ข้อใดคืออิสรภาพที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนา

ข้อใดคืออิสรภาพที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนา

ทุกคน ก็อยากจะมีอิสรภาพ
อยากจะมีความเป็นอิสระ ด้วยกันทั้งนั้น

อยากจะมี อิสรภาพทางการเงิน
มีเงินใช้
อยากจะมี อิสรภาพ ทางเวลา

บางคนมีเงินใช้ แต่ไม่มีเวลาทำในสิ่งที่อยากทำ

อิสรภาพ ในการใช้ชีวิต
อยากจะใช้ชีวิต อยากจะท่องเที่ยว
อยากจะทำอะไร ในสิ่งที่เราอยากทำ

บางคนมีเงิน มีเวลา แต่ไม่สามารถทำในแบบฉบับที่ตัวเองอยากทำได้

บางคน ก็มองถึงประโยชน์ส่วนรวม
เสรีภาพ อิสรภาพ
ในเรื่องการปกครอง ในเรื่องระบบประชาธิปไตย
หรือ อะไรก็ตาม ที่มีความเห็นว่า
มันควรจะมีเสรีภาพต่างๆ

แต่สิ่งเหล่านี้ มันยังเป็น
#อิสรภาพแค่เปลือกนอก เท่านั้น

ตราบใดที่ท่านทั้งหลาย
ยังถูกความโลภ
ถูกความโกรธ
ถูกความหลง เข้าครอบงำจิตใจ

ยังถูก วิบากกรรม พันธนาการต่างๆ
คอยชักนำ ให้ต้องพบกับความรู้สึก ที่เจ็บปวด ทุกข์ทรมานอยู่ร่ำไป

ต้องพบกับความเจ็บไข้ได้ป่วย
ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ
ความเดือดร้อน ร้อนใจต่างๆ

ท่านทั้งหลาย จะพบอิสรภาพที่แท้จริง ได้อย่างไร?

ต่อให้นอนบนคฤหาสน์หรู
อาหารเลิศรส ทุกอย่างหรูหรา
แต่จิตใจร้อนรุ่ม เป็นฟืนเป็นไฟ
มีแต่ความวุ่นวายใจ

แล้วจะมีความสงบสุข ได้อย่างไร?

จะมีอิสรภาพที่แท้จริง ได้อย่างไร?

#ธรรมะคือคำตอบ

เมื่อท่านทั้งหลาย พัฒนาตนเองเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เข้าถึง ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
จนสามารถ ชำระล้างบาป และอกุศลธรรมจนหมดสิ้นไปได้

ไม่ต้องถูก ความโลภ
ไม่ต้องถูก ความโกรธ
ไม่ต้องถูก ความหลง เข้าครอบงำจิตใจ
ไม่ต้องถูก วิบากกรรมพันธนาการต่างๆ คอยปู้ยี่ปู้ยำ
ชักนำให้เกิดความเดือดเนื้อ ร้อนใจอยู่เสมอ

#วัฏสงสารคือกรงขังของสรรพสัตว์
ถูกจองจำ ให้ต้องเสวยความเผ็ดร้อน ทุกข์ทรมาน

เพราะฉะนั้น
#อิสรภาพที่แท้จริง คือ
การหลุดพ้นจากเภทภัย ในวัฏสงสารทั้งปวง

สามารถกลับคืน สู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
พบกับความ สงบสุขที่แท้จริง คือ พระนิพพานได้

โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
พระวิปัสสนาจารย์

พุทธศาสนา มีคำสอนลักษณะมุ่งอิสรภาพตามหลัก การของพระพุทธศาสนาที่กล่าวทำนองว่า มหาสมุทรแม้จะ กว้างใหญ่ไพศาลสักเพียงใด แต่ในบรรดาน้ำทั้งหมดนั้น ก็มรเพียงรสเดียวคือรสแห่งความเค็มฉันใด พระธรรม วินัยของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนไว้มากมายก็มีรสเดียวกันนั้นคือ วิมุติรส หรือ อิสรภาพ ( Freedom )

เมื่อมอง ตามหลักพุทธธรรมแล้วเราก็จะเห็นความเด่นชัดของความอิสรภาพความหลุดพ้นความ เป็นอิสรภาพตลอดไปในอีกแง่ มุมหนึ่งหลักกรรมของพระพุทธศาสนานั้นคือคำกล่าวจากท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า สัพเพ ธัมมา นา ลัง อะภินิเวสายะ แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่อาจ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ ที่ว่าไม่ควรยึดมั่นถือ มั่นนั้นเพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนาหรือตามความยึดมั่น ถือมั่นของเรา แต่มันเป็นไปตามธรรมแห่งเหตุปัจจัยของมัน การที่เราหลงไปยึดมั่นถือมั่นทำให้ตัวเราเองแย่ลง ดัง นั้นคนเราควรรู้เท่าทันความเป็นจริงว่า สิ่งทั้ง หลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย พระพุทธศาสนาจึงสอนให้คนเราเป็นอิสระไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งที่เป็นมายาภาพ เมื่อจิตใจเป็นอิสระแล้วก็จะก่อให้เกิดการปล่อยวาง มีจิตว่าง หลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่ เที่ยงแท้นับเป็นสัจธรรมของชีวิต

อิสรภาพเกิดจากความรู้อนิจจัง

ทีนี้ อิสรภาพทั้ง ๒ อย่างนั้น มีหลักการใหญ่ร่วมกัน หลักใหญ่ร่วมกันก็คือว่า อิสรภาพของบุคคลก็ดี อิสรภาพของสังคมก็ดี ต้องอาศัยความรู้ในอนิจจังด้วยกันทั้งนั้น ความรู้ในอนิจจังนี้หมายรวมไปถึงความรู้ในหลักการที่ว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ที่ว่าจะต้องรู้อนิจจังจึงจะเป็นอิสระได้นั้น ด้านที่หนึ่ง ในแง่ของอิสรภาพส่วนบุคคลหรืออิสรภาพทางด้านจิตปัญญาของบุคคล เรารู้อนิจจังของสังขารทั้งหลาย1 ก็คือการที่เรารู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควร และไม่อาจจะเข้าไปยึดติด มัวเมา หลงใหล เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่ใช่คงอยู่หรือเป็นไปตามที่เราอยากเรายึด เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว จิตก็จะได้เป็นอิสระจากกิเลส ๓ ตัวที่ทำให้เอาแต่ตัวเอง คือ เห็นแก่ตัว ถือตัว และยึดติดในความเห็นของตัวนั้น เมื่อพ้นจากพันธนาการของกิเลสเหล่านี้แล้ว เราก็พร้อมที่จะปฏิบัติการหรือทำการต่างๆ ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ หรือด้วยเหตุผลบริสุทธิ์

ปัญหาของมนุษย์ในขณะนี้ก็คือว่า พอเรามีปัญญาเรียนรู้ปัจจัยภายนอกในทางสังคมแล้ว เราก็มาติดตันตรงที่ว่าไม่สามารถทำการด้วยปัญญาบริสุทธิ์หรือเหตุผลบริสุทธิ์ เพราะมีอะไรเข้ามาผูกมัดรั้งดึงไว้ นั่นก็คือ เจ้า ๓ ตัวเมื่อกี้นี้ ได้แก่ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามาครอบงำ ปัญญาก็เลยหมดประสิทธิภาพ ทำงานเพื่ออิสรภาพของสังคมไม่สำเร็จ

ด้านที่หนึ่ง เรารู้อนิจจังก็เพื่ออันนี้ คือเพื่ออิสรภาพทางจิตปัญญา ในการที่ว่า จิตใจก็เป็นอิสระ ไม่มีความมัวเมาหลงใหล และปัญญาก็เป็นอิสระ ใช้ปัญญาล้วนๆ บริสุทธิ์ พ้นจากกิเลส ๓ ตัวที่ผูกมัดนั้น

ด้านที่สอง ในแง่ของสังคม เรารู้อนิจจังเพื่ออะไร เรารู้อนิจจังก็เพื่อไม่ประมาท เพื่อจะศึกษาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทั่วถึง จะได้เตรียมการวางแผนที่จะทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้องครบถ้วน อย่างที่บอกเมื่อกี้นี้ว่า เข้าไปเป็นปัจจัยร่วมในการที่จะผลักดัน กีดกั้น จัดสรรปัจจัยอื่นๆ แล้วก็นำมนุษย์ไปสู่สังคมที่มีอิสรภาพ คือสังคมที่ปลอดพ้นจากความเบียดเบียน อยู่ดีมีสุขตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างที่ทางพระเรียกว่า “อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก” ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก หรือแปลอย่างสำนวนสมัยใหม่ว่า ความสุขในสังคมคือภาวะไร้การเบียดเบียน หรือภาวะไร้การเบียดเบียนคือความสุขในสังคม

เป็นอันว่า ในเมื่ออิสรภาพของบุคคลก็ดี อิสรภาพของสังคมก็ดี ล้วนต้องอาศัยความรู้ในอนิจจัง เราก็ต้องมีการปฏิบัติต่ออนิจจัง หรือต่อความรู้ในอนิจจังอย่างถูกต้อง

อาตมภาพขอนำกลับเข้ามาสู่หลักการของพระพุทธศาสนา ขอเล่าให้ฟังถึงพุทธพจน์ ๒ แบบที่เกี่ยวกับอนิจจัง โดยทั่วไปนั้น พุทธพจน์ที่เกี่ยวกับอนิจจังมี ๒ แบบ คือ

แบบที่ ๑ ขอเล่าเรื่องให้ฟังก่อน ในพระสูตรหนึ่งเรียกว่า มหาสุทัสสนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสเล่าว่า ในอดีตกาล มีพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง พระนามว่ามหาสุทัศน์ ครอบครองอาณาจักรกว้างขวางจดมหาสมุทรทั้ง ๔ ทิศ แล้วพระองค์ก็พรรณนาถึงความยิ่งใหญ่ ความรุ่งเรืองของอาณาจักรของพระเจ้าจักรพรรดินั้นว่า มีพระราชวังโอ่อ่าสง่างามอย่างไร มีราชรถวิจิตรตระการตาอย่างไร มีนครน้อยนครใหญ่และพระราชสมบัติมั่งคั่งพรั่งพร้อมอย่างไรๆ

แล้วสุดท้ายพระองค์ก็ตรัสว่า บัดนี้พระเจ้ามหาสุทัศน์ก็ได้สวรรคตล่วงลับไปแล้ว อาณาจักรของพระองค์ก็สลายหมดไปแล้ว ความรุ่งเรืองหรูหราสง่างามต่างๆ ก็สูญสิ้นไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ แล้วก็ตรัสเป็นคาถาว่า

อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปปาทวยธมฺมิโน

อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข

แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา มันมีขึ้นแล้วก็ดับหาย ความสงบวางแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นสุข นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง

คาถานี้ที่จริง เราได้ยินบ่อย เราไปวัด เวลามีงานศพ พระก็ต้องบังสุกุลด้วยคาถาบทนี้ ได้ยินกันเป็นประจำ ซึ่งมีเนื้อความดังที่กล่าวมานี้

อีกแห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ พระองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูสิ ภูเขาข้างหน้าเรานี้ บัดนี้ชื่อว่าภูเขาเวปุลละ และเผ่าชนที่อยู่ในถิ่นนี้เขาเรียกว่าชาวมคธ แต่ย้อนหลังไปในสมัยหนึ่ง มันไม่ได้ชื่อนี้ มันชื่อว่าเขาปาจีนวังสะ และประชาชนที่อยู่ในถิ่นแดนแคว้นนี้ก็หาได้ชื่อว่าชาวมคธไม่ แต่มีชื่อว่า ชาวตีวระ แล้วย้อนหลังไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ภูเขานั้นก็ไม่ได้ชื่อว่าเวปุลละหรือปาจีนวังสะ แต่ชื่อว่าภูเขาวงกต และเผ่าชนที่อยู่ในถิ่นนี้ก็มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าโรหิตัสสะ ย้อนหลังต่อไปอีกยุคสมัยหนึ่ง ทั้ง ๓ ชื่อนั้นก็ไม่ได้เป็นชื่อของภูเขาลูกนี้ แต่ภูเขาลูกนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเขาสุปัสสะ และประชาชนที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ก็มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าสุปปิยะ

แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า แม้ชื่อว่าเวปุลละนี้ ต่อไปก็จะไม่มี เผ่าชนที่ชื่อว่ามคธ ก็จะไม่มี และนี่เวลาผ่านไป ๒,๕๐๐ ปีเศษ ก็เป็นอย่างนั้น บัดนี้แคว้นมคธก็ไม่มีเหลือ เป็นแต่ชื่อทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันนี้เขาเรียกว่า แคว้นพิหาร และภูเขาลูกที่ว่านั้น ก็ไม่มีชื่อว่าเวปุลละ ต้องไปสืบค้นในประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาล แล้วก็บอกว่า นี้นะ สมัยพุทธกาลเขาเรียกว่าเวปุลละ ตรัสให้เห็นอย่างนี้แล้ว พระองค์ก็ตรัสสรุปท้ายว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา... อย่างที่ว่ามาเมื่อกี้

อีกเรื่องหนึ่ง คือ ท้าวสักกะที่เราเรียกว่าพระอินทร์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท้าวสักกะก็นำเอาคาถาบทนี้มากล่าว บอกว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

ขอเล่าอีกเรื่องหนึ่ง จะได้มีเรื่องเป็นตัวอย่างมากๆ หน่อย ท่านเล่าว่า เทวดาตนหนึ่งมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ในสวนนันทวัน นันทวันนั้นเป็นสวนสวรรค์สำคัญอยู่ในดาวดึงส์ เทวดาองค์นี้มีความสนุกสนานมาก และมีความลำพองใจ จึงได้กล่าวเป็นความร้อยกรองออกมาว่า

“นันทวัน สวนสวรรค์ของนรเทพผู้ยิ่งใหญ่ ใครไม่ได้มาเห็นนันทวัน คนนั้นไม่รู้จักความสุข”

เทวดาองค์หนึ่งกล่าวขึ้นมาอย่างนี้ แต่ในทันใดนั้นเอง เทวดาอีกองค์ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ก็ได้กล่าวแย้งขึ้น ต่อว่าเทวดานี้โดยฉับพลันว่า นี่แน่ะ ท่านเทวดาโง่ ท่านไม่รู้จักถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลายหรือว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ฯลฯ นี้เป็นวาทะที่เทวดาตนนั้นเตือนเทวดาอีกตนหนึ่ง ไม่ให้หลงใหลมัวเมา

นี่เป็นพุทธพจน์ในหลักอนิจจัง แบบที่ ๑ ขอผ่านไปก่อน

แบบที่ ๒ พุทธพจน์แบบที่ ๒ นั้น ขอให้นึกถึงเหตุการณ์ในมหาปรินิพพานสูตร คือ ตอนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ถึงตอนสุดท้ายพระองค์ได้ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลาย เป็นวาจาฝากฝังก่อนที่จะปรินิพพานว่า

“วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”

แปลว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม หรือบางทีแปลว่า จงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

พุทธพจน์นี้เราเรียกว่าเป็น “ปัจฉิมวาจา” เพราะเป็นคำตรัสครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นวาจาที่สำคัญมาก เหมือนเป็นคำฝากของพ่อต่อลูกทั้งหลาย หรือเป็นการสั่งเสีย แต่เป็นการสั่งเสียในรูปของการตักเตือนและสั่งสอน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่บางทีชาวพุทธเราก็มองข้ามไป ไม่ได้ถือเอามาใช้เป็นหลักปฏิบัติอย่างจริงจัง

โดยเฉพาะในวันวิสาขบูชานี้ ก็เป็นวันที่เราระลึกถึงเหตุการณ์คราวประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งมีการปรินิพพานเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในสามประการนั้น พุทธพจน์ว่า “จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” นี้ก็ควรจะเป็นพระโอวาทที่เราน่าจะนำมากล่าวเตือนกันให้มาก

เป็นอันว่า มีพุทธพจน์เกี่ยวกับอนิจจังนี้เป็น ๒ แบบ สองแบบนี้ต่างกันอย่างไร ขอให้สังเกตอย่างง่ายๆ

พุทธพจน์แบบที่ ๑ เป็นคำกล่าวของผู้อยู่ พูดถึงสิ่งที่ล่วงลับดับหายไป อาจจะเป็นสิ่งทั้งหลายที่ล่วงสลายไปแล้ว หรือกล่าวถึงคนที่จากไป อย่างที่ท้าวสักกะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน หรือพระพุทธเจ้าตรัสถึงท้าวมหาสุทัศน์และดินแดนแคว้นกุสาวดีที่สูญสลายไปแล้ว การกล่าวถึงสิ่งที่ล่วงลับไปแล้วด้วยคติอย่างนี้ ก็เพื่อให้จิตใจของผู้ที่ยังอยู่ รู้เท่าทันธรรมดา ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความเศร้าโศก มีความสงบ เป็นอิสระจากกิเลส อันนี้เป็นเรื่องของความรู้เท่าทัน

พุทธพจน์แบบที่ ๒ เป็นคำของผู้จากไป กล่าวกับผู้อยู่ คือ พระพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จปรินิพพานจากไป ตรัสเตือนผู้อยู่ คือภิกษุและสาวกทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายนั้นไม่เที่ยงนะ สิ่งทั้งหลายผันแปรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่าประมาท จงรีบทำกิจทำหน้าที่ อย่าได้ปล่อยเวลาให้ล่วงไปเสียเปล่า หรือปล่อยให้สิ่งทั้งหลายผันแปรไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ โดยไม่ได้หรือไม่ทันเข้าไปเป็นปัจจัยให้มันเป็นไปในทางที่สมควรจะเป็น

จากข้อสังเกตนี้ เมื่อเรานำมาใช้ในการปฏิบัติ โดยมองดูที่ตัวเราเองแต่ละคน เอาตัวเราแต่ละคนเป็นหลัก ก็จะได้คติจากหลักอนิจจังนี้เป็น ๒ แบบ

แบบที่ ๑ หันออกไปมองข้างนอก เมื่อเรามองออกไปยังสิ่งทั้งหลายทั่วไปโดยรอบตัว (รวมทั้งทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์อำนาจ) จะต้องมองด้วยความรู้ที่เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่และดับไป มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา อย่าได้ยึดติดหลงใหลมัวเมาในสิ่งใด จนกระทั่งเกิดกิเลสขึ้นมาครอบงำจิตใจตัวเอง ให้มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน เป็นอิสระปลอดโปร่งอยู่เสมอ จะได้มีปัญญาที่จะทำอะไรด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ นี้เป็นขั้นที่หนึ่ง

แบบที่ ๒ หันมามองตัวเอง ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มันเกิดขึ้นมาแล้วก็สลายไป แม้ตัวเรานี่ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันเวลาอย่าให้เปล่าปราศจากประโยชน์ จะรีรอเวลาอยู่ไม่ได้ จะต้องไม่ประมาท รีบทำสิ่งที่ควรทำ อย่าถลำไปในทางที่ผิดพลาด โอกาสมีมาที่จะทำสิ่งดีงามแล้ว ก็ต้องรีบกระทำ เร่งศึกษากระบวนการของสิ่งทั้งหลายให้เข้าใจอย่างถูกต้องและละเอียดรอบคอบ แล้วทำการให้ตรงเหตุตรงปัจจัยด้วยความรู้ที่ชัดเจนรอบด้าน

ถ้าพูดในแง่ของอิสรภาพก็คือ จะต้องรีบปฏิบัติเพื่ออิสรภาพของตนเองทางจิตใจและปัญญา และเร่งทำการเพื่ออิสรภาพของสังคม ให้สังคมนี้อยู่ดีมีสุข ไร้การเบียดเบียน ดังที่กล่าวมาแล้ว อันนี้ก็เป็นหลักเกี่ยวกับเรื่องอนิจจัง

เข้าสู่หลักเรื่องอิสรภาพของบุคคลและสังคมที่กล่าวมาแล้ว โดยสรุปก็คือ อาตมภาพได้กล่าวให้เห็นว่า ความเป็นอนิจจังของสังขาร กับความเป็นอนิจจังของสังคมนั้น เป็นเรื่องที่เนื่องถึงกัน ประการหนึ่ง

เมื่ออนิจจัง ๒ ด้านนั้นสัมพันธ์กัน หันไปดูเรื่องอิสรภาพของบุคคล กับอิสรภาพของสังคม อิสรภาพทั้ง ๒ อย่างนั้นก็เนื่องอาศัยกันอีก

แล้วประการสุดท้ายก็มาบรรจบกันที่ว่า อิสรภาพของบุคคล ก็ดี อิสรภาพของสังคม ก็ดี ล้วนมีได้ สำเร็จได้ ด้วยการรู้อนิจจัง

เพราะฉะนั้นอนิจจังก็เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับอิสรภาพ หรืออิสรภาพก็อาศัยความรู้ในอนิจจัง

อิสรภาพในพุทธศาสนาคืออะไร

2) จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคืออิสรภาพ ความมีอิสรภาพเป็นจุดหมาย ส าคัญ และไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น แต่มีอิสรภาพเป็นหลักการส าคัญทั่วไปทีเดียว ในทางธรรมท่านใช้ค าว่า วิมุตติรสกับวิมุตติสาระ พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะของความ หลุดพ้น หรือความเป็นอิสระอยู่โดยตลอด จุดหมายของพระพุทธศาสนาก็ได้แก่วิมุตติ ลักษณะนี้บอกให้ ...

ข้อใดเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา

หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธสอนว่า ปรมัตถธรรม หรือสรรพสิ่งมี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (เพราะพระเป็นเจ้าจัดเข้าในปรมัตถธรรมไม่ได้) และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่งธรรมชาติหรือนิยาม5 ประการ คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม

อิสรภาพสูงสุดในพุทธศาสนาคือข้อใด

พระพุทธเจ้าทรงวางหลักการอันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาไว้ว่า ได้แก่ การบรรลุถึง ภาวะพระนิพพาน และพระนิพพานก็คือภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสรรพกิเลส ซึ่งก็คือบรรลุถึงอิสรภาพนั่นเอง ด้วยเหตุนี้อิสรภาพจึงเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ว่า

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคืออะไร

จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือ "นิพพาน" หรือความไม่มีทุกข์อย่างถาวรในชีวิตปัจจุบันซึ่ง เป็นจุดหมายสูงสุด ส่วนจุดหมายรองลงมาคือการมีชีวิตอยู่โดยให้มีความทุกข์น้อยที่สุด ความเชื่อและหลักปฏิบัติ