มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็น วัฒนธรรม ประเภท ใด

กรุงเทพฯ--9 ก.ย.--ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ เชื่อว่าแทบทุกคนเมื่อได้รับเชิญเข้าร่วมงานจัดเลี้ยงอาหารแบบตะวันตก หากใครไม่มีประสบการณ์รู้มาก่อน ก็ต้องตื่นตะลึงวางตัวไม่ถูกว่าจะเริ่มหยิบจับอะไรจากตรงไหน เพราะอุปกรณ์การทานไม่ได้มีแค่ช้อนกับส้อมเหมือนที่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกัน วันนี้เราได้รวบรวมข้อควรรู้ง่ายๆ เกี่ยวกับมารยาทและธรรมเนียมนิยม ที่ปฏิบัติในการรับประทานอาหารแบบสากล จากอาจารย์โจ หรืออาจารย์อดิศร เพ็ชรไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชาการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม โรงเรียนดุสิตธานีการโรงแรม มาฝากกัน อาจารย์โจ กล่าวว่า "ร้านอาหารหรูระดับ Fine Dining ในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่จะให้บริการอาหารและเครื่องดื่มตามแบบฉบับมาตรฐานยุโรป ซึ่งปัจจุบันแม้จะถูกลดทอนขั้นตอนที่ยืดเยื้อลงไปมากแล้วเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนไป แต่มารยาทหรือธรรมเนียมปฏิบัติบนโต๊ะอาหารเหล่านี้ ยังถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสังคมที่มีวัฒนธรรมต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะเรียนรู้ไว้เพื่อจะได้ไม่ทำผิดพลาด และช่วยให้เราสนุกกับการรับประทานอาหารมื้อนั้นได้อย่างเต็มที่" · การใช้มีด-ส้อม เริ่มใช้จากด้านนอกสุดเข้าหาด้านในสุด ตามลำดับประเภทอาหารที่เสิร์ฟมือขวาจับมีด มือซ้ายถือส้อม ให้คว่ำส้อมจิ้มจับอาหารให้นิ่ง เพื่อใช้มีดในมือขวาตัดอาหารเป็นชิ้นๆ พอดีคำ แต่ถ้าเป็นข้าว หรือถั่ว ให้หงายส้อมขึ้น แล้วใช้มีดช่วยปาดอาหารเข้าไปอยู่ในส้อม ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามจะไม่มีการใช้มีดนำอาหารเข้าปากโดยเด็ดขาด · หากไม่ใช้มีดให้นำไปพักไว้บนขอบจานหลักด้านขวาบน ทำมุม 45-60 องศา สำหรับเครื่องมือที่ใช้แล้วจะไม่มีการนำกลับไปวางบนโต๊ะหรือพักไว้บนจานขนมปังเล็กด้านข้าง เมื่อทานเสร็จให้รวบมีดและส้อมไว้บนจาน โดยวางส้อมหงายขึ้นและหันคมมีดเข้าหาตัวส้อม · ส่วนการทานซุปด้วยช้อน ให้ตักซุปออกด้านนอกและค่อยๆ จิบจากด้านข้างช้อน ข้อยกเว้นคือในกรณีที่ซุปเสริฟมาในถ้วยมีหูสามารถยกดื่มได้ แต่ต้องไม่ให้มีเสียงดัง และไม่ควรเอาขนมปังจิ้มซุปโดยเด็ดขา · "ตัด พับ ดัน" คือ เทคนิคง่ายๆ ในการใช้มีดกับส้อมทานอาหารที่คนไทยมักมีปัญหา เช่นการทานสลัด ให้ใช้มีดตัดผักให้มีขนาดพอดีคำ จากนั้นใช้มีดกับส้อมพับชิ้นผัก แล้วค่อยๆ ดันผักเข้าไปอยู่ในส้อมเพื่อรับประทานในคำเดียว นอกจากจะทานง่าย สะดวก ยังแลดูสวยงามอีกด้วย หรือการทาน สเต็กตามมารยาทอังกฤษ หั่นทานพอดีคำ · กรณีที่ต้องการใส่เครื่องปรุงที่มาคู่กันเพิ่มรสชาติ เช่น ซอสหรือมัสตาร์ด ไม่ควรตักซอสราดลงบนอาหารโดยตรงทีละมากๆ ให้ปาดซอสมาไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของจาน เวลาทานค่อยใช้ปลายมีดแต้มซอสไปบนอาหาร เป็นการคุมไม่ให้อาหารเสียรสชาติหากใส่มากเกินไป และช่วยป้องกันไม่ให้ซอสละลายปนกับอาหารจนดูไม่น่าทาน · ชิมก่อนปรุง คนไทยคุ้นชินกับการปรุงรสก่อนชิม ควรทราบว่าร้านอาหารระดับหรูทั่วไปมักไม่มีเครื่องปรุงอย่างเกลือพริกไทยบริการบนโต๊ะ เพราะโดยพื้นฐานวัฒนธรรมยุโรป อาหารที่เชฟหรือเจ้าภาพนำมาเสิร์ฟถือว่ามีรสชาติดีที่สุดแล้ว การขอเครื่องปรุงเพิ่มอาจเป็นการเสียมารยาทได้เพราะจะถูกมองว่าทำให้อาหารเสียรส หรือไม่ใช่สิ่งที่ควรทานคู่กัน · หากต้องการของที่อยู่ไกลมือ เช่น ขนมปัง เกลือ พริกไทย ไม่ควรลุกขึ้นไปหยิบเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากคนข้างเคียงทางด้านขวา ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติของชิ้นนั้นจะถูกส่งวนขวากลับมาให้เป็นวงกลม เช่นเดียวกันเมื่อทำมีดหรือส้อมตกพื้น ไม่จำเป็นต้องเก็บขึ้นมา สามารถขอใหม่จากบริกรได้ทันที · เนยกับขนมปัง จานขนมปังจะอยู่ทางด้านซ้าย ธรรมเนียมปฏิบัติสากลนิยมใช้มือแบ่งขนมปังทานทีละคำ แล้วใช้มีดเนยปาดเนยทาบนขนมปัง ไม่ควรใช้มีดหั่นเป็นชิ้นๆ ปาดเนยรอล่วงหน้าทีละมากๆ การทานสเต็ก ร้านอาหารบางร้านในวัฒนธรรมยุโรปอาจเสิร์ฟเนยก้อนใหญ่มาให้แชร์กัน ให้เอามีดเนยตัดแบ่งมาใส่ในถ้วย หรือจานขนมปังของเราก่อน จึงค่อยทาขนมปังทาน · ไม้จิ้มฟัน ร้านอาหารหรูแบบตะวันตกจะไม่มีสิ่งนี้บริการอยู่บนโต๊ะ แต่สามารถขอพนักงานให้บริการ หรือบริกร มาใช้ได้โดยใช้ผ้าเช็ดปากปิดเพื่อความสุภาพ · ผ้าเช็ดปาก เป็นเทคนิคขั้นสูงที่หลายคนคาดไม่ถึง เวลาใช้ให้พับครึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางไว้บนตัก หากต้องการซับปากให้ยกผ้าด้านในขึ้นแตะปากเบาๆ เมื่อวางกลับลงไป รอยเปื้อนก็จะถูกซ่อนอยู่ด้านใน แล้วเมื่อต้องลุกจากโต๊ะระหว่างรับประทานอาหารผ้าเช็ดปากนั้นให้วางลงบนเก้าอี้หรือพนักวางแขน เมื่อรับประทานเสร็จแล้วให้เอาผ้าวางบนโต๊ะด้านขวา · ก่อนดื่มน้ำหรือไวน์ทุกครั้ง แนะนำว่าควรซับปากก่อน เพื่อป้องกันคราบไขมันจากริมฝีปากลงไปปะปนในแก้ว หรือเลอะขอบแก้ว เป็นอีกหนึ่งเทคนิคระดับเซียนในการเข้าสังคม · ภาษากายก็สำคัญ เวลารับประทาน ไม่ควรปล่อยตัวพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย ควรนั่งหลังตรงประมาณ 3 ใน 4 ของเก้าอี้ และไม่ควรนั่งไขว่ห้างหรือใช้แขนเท้าโต๊ะ ที่สำคัญที่สุด ไม่ควรคุยโทรศัพท์ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือบนโต๊ะโดยเด็ดขาด ปัจจุบันมีร้านอาหารจำนวนไม่น้อยในต่างประเทศถึงขั้น แบนห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในร้านกันเลยทีเดียว "มารยาทบนโต๊ะอาหารไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่การดัดจริตตามฝรั่ง แต่เป็นการเข้าสังคมแบบหนึ่ง ที่แสดงถึงความเคารพและให้เกียรติผู้อื่น สำคัญคือเราต้องเปิดใจเรียนรู้และฝึกฝนบ่อยๆ ให้เคยชินเป็นนิสัย ตามสุภาษิต เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามนั่นเอง" อาจารย์โจ อดิศร กล่าวทิ้งท้าย

มารยาทบนโต๊ะอาหารสามารถบ่งบอกได้ถึงการมีวัฒนธรรมอันดี การรับประทานอาหารไทยมีมารยาทต่างๆ ที่ควรทราบ เช่น ถือช้อนด้วยมือขวาและส้อมด้วยมือซ้าย ในวัฒนธรรมตะวันตกก็มีเช่นกัน คัดสรรที่น่าสนใจมา 10 ข้อ ดังนี้

  1. อาหารที่ใช้มีด และส้อมตัด หรือเฉือนอาหาร จะต้องให้ปลายของส้อมอยู่ในลักษณะคว่ำลงให้ด้ามของมีดและส้อมอยู่ในฝ่ามือ
  2. หากมีการสำลักหรือสะอึก ควรดื่มน้ำเพื่อช่วยแก้ไข แต่ถ้าไม่ดีขึ้นทำได้โดยขอโทษผู้ที่นั่งใกล้ๆ แล้วรีบออกจากห้องอาหารไปอย่างเงียบๆ
  3. ในการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มชนิด จะต้องใช้มือขวาจับแก้วดื่ม
  4. การนั่งโต๊ะรับประทานอาหารควรนั่งในลักษณะตัวตรง แล้วเอามือวางไว้บนตัก ให้ข้อศอกและแขนติดอยู่กับตัว ไม่ควรให้เกะกะคนอื่น
  5. ขณะนั่งรับประทานอาหารโดยใช้มีดกับส้อม อย่ากางแขนหรือข้อศอกให้มาก จะต้องให้ข้อศอกแนบกับตัวเอง
  6. จานขนมปังจะจัดวางไว้ทางซ้ายมือ เวลารับประทานจะต้องหยิบขนมปังทางซ้ายมือ อย่าหยิบทางขวามือเป็นอันขาด เพราะจะเป็นขนมปังของคนอื่น
  7. อย่าใช้มีดตัก หรือจิ้มอาหารใส่ปากเป็นอันขาด
  8. ขณะที่นั่งที่โต๊ะอาหาร เมื่อพนักงานบริการนำอาหาร หรือเครื่องดื่มมาเสิร์ฟ ควรเอียงตัวเล็กน้อย เพื่อให้พนักงานบริการเสิร์ฟอาหารหรือเครื่องดื่มได้สะดวก
  9. แก้วเครื่องดื่มต่างๆ บนโต๊ะอาหาร ที่มีการจัดแก้วไว้โดยเฉพาะ เช่น แก้วเหล้าไวน์ แก้วกาแฟ หรือแก้วแชมเปญ เป็นต้น ในกรณีไม่ต้องการดื่มเครื่องดื่มชนิดใดให้คว่ำแก้วนั้นไว้ เมื่อพนักงานเสิร์ฟเครื่องดื่ม จะทราบว่า ผู้รับประทานไม่ต้องการดื่มเครื่องดื่มชนิดนั้นจึงไม่ต้องเสิร์ฟ
  10. ในระหว่างการนั่งรับประทานอาหาร ไม่ควรอ่านหนังสือ เว้นแต่จะเป็นเมนูอาหาร หรือรายการเครื่องดื่มเท่านั้น
    มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็น วัฒนธรรม ประเภท ใด

เรื่องเล็กน้อยทราบไว้จะทำให้ไม่เก้อเขิน เมื่อต้องพบปะเข้าสังคมรับประทานอาหารตะวันตก และสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานนั้น ยังมีที่น่าสนใจอีกมาก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือของสำนักหอสมุดกลางที่บอกไว้ในที่มา

มารยาทในการรับประทานอาหารเป็นวัฒธรรมประเภทใด

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นวัฒนธรรมประเภทใด คติธรรม

วัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารการกินมีอะไรบ้าง

ครอบครัวคนไทยสมัยก่อนจะนั่งรับประทานอาหารกับพื้น โดยใช้ผ้าสะอาดหรือเสื่อปูลาดบนพื้นบ้าน นั่งล้อมวงกัน ตักข้าวจากโถใส่จาน อาหารจัดมาเป็นสำรับ และวางสำรับไว้ตรงกลางวง มีช้อนกลางสำหรับตักกับข้าวใส่จานของตนเอง และทานอาหารด้วยมือ หรือที่เรียกว่า “เปิบ” บางบ้านจะมีขันตักน้ำและกระโถนเตรียมไว้เพื่อรองน้ำล้างมือด้วย

ข้อใดเป็นวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนไทย

คนไทยภาคกลางนิยมกินอาหารด้วยช้อน ส้อม และใช้ช้อนกลางสำหรับตักอาหาร ในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย ก็นิยมมีผ้าเช็ดปากวางอยู่บนโต๊ะ อาจจะพับแบบธรรมดา หรือพับเป็นรูปต่างๆ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความมีระเบียบแบบแผน ที่สืบทอดกันมาของบุคคลในตระกูลนั้นๆ การจัดอาหารบนโต๊ะ บางบ้านจะวางไว้หมดทุกอย่าง เพียงแต่มีผู้เสิร์ฟคอยเติมอาหาร ...

มารยาทในการรับประทานอาหารมีความสําคัญอย่างไร

มารยาทในการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าชาติใดก็มักจะมีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติเฉพาะตัว รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย ดังนั้นเราจึงควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อต้องเข้าสังคมกับผู้อื่น