียดสีผู้อื่น
  ๑๓. สามสิ่งควรจะกระทำให้มี ได้แก่ หนังสือดีเพื่อนที่ดี และ
ความเป็นคนใจเย็น
  ๑๔. สามสิ่งควรจะหวง
แหนฤๅต่อสู้เพื่อรักษา ได้แก่ ชื่อเสียงเกียรติยศประเทศชาติบ้านเมือง และเพื่อนที่ดี
  ๑๕. สามสิ่งควรครองไว้ ได้แก่ กิริยาอาการ ความมักง่าย และ
คำพูด
  ๑๖. สามสิ่งควรจะเตรียมเผื่อ ได้แก่ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ความแก่ชรา และความตาย

แหล่งอ้างอิง: 

หนังสือประชุมโคลงสุภาษิต สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , poppappangpon.exteen.com , www.st.ac.th/bhatips/tip49/klongsupasit_rama5.html ,

โคลงโสฬสไตรยางค์แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด *

ลักษณะคำประพันธ์ โครงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์แต่งด้วยฉันทลักษณ์ชนิดโคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงบทนำ 1บท เนื้อเรื่อง 16บท และบทสรุป 1บท

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นวรรณคดีประเภทคำสอนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์แปลมาจากภาษาอังกฤษเป็นโคลงสี่สุภาพ กล่าวถึงกิจ 10 ประการ ที่ผู้ประพฤติตามจะไม่ได้รับความเสียใจ จัดเป็นโคลงสุภาษิตที่มีคุณค่าและควรแก่การนำไปปฏิบัติ

ข้อใดคือคำสอนจากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

ข้อคิดจากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ 1. การใช้คำพูดที่สุภาพ จริงใจ มีมารยาทจะทำให้ได้รับความรัก และชื่นชมจากผู้อื่น 2. การประพฤติปฏิบัติในสิ่งดี และละเว้นสิ่งที่ควรเกลียด จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญในชีวิต 3. บุคคลใดชื่อว่าบัณฑิตควรชอบและชื่นชมความกล้า ความสุภาพ ปัญญา เกียรติยศ และมารยาท

ใครคือผู้แต่งวรรณคดีเรื่อง โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว *

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว