การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ [nb 1] ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การวิเคราะห์ของไอแซก นิวตัน เกี่ยวกับความเร็วหลุดพ้น กระสุนปืน A และ B จะตกกลับลงสู่พื้นโลก กระสุนปืน C จะเคลื่อนที่ครบรอบเป็นวงโคจรรูปวงกลม, กระสุนปืน D จะเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี กระสุนปืน E จะเคลื่อนที่หลุดพ้นออกไปจากโลก

สำหรับวัตถุทรงกลมสมมาตร ความเร็วหลุดพ้นที่ระยะทางค่าหนึ่งคำนวณได้จากสูตร [1]

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

เมื่อ G คือ ค่าคงที่โน้มถ่วงสากล (the universal gravitational constant) (G = 6.67×10−11 m3 kg−1 s−2), M คือมวลของดาวเคราะห์, ดวงดาว หรือ วัตถุอื่น ๆ, และ r คือระยะทางจากศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง [nb 2]

ในสมการนี้แรงเสียดทานในชั้นบรรยากาศ (แรงฉุดของอากาศ) จะไม่ถูกนำมาพิจารณา จรวดนั้นจะสามารถเคลื่อนที่ออกมาจากปล่องแห่งแรงโน้มถ่วง (gravity well) ได้อย่างแท้จริงโดยไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นเพื่อการทำเช่นนั้น แต่สามารถบรรลุผลอย่างเดียวกันได้ที่ความเร็วใด ๆ กับโหมดที่เหมาะสมของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงที่เพียงพอ ความเร็วหลุดพ้นจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับแนววิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศ (ballistic trajectories) แต่เพียงเท่านั้น

คำว่า ความเร็วหลุดพ้น อันที่จริงแล้วเรามักเรียกชื่อกันผิด ๆ และมันก็มักจะถูกต้องมากขึ้นถ้าจะเรียกว่า อัตราเร็วหลุดพ้น (escape speed) เนื่องจากค่าอัตราเร็วนี้ เป็นปริมาณสเกลาร์ซึ่งมีความเป็นอิสระจากทิศทาง (สมมติว่าดาวเคราะห์ไม่หมุนและไม่สนใจแรงเสียดทานในบรรยากาศหรือผลทางสัมพัทธภาพ)

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

การเดินทางสู่อวกาศ

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

การออกไปสำรวจอวกาศของมนุษย์ ช่วยให้ได้ความรู้เกี่ยวกับโลกและดวงดาวต่าง ๆ  มากขึ้น

ช่วยให้ทราบกำเนิด

ความเป็นมาและอนาคตของระบบสุริยะ

ในการส่งยานอวกาศจากพื้นโลกไปสู่อวกาศ  เพื่อไปยังดวงดาวอื่นจะต้องทำให้ยานนั้นมีความเร็วมากกว่า 

ความเร็วหลุดพ้นแต่ถ้าจะให้ยายนั้นโคจรรอบโลกจะต้องทำให้ความเร็วสุดท้ายของยานมีค่าเท่ากับความเร็วโคจรรอบโลก 

ยานจึงจะโคจรไปรอบโลกได้

การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นจากพื้นโลก ต้องอาศัยจรวจขับดันให้พุ่งขึ้นไป การเคลื่อนที่ของจรวจใช้กฎ

 

การเคลื่อนที่ของนิวตันที่ว่า ทุก ๆ แรงกิริยาจะมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันกระทำในทิศตรงกันข้าม จรวจมีการเผาไหม้

เชื้อเพลิงขับดันไปข้างหลัง แต่ตัวจรวดจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

เมื่อยิงวัตถุในแนวขนานกับพื้น วัตถุจะเคลื่อนที่ไปเป็นแนววิถีโค้ง เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้วัตถุตกลง

 

ในแนวดิ่งอีกแนวหนึ่งด้วยความเร็วของวัตถุที่ตกลงมา จึงประกอบด้วยความเร็วตามแนวราบ   และความเร็วตามแนวดิ่งร่วมกัน 

ถ้าเพิ่มความเร็วตามแนวราบมากขึ้นจนถึงความเร็วขนาดหนึ่ง วัตถุจะไม่ตกลงสู่พื้นโลก ความเร็วขนาดนี้เรียกว่า ความเร็วโคจร

รอบโลก (Orbital Velocity)  ยิ่งสูงขึ้นไปความเร็วโคจรรอบโลก  จะยิ่งช้าลง ที่ระดับความสูง 1,000 กิโลเมตร ความเร็ว 

โคจรรอบโลก 26,452 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 1 รอบโลก

ปัจจุบันการส่งจรวจเพื่อขับดันให้ดาวเทียมหรือยานอวกาศขึ้นไปสู่อากาศนั้น มักใช้เครื่องยนต์จรวจหลายท่อนต่อกัน 

ยานอวกาศหรือดาวเทียมจะติดกับจรวจท่อนสุดท้าย จรวจจะขึ้นจากฐานยิงในแนวดิ่งเพื่อให้เวลาเดินทางในบรรยากาศโลก

สั้นที่สุด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียดทานกับบรรยากาศมากเกินไป  จรวจทุกท่อนจะมีเชื้อเพลิงในตัวเองจรวจท่อน 1 เมื่อใช้เชื้อเพลิง

 

หมดแล้วจะสลัดตัวเองหลุดออก  เหลือแต่ท่อนถัดไปพุ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดจะเหลือดาวเทียม   หรือยานอวกาศกับจรวจท่อนสุดท้าย

โคจรอยู่ เมื่อความเร็วถึงความเร็วโคจรรอบโลกแล้ว เครื่องยนต์จรวจจะหยุดทำงาน  ปล่อยดาวเทียมหรือยานอวกาศ โคจรต่อไป

และถ้าความเร็วช้าลงหรือผิดเส้นทาง จึงจะใช้เครื่องยนต์จรวจช่วยปรับเส้นทางและความเร็ว

ในการส่งยานอวกาศขึ้นไปจากพื้นโลกนอกจากจะต้องคำนึง

ถึงแรงโน้มถ่วงแล้ว  ถ้าส่งมนุษย์ขึ้นไปด้วยก็จะต้อง 

คำนึงถึง สภาพไร้น้ำหนัก ความดันและอุณหภูมิ ตลอดจนการดำรงชีวิต ในลักษณะพิเศษ   สภาพไร้น้ำหนัก เป็นสภาพที่เสมือน 

ว่าไม่มีแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อสิ่งมีชีวิตนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดยาน สมดุลกับแรงหนีศูนย์กลาง 

ที่ยานอวกาศจะหนีจากโลก มนุษย์ในยายจึงเสมือนไม่มีน้ำหนัก   สภาพไร้น้ำหนักก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำรงชีวิต เครื่องใช้     

ต่าง ๆ จะลอยไปมา น้ำจะไม่อยู่ในแก้ว  การรับประทานอาหาร ขับถ่าย และนอน จะต้องอยู่ในสภาพผิดจากสภาพบนพื้นโลก

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

การส่งดาวเทียม  ยานอวกาศ  และสถานีอวกาศ  

การส่งดาวเทียม  ยานอวกาศ  และสถานีอวกาศ  ต้องใช้จ่ายสูงมากในระยะหลังจึงมีการพัฒนายานขนส่งอวกาศ 

ที่ขึ้นสู่อวกาศ แล้วกลับมายังโลกได้อีกเรียกว่า  ยานขนส่งอวกาศหรือกระสวยอวกาศ  (Space  Shuttle)

ยานขนส่งอวกาศ  มีรูปร่างเหมือนเครื่องบินแต่ใช้เครื่องยนต์จรวด  3  เครื่องติดอยู่ส่วนท้าย และมีจรวดขนาดเล็ก 

ติดอยู่รอบตัวยานอีก  44  เครื่อง  สำหรับปรับทิศทางการโคจร  จรวดขนาดเล็กนี้ใช้เชื้อเพลิงในตัวยาน

ยานขนส่งอวกาศขึ้นจากฐานยิงจรวดโดยใช้จรวดเชื้อเพลิงแข็ง  2  เครื่อง  เมื่อขึ้นไปจนเชื้อเพลิงแข็งหมด  

จรวด  2  เครื่องจะแยกตัวออก  ถ้าเชื้อเพลิงภายนอกที่อยู่ตรงกลางจะส่งเชื้อเพลิงให้จรวด  3  เครื่อง  ในยานขับดันต่อไป   

เมื่อถึงวงโคจรรอบโลก  ถ้าเชื้อเพลิงจะกลับตกลงมาสู่บรรยากาศ  ไม่ต้องนำกลับมาใช้อีกยานจะโคจรรอบโลกต่อไป

ภารกิจของยานขนส่งอวกาศ  คือ  การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์  ปล่อยดาวเทียม  เก็บดาวเทียมมาซ่อม 

หลังเสร็จภารกิจระร่อนเข้าสู่บรรยากาศของโลก  จะลงจอดเช่นเดียวกับเครื่องบิน

การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด
การส่งยานอวกาศขึ้นบนท้องฟ้าและโคจรอยู่ในอวกาศได้ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นที่มีค่าเท่าใด

ชีวิตนักบินอวกาศ

นักบินอวกาศเป็นได้ทั้งชายและหญิง  เริ่มต้นด้วยการสมัคร  ตรวจสอบประวัติ  ทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย  

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเข้าค่ายอบรมทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ใช้เวลาอย่างน้อย  1  ปี  สำหรับขั้นพื้นฐาน  ส่วนขั้นอื่น ๆ  

ใช้เวลาตามความสำคัญของหน้าที่และภาระรับผิดชอบ   

สำหรับผู้ที่จะขับขี่ยานอวกาศนั้นต้องมีความสามารถพิเศษเหมือนนักบินที่ขับเรื่องบิน ส่วนผู้มีหน้าที่อื่นมีการฝึกหัด 

ต่างกันออกไป  บางคนทำหน้าที่นักวิทยาศาสตร์อวกาศ ซึ่งจะต้องขึ้นไปทดลองวิทยาศาสตร์กันในอวกาศก็มี

ขั้นตอนการฝึกนักบินอวกาศ คือ  

1. การฝึกให้ทนแรงจี    

จีนี้คือ  G  =  gravity  แปลว่าแรงโน้มถ่วงของโลกนั่นเอง  ขณะจรวดทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเร่งความเร็ว

 

ให้ถึงความเร็วหลุดพ้นนั้น  นักบินอวกาศจะถูกดลงกับพื้นด้วยแรงอันเกิดจากการที่จรวดเร่งความเร็วทำให้รู้สึกว่า 

มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น  4  ถึง  5  เท่า  ถ้าจะยืนอยู่คงทนไม่ได้  นักบินอวกาศจึงต้องครึ่งนั่งครึ่งนอนหันหน้าสู่ทิศ 

ที่จรวดพุ่งขึ้นไป  ทั้งนี้นักบินอวกาศต้องได้รับการฝึกเพื่อให้ทนต่อแรงจีนี้  โดยมีอุปกรณ์การฝึกเป็นโครงเหล็ก  

เหวี่ยงห้องฝึกหมุนไปอย่างเร็ว ให้นักบันอวกาศอยู่ในห้องฝึกนั้น

2. การฝึกให้ทนต่อสภาพไร้น้ำหนัก  (Weightlessness)    

เมื่อยานอวกาศโคจรรอบโลกจะเกิดสภาพไร้น้ำหนักในอวกาศ  เป็นสภาพที่ไม่เหมือนบนพื้นโลกสภาพนี้

 

คือสภาพที่เหมือนไม่มีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อทุกสิ่งในยานอวกาศ  เมื่ออยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก  ของใช้ที่จับมาวาง 

ตรงหน้าจะลอยอยู่ได้  แม้แต่ตัวนักบินอวกาศเองก็ลอยไปมาได้  การบังคับตัวเองไม่ให้หมุนคว้างไปชนอะไรจึงต้อง 

มีการฝึกหัดโดยมีการฝึกบนเครื่องบินที่บินโค้งเป็นครึ่งวงกลมอย่างหนึ่ง   และฝึกในอ่างน้ำขนาดใหญ่อีกอย่างหนึ่ง  

นักบินอวกาศจะสวมชุดพิเศษลงไปอยู่ในน้ำ   ชุดนี้จะพยุงให้ตัวนักบินอวกาศมีความหนาแน่นเท่ากับน้ำพอดี  

จึงสามารถล่องลอยไปในน้ำได้เหมือนกับสภาพไร้น้ำหนักที่จะเกิดในอวกาศนั้น

 3. การฝึกทางจิตวิทยา

การที่นักบินอวกาศจะต้องขึ้นไปอยู่ในอวกาศนั้นก็เหมือนถูกตัดขาดจากสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลก  อาจต้องอยู่

 

ในที่เงียบสงัด  หรือมืดสนิท  สภาพเช่นนี้ถ้าไม่ได้รับการฝึก  จะส่งผลทางจิตใจแก่นักบินอวกาศมากจึงต้องมีการให้ 

นักบินอวกาศใช้ชีวิตแบบต่าง ๆ  เช่น  อยู่อย่างโดดเดี่ยว   หรืออยู่เป็นหมู่คณะที่ต้องอัธยาศัยเข้ากันได้  ถ้าจะไป 

สู่อวกาศเป็นหมู่   

นอกจากนี้นักบินอวกาศจะได้รับการฝึกให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  เช่น  กรณีเกิดวงจรไฟฟ้าขัดข้อง หรือ

การแก้ไขเครื่องมือต่าง ๆ  ที่จำเป็น  การดำรงชีวิตในอวกาศก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องฝึกหัด  เช่น  การกิน  การนอน  การขับถ่าย 

ซึ่งมีสภาพไม่เหมือนบนพื้นโลก  จะต้องใช้ชุดอวกาศเป็นเพื่อป้องกันรังสีและอุณหภูมิสูงได้

การปฏิบัติงานในยานอวกาศ  นักบินอวกาศสามารถทนต่อสภาพความดันต่ำได้ถึงชั้นบรรยากาศถ้าต่ำกว่านี้ต้องสวม 

ชุดอวกาศ  การปรับอุณหภูมิในยาน  การใช้ออกซิเจน  และการระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็เป็นระบบที่มีอยู่  แม้กระทั่งขยะ 

ที่มีก็ต้องเก็บด้วยวิธีพิเศษ  เพื่อนำมาทิ้งบนพื้นโลก  ไม่ให้ล่องลอยเป็นมลภาวะในอวกาศ    การปฏิบัติงานนอกยานยิ่งต้องมีวิธีฝึก 

กันอย่างพิเศษ  เช่น  กรณีสายอวกาศของวิทยุติดต่อขัดข้องต้องออกไปแก้ไขกันในอวกาศ  จะมีการสวมชุดอวกาศออกปฏิบัติการ  

ซึ่งอาจมีสายหรือท่อจากยานติดกับนักบินอวกาศนั้นไปด้วย   ซึ่งปฏิบัติการนอกยานนี้มีบ่อยครั้งในกรณีต่าง ๆ  เช่น  ไปถ่ายภาพ  

ไปเก็บวัสดุที่หลุดออกไปไปซ่อมแผงเซลล์สุริยะ   หรือแม้กระทั่งไปเก็บดาวเทียมที่ชำรุดหรือไปซ่อมดาวเทียม

  ชีวิตนักบินอวกาศเป็นชีวิตที่เสี่ยงภัย  เคยปรากฏว่านักบินอวกาศหลายคนต้องสูญเสียชีวิตไปกับอุบัติภัย  เช่น 

ไฟไหม้ยาน  หรือจรวดระเบิดมาแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าปฏิบัติการด้านอวกาศนี้เป็นปฏิบัติการที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ

อย่างยิ่ง  แม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมมากมาย  โอกาสทำงานพลาดก็ยังเกิดขึ้นบ่อย ๆ  ซึ่งเป็นบนเรียนนำมาแก้ไข

จุดบกพร่องให้ดีขึ้น

อาหารที่นักบินอวกาศนำขึ้นไปด้วยเป็นอาหารสำเร็จรูป    กรณีที่อยู่ในยานอวกาศขนาดใหญ่

  มีห้องนั่งรับประทาน

อาหาร มีห้องครัวที่ใช้พลังงานไฟฟ้า  แต่บางกรณีต้องเป็นอาหารใส่ถุงบีบเข้าปากเพื่อกันการฟุ้งกระจายส่วนการขับถ่ายนั้น  

ยานอวกาศขนาดใหญ่มีห้องน้ำห้องส้วมพร้อม  ซึ่งระบบสุญญากาศดูดสิ่งขับถ่ายไปใส่ถุงพลาสติกสำหรับทิ้ง  โดยมีสารซับน้ำ 

อยู่ในถุงด้วย  ในชุดอวกาศก็มีที่เก็บปัสสาวะซึ่งมีสารซับน้ำเช่นกันสรุปว่าการกินอยู่และการขับถ่ายได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสม

กับสภาพในอวกาศนั่นเอง

การที่จะส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศขึ้นไปในอวกาศจะต้องใช้ความเร็วเท่าใดจึงทำให้หลุดจากวงโคจรของโลกได้

จรวดต้องมีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 40,320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (25,039 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก และทะยานขึ้นสู่อวกาศ ความเร็วนี้เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape velocity) ความเร็วหลุดพ้นที่บินอยู่ในโลกต้องใช้มากในการส่งดาวเทียมปล่อยเข้าสู่วงโคจร

ข้อใดคือความเร็วหลุดพ้นในการส่งยานอวกาศออกไปสำรวจนอกโลก

ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ...

จรวดที่พายานออกไปต้องมีความเร็วที่ผิวโลกมากกว่าเท่าใด

การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้นโลกสู่อวกาศ ต้องเอาชนะแรงดึงดูด หรือ แรงโน้มถ่วงของโลก จึง ต้องอาศัยจรวดที่มีแรงขับดันและความเร็วสูง ซึ่งต้องมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที ถ้าความเร็วจรวดเป็น 8.26 กิโลเมตรต่อวินาที ยานจะขึ้นไปโคจรรอบโลกที่ความสูง 644 กิโลเมตร

แรงที่ทำให้กระสวยอวกาศพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า คือแรงอะไร *

การเดินทางออกสู่อวกาศต้องส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกให้พ้นแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งยานอวกาศต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ประมาณ 11.2 กิโลเมตร/วินาที จึงจะพ้นอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลกพอดี