Un คืออะไร ทํา หน้าที่ อะไร

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีข่าวว่า องค์การสหประชาชาติหรือ ยูเอ็น มอบเงินจำนวนมากหนุนโครงการจัดหาวัคซีนต้านทานโควิดทั่วโลก เพื่อรับประกันว่าประเทศทั่วโลกจะสามารถเข้าถึง วัคซีนต้านโรค Covid 19 ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างเท่าเทียมกันทำให้ภาพลักษณ์ของยูเอ็นดีขึ้นไปอีกเท่าทวีคูณ 

Un คืออะไร ทํา หน้าที่ อะไร

วันนี้เรามี 10 เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้เกี่ยวกับยูเอ็น องค์กรที่ดูแลความสงบและเป็นตัวกลางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วโลกให้เป็นไปได้ด้วยดี อ่านมาถึงตรงนี้ชักอยากรู้แล้วล่ะสิ ว่าองค์กรนี้มีความพิเศษอย่างไร ไปดูกันค่ะ

1. ยูเอ็น ถือกำเนิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศร่วมก่อตั้งทั้งหมด 51 ประเทศ เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบและทำให้สันติภาพบังเกิดขึ้นในโลก

2.เลขาธิการยูเอ็นเกิดจากการแต่งตั้งโดยมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการยูเอ็น คือ อันโตนีโอ กูร์เตอร์เรส จากประเทศโปรตุเกสนั่นเอง

3.การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ” หรือ “ยูเอ็นจีเอ” (UNGA : United Nations General Assembly) จะจัดเป็นประจำในช่วงเดือน ก.ย. ของทุกปี ที่อาคารสำนักงานใหญ่ของยูเอ็น ในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เราเห็นผู้นำทั่วโลกกล่าวถ้อยคำแถลงกันบนโพเดียมนั่นแหละค่ะ ซึ่งในปีนี้พิเศษกว่าทุกปีเนื่องจากสถาการณ์ Covid 19 จึงทำให้การประชุมเปลี่ยนเป็น ระบบ“ออนไลน์ (Online) แทน การประชุมแบบนิวนอร์มอลก็มา

4.ในการประชุมยูเอ็นช่วงแรกมีเพียง 2 ภาษาเท่านั้น คือ อังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เนื่องจากสหรัฐอเมริกาชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษ แต่สาเหตุที่ภาษาฝรั่งเศสก็ต้องให้ความสำคัญด้วย เนื่องการทูตเกิดขึ้นที่ฝรั่งเศสและ ณ ตอนนั้นเอง ฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป จึงต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้วยภาษาฝรั่งเศสด้วย ซึ่งปัจจุบันในการประชุมจะใช้ 6 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาจีน ภาษารัสเซีย และภาษาอาหรับ

5.ภายในสำนักงานใหญ่ของยูเอ็นจะมี "ของบรรณาการ" หรือ ที่เรียกว่า "ของขวัญประจำชาติ" ของกลุ่มสมาชิกยูเอ็นกว่า 193 ประเทศ ตั้งตระหง่านอยู่ในนั้น ซึ่งประเทศไทยเองได้มีการส่งมอบ “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง” เป็นของขวัญในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ณ ตอนนั้นในปี 1984

6.ประเทศไทย ประเทศศรีลังกา และประเทศเมียนมาร์ เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลักดันให้ "วันวิสาขบูชา" เป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั้งโลก

ในเวทีการประชุมยูเอ็น และได้ส่งมอบของขวัญเป็นเจดีย์ทอง เพื่อเตือนประชาคมโลกว่า “International Day of Vasak” เป็นวันที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญเช่นกัน

7. การมีตำแหน่งสำคัญในยูเอ็นก็เหมือนเป็นการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ เพราะจะสามารถผลักดันประเทศได้มากกว่าผู้แทนประเทศอื่นๆ ดังนั้นลงสมัครการเลือกตั้ง ผู้สมัครต้องมีการหาเสียงกับกลุ่มประเทศอื่นๆ บอกวิสัยทัศน์ ผลประโยชน์ร่วมกัน หรือความร่วมมือต่างๆ มีเพียงเลขาธิการยูเอ็นเท่านั้นที่เกิดจากการแต่งตั้ง ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งนั้นเลยค่ะ ไม่ได้มาง่ายๆ นะเนี่ย

8.ในยูเอ็นมี "บันไดเลื่อน" ที่ถือเป็นแลนด์มาร์คสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำ อยู่เนื่องจากเป็นบันไดที่ผู้นำทั่วโลกเดินผ่านเปรียบเสมือน “เส้นทางของผู้นำ” และมีอยู่ที่เดียวในโลก ที่เราสามารถเห็นได้ในภาพยนตร์หลายๆ เรื่องซึ่งมักจะมีฉากที่ผู้นำหรือนักธุรกิจเดินขึ้นบันได พร้อมกับชายใส่ชุดสูทอีกนับสิบก็มาจากที่นี่แหละค่ะ อลังการงานสร้างมากกก!!

9.สำนักงานสาขาของยูเอ็นมีไม่กี่ที่บนโลกใบนี้ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีสาขาเช่นกัน ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย และเป็นองค์การหลักในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ในหลายองค์การ เช่น UNHCR, UN Woman และ UNOPS  เป็นต้น ซึ่งเหล่าคนดังทั่วทุกมุมโลกที่เราเห็นกันตามสื่อต่างๆ ล้วนแล้วแต่มาดำเนินกิจกรรมร่วมกันที่ประเทศไทยนี่แหละค่ะ

10.ยูเอ็น มีสปอนเซอร์หลักที่ให้เงินสนับสนุนมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกาประมาณ 3,300 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดีเนื่องจากยังมีกลุ่มประเทศสมาชิกกว่า 64 ประเทศ ไม่จ่ายเงินสนับสนุน อีกทั้งรายได้ยังน้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งหมดไปกับ “ภารกิจรักษาสันติภาพ” นั่นเอง

จะเห็นได้ว่ายูเอ็นถือเป็นองค์กรที่ทำงานหนักเพื่อรักษาสันติภาพของโลกใบนี้ แต่อย่างไรตาม หากนานาประเทศทั่วโลก ช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดสงคราม รวมไปถึงพัฒนาศักยภาพของประเทศให้มีคุณภาพ สังคมโลกก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติสุข

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก

สหประชาชาติ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า UN “United Nations” วัตถุประสงค์ของสหประชาชาติคือการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ, การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน,การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ, การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกรณีที่มีความอดอยากภัยพิบัติทางธรรมชาติและความขัดแย้งเมื่อ 24 ตุลาคม 2488 ภายหลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติมี 51 ประเทศ สำนักงานใหญ่ต่อไปจะตั้งอยู่ในเจนีวา

Un คืออะไร ทํา หน้าที่ อะไร

องค์กรสหประชาชาติเป็นองค์กรอิสระและมีหน่วยงานของตนเองดังนี้

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ซึ่งตัวแทนแต่ละประเทศจะเข้ามามีส่วนร่วมประเทศละหนึ่งคนโดยที่มีสิทธิทุกอย่างเท่าเทียมกัน

คณะมนตรีความมั่นคง มีอำนาจในการตรวจสอบหากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ หลักการดำเนินการจะเริ่มจกการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มประเทศที่ลงนามต่อประเทศต้นเหตุรวมถึงการใช้กำลังทางการทหารเพื่อยับยัง

สภาเศรษฐกิจและสังคมมีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ 15 หน่วยงานเฉพาะของสหประชาชาติ ECOSOC ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการหารือเรื่องเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศและการกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบายที่ส่งไปยังประเทศสมาชิกและสหประชาชาติ

เลขาธิการ เลขาธิการมีหน้าที่ช่วยแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ, การบริหารการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ, การจัดประชุมระหว่างประเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงและให้คำปรึกษากับรัฐบาลสมาชิกเกี่ยวกับโครงการต่างๆ เลขาธิการทำหน้าที่วิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและการเมืองสำหรับการประชุมสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคง รวมถึงการจัดสรรเงินเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก มีการเลือกจากตัวแทนแต่ละประเทศที่เป็นการลงนามถาวร 15 ท่านในกลุ่มประเทศแบ่งตามภูมิภาค หลักบังคับใช้กฎหมายมีกฎหมายทั่วไป , กฎหมายแพ่งและกฎหมายสังคมนิยม

Un คืออะไร ทํา หน้าที่ อะไร

องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO)

รู้จักกันดีว่าเป็นองค์กรเกี่ยวกับทางการแพทย์ที่ช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก เป็นส่วนหนึ่งที่รักษาโรคโปลิโอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในหลายประเทศ และเมื่อครั้งที่มีการระบายของโรคไข้หวัดนกองค์การอนามัยโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการระบายเพื่อไม่ให้เกิดการขยายตัวไปมากกว่าที่เป็น ร่วมกันหาทางออกกับหลายประเทศช่วยกันผลิตวัคซีนป้องกันได้อย่างรวดเร็วทำให้มียอดผู้เสียชีวิตเพียง 59% จากยอดผู้ติดเชื่อทั้งหมดจาก 16 ประเทศนับว่ายังโชคดีที่ไม่เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้ จัดว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ให้ได้พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ตามข่าว

Un คืออะไร ทํา หน้าที่ อะไร

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสหประชาชาติหรือ UN ที่ทำหน้าที่ช่วยคนในหลายประเทศที่บางครั้งต้องจากบ้านที่ตัวเองไปเป็นเดือนหรือเป็นปี หากอยู่ในสงครามมีความเสียงที่อาจจะเสียชีวิตแต่เป็นการอุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือคน

UN สามารถทำอะไรได้บ้าง

องค์การสหประชาชาติ (United Nations) หรือที่เราเรียกกันย่อๆว่า UN นั้นพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลโลกของเราให้ดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข เป็นเหมือนตัวกลางในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นไปได้ด้วยดี อำนวยความสะดวกด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ทำงานเพื่อความมั่นคง สันติภาพ การพัฒนา ...

UN คือออะไร

จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ.1945) : สหประชาชาติ (United Nations : UN) ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ

ข้อใด คือวัตถุประสงค์หลักขององค์การสหประชาชาติ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

UN มีที่มาจากอะไร

สหประชาชาติ หรือ องค์การสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations, ตัวย่อ: UN; ฝรั่งเศส: Organisation des Nations unies, ตัวย่อ: ONU) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ บรรลุความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงาน ...